ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

142.78ก695ป
ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม

ผู้แต่ง:กีรติ บุญเจือ .
ชื่อเรื่อง:ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม

สรุปเนื้อหา

การศึกษาปรัชญา
เป้าหมายของการศึกษาปรัชญา การศึกษาปรัชญาโดยเปรียบเทียบความคิดของระบบต่างๆเพื่อตัดสินว่าของใครผิดของใครถูก นับว่เป็นวิธีศึกษาที่เลวร้าย ไม่บรรลุเป้าหมายของการศึกษาปรัชญา หรือการศึกษาความคิดใดความคิดหนึ่งเพื่อเปรียบเทียบกับความเชื่อถือที่ตนหรือหมู่คณะของตนเชื่อถืออยู่ ก็นับว่าเป็นการศึกาาที่เลว เช่นกัน ไม่บรรลุเป้าหมายของการศึกษาปรัชญาเช่นกันการศึกษาปรัชญาที่ถูกต้องนั้น จะศึกษาความคิดของนักปรัชญาที่มีอยู่แล้ว เพื่อดูเป็นตัวอย่างเท่านั้นว่า การศึกษาปรัชญา จึงเป็นตัวอย่างให้เราได้รู้จักคิดอย่างปรัชญาได้เหมาะสม เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับตัวเราเอง ยัสเปิร์สกล่าวว่า "ความคิดปรัชญาต้องใหม่เสมอมนุษย์แต่ละคนต้องคิดปรัชญาของ ตนเอง"
ถ้าศึกษาปรัชญาแบบท่องจำปัญหาและคำตอบของผู้อื่นเท่านั้น ปรัชญาจะเป็นวิชาที่น่าเบื่อที่สุดและไร้ประโยชน์ที่สุด ปรัชญาแบบนี้ไฮเด๊กเกอร์กล่าวว่าไม่ใช่ ปรัชญาแต่เป็นเพียง"การคุยอันไร้สาระ" ผลก็คือ ทำให้เรียนว่าตนได้อะไรจากการเรียนปรัชญาบ้าง หรือว่าเป็นผู้รับเคราะห์ต้องจำใจจดจำความคิดของคนอื่น ความรู้สึกเช่นนี้ ไฮเด๊กเกอร์เรียกว่า"ความกำกวม"

ที่มา :

กีรติ บุญเจือ. (2522).

ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม. กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช, หน้า26.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com