ประวัติการจัดตั้งสมาคมส่งเสริมการวิจัย
นายบุญเฉิด
โสภณ ข้าราชการบำนาญ อดีตที่ปรึกษาด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ระดับ 10
ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ได้มีแนวคิดที่จะให้มีการจัดตั้งสมาคมส่งเสริมการวิจัยเพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยในรูปขององค์กรอิสระ
มีสภาพเป็นนิติบุคคล เพื่อให้การช่วยเหลือนักวิจัยในรูปแบบต่างๆเท่าที่จะทำได้
จึงได้รวบรวมคณะบุคคลที่มีแนวคิดเหมือนกันมารวมกันจัดตั้งสมาคม
โดยคณะผู้วิจัยเริ่มก่อตั้งสมาคมส่งเสริมการวิจัย
ได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2551 เวลา 11.30 น.
ห้องอาหารล้อเกวียน หน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ประกอบด้วย
1. นายบุญเฉิด โสภณ
2.
ดร.จินตนาภา โสภณ
3. นางพรพรรณ์
องอาจ
4. น.ส.โสมนิสสา ผลอำไพ
5.
นายชัยยุทธ์ ชัยสิทธิ์
6. นายภาคภูมิ
โสติธิมัย
7. น.ส.กาญจนา ใจบุญ
8.
นายจารึก ชื่นสมบัตร
9. น.ส.ญาสุมินทร์
สุริยวงศ์
10. น.ส.ออรวรรณ จันทะคุณ
11.
น.ส.วราภรณ์ คนยืน
ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2551
จึงได้มีการยื่นการขอจัดตั้งสมาคมส่งเสริมการวิจัย ณ ที่ทำการเขตดอนเมือง
วันที่
27 พฤษภาคม 2552 อธิบดีกรมการปกครอง ในฐานะนายทะเบียนสมาคมกรุงเทพมหานคร
ได้อนุญาตให้จดทะเบียนเป็นสมาคมถูกต้องตามกฎหมาย ตามทะเบียน เลขที่ จ. 4788/2552
กรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมการวิจัย
ประกอบด้วย
1. นายบุญเฉิด โสภณ
เป็น นายกสมาคม
2. ดร.จินตนาภา
โสภณ เป็น อุปนายกสมาคม
3. นายชัยยุทธ
ชัยสิทธิ์ เป็น ประชาสัมพันธ์
4.
น.ส.ญาสุมินทร์ สุริยวงค์ เป็น ปฏิคม
5. น.ส.อรวรรณ
จันทคุณ เป็น เลขานุการ
6. นางพรพรรณ์
องอาจ เป็น เหรัญญิก
7.
นายภาคภูมิ โสตธิมัย เป็น
นายทะเบียน
8. น.ส.กาญจนา ใจบุญ
เป็น กรรมการ
9. น.ส.โสมนิสสา ผลอำไพ เป็น
กรรมการ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมพิเศษ
ปรัชญา
(philosophy)
“ การวิจัยคือสายใยแห่งปัญญา
”
“ RESEARCH LEADS TO THE SUMMIT OF
KNOWLEDGE ”
วิสัยทัศน์
(Vision)
มุ่งพัฒนาสมรรถนะบุคลากรการวิจัยและหน่วยงานวิจัย
ร่วมมือประสานงาน
การวิจัย
เผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของสมาคม
เพื่อ
1. ส่งเสริม
และสนับสนุนการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์
2.
ร่วมมือประสานงานการวิจัยระหว่างสมาคมกับสมาชิก หน่วยงานของรัฐ
ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ
3. เผยแพร่ผลงานวิจัย
4.
ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
พันธกิจ
(Mission)
1. จัดฝึกอบรม / ประชุม /
สัมมนาทางการวิจัยทั้งภายในและต่างประเทศ
2. จัดหลักสูตรการฝึกอบรม /
ดูงานทั้งในและต่างประเทศ
พร้อมทั้งบริหารจัดการหลักสูตรให้กับหน่วยงานวิจัย
3. ดำเนินการศึกษาวิจัย
และกิจกรรมส่งเสริมการวิจัยทั้งทางวิทยาศาสตร
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
4.
พัฒนาบุคลากรทางการวิจัยในรูปแบบต่างๆ
5. ให้คำปรึกษา
และให้แนวทางการทำวิจัยหรืองานวิชาการรูปแบบต่างๆ
6.
จัดทำฐานข้อมูลการวิจัยด้านต่างๆ
7.
ศึกษาสถานภาพการวิจัยด้านต่างๆ
8. ดำเนินการอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากพันธกิจข้างต้น
< Prev | Next > |
---|