สนุก!
ค้นหา
ตรวจหวย
ข่าว
อีเมล์
หาเพื่อนคิวคิว
ฟังเพลง
คลาสสิฟายด์
ริงโทน
เล่นเกมส์
ดูทั้งหมด »
เว็บไซต์
สารบัญเว็บไทย
หางาน
วิดีโอ
เพลง
ข่าว
ความรู้
ถามตอบ
ไฟล์ข้อมูล
ทั้งหมด
พจนานุกรม
- พจนานุกรม ราชบัณฑิตฯ
- พจนานุกรม ไทย-ไทย
- พจนานุกรม ไทย-อังกฤษ
- LEXiTRON ไทย-อังกฤษ
- พจนานุกรม อังกฤษ-ไทย
- LEXiTRON อังกฤษ-ไทย
สารานุกรมไทยฉบับเยาวชนฯ
สนุก! พีเดีย
พจนานุกรมสนุก! คำแสลง
สนุก! ถาม-ตอบ
หาแบบละเอียด
ช่วยเหลือ
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เรามีความรู้เรื สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาให้ท่านศึกษาดังต่อไปนี้
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จาก
สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12
สารานุกรม โดย คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
ความหมายของคำ "สารานุกรม"
"สารานุกรม" เป็นหนังสือรวมเรื่องราวต่างๆคำนี้ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ "สาร" และ "อนุกรม" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๒๕ ให้นิยามของคำ "สาร" ว่า แก่นเนื้อแท้ ส่วนสำคัญ ข้อใหญ่ใจความ ถ้อยคำคำว่า "อนุกรม" หมายถึง ลำดับ ระเบียบ ชั้นสองคำนี้รวมกันเข้าโดยวิธีสมาสเป็นคำเดียวคือ "สารานุกรม" หมายถึงเรื่องราวที่เป็นเนื้อแท้เป็นแก่นสารนำมาเรียบเรียงโดยใช้ถ้อยคำ จัดระเบียบเรื่องแต่ละเรื่องตามลำดับให้อยู่ด้วยกันในหนังสือเล่มเดียวกัน หรือหลายเล่มแต่เป็นชุดเดียวกันคำนี้ใช้เรียกชื่อหนังสืออ้างอิง หรือหนังสืออุเทศประเภทหนึ่ง ลักษณะทั่วไปของหนังสือนี้ คือ อธิบายเรื่องราวต่างๆ ที่มนุษย์ได้เรียนรู้ และได้คิดขึ้นตั้งแต่โบราณสมัยจนถึงปัจจุบัน มีทั้งความรู้ที่จัดเป็นวิชาหรือเป็นศาสตร์ และความรู้ทั่วๆ ไปที่ควรรู้หรือน่ารู้ ผู้จัดทำสารานุกรม จะจัดหมวดหมู่ และลำดับความสำคัญของคำอธิบายเรื่องราวเหล่านี้ เรียงลำดับอยู่ในเล่มเดียวกันหรือชุดเดียวกันตามลำดับความสำคัญของแต่ละวิชาบ้าง ตามลำดับความสัมพันธ์ของแต่ละวิชา และสาขาวิชาในกลุ่มวิชานั้นๆ บ้างตามลำดับตัวอักษรตัวแรกของคำซึ่งใช้เรียกชื่อวิชาหรือเรื่องราวนั้นๆ บ้าง
หนังสือสารานุกรมเป็นหนังสือซึ่งผู้มีความรู้รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือซึ่งเชื่อถือได้ แม้ว่าสารานุกรมบางเล่มจะมีข้อผิดพลาด หรือล้าสมัยเพราะไม่มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ๆ ให้ทันกาลเวลา และความก้าวหน้าทางวิชาการผู้จัดทำหรือผู้รวบรวมสารานุกรมจะเลือกสรรเรื่องราวที่ผู้มีความรู้เชื่อถือได้เป็นผู้เขียน มีหลักฐานของการค้นคว้า นำไปอ้างอิงได้ มีวิธีเรียบเรียงซึ่งทำให้สามารถค้นเรื่องราวที่ต้องการรู้ได้อย่างรวดเร็ว เช่น มีดัชนีค้นเรื่องอยู่ท้ายเล่ม หรือในเล่มสุดท้ายของชุด มีการเรียงเรื่องตามลำดับตัวอักษรตัวแรกของคำที่เรียกเรื่องราวนั้นๆ เป็นต้น
การจัดทำหนังสือรวมวิชาความรู้ในสมัยโบราณนั้น เท่าที่ทราบและมีหลักฐานปรากฏว่านักการศึกษาชาวโรมันชื่อ พลินี (Pliny) ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๕๖๖-๖๒๒ เป็นผู้จัดทำขึ้นเขาเรียกหนังสือของเขาว่า ประวัติธรรมชาติ (Natural History) เป็นหนังสือชุด มี ๓๗ เล่ม ๒,๔๙๓ บท และมีเรื่องราว ๒๐,๐๐๐ เรื่อง รวมเรื่องดาราศาสตร์ โลหวิทยา ภูมิศาสตร์ สัตวศาสตร์แพทยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ประดิษฐกรรม ศิลปกรรม พืชกรรม เวทมนตร์คาถา ฯลฯ เรื่องเหล่านี้เขาไม่ได้แต่งเอง หากรวบรวมจากหนังสือต่างๆ ที่ผู้รู้หลายร้อยคนเขียนไว้แล้ว พลินีกล่าวไว้ในคำนำของหนังสือชุดนี้ว่า เรื่องของเขามีเรื่องราวทุกเรื่องทุกวิชาที่อยู่ในวงจรการศึกษา ซึ่งชาวกรีกเรียกหนังสือที่รวมวิชาเหล่านี้ว่า เอนไซโคลปีเดีย (Encyclopaedia)
[
ดูภาพทั้งหมดในหมวด
]
หัวข้อ
ความสำคัญของหนังสือสารานุกรม
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความสำคัญของหนังสือสารานุกรม
ความรู้ในวิชาการตลอดจนเรื่องราวข่าวสารข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยพฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดพัฒนาการในตัวคนและสังคม วิชาการเป็นทรัพย์สินทางปัญญามนุษยชาติ เป็นแหล่งทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้นยิ่งใช้ก็ยิ่งเพิ่มพูน พัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มมาจนถึงปัจจุบันได้อาศัยทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพชนสร้างไว้ และบันทึกไว้ เป็นมรดกตกทอดถึงชนในรุ่นปัจจุบัน หนังสือสารานุกรมเป็นหนังสือซึ่งรวมวิชาความรู้ และเรื่องราวต่างๆ ที่มนุษย์เรียนรู้และได้คิดสร้างสรรค์ไว้ทั้งหมดจึงนับเป็นคลังทรัพย์สินทางปัญญา ที่บริบูรณ์ในตัวเอง เปิดโอกาสให้ผู้ใฝ่รู้สามารถอ่านเพื่อแสวงหา ความรู้ด้วยตนเองได้ทุกเวลาตามความสามารถของตน เหมือนห้องสมุดขนาดเล็กที่เคลื่อนย้ายได้ตามผู้เป็นเจ้าของ ความรู้ในหนังสือสารานุกรมที่สร้างขึ้นใน แต่ละยุคแต่ละสมัยจะทันสมัยที่สุดสำหรับยุคนั้นๆ
นอกจากจะเป็นคลังทรัพย์สินทางปัญญาของมนุษย์แล้ว หนังสือสารานุกรมยังมีส่วนในการสร้างและพัฒนาวิธีการจัดระบบความรู้ต่างๆ มีการจัดหมวดหมู่ความรู้ เรียงลำดับความสำคัญของความรู้ ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ การสร้างคำแทนเนื้อเรื่อง และการเลือกคำสำคัญที่มีอยู่ในเรื่องแต่ละเรื่องมาจัดทำเป็นดัชนีค้นเรื่องท้ายเล่มหรือในเล่มสุดท้ายของชุดทั้งเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาเรื่องที่ต้องการ วิธีการเหล่านี้เป็นต้นเค้าส่วนหนึ่งของวิชาบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์ในปัจจุบัน
ปัจจุบันนี้ สารานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิงซึ่งห้องสมุดทุกแห่งจำเป็นต้องมี ผู้สนใจใฝ่หาความรู้บางคนที่มีกำลังทรัพย์พอจะซื้อไว้เป็นของตนก็จะซื้อไว้เพราะจะค้นหาเรื่องราวที่ต้องการได้เกือบทุกเรื่องในเวลาจำกัด หนังสือสารานุกรมในปัจจุบันมีมากมายหลายประเภท หลายรูปแบบมีทั้งสำหรับเด็กและสำหรับผู้ใหญ่ และมีหนังสือสารานุกรมทั่วไป และสารานุกรมเฉพาะวิชา
[
กลับหัวข้อหลัก
]
นักศึกษาค้นคว้าความรู้จากหนังสือสารานุกรม หนังสืออ้างอิงซึ่งรวมเรื่องราวความรู้ต่าง ๆ มากมาย
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนักในความสำคัญของหนังสือสารานุกรมว่าเป็นแหล่งความรู้ที่จำเป็นในการศึกษาแก่คนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กไทยที่ยังขาดที่เรียนและหนังสือเรียนอยู่เป็นอันมาก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ จึงได้มีพระราชปรารภเรื่องการจัดทำหนังสือสารานุกรมสำหรับเด็กและเยาวชนขึ้นพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ พอจะอัญเชิญมากล่าวโดยสรุปดังนี้
๑. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ต้องเป็นหนังสือที่คนไทยเป็นผู้เขียนขึ้น เพื่อให้คนไทยอ่าน จัดทำโดยทุนของคนไทย ไม่ใช่ถอดแบบมาจากต่างประเทศเสียทั้งหมด คือเพียงแต่รักษาแบบที่ฝรั่งทำไว้เป็นตัวอย่างดีอยู่แล้ว นำมาคิดทำแบบของเราให้เหมาะสมกับคนไทย
๒. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ต้องเป็นหนังสือประเภทความรู้ทั่วไป มีความรู้สารพัดอย่าง จะช่วยแก้ปัญหาของการขาดแคลนแหล่งความรู้ การขาดแคลนครู และการขาดแคลนโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
๓. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ จะต้องให้ความรู้ในวิชาทุกสาขาวิชา และแต่ละสาขาวิชานั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
๔. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ จะทำขึ้นสำหรับ ๓ ระดับอายุในเล่มเดียวกัน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องราวได้ตามระดับอายุคือ
ก) ระดับเด็กเล็ก อายุระหว่าง ๘-๑๑ ปี
ข) ระดับเด็กกลาง อายุระหว่าง ๑๒-๑๔ ปี
ค) ระดับเด็กโต เรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา และผู้ใหญ่ผู้สนใจทั่วไป
๕. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ นี้ต้องมีเฉพาะหลักวิชาแท้เฉพาะข้อเท็จจริง ผู้เขียนจะไม่แสดงความคิดเห็นของตนเองในเรื่องนั้นๆ
[
กลับหัวข้อหลัก
]
สารานุกรมไทยสำหรับยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นักเรียนค้นคว้าหาความรู้จากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บรรณานุกรม
คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
[
กลับหัวข้อหลัก
]
ผู้สนับสนุน
สนใจลงโฆษณา คลิก!