KULC BLOG
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 39 นาทีต่อวัน

สำนักงานสถิติแห่งชาติดำเนินการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ.2551 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน 2551 จากจำนวนครัวเรือนตัวอย่างประมาณ 53,000 ครัวเรือน พบว่า
การอ่านหนังสือของเด็กเล็ก ในที่นี้หมายถึงการอ่านหนังสือในช่วงนอกเวลาเรียน ซึ่งเด็กเล็กอ่านด้วยตัวเอง รวมทั้งการที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟังด้วย จากผลการสำรวจพบว่า เด็กเล็กมีอัตราการ อ่านหนังสือ 36% เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีอัตราการอ่านหนังสือใกล้เคียงกันคือ  36.7% และ 35.2%  แต่มีความแตกต่างกันระหว่างเขตการปกครองและภาค โดยในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตเทศบาล เด็กเล็กในกรุงเทพฯ มีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด ( 45%) ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเด็กเล็กมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุด (31.3%)
ความถี่ของการอ่าน เด็กเล็กที่อ่านหนังสือมีทั้งสิ้น 2.1 ล้านคนในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อ่านหนังสือสัปดาห์ละ 2-3 วันมากที่สุด (39.6%) รองลงมาคือ อ่านทุกวัน และอ่านสัปดาห์ละ 4-6 วัน ใกล้เคียงกัน (18.5% และ 17.3% ตามลำดับ)  และพบว่ามีเด็กเล็กที่อ่านหนังสือ นานๆ ครั้งมี 14.9%
การอ่านหนังสือของประชากร พบว่า คนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปมีอัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน 66.3% ผู้ชายมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย (67.5% และ65.1% ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า อัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจาก 61.2% ในปี 2546 เป็น 69.1% ในปี 2548 และลดลงเล็กน้อยคือ 66.3% ในปี 2551
เมื่อพิจารณาอัตราการอ่านหนังสือตามเขตการปกครองและภาค พบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตเทศบาล (77.7% และ 61.2% ตามลำดับ) กรุงเทพมหานครมีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด 85.5% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุด 58.2%
การอ่านหนังสือของประชากรมีความแตกต่างกันตามวัย กลุ่มวัยเด็ก มีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด รองลงมาคือกลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน และต่ำสุดคือ กลุ่มวัยสูงอายุ (81.5%  78.6%  64.3%  และ 39.3% ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า การอ่านหนังสือของกลุ่มวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่กลุ่มอื่นมีแนวโน้มลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะมีสื่ออื่นที่น่าสนใจกว่า เช่น โทรทัศน์ เกมส์ เป็นต้น
นอกจากนั้น อัตราการอ่านหนังสือ มีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา กล่าวคือ ผู้มีระดับการศึกษาที่สูงกว่า มีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้มีการศึกษาระดับต่ำกว่า
ประเภทของหนังสือที่อ่านนอกเวลา /นอกเวลาทำงาน พบว่า หนังสือพิมพ์เป็นประเภทของหนังสือที่มีผู้อ่านสูงสุด คือ 71% รองลงมาคือ นวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น และนิตยสาร (38.8% และ 35.4%) สำหรับแบบเรียน/ตำราเรียนตามหลักสูตรตำรา/หนังสือ/เอกสารที่ให้ความรู้  วารสาร/ เอกสารประเภทอื่นๆ ที่ออกเป็นประจำ และหนังสือ/เอกสารเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา มีสัดส่วนใกล้เคียงกันคือ ประมาณ 24%-29% และหนังสือประเภทอื่นๆ อีก 4.4%
คนที่มีวัยแตกต่างกัน มีความสนใจเลือกประเภทหนังสือที่อ่านแตกต่างกัน โดยวัยเด็กอ่านแบบเรียน/ตำราเรียนตามหลักสูตร สูงสุด 82% รองลงมาคือ นวนิยาย/ การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น สำหรับวัยอื่นส่วนใหญ่อ่านหนังสือพิมพ์ รองลงมาจะเลือกประเภทหนังสือที่อ่านแตกต่างกันตามวัย คือ วัยเยาวชนอ่าน นวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น วัยทำงานอ่านนิตยสาร และวัยสูงอายุอ่านหนังสือ/เอกสารเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา
ทั้งนี้ เนื้อหาสาระที่ผู้อ่านหนังสือชอบอ่านมากที่สุดคือ ข่าวรองลงมาคือ บันเทิง สารคดี/ความรู้ทั่วไป และความรู้วิชาการ (50.9%  39.1%  31.9% และ 24.5% ตามลำดับ) ส่วนเนื้อหาสาระที่มีผู้อ่านเพียงเล็กน้อย คือ ความคิดเห็น/วิเคราะห์ โฆษณา และอื่นๆ
สำหรับเวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือ ผู้อ่านหนังสือที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปทั้งหมด ใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน เฉลี่ย 39 นาทีต่อวัน โดยกลุ่มเยาวชนใช้เวลาอ่านหนังสือฯ เฉลี่ย 46 นาทีต่อวัน มากกว่ากลุ่มวัยอื่นที่ใช้เวลาอ่านหนังสือฯ ใกล้เคียงกันคือ ประมาณ 37-39 นาทีต่อวัน
การอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีจำนวน 3.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 8.1% ของผู้อ่านหนังสือทั้งสิ้น โดยพบว่า มีอัตราการอ่านหนังสือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ชายและผู้หญิงใกล้เคียงกัน (7.8% และ 8.5% ตามลำดับ) แต่อัตราการอ่านหนังสือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีความแตกต่างกัน ตามวัย เขตการปกครอง และภาค
วิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านหนังสือ
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เกี่ยวกับวิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านหนังสือ พบว่า วิธีการรณรงค์ที่ได้รับการเสนอแนะมากที่สุด 5 ลำดับแรกคือ หนังสือควรมีราคาถูกลง 28.7% หนังสือควรมีเนื้อหาสาระน่าสนใจ 22% ควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้านหรือชุมชน 19.8% ส่งเสริมให้พ่อแม่ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านหนังสือ 19.3% และภาษาที่ใช้ในหนังสือควรใช้ภาษาง่ายๆ สื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจได้ 13.1%
การอ่านหนังสือพิมพ์ ประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จากการสำรวจประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป พบว่ามีผู้อ่านหนังสือพิมพ์ประมาณ 28.4 ล้านคน คิดเป็น 47.1% โดยในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือพิมพ์สูงกว่านอกเขตเทศบาล (63.2% และ 39.9%  ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบอัตราการอ่านหนังสือพิมพ์เป็นรายภาค พบว่า กรุงเทพฯ มีอัตราการอ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุดถึง 75.5% รองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และน้อยที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (57.2%  46.3%  40.6% และ 33.3% ตามลำดับ)    ประเภทเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ที่ชอบอ่านมากที่สุดคือ ข่าว 89% รองลงมาคือ บันเทิง และสารคดี/ความรู้ทั่วไป (37.3%  และ 31.6% ตามลำดับ)–
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากการสำรวจครั้งนี้กับการสำรวจสื่อมวลชนด้านหนังสือพิมพ์ ปี 2538 และ2546 พบว่า อัตราการอ่านหนังสือพิมพ์ของประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ เพิ่มขึ้นจาก 35.4% ในปี 2538 เป็น 37.3% และ 47.1% ในปี 2546  และ 2551 ตามลำดับ โดยที่ผู้ชายมีอัตราการอ่านหนังสือพิมพ์สูงกว่าผู้หญิง
เมื่อพิจารณาการอ่านหนังสือพิมพ์ของประชากรตามกลุ่มวัย พบว่า วัยเยาวชนและวัยทำงานมีอัตราการอ่านหนังสือพิมพ์ใกล้เคียงกัน คือ 57.2% และ 55.7% รองลงมาคือ  วัยสูงอายุ (25.5%) และวัยเด็ก (19.4%) เมื่อเปรียบกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์ในอดีต พบว่า ทุกกลุ่มวัยมีแนวโน้มในการอ่านหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้น
ที่มา :     ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 29 – 31 ม.ค. 2552

Tags: การส่งเสริมการอ่าน, การอ่าน, หนังสือ

1 Comment to “คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 39 นาทีต่อวัน”

  1. น้ำ พูดว่า:

    ดีมากคะเรื่องนี้หนูเอาไปทำโครงงาน

Leave a Reply

Click to Insert Smiley

SmileBig SmileGrinLaughFrownBig FrownCryNeutralWinkKissRazzChicCoolAngryReally AngryConfusedQuestionThinkingPainShockYesNoLOLSillyBeautyLashesCuteShyBlushKissedIn LoveDroolGiggleSnickerHeh!SmirkWiltWeepIDKStruggleSide FrownDazedHypnotizedSweatEek!Roll EyesSarcasmDisdainSmugMoney MouthFoot in MouthShut MouthQuietShameBeat UpMeanEvil GrinGrit TeethShoutPissed OffReally PissedMad RazzDrunken RazzSickYawnSleepyDanceClapJumpHandshakeHigh FiveHug LeftHug RightKiss BlowKissingByeGo AwayCall MeOn the PhoneSecretMeetingWavingStopTime OutTalk to the HandLoserLyingDOH!Fingers CrossedWaitingSuspenseTremblePrayWorshipStarvingEatVictoryCurseAlienAngelClownCowboyCyclopsDevilDoctorFemale FighterMale FighterMohawkMusicNerdPartyPirateSkywalkerSnowmanSoldierVampireZombie KillerGhostSkeletonBunnyCatCat 2ChickChickenChicken 2CowCow 2DogDog 2DuckGoatHippoKoalaLionMonkeyMonkey 2MousePandaPigPig 2SheepSheep 2ReindeerSnailTigerTurtleBeerDrinkLiquorCoffeeCakePizzaWatermelonBowlPlateCanFemaleMaleHeartBroken HeartRoseDead RosePeaceYin YangUS FlagMoonStarSunCloudyRainThunderUmbrellaRainbowMusic NoteAirplaneCarIslandAnnouncebrbMailCellPhoneCameraFilmTVClockLampSearchCoinsComputerConsolePresentSoccerCloverPumpkinBombHammerKnifeHandcuffsPillPoopCigarette