ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

วิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

การศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทย

รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล

พัฒนาการการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นมาจากการเปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยเปิดสอนที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรกเมื่อ พ.ศ. 2494 เป็นการสอนวิชาการจัดห้องสมุด ในลักษณะการศึกษาพิเศษในตอนเย็นของคณะอักษรศาสตร์ ผู้สอนเป็นอาจารย์ชาวอเมริกันซึ่งมูลนิธิฟุลไบร์ทเป็นผู้จัดส่งมาช่วยสอน ปีละ 1 คน เป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน คือ พ.ศ. 2494-2499 จากการได้รับความนิยมจากผู้เรียนและเป็นการ พัฒนาวิชาบรรณารักษศาสตร์ในประเทศไทย คณะอักษรศาสตร์ได้เสนอขอจัดตั้งแผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์เมื่อปีการศึกษา2498 และเปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ในชั้นอนุปริญญาเป็นปีแรก การเปิดสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาเป็นลำดับ เปลี่ยนแปลงหลักสูตรหลายครั้ง จนกระทั่งพัฒนาหลักสูตรวิชาสารสนเทศศาสตร์เป็นวิชาเฉพาะโดยตรง ในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต และเป็นรายวิชาเลือกในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท

ในช่วงปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยหลายแห่งรวมทั้งวิทยาลัยครูที่เปิดสอนวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ ได้ปรับปรุงหลักสูตร หรือเพิ่มหลักสูตรใหม่โดยเน้นทางสารสนเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรีมีการปรับปรุงเปิดวิชา สารสนเทศศาสตร์เป็นวิชาเอกโดยตรง ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และเริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2532 วิทยาลัยครูหลายแห่งได้ใช้หลักสูตรวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ทำการสอนในระดับศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ) ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 เช่นเดียวกัน

มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์เป็นวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ในสถาบันวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในระดับปริญญาโท มีการเพิ่มเติมรายวิชาทางสารสนเทศศาสตร์อย่างมาก เพื่อ สนองความต้องการกำลังคนทางด้านสารสนเทศศาสตร์ และมีการเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ โดยเฉพาะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 แต่ระงับการเปิดสอนและจะเปิดใหม่ในปีการศึกษา 2532 และเปิดได้เพียงรุ่นเดียวก็ไม่ได้ดำเนินการเปิดอีกต่อไป

สถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในประเทศไทยที่ได้เปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ได้พัฒนาหลักสูตรรายวิชาสารสนเทศศาสตร์ เป็นวิชาเลือกในหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ ในหลายสถาบันได้เปลี่ยนชื่อหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นวิชาบรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาสตร์ และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นวิชาสารสนเทศศาสตร์โดยเฉพาะ ดังเช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้เริ่มสอนหลักสูตรวิชาสารสนเทศศาสตร์ในปีการศึกษา2532 เป็นปีแรก

ทุกสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ล้วนแล้วแต่พิจารณาเห็นว่าวิชาบรรณารักษศาสตร์เป็นรากฐานของวิชาสารสนเทศศาสตร์ในปัจจุบัน และเห็นว่าสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาโดยเฉพาะในด้านการศึกษาและการบริหารจัดการ สารสนเทศศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีลักษณะสหวิทยาการเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายสาขาวิชา โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการ การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การตลาด การศึกษา และอื่น ๆ โดยมีสารสนเทศเป็นแกนกลาง ดังนั้น การศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์จึงมีความสาคัญและความจำเป็นต่อบุคคล องค์การ วิชาชีพและสังคม ซึ่งต้องการผู้มีความรู้ความสามารถขั้นสูงในการจัดการสารสนเทศและการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศในปัจจุบันต่างมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1. มีความรู้ในด้านการจัดการห้องสมุดและสารสนเทศ ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง
2. มีความใฝ่รู้ สามารถพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และปรับตัวให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม การเมืองและเศรษฐกิจโลก
3. มีทักษะการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และสามารถประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ ได้อย่างเหมาะสม
4. มีใจรักบริการ มีความเป็นผู้นาและผู้ตามที่ดี และสามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้
5. มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสานึกต่อวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ระดับการศึกษาและสถาบันที่เปิดสอน

การศึกษาวิชาชีพทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เป็นการผสมผสานศาสตร์ทางด้านบรรณารักษศาสตร์ ในขณะเดียวกันมีการบูรณาการความรู้ทางด้านสารสนเทศศาสตร์ และวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับการเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์ โดยแบ่งระดับการศึกษาได้เป็น 3 ระดับคือ

การศึกษาระดับปริญญาตรี

สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชาสารสนเทศศาสตร์โดยเปิดสอนเป็นวิชาเลือกและวิชาพื้นฐานในระดับปริญญาตรี มีดังต่อไปนี้ คือ
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2502 ถึงปัจจุบัน ในคณะอักษรศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ อ.บ.
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2507 ถึงปัจจุบัน ในคณะศิลปศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2511 ถึงปัจจุบัน ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 ถึงปัจจุบัน ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2518 ถึงปัจจุบัน ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2518 ถึงปัจจุบัน ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2524 ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยบูรพา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2526 ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ กศ.บ., ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม) ในคณะมนุษยศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ
    ปริญญาที่ได้รับ คือ กศ.บ.. วท.บ.
    มหาวิทยาลัยทักษิณ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา) ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ กศ.บ.
    มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ในคณะอักษรศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ อ.บ.
    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 ในสาขาวิชาศิลปศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยราชภัฏ เริ่มเปิดสอนตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นวิทยาลัยครู เปิดสอนในหลักสูตร 2 ปี และ 4 ปี ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ค.บ. และ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยหอการค้า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.

การศึกษาระดับปริญญาโท

สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในระดับปริญญาโท มีดังต่อไปนี้คือ
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในคณะอักษรศาสตร์ เปิดสอนเป็นแห่งแรก ตั้งแต่ปีการศึกษา 2507 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิต บรรณารักษ์ที่มีความสามารถมี การศึกษาในด้านวิชาการชั้นสูง ออกไปปฎิบัติงานในห้องสมุดทุกประเภท และเป็นการผลิตอาจารย์ วิชาบรรณารักษศาสตร์ให้แก่ห้องสมุดโรงเรียนอีกด้วย
    ปริญญาที่ได้รับ คือ อ.ม.
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2510
    ปริญญาที่ได้รับ คือ กศ.ม.
    มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม) เปิดสอนในปีการศึกษา 2525
    ปริญญาที่ได้รับ คือ กศ.ม. และ ศศ.ม.
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดสอนบรรณารักษศาสตร์และสนเทศศาสตร์ ในการปีการศึกษา 2529 ในคณะศิลปศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.ม.
    มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2543
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.ม.

การศึกษาระดับประกาศนียบัตร

สถาบันที่เปิดสอนวิชาสารสนเทศศาสตร์ โดยเปิดเป็นวิชาเอกโดยตรงเป็นแห่งแรกรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาโท ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเปิดสอนในปีการศึกษา 2532 เป็นต้นไป ปริญญาที่ได้รับคือ ประกาศนียบัตรบัณฑิต

หลักสูตรการศึกษาและรายวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ที่เปิดสอนในปัจจุบัน

ระดับปริญญาตรี

การศึกษาวิชาบรรณารักษสาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทย เป็นการศึกษาวิชาในศาสตร์ของบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ทั่วๆไป หลักสูตรการศึกษามีความแตกต่าง กันออกไปในแต่ละสถาบันและระดับของการศึกษา

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนวิชาเฉพาะสาขาวิชาสารนิเทศศึกษา แบบวิชาเอก - โท สำหรัับนิสิตที่เลือกเรียนเป็นวิชาเอก และเปิดสอนเป็น วิชาโท สำหรับนิสิตที่เรียนวิชาเอกสาขาอื่น ทั้งในคณะ และนอกคณะที่เลือกเรียนเป็น วิชาโท ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

แบบวิชาเอก - โท 71 หน่วยกิต

1. วิชาเอก 51 หน่วยกิต
วิชาบังคับ 24 หน่วยกิต
วิชาเลือก 27 หน่วยกิต

2. วิชาโท 20 หน่วยกิต

นิสิตเอกสาขาวิชาสารนิเทศศึกษาต้องเลือกเรียนวิชาโทสาขาอื่นจากในคณะ หรือนอกคณะอีก ไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต

รายชื่อวิชาที่เปิดสอน

วิชาบังคับ 24 หน่วยกิต
2206211 สารนิเทศในปริบทสังคม (Information in Its Social Context)
2206222 การพัฒนาและการจัดการทรัพยากรสารนิเทศ (Collection Development and Management)
2206225 การจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ (Organizing Information Resources)
2206241 ทรัพยากรสารนิเทศและบริการอ้างอิง (Information Resources and Reference Services)
2206334 การวิเคราะห์สารนิเทศ (Information Analysis)
2206335 บริการสาระสังเขปและดรรชนี (Abstracting and Indexing Services)
2206351 การจัดการห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ (Management of Libraries and Information Centers)
2206382 เทคโนโลยีการจัดการสารนิเทศ (Information Management Technology)

วิชาเลือก 27 หน่วยกิต
2206224 สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials)
2206235 บริการสารนิเทศ (Information Services)
2206315 ธุรกิจการพิมพ์สมัยใหม่ (The Modern Publishing Trade)
2206322 การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification)
2206343 แหล่งสารนิเทศ (รายวิชาที่ต้องสอบผ่าน 2206241) (Information Sources)
2206364 วิธีวิจัยในสารนิเทศศึกษา (Research Methods in Information Studies)
2206373 การจัดการสื่อการศึกษาในห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ
(Instructional Media Management in Libraries and Information Centers)
2206383 ระบบค้นคืนด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Retrieval System)
2206384 การจัดการสารนิเทศในสำนักงาน (Office Information Management)
2206388 การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ในงานสารนิเทศ
(Web Site Design and Development in Information Work)
2206437 การจัดการความรู้ในองค์กร
(Knowledge Management in Organizations)
2206441 ทรัพยากรสารนิเทศทางธุรกิจ (Information Resources in Business)
2206458 การจัดการจดหมายเหตุ (Archival Management)
2206469 การศึกษาอิสระ (รายวิชาที่ต้องสอบผ่าน 2206364) (Independent Study)
2206484 การประมวลสารนิเทศสำเร็จรูป (Information Repackaging)
2206485 การจัดการฐานข้อมูลในงานสารนิเทศ
(Database Management in Information Work)
2206488 ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Libraries)
2206490 ฝึกงาน (Practicum)

วิชาโท 21หน่วยกิต

(นิสิตที่เรียนวิชาเอกสาขาอื่นทั้งในคณะและนอกคณะเลือกเรียนเป็นวิชาโทให้เลือกเรียน จากรายวิชาต่อไปนี้)
2206211 สารนิเทศในปริบทสังคม (Information in Its Social Context)
2206241 ทรัพยากรสารนิเทศและบริการอ้างอิง
(Information Resources and Reference Services)
2206315 ธุรกิจการพิมพ์สมัยใหม่ (The Modern Publishing Trade)
2206335 บริการสาระสังเขปและดรรชนี (Abstracting and Indexing Services)
2206382 เทคโนโลยีการจัดการสารนิเทศ (Information Management Technology)
2206383 ระบบค้นคืนด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Retrieval System)
2206384 การจัดการสารนิเทศในสำนักงาน (Office Information Management)
2206388 การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ในงานสารนิเทศ
(Web Site Design and Development in Information Work)
2206437 การจัดการความรู้ในองค์กร (Knowledge Management in Organizations)
2206441 ทรัพยากรสารนิเทศทางธุรกิจ (Information Resources in Business)
2206458 การจัดการจดหมายเหตุ (Archival Management) ุ
2206485 การจัดการฐานข้อมูลในงานสารนิเทศ
(Database Management in Information Work)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2556 โดยมีภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบ

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลักสูตรสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556)

รายวิชาที่เรียนประกอบไปด้วย

1. วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

2. วิชาเฉพาะ 100 หน่วยกิต
2.1 วิชาเอก 76 หน่วยกิต
2.1.1 วิชาบังคับในสาขา 37 หน่วยกิต
2.1.2 วิชาเลือกในสาขา 30 หน่วยกิต
2.1.3 วิชาบังคับนอกสาขา 9 หน่วยกิต

2.2 วิชาโทหรือวิชาเลือก 24 หน่วยกิต

3. วิชาเลือกเสรี 9 หน่วยกิต

ข้อกำหนดของหลักสูตร

1. วิชาศึกษาทั่วไป นักศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป รวมแล้วไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

2. วิชาเฉพาะ

2.1 วิชาเอก 76 หน่วยกิต

2.1.1 วิชาบังคับในสาขา
นักศึกษาต้องศึกษาวิชาบังคับในสาขาไม่น้อยกว่า 12 วิชา 37 หน่วยกิต และต้องสอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับ C ทุกรายวิชา ดังนี้
บ.211 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ 3 หน่วยกิต
บ.212 เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น 3 หน่วยกิต
บ.231 การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.241 การวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ 1 3 หน่วยกิต
บ.242 การทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ 1 3 หน่วยกิต
บ.251 ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิง 3 หน่วยกิต
บ.324 ความรู้เบื้องต้นทางการวิจัยสำหรับบรรณารักษ์ 3 หน่วยกิต
บ.343 การทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ 2 3 หน่วยกิต
บ.344 การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.361 การจัดและบริหารห้องสมุดทั่วไป 3 หน่วยกิต
บ.371 การบริการและการเผยแพร่สารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.491 การปฏิบัติงานในห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 4 หน่วยกิต

2.1.2 วิชาเลือกในสาขา นักศึกษาต้องเลือกศึกษารายวิชาอื่นๆ ในสาขาไม่น้อยกว่า 10 วิชา 30 หน่วยกิต โดยต้องเป็นวิชาในระดับ 400 ไม่น้อยกว่า 2 วิชา 6 หน่วยกิต จากรายวิชาต่อไปนี้
บ.215 การสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ 3 หน่วยกิต
บ.216 สารสนเทศกับสังคมไทย 3 หน่วยกิต
บ.217 การรู้สารสนเทศ 1 3 หน่วยกิต
บ.218 การรู้สารสนเทศ 2 3 หน่วยกิต
บ.226 พัฒนาการของห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.319 การบริหารสำนักงาน 3 หน่วยกิต
บ.327 หนังสือและการพิมพ์ 3 หน่วยกิต
บ.335 โปรแกรมประยุกต์สำหรับสำนักงาน 3 หน่วยกิต
บ.336 โปรแกรมด้านกราฟิก 3 หน่วยกิต
บ.345 บรรณานุกรม ดรรชนีและสาระสังเขป 3 หน่วยกิต
บ.346 การวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ 2 3 หน่วยกิต
บ.357 ทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 หน่วยกิต
บ.358 ทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต
บ.359 ทรัพยากรสารสนเทศสำหรับเด็กและวัยรุ่น 3 หน่วยกิต
บ.377 การบริการและการเผยแพร่สารสนเทศสำหรับผู้ใช้กลุ่มพิเศษ 3 หน่วยกิต
บ.385 วารสารและหนังสือพิมพ์สำหรับห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.425 การวิจัยสำหรับบรรณารักษ์ 3 หน่วยกิต
บ.445 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.446 พื้นฐานการจัดการฐานข้อมูลสำหรับห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.447 การทำรายการโสตทัศนวัสดุและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3 หน่วยกิต
บ.449 เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.456 การจัดการความรู้สำหรับบรรณารักษ์ 3 หน่วยกิต
บ.466 การจัดและบริหารห้องสมุดประชาชนและห้องสมุดโรงเรียน 3 หน่วยกิต
บ.467 การจัดและบริหารห้องสมุดเฉพาะและห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 3 หน่วยกิต
บ.476 การศึกษาผู้ใช้ 3 หน่วยกิต
บ.487 จดหมายเหตุและทรัพยากรสารสนเทศราชการ 3 หน่วยกิต

2.1.3 วิชาบังคับนอกสาขา นักศึกษาต้องศึกษาและสอบไล่ได้รายวิชาภาษาอังกฤษ 3 รายวิชา รวม 9 หน่วยกิต ได้แก่
อ.216 โครงสร้างภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต
อ.221 การอ่านเชิงวิเคราะห์ข้อมูล 3 หน่วยกิต
อ.231 การเขียนระดับย่อหน้า 3 หน่วยกิต

2.2 วิชาโทหรือวิชาเลือก 24 หน่วยกิต
นักศึกษาอาจเลือกศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้
2.2.1 วิชาโท นักศึกษาอาจเลือกศึกษาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์เป็นวิชาโท โดยศึกษาตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของหลักสูตรวิชาโทในสาขาวิชานั้นๆ ในกรณีที่นักศึกษาเลือกศึกษาวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาโท นักศึกษาสามารถนำวิชา อ.216 , อ.221 , และ อ. 231 (วิชาบังคับนอกสาขา) มานับรวมกับวิชาภาษาอังกฤษอื่นๆ ให้ครบจำนวนวิชาตามข้อกำหนดของหลักสูตรวิชาโทภาษาอังกฤษได้ แต่จะไม่นับหน่วยกิตให้ ดังนั้นนักศึกษาต้องศึกษาวิชาอื่น ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพิ่มอีก 3 วิชา 9 หน่วยกิต เพื่อให้ครบหน่วยกิตที่กำหนดไว้
หรือ 2.2.2 วิชาเลือก
นักศึกษาอาจเลือกศึกษาจากวิชาของสาขาใดก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมไม่เกิน 4 สาขาวิชา ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

3. วิชาเลือกเสรี 9 หน่วยกิต
นักศึกษาอาจเลือกศึกษารายวิชาใดก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นวิชาเลือกเสรีอย่างน้อย 9 หน่วยกิต ทั้งนี้ให้หมายรวมถึง วิชาศึกษาทั่วไป หมวดภาษาต่างประเทศด้วย

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้เปิดหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ จัดหลักสูตร วิชาเอก-สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ วิชาโท-บรรณารักษศาสตร์ และ วิชาโท-การจัดการสารสนเทศ

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศได้เปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งเป็นวิทยาลัยครู สังกัดกรมการฝึกหัดครู โดยได้เปิดสอนที่วิทยาลัยครู บ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2510 เป็นแห่งแรก เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ 1 ปี สำหรับผู้ที่จบ ป.กศ. ต้น มศ. 5 หรือเทียบเท่า ได้เปิดสอนอยู่ 5 ปี และเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปิดสอนในหลักสูตร ป.กศ. ชั้นสูง บรรณารักษศาสตร์ และวิทยาลัยครูอื่น ๆ ทั่วประเทศได้เปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ตามหลักสูตรที่ได้ รับอนุมัติให้เปิดสอน

หลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ เดิมเน้นเปิดสอนในวิทยาลัครูทั่วประเทศเพื่อเป็นหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ทั้งสายวิชาชีพครู และสายมนุษยศาสตร์ ในระดับ 2 ปีหลัง และระดับ 4 ปี เพื่อการผลิตครูบรรณารักษ์โดยตรง ครั้งล่าสุดนับตั้งแต่มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีการปรับปรุงหลักสูตรสายมนุษยศาสตร์ โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศในระดับปริญญาตรี เป็นโปรแกรมวิชาที่เน้นความสำคัญของการเรียนวิชาสารสนเทศศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมข่าวสาร ได้กำหนดจุดประสงค์เฉพาะสำหรับผู้เรียน เพื่อเน้นให้เป็นบรรณารักษ์ และนักเอกสารสนเทศ และเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ที่ได้รับนำไปพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการในระดับสูงขึ้นต่อไป

นับตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ใหม่ โดยมีแนวโน้มในการใช้ชื่อหลักสูตรว่า หลักสูตรสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดทำหลักสูตรฉบับปรับปรุงกับหลักสูตรเดิมในแต่ละมหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดทำหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556 สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ กำหนด จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 130 หน่วยกิต ดังนี้

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษา 12 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
1.4 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต

2. หมวดวิชาเฉพาะ 94 หน่วยกิต
2.1 วิชาบังคับ 59 หน่วยกิต
2.2 วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
2.3 วิชาประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

มหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยหลายแห่งได้เปิดทำการสอนวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี ได้เห็นความสำคัญต่อการบรรจุรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับ สารสนเทศในรายวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ ดังเช่น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้กำหนด วัตถุประสงค์ของการเรียนวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ข้อหนึ่งว่า เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพในการบริหารและบริการ สารสนเทศให้แก่ภาครัฐบาลและเอกชน กำหนดให้เรียนวิชาบังคับ 26 หน่วยกิต และวิชาเลือกอีก 19 หน่วยกิต รวมเป็น 45 หน่วยกิต รายวิชาในระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศศาสตร์ มีดังต่อไปนี้
    มศ. 4706 ความรู้เบื้องต้นทางสนเทศศาสตร์
    มศ. 2743 แหล่งสนเทศทางธุรกิจ
    มศ. 3746 ระบบสนเทศเพื่อการจัดการ

มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปิดสอนใน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการสารสนเทศและเทคโนโลยี และหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศธุรกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นับเป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวที่เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์โดยตรง เป็นหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี วิชาเอกสารสนเทศทั่วไป และวิชาเอกสารสนเทศสำนักงาน ได้ตั้งวัตถุประสงค์ในการจัดหลักสูตร ดังนี้ คือ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ในการจัดการข้อมูลข่าวสารในหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการสารสนเทศ เช่น ห้องสมุด ศูนย์เอกสาร ศูนย์ข้อมูล สถิติ และสารสนเทศในสำนักงานทั่วไป เพื่อยกสถานภาพของผู้ปฎิบัติงานสารสนเทศให้เป็นที่ยอมรับทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน และเพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางสารสนเทศศาสตร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรประกอบไปด้วยการเรียนรายวิชารวมทั้งหมด13 ชุดวิชา 72 หน่วยกิต โดยมีโครงสร้างของหลักสูตร ดังต่อไปนี้ คือ

วิชาเอกสารสนเทศทั่วไป
ชุดวิชาพื้นฐานทั่วไป

    10151 ไทยศึกษา

ชุดวิชาแกน

    22222 การอ่านภาษาอังกฤษ

ชุดวิชาเฉพาะ

    13201 สารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น
    13202 การสื่อสาร
    13311 การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
    13312 การวิเคราะห์สารสนเทศ
    13313 การบริการและเผยแพร่สารสนเทศ
    13314 การวางแผนและการบริหารระบบสารสนเทศ
    13411 สารสนเทศลักษณะพิเศษ
    13412 แหล่งสารสนเทศทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์
    13401 ประสบการณ์วิชาชีพสารสนเทศศาสตร์

ชุดวิชาเลือกเสรี

เลือกจากชุดวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรีของสาขาวิชาศิลปศาสตร์หรือ ของสาขาวิชาอื่นที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชอีก 1 ชุดวิชา

วิชาเอกสารสนเทศสำนักงาน
ชุดวิชาพื้นฐาน

    10151 ไทยศึกษา

ชุดวิชาแกน

    10202 การอ่านภาษาไทย
    22222 การอ่านภาษาอังกฤษ

ชุดวิชาเฉพาะ

    13201 สารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น
    80204 เศรษฐกิจกับการเมืองไทย
    13321 การเขียนเพื่อการสื่อสารธุรกิจ
    13323 การบริหารการเงินและการบริหารการปฏิบัติการ
    13421 งานสำนักงานและการประชาสัมพันธ์
    13401 ประสบการณ์วิชาชีพสารสนเทศศาสตร์

เลือก 1 ชุดวิชา จากชุดวิชาต่อไปนี้

    10203 พฤติกรรมมนุษย์
    13202 การสื่อสาร
    13422 พฤติกรรมองค์การและการจัดการตลาด

และเลือก 1 ชุดวิชา จากชุดวิชาต่อไปนี้

    60120 หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
    13322 การบัญชีและกฎหมายธุรกิจ

ชุดวิชาเลือกเสรี

เลือกจากชุดวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรีของสาขาวิชาศิลปศาสตร์หรือ ของสาขาวิชาอื่นที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หลักสูตรทั้งสองวิชาเอก แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อ ปี พ.ศ. 2530 และเริ่มเปิดสอนวิชาเอกสารสนเทศทั่วไปในปีการศึกษา 2532 นอกจากนี้มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช ยังมีหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชางานสารสนเทศ ใช้เวลาเพียง 1 ปี จำนวน 12 ชุดวิชา 30 หน่วยกิต โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าอีกด้วย

ระดับปริญญาโท

การศึกษาในหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างผู้นำทางวิชาชีพ และเพื่อ สร้างผู้สอนที่สามารถพัฒนาวิชาบรรณารักษศาสตร์ กำหนดรายวิชาให้เรียนไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต เป็นวิชาเอกบังคับ 13 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต รายชื่อที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ มีต่อไปนี้

วิชาเอกบังคับ

    บรรณ 503 ทักษะเพื่อการสื่อสารด้านบรรณารักษศาสตร์และสนเทศศาสตร์
    บรรณ 631 สัมมนาทางบรรณารักษศาสตร์และสนเทศศาสตร์

วิชาเอกเลือก

    บรรณ 502 การศึกษาทางบรรณารักษศาสตร์และสนเทศศาสตร์
    บรรณ 514 วิธีวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสนเทศศาสตร์
    บรรณ 515 สื่อการศึกษาในห้องสมุดและศูนย์สนเทศ
    บรรณ 517 วิธีสอนบรรณารักษศาสตร์และสนเทศศาสตร์
    บรรณ 540 บริการช่วยค้นคว้าและบริการสนเทศ
    บรรณ 611 สนเทศศาสตร์เบื้องต้น
    บรรณ 612 เทคนิคปฎิสารสนเทศ
    บรรณ 615 เทคนิคสมัยใหม่ในห้องสมุดและศูนย์สนเทศ
    บรรณ 640 แหล่งและบริการสนเทศทางมนุษยศาสตร์
    บรรณ 641 แหล่งและบริการสนเทศทางสัมคมศาสตร์
    บรรณ 642 แหล่งและบริการสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    บรรณ 643 แหล่งและบริการสนเทศทางการศึกษา
    บรรณ 644 แหล่งและบริการสนเทศทางพระพุทธศาสนา

หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาโทในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์มีการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงรายวิชาตลอดเวลา นับตั้งแต่ได้เปิดสอนในระดับปริญญาโท ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ฉบับหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2551

โครงสร้างหลักสูตรประกอบไปด้วย
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 27 หน่วยกิต ประกอบด้วย วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต วิชาเลือก 15 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต

วิชาบังคับพื้นฐาน ได้แก่วิชา
2206501 การพัฒนาสื่อสารนิเทศ (Information Media Development)
2206502 การจัดระบบสื่อสารนิเทศ (Information Media Organization)
2206503 บริการอ้างอิงและสารนิเทศ (Reference and Information Services)
2206504 การบริหารห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ (Library and Information Center Administration)

วิชาบังคับ (12 หน่วยกิต)
2206611 มิติโลกในบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
(Global Perspectives in Library and Information Science)
2206652 การบริหารห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศขั้นสูง
(Advanced Administration of Libraries and Information Centers)
2206673 การวิจัยในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
(Research in Library and Information Science)
2206690 เทคโนโลยีสำหรับบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
(Technologies for Library and Information Science)

วิชาเลือก (15 หน่วยกิต)
2206625 สื่อสารนิเทศและบริการเฉพาะสาขา
(Specialized Information Media and Services)
2206626 การสร้างตัวแทนความรู้ (Knowledge Representation)
2206636 การจัดการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials Management)
2206638 การจัดการเอกสารและจดหมายเหตุ (Archival and Records Management)
2206640 การสงวนรักษาดิจิทัล (Digital Preservation)
2206642 เมทาเดทาในงานสารนิเทศ (Metadata in Information Work)
2206643 การจัดการสารนิเทศและความรู้ (Information and Knowledge Management)
2206659 สัมมนาวิชาชีพสารนิเทศ (Seminar in Information Profession)
2206675 ความต้องการและการใช้สารนิเทศ (Information Needs and Uses)
2206676 การศึกษาอิสระ (Independent Study)
2206689 การเขียนโปรแกรมบนเว็บ (Web Programming)
2206691 การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารนิเทศ
(Information Systems Analysis and Design)
2206693 การค้นคืนและการประมวลสารนิเทศ (Information Retrieval and Repackaging)
2206694 ข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศ (Library and Information Networks)
2206696 การจัดการเว็บไซต์ในงานสารนิเทศ
(Web Site Management in Information Work)
2206697 ห้องสมุดดิจิทัล (Digital Libraries)

วิทยานิพนธ์ (12 หน่วยกิต)
2206811 วิทยานิพนธ์ (Thesis)

หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2509 เป็นต้นมา ได้กำหนด วัตถุประสงค์ของหลักสูตรไว้ 3 ประการ คือ
    1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่เป็นผู้นำทางด้านวิชาชีพ และผู้บริการระดับสูงทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
    2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่พัฒนางานห้องสมุด หรือศูนย์สารสนเทศ
    3. เพื่อผลิตผู้สอนด้านบรรณารักษศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์
    4. เพื่อผลิตนักวิชาการที่สามารถทำการค้นคว้าวิจัยทางด้านบรรณารักษศาสตร์ หรือสารสนเทศศาสตร์

การเรียนตามหลักสูตร ประกอบไปด้วยการเรียนในรายวิชาบังคับ จำนวน 18 หน่วยกิต วิชาเลือกไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ จำนวน 9 หน่วยกิต รวมทั้ง หมด 42 หน่วยกิต โดยมีรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศศาสตร์ ดังต่อไปนี้

วิชาบังคับ

    บ. 611 เทคโนโลยีสารสนเทศ
    บ. 612 บริการสารสนเทศ
    บ. 651 การบริหารห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศชั้นสูง
    บ. 671 การวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
    บ. 711 การประมวลผลสำหรับงานห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ

วิชาเลือก

    บ. 635 ทรัพยากรสารสนเทศในสาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
    บ. 636 ทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และประชากรศาสตร์
    บ. 637 ทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ
    บ. 638 ทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
    บ. 645 ทรัพยากรสารสนเทศเรื่องไทยศึกษา
    บ. 646 ทรัพยากรสารสนเทศเรื่องเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
    บ. 666 การอ่านในวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
    บ. 675 สถิติสำหรับงานบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
    บ. 686 การประยุกต์วิธีสอนสำหรับวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
    บ. 715 โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับงานสารสนเทศ
    บ. 756 อาคารห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ
    บ. 778 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโทหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ฉบับปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2548 โดยปรับจากชื่อหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์

รายละเอียดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท เป็นสาขาการจัดการสารสนเทศ (Information Management) เมื่อ ปี พ.ศ. 2544 เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ก้าวทันเทคโนโลยี ซึ่งนำไปสู่การผลิตบัณฑิต ที่มีศักยภาพทั้งในด้านการทำงานและการดำเนินชีวิตในสังคม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยบูรพาได้เปิดสอนในหลักสูตรศิอปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ในปี พ.ศ. 2549 ใช้ชื่อว่า ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์)

รายละเอียดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา

มหาวิทยาลัยราชภัฎได้เปิดสอนหลักสูตรสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในระดับปริญญาโท 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปัจจุบันมีเพียงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่เปิดสอนในระดับปริญญาโททางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ โดยเปิดสอนในแขนงวิชา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ แขนงวิชา การจัดการสารสนเทศเพื่อธุรกิจ แขนงวิชา การจัดการสารสนเทศเพื่อการศึกษา และ แขนงวิชา การจัดการสารสนเทศวัฒนธรรม

รายละเอียดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้พัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2551) คณะวิชาที่รับผิดชอบ คือ คณะมนุษยศาสตร์ ระบบการศึกษา ใช้ระบบทวิภาค (Semester System) โดยแบ่งเวลาการศึกษาในแต่ละปีการศึกษาเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ใช้เวลาในการศึกษาภาคละ 15 สัปดาห์และอาจมีภาคฤดูร้อนซึ่งใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 สัปดาห์ มีระยะเวลาการศึกษาเพื่อรับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ กำหนดให้ไม่เกิน 5 ปีการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ระดับประกาศนียบัตร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นสถานศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียวที่เปิดสอนวิชาสารสนเทศศาสตร์โดยตรงในระดับประกาศนียบัตร โดยกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าเรียนว่าจะต้องจบการศึกษาขั้นปริญญามหาบัณฑิตเข้าศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ โดยเริ่มเปิดตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 การเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูงในด้านการจัดการห้องสมุดที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการวางแผน การจัดการงานในห้องสมุดและ ศุนย์สารสนเทศ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการวางแผนและการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการและบริการสารสนเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ผู้ที่สำเร็จ การศึกษาปริญญามหาบัณฑิตในสาขาวิชาอื่น ได้เพิ่มพูนความรู้ในวิชาสารสนเทศศาสตร์ มีความ รู้ความชำนาญในวิชาเฉพาะที่เหมาะสมกับเป้าหมายในวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตร แบ่งเป็น 2 สาขาวิชาเฉพาะ คือ
1. สาขาวิชาการจัดการห้องสมุด
2. สาขาวิชาระบบห้องสมุดอัตโนมัติและสารนิเทศ
ทั้ง 2 สาขาวิชา นักศึกษาจะต้องเรียนทั้งหมด 30 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็นวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต และวิชาเลือก 15 หน่วยกิต
ในปัจจุบัน ทางคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ได้เปิดหลักสูตรในระดับประกาศนียบัตรแล้ว จึงมีนักศึกษาเรียนในระดับนี้เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น

ระดับปริญญาเอก

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์) เมื่อ ปี พ.ศ. 2553 โดยเน้นถึงความสำคัญของหลักสูตรที่เปิดสอนว่า สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาโดยเฉพาะในด้านการศึกษาและการบริหารจัดการ สารสนเทศศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีลักษณะสหวิทยาการเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายสาขาวิชา โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการ การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การตลาด การศึกษา และอื่น ๆ โดยมีสารสนเทศเป็นแกนกลาง ดังนั้น การศึกษาสารสนเทศศาสตร์จึงมีความสาคัญและความจาเป็นต่อบุคคล องค์การ วิชาชีพและสังคม ซึ่งต้องการผู้มีความรู้ความสามารถขั้นสูงในการจัดการสารสนเทศและการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์) จานวน 54 หน่วยกิต

บังคับ 3 ชุดวิชา

13901 มิติสารสนเทศศาสตร์

13902 การวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงทางสารสนเทศศาสตร์

13903 สัมมนาประเด็นการวิจัยทางสารสนเทศาสตร์

13998 ดุษฎีนิพนธ์

13999 สัมมนาเสริมประสบการณ์ดุษฎีบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้กำหนดวิธีการศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์) โดย กำหนดระยะเวลาในการเรียนตามหลักสูตร 3 ปี (ปีละ 2 ภาคการศึกษา) และนักศึกษาสามารถขยายเวลาศึกษาได้ตามความพร้อมของตนเองโดยไม่เกิน 6 ปีการศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตทรัพยากรบุคคลในสาขาสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในระดับสูงที่มีความรู้ความสามารถในจัดการสารสนเทศและ ความรู้โดยการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้าน การบริหารจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และองค์ความรู้ทางด้านสังคม รวมทั้งมีความสามารถในการวิเคราะห์ แก้ปัญหา และสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการศึกษาวิจัย ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรม รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อผลักดันให้เกิด สังคมการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในภาพรวม

แนวโน้มในการเรียกชื่อวิชาชีพทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

จากการจัดการศึกษาวิชาชีพทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในสถานศึกษาต่างๆทั่วประเทศไทย อาจพิจารณาได้ว่าเริ่มมีแนวโน้มในการเปลี่ยนชื่อวิชาจากบรรณารักษศาสตร์ มาเป็นสารสนเทศศาสตร์เพิ่มเติมมากขึ้นในระยะแรก บางวิชาเป็นรายวิชาเดิมเปลี่ยนชื่อใหม่ตามสภาพสังคมข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น วิชา บริการของห้องสมุด เปลี่ยนชื่อเป็น บริการสนเทศของห้องสมุด และบางวิชาได้เปลี่ยนขอบเขต วิชาเดิมเป็นวิชาใหม่ หรือจัดเป็นวิชาใหม่ทางด้านสารสนเทศศาสตร์โดยตรง เช่น จากวิชาความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์ เพิ่มเติมเป็นความรู้เบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์และวิชาระบบสนเทศเพื่อการจัดการ ตลอดจนวิชาใหม่ทางด้านสารสนเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรีและระดับประกาศนียบัตร (หลักสูตรหลังปริญญาโท)

การศึกษาวิชาสารสนเทศศาสตร์ จากรายวิชาต่าง ๆ ที่กล่าวมามีส่วนสัมพันธ์กับก ารสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์มาโดยตลอด ความหมายของบรรณารักษศาสตร์ที่กล่าวมาเป็น การศึกษารายละเอียด การวิเคราะห์และการปฏิบัติเกี่ยวกับวัตประสงค์ นโยบายและกระ บวนการขององค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ก็เป็นความหมายของสารสนเทศศาสตร์ในปัจจุบันด้วย เพราะสารสนเทศศาสตร์เกี่ยวข้องกับการจัดการเกี่ยวกับข่าวสารและเป็นวิชาที่พัฒนามาเป็นวิชาหนึ่งโดยแยกมาจากบรรณารักษศาสตร์ ตามสภาพเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาดำเนินงานในศูนย์สารสนเทศต่าง ๆ

การเปิดสอนวิชาสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทยตามที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการสอน วิชาบรรณารักษศาสตร์ และมีแนวโน้มในการเปลี่ยนชื่อภาควิชาที่รับผิดชอบ เป็นภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เพิ่มมากขึ้น การเพิ่มเติมรายวิชาสารสนเทศศาสตร์มีความจำเป็นในการปรับปรุงหลักสูตรวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และมีแนวโน้มในการเรียกชื่อสาขาวิชาว่า บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในหลักสูตรฉบับปรับปรุง ตามความต้องการกำลังคนทางอุตสาหกรรมสารสนเทศที่กำลังเจริญเติบโตขึ้น สถาบันการศึกษาวิชาชีพต่างมีเป้าหมาย ในการผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในด้านต่าง ๆ สรุปได้ต่อไปนี้ คือ
    1. มุ่งเน้นให้มีความสามารถด้านวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ทุกประเภท
    2. ให้มีความสามารถในการประกอบอาชีพเป็นครูบรรณารักษ์
    3. ให้มีความสามารถในการประกอบอาชีพอิสระ
    4. ให้มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ
    5. ให้มีความสามารถในการที่จะเป็นนักวิจัย

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com