สำนักหอสมุดแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำนักหอสมุดแห่งชาติ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2448 โดยปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน เขตดุสิต ซึ่งเริ่มเปิดทำการมาตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา เป็นหน่วยงานสังกัด กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนครกลับจากเสด็จประพาสยุโรป พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริให้ขยายกิจการหอพระสมุดวชิรญาณซึ่งแต่เดิมทีเป็นหอพระสมุดสำหรับราชสกุล ให้เป็นหอสมุดสำหรับบริการประชาชนทั่วไป และทรงพระราชทานนามว่า "หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร" โดยได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๘

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯให้ย้ายหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครจากเดิมที่ตั้งอยู่ที่ศาลาสหทัยสมาคม มาไว้ที่ตึกใหญ่ริมถนนหน้าพระธาตุซึ่งเรียกว่าตึกถาวรวัตถุ และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๕๙

ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯให้แยกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครออกเป็น ๒ หอ คือ หอพระสมุดวชิราวุธ ตั้งอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุเช่นเดิมให้เป็นที่เก็บหนังสือฉบับพิมพ์และ หอพระสมุดวชิรญาณ ให้ใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวเขียนและตู้พระธรรม

ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ รัฐบาลจัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นและมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกำหนดให้หอพระสมุดสำหรับพระนคร มีฐานะเป็นกองหนึ่งในกรมศิลปากรเรียกว่า กองหอสมุดและได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหอพระสมุดสำหรับพระนครเป็นหอสมุดแห่งชาติในเวลาต่อมา จนถึงพุทธศักราช ๒๕๐๕ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติเป็นอาคารทรงไทย สูง ๕ ชั้นขึ้น ที่บริเวณท่าวาสุกรี ถนนสามเสน และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นอาคารทรงไทย ๕ ชั้น บนเนื้อที่ประมาณ ๑๗ ไร่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม[1]

[แก้] ห้องสมุดสาขา

  1. หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ
  2. หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
  3. หอสมุดแห่งชาติ ลำพูน
  4. หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา
  5. หอสมุดแห่งชาติประโคนชัย บุรีรัมย์
  6. หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นครพนม
  7. หอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี สิงห์บุรี
  8. หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี
  9. หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
  10. หอสมุดแห่งชาติ ชลบุรี
  11. หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
  12. หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
  13. หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา
  14. หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สงขลา
  15. หอสมุดแห่งชาติวัดดอนรัก สงขลา
  16. หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ตรัง
  17. หอสมุดแห่งชาติวัดเจริญสมณกิจ ภูเก็ต

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ความเป็นมาของสำนักหอสมุดแห่งชาติ จากเว็บไซต์หอสมุดแห่งชาติ เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′08″N 100°30′19″E / 13.752097°N 100.505344°E / 13.752097; 100.505344

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น