กลับหน้าหลัก

Link ที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อผู้จัดทำ

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย

 

 

 

 

2.2 การจัดการเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

 

1.หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

  1.1แนวคิดจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542

  1.2แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542

2.องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

  2.1การบริหารจัดการ

  2.2การจัดการเรียนรู้

  2.3การเรียนรู้ของผู้เรียน

3.เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

  3.1เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง

  3.2เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับคนอื่น

  3.3 เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

4.การวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

  4.1การวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง

  4.2วิธีการและเครื่องมือการวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

  4.3 การนำแนวคิดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

5.บทบาทของครูในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

  5.1บทบาทในฐานะผู้จัดการและผู้อำนวยความสะดวก 

  5.2บทบาทในฐานะผู้จัดการเรียนรู้ 

 

องค์ประกอบด้าน  “การจัดการเรียนรู้” นับว่าเป็นองค์ประกอบหลักที่แสดงถึงการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้ บทบาทของครู และบทบาทของผู้เรียน

การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญจะทำได้สำเร็จเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ได้แก่  ครู  และผู้เรียน มีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับความหมายของการเรียนรู้  ดังสาระที่ ทิศนา  แขมมณี (2544) ได้กล่าวไว้ดังนี้

                   1. การเรียนรู้เป็นงานเฉพาะบุคคล ทำแทนกันไม่ได้  ครูที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง

                   2. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่ต้องมีการใช้กระบวนการคิด สร้างความเข้าใจ ความหมายของสิ่งต่างๆ  ดังนั้นครูจึงควรกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ

                   3. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม  เพราะในเรื่องเดียวกัน อาจคิดได้หลายแง่  หลายมุมทำให้เกิดการขยาย  เติมเต็มข้อความรู้  ตรวจสอบความถูกต้องของการเรียนรู้ตามที่สังคมยอมรับด้วย  ดังนั้นครูที่ปรารถนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ

                   4. การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน เป็นความรู้สึกเบิกบาน เพราะหลุดพ้นจากความไม่รู้  นำไปสู่ความใฝ่รู้ อยากรู้อีก เพราะเป็นเรื่องน่าสนุก ครูจึงควรสร้างภาวะที่กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้หรือคับข้องใจบ้าง  ผู้เรียนจะหาคำตอบเพื่อให้หลุดพ้นจากความข้องใจ  และเกิดความสุขขึ้นจากการได้เรียนรู้  เมื่อพบคำตอบด้วยตนเอง

                   5. การเรียนรู้เป็นงานต่อเนื่องตลอดชีวิต ขยายพรมแดนความรู้ได้ไม่มีที่สิ้นสุด ครูจึงควรสร้างกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ไม่รู้จบ

                   6. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลง เพราะได้รู้มากขึ้นทำให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ เป็นการพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับรู้ผลการพัฒนาของตัวเขาเองด้วย

จากความหมายของการเรียนรู้ที่กล่าวมา ครูจึงต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้

(1) ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

(2) การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก

(3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน

(4) การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ  ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย

(5) ความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน

(6) การท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้

(7) การตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้

(8) การสร้างบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง

(9) การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้

(10)    การมีจุดมุ่งหมายของการสอน

(11) ความเข้าใจผู้เรียน

(12)    ภูมิหลังของผู้เรียน

(13)    การไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น

(14) การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร  (dynamic)  กล่าวคือ  มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านการจัดกิจกรรม  การสร้างบรรยากาศ  รูปแบบเนื้อหาสาระ  เทคนิค  วิธีการ

(15) การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป

                   (16) การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

 กลับขึ้นด้านบน