Login |

23 สิงหาคม 2555
องค์กรภาคีของ คศน.
สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)
องค์ภาคี
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.)
มูลนิธิแพทย์ชนบท
สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)
สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)

หน้าที่ 1 2 3

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)

วิสัยทัศน์
จุดประกายปัญญา ให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ เป้าหมายสูงสุดคือ สุขภาพสังคม

ประวัติความเป็นมา
สำนัก วิจัยสังคมและสุขภาพได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โดยมีเจตนาให้เป็นแผนงานหลักในการบริหารจัดการความรู้และ พัฒนาเครือข่ายการวิจัยด้านสังคมศาสตร์และสุขภาพ ในระยะแรก (พ.ศ. 2543 – 2544) ของการดำเนินการนั้นมีลักษณะเป็น “ชุดโครงการวิจัยสังคมและสุขภาพ” และได้กำหนดประเด็นหลักสำคัญ (thematic area) ในการดำเนินการเอาไว้ตั้งแต่ต้นโดยครอบคลุม 5 ประเด็นหลักได้แก่
1.งานวิจัยด้านกระบวนทัศน์สุขภาพ
2.งานวิจัยด้านประวัติศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุขไทย
3.งานวิจัยเพื่อส่งเสริมมิติทางสังคมและมนุษย์ในระบบบริการสุขภาพ
4.งานวิจัยและพัฒนาประชาสังคมกับระบบสุขภาพ และ
5.งานวิจัยระบบสุขภาพภาคประชาชน
อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินการของสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพในระยะแรก มุ่งเน้นที่การทบทวนองค์ความรู้เพื่อการวางวาระและทิศทางการวิจัย โดยมีการจัดประชุมปฏิบัติการเป็นระยะ ๆ เพื่อให้สามารถพัฒนาประเด็นการวิจัยและสามารถเชื้อเชิญ ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเป็นเครือข่ายนักวิจัย ได้

ในระยะต่อมา (พ.ศ. 2545) ของแผนงานวิจัยได้มีการปรับรูปแบบการบริหารจัดการแผนงานโดยยกระดับแผนงานขึ้น เป็น “สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ” และได้ขยายกระบวนการทำงานให้กว้างขวางขึ้น โดยแทนที่จะเน้นเฉพาะการสร้างงานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ แผนงานในระยะนี้ได้ปรับไปสู่การสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่และสร้างชุมชนทางวิชา การควบคู่ไปด้วย โดยได้พัฒนากลไกการทำงานเพื่อเชื่อมโยงกับนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอกที่สนใจประเด็นด้านสุขภาพในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

ในปัจจุบันสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ดำเนินการภายใต้ขอบเขตและประเด็นหลักของการสนับสนุนการวิจัยและ สร้างกิจกรรมทางวิชาการเพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใน 5 ด้านหลัก ดังนี้
1.ด้านปรัชญาวิทยาศาสตร์ กระบวนทัศน์สุขภาพและสันติภาวะในระบบสุขภาพ
2.ประวัติศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุขไทย
3.ด้านการส่งเสริมมิติทางสังคมและความเป็นมนุษย์ในระบบบริการสุขภาพ
4.ด้านระบบสุขภาพภาคประชาชนและประชาสังคม
5.ด้านสุขภาพ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ
โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และแหล่งทุนต่าง ๆ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ฯลฯ

ยุทธศาสตร์
สร้างความรู้ มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยที่จะทำให้มีการผลิตความรู้ใหม่ ๆ ตลอดจนมีการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปที่สามารถใช้ขับเคลื่อน นโยบายและสร้างแนวทางการปฏิบัติใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเครื่องมือเพื่อที่จะสามารถแปลแนวคิดทางด้าน สังคมให้เป็นการปฏิบัติได้

สร้างคน เน้นการสร้างนักวิจัยโดยเฉพาะในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ที่มีศักยภาพด้านการวิจัย โดยอาศัยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อที่จะให้นักศึกษาเหล่านี้พัฒนาไปสู่การเป็นนักวิจัยทางด้านสังคมที่มี ความสามารถและเป็นกำลังสำคัญได้ในอนาคต

สร้างชุมชนวิชาการ เพื่อเป็นสิ่งแวดล้อมทางการวิจัย (Research Environment) ที่สำคัญที่จะผลักดันให้นักวิจัยเติบโตเต็มศักยภาพ โดยชุมชนวิชาการดังกล่าวนี้จะสร้างความสัมพันธ์กับนักวิจัยและสถาบันการ ศึกษาในลักษณะเครือข่าย และเอื้ออำนวยให้สามารถที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในสถาบันต่าง ๆ ในการสนับสนุนกระบวนการวิจัยต่าง ๆ อีกด้วย

ค่านิยมหลัก
1. ศรัทธาในความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์
2. เชื่อมั่นในปัญญาและการเรียนรู้
3. มีวินัยและฝึกฝนตนเอง 
 
สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)
ที่ตั้ง
ชั้น 3 อาคาร 88/37 (คลังพัสดุ) กระทรวงสาธารณสุขซอย 6
ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
E-mail :
suksala@gmail.com 


  ลิขสิทธิ์ โดย เครือข่ายร่วมพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะแนวใหม่ ปี พ.ศ.2552 © 2009 | Admin