2.
ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง
เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ
จานดาวเทียม ฯลฯ
3. โปรโตคอล
(Protocol)
โปรโตคอล
คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร
เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้
ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น
4. ซอฟต์แวร์
(Software)
การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ
และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้
ได้แก่ Novell's NetWare UNIX Windows NT ฯลฯ
5. ข่าวสาร (Message)
เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง
ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้
5.1 ข้อมูล (Data)
เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ
ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน
เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น
ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2 ข้อความ (Text)
อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ
ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้คอนข้างยาก
และมีความสามารถในการส่งปานกลาง
5.3 รูปภาพ (Image)
เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ
ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวิดีโอ
ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บและใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
5.4 เสียง (Voice)
อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ
ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้
การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ
6. ตัวกลาง (Medium)
เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง
ๆ
จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับหรืออุปกรณ์รับปลายทาง
ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล
สายไฟเบอร์ออฟติก
ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น
คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
3.
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สำหรับสื่อสารข้อมูล
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต้นทางเข้ากับคอมพิวเตอร์ปลายทาง
โดยใช้ตัวกลางหรือสื่อกลางสำหรับเชื่อมต่อ
ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบดังรูป
การต่อแบบสายตรงตามรูปนั้นอาจจะต่อตรงโดยใช้ช่องต่อแบบขนานของเครื่อง
ทั้ง 2 เครื่อง เพื่อใช้สำหรับโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องได้
หรืออาจจะต่อโดยใช้อินเทอร์เฟสคาร์ดใส่ไว้ในเครื่องสำหรับเป็นจุดต่อก็ได้
ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งานเป็นการเชื่อมต่อระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังปลายทาง
โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ
4. การส่งสัญญาณข้อมูล (Transmission
Definition)
การส่งสัญญาณข้อมูล
หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ
จากอุปกรณ์สำหรับส่งหรือผู้ส่ง
ผ่านทางตัวกลางหรือสื่อกลางไปยังอุปกรณ์รับหรือผู้รับข้อมูลหรือข่าว
ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ส่งไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงก็ได้
โดยที่สื่อกลางหรือตัวกลางของสัญญาณนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด
คือชนิดที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น สายเกลียวคู่
(Twisted paire) สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล (Coaxial)
สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
ส่วนตัวกลางอีกชนิดหนึ่งนั้นไม่สามารถกำหนดเส้นทางของสัญญาณได้
เช่น สุญญากาศ น้ำ และ ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น
การส่งสัญญาณข้อมูล สามารถแบ่งได้เป็น 4
รูปแบบดังนี้
การส่งสัญญาณทางเดียว
(One-Way Transmission หรือ Simplex)
การส่งสัญญาณแบบนี้ในเวลาเดียวกันจะส่งได้เพียงทางเดียวเท่านั้น
ถึงแม้ว่าตัวส่งจะมีสัญญาณช่องทางก็ตาม
ซึ่งมักจะเรียกการส่งสัญญาณทางเดียวนี้ว่า ซิมเพล็กซ์
ผู้ส่งสัญญาณจะส่งได้ทางเดียว
โดยที่ผู้รับจะไม่สามารถโต้ตอบได้ เช่น
การส่งวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์
การส่งสัญญาณกึ่งทางคู่
(Half-Duplex หรือ Either-Way)
การส่งสัญญาณแบบนี้เมื่อผู้ส่งได้ทำการส่งสัญญาณไปแล้ว
ผู้รับก็จะรับสัญญาณนั้นหลังจากนั้นผู้รับก็สามารถปรับมาเป็นผู้ส่งสัญญาณแทน
ส่วนผู้ส่งเดิมก็ปรับมาเป็นผู้รับแทนสลับกันได้
แต่ไม่สามารถส่งสัญญาณพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้
จึงเรียกการส่งสัญญาณแบบนี้ว่า ฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (Half Duplex
หรือ HD) ได้แก่ วิทยุสนามที่ตำรวจใช้ เป็นต้น
การส่งสัญญาณทางคู่
(Full-Duplex หรือ Both way Transmission)
การส่งสัญญาณแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทางในเวลาเดียวกัน
เช่น การใช้โทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถพูดสายโทรศัพท์ได้พร้อม ๆ
กัน
5. มาตรฐานสากล (International
Standards)
เพื่อความเป็นระเบียบและความสะดวกของผู้ผลิตในการผลิตอุปกรณ์สื่อสารแบบต่าง
ๆ ขึ้นมา จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานสากล
สำหรับระบบติดต่อสื่อสารข้อมูลขึ้น ซึ่งประกอบด้วยโปรโตคอล
และสถาปัตยกรรมโดยมีการจัดตั้งองค์การสำหรับพัฒนา
และควบคุมมาตรฐานหมายองค์กรดังต่อไปนี้
ISO (The International
Standards Organization)
เป็นองค์การสากลที่พัฒนามาตรฐานสากลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเครือข่าย
โดยมีการแบ่งโครงสร้างในการติดต่อสื่อสารออกเป็น 7 ชั้น
(Layers)
CCITT (The Conseclitive
Committee in International)
เป็นองค์กรสากลที่พัฒนามาตรฐาน
V และ x โดยที่มาตรฐาน v ใช้สำหรับวงจรโทรศัพท์และโมเด็ม
เช่น v29, v34 ส่วนมาจรฐาน x
ใช้กับเครือข่ายข้อมูลสาธารณะเช่น เครือข่าย x.25
แพ็กเกจสวิตช์ (Package switch) เป็นต้น
ANSI (The American
National Standards Institute)
เป็นองค์กรมาตรฐานของสหรัฐเมริกา
ANSI
ได้พัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายมาตรฐานส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ตัวเลขที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลและมาตรฐานเทอร์มินัล
IEE (The Institute of
Electronic Engineers)
เป็นมาตรฐานที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักวิชาการ
และผู้ปกครองอาชีพทางสาขาไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกา
มาตรฐานนี้จะเน้นไปทางด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์
ไมโครโปรเซสเซอร์
และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น IEE 802.3
ซึ่งใช้ระบบ LAN (Local Area Network)
EIA (The Electronics
Industries Association)
เป็นองค์กรมาตรฐานของอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานทางด้านไฟฟ้า
และอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน EIA จะขึ้นต้นด้วย RS (Recommended
Standard) เช่น Rs-232-c เป็นต้น
การผลิตของผู้ประกอบการต่าง
ๆ ไม่ว่าจะใช้มาตรฐานใดก็ตาม
สิ่งที่ผลิตนั้นอย่างน้อยจะต้องได้ครบตามมาตรฐาน
แต่อาจจะดีเหนือกว่ามาตรฐานก็ได้
6.
ลักษณะของสัญญาณที่ใช้ในการส่งสัญญาณข้อมูล
การส่งสัญญาณข้อมูล
หรือข่าวสารต่าง ๆ สามารถทำได้ 2 ลักษณะดังนี้
การส่งสัญญาณแบบอนาลอก (Analog
Transmission)
การส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะไม่คำนึงถึงสิ่งต่าง
ๆ ที่รวมอยู่ในสัญญาณเลย โดยสัญญาณจะแทนข้อมูล อนาลอก เช่น
สัญญาณเสียง เป็นต้น
ซึ่งสัญญาณอนาลอกที่ส่งออกไปนั้นเมื่อระยะห่างออกไปสัญญาณก็จะอ่อนลงเรื่อย
ๆ ทำให้สัญญาณไม่ค่อยดี
ดังนั้นเมื่อระยะห่างไกลออกไปสามารถแก้ไขได้โดยใช้เครื่องขยายสัญญาณ
(Amplifier) แต่ก็มีผลทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise) ขึ้น
ยิ่งระยะไกลมากขึ้นสัญญาณรบกวนก็เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งสามารถแก้ไขสัญญาณรบกวนนี้ได้โดยใช้เครื่องกรองสัญญาณ
(Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกไป
การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล
(Digital Transmission)
การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะใช้เมื่อต้องการข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนแน่นอน
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสนใจรายละเอียดทุกอย่างที่บรรจุมากับสัญญาณ
ในทำนองเดียวกันกับการส่งสัญญาณแบบอนาลอก กล่าวคือ
เมื่อระยะทางในการส่งมากขึ้น สัญญาณดิจิตอลก็จะจางลง
ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้อุปกรณ์ทำสัญญาณซ้ำ หรือรีพีตเตอร์
(Repeater)
ปัจจุบันการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะเข้ามามีบทบาทสูงในการสื่อสารข้อมูล
เนื่องจากให้ความถูกต้องชัดเจนของข้อมูลสูง
และส่งได้ในระยะไกลด้วย
สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่ายด้วย
ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาณจากคอมพิวเตอร์อยู่ในรูปของดิจิตอลนั่นเองแต่เดิมนั้นถ้าหากระยะทางในการสื่อสารไกลมักจะใช้สัญญาณแบบอนาลอกเสียส่วนใหญ่
เช่น โทรศัพท์, โทรเลข เป็นต้น
7. รหัสที่ใช้ส่งสัญญาณข้อมูล
(Transmission Code)
การส่งสัญญาณการสื่อสารถูกแบ่งออกเป็น
2 ระบบ คือ แบบดิจิตอลและแบบอนาลอก
ซึ่งการส่งสัญญาณแบบอนาลอกส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างมนุษย์
ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โทรศัพท์
วิทยุ โทรทัศน์ สำหรับการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลนั้น
ส่วนใหญ่จะสื่อสารกันโดยใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในการถ่ายทอดข้อมูลซึ่งกันและกัน
ข้อมูลหรือข่าวสารโดยทั่วไปแล้วในเบื้องต้นส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ในทันที
เช่น ตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพต่าง ๆ
ซึ่งข่าวสารเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบอนาลอก
แต่เมื่อต้องการนำข้อมูลหรือข่าวสารเหล่านี้มาใช้กับคอมพิวเตอร์
จะต้องเปลี่ยนข้อมูล
หรือข่าวสารเหล่านี้ให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้เสียก่อน
ซึ่งคอมพิวเตอร์จะรับรู้ข่าวสารที่เป็นแบบดิจิตอลเท่านั้น
นั่นคือการเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนข่าวสารแบบอนาลอกให้เป็นข่าวสารแบบดิจิตอลนั่นเอง
จากข้อความหรือข่าวสารต่าง
ๆ ที่เรามองเห็นและเข้าใจได้
เมื่อเราป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยพิมพ์เข้าทางแป้นพิมพ์
ตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไปจะต้องมีการเข้ารหัสโดยผ่านตัวเข้ารหัส
(Encoder)
ให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถส่งสัญญาณต่อไปได้เมื่อสัญญาณถูกส่งไปยังเครื่องรับ
จากนั้นเครื่องรับก็จะตีความสัญญาณที่ส่งมาและผ่านตัวถอดรหัส
(Decodes)
ให้กลับมาอยู่ในรูปแบบที่เราเข้าใจได้หรืออยู่ในรูปแบบที่ใช้สำหรับเก็บในคอมพิวเตอร์ก็ได้อีกครั้งหนึ่ง
8. รูปแบบของรหัส
รหัสที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของไบนารี
(Binary) หรือเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 กับเลข 1
โดยใช้รหัสที่เป็นเลข 0 แทนการไม่มีสัญญาณไฟและเลข 1
แทนการมีสัญญาณไฟ
ซึ่งเป็นไปตามหลักการของไฟฟ้าที่มีลักษณะมีไฟและไม่มีไฟอยู่ตลอดเวลา
เรียกรหัสที่ประกอบด้วย 0 กับ 1 ว่าบิต (Binary Digit)
แต่เนื่องจากข้อมูลหรือข่าวสารทั่วไปประกอบด้วยตัวอักษร
ตัวเลขและสัญลักษณ์มากมาย ถ้าจะใช้ 0 กับ 1
เป็นรหัสแทนแล้วก็คงจะได้เพียง 2 ตัวเท่านั้น เช่น 0 แทนตัว A
และ 1 แทนด้วย B
ดังนั้นการกำหนดรหัสจึงได้นำกลุ่มบิตมาใช้
เช่น 6 บิต , 7 บิต หรือ 8 บิตแทนตัวอักษร 1 ตัว
ซึ่งจะสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด
รหัสมาตรฐานโดยทั่วไปจะใช้กับอักขระภาษาอังกฤษซึ่งมีหลายมาตรฐาน
เช่น รหัสโบดอต (Baudot code), รหัสแอบซีดิก (EBCDIC)
และรหัสแอสกี (ASCll Code)
รหัสแอสกี
(ASCll CODE) มาจากคำเต็มว่า American Standard Code for
Information Interchange
ซึ่งเป็นรหัสมาตรฐานของอเมริกาที่ใช้สำหรับส่งข่าวสารมีขนาด
8 บิต โดยใช้ 7 บิตแรกเข้ารหัสแทนตัวอักษร ส่วนบิตที่ 8
จะเป็นบิตตรวจสอบ (Parity Bit Check)
รหัสแอสกีได้รับมาตรฐานของ CCITT หมายเลข 5
เป็นรหัสที่ได้รับความนิยมในการสื่อสารข้อมูลอย่างกว้างขวาง
เนื่องจากรหัสแอสกีใช้ 7 บิตแรกแทนตัวอักขระ
แต่ละบิตจะประกอบด้วยตัวเลข 0 หรือเลข 1
ดังนั้นรหัสแอสกีจะมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 27
หรือเท่ากับ 128
ตัวอักขระนั่นเองในจำนวนนี้จะแบ่งเป็นตัวอักษรที่พิมพ์ได้ 96
อักขระ และเป็นตัวควบคุม (Control Characters) อีก 32 อักขระ
ซึ่งใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์และการ ทำงานต่าง ๆ
รหัสโบคอต (Baudot Code)
รหัสโบคอตเป็นรหัสที่ใช้กับระบบโทรเลข
และเทเล็กซ์ ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานของ CCITT หมายเลข 2
เป็นรหัสขนาด 5 บิต สามารถมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 25
หรือเท่ากับ 32 รูปแบบ ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนอักขระทั้งหมด
จึงมีการเพิ่มอักขระพิเศษขึ้นอีก 2 ตัว คือ 11111 หรือ LS
(Letter Shift Character)
เพื่อเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์เล็ก (Lower case) และ
11011 หรือ FS(Figured Shift Character)
สำหรับเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทำให้มีรหัสเพิ่มขึ้นอีก
32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 ตัว
จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว อีก 32 ตัว
แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 เดิม จึงสามารถใช้รหัสได้จริง
58 ตัว เนื่องจากรหัสโบคอตมีขนาด 5 บิต
ซึ่งไม่มีบิตตรวจสอบจึงไม่นิยมนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์
รหัสแอบซีดิก (EBCDIC)
รหัส
EBCDIC มาจากคำเต็มว่า Extended Binary Coded Decimal
Interchange Code พัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM มีขนาด 8
บิตต่อหนึ่งอักขระ โดยใช้บิตที่ 9 เป็น บิตตรวจสอบ
ดังนั้นจึงสามารถมีรหัสที่แตกต่างสำหรับใช้แทนตัวอักษรได้ 28
หรือ 256 ตัวอักษร
ปัจจุบันรหัสแอบซีดิกเป็นมาตรฐานในการเข้าตัวอักขระบนเครื่องคอมพิวเตอร์
9. รหัสแบบของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล
การเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารเพื่อสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอักจุดหนึ่งนั้น
สามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
สำหรับรูปแบบของการเชื่อมต่อแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบดังต่อไปนี้
1. การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to
Point Line)
เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน
โดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด
ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด
เชื่อมต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา (Lease Line)
ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว (Simplex)
สายส่งกึ่งทางคู่ (Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์
(Full-duplex) ก็ได้
และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบอซิงโครนัส
การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะ
2. การเชื่อมต่อแบบหลายจุด
(Multipoint or Multidrop)
เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมากการส่งข้อมูลไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา
จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ
จุด ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
ลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้ดังรูป
การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่จุดจะมีบัฟเฟอร์
(Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง
โดยบัฟเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัฟเฟอร์
ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง
เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง
และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่นส่งได้
การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง
แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูลโดยวิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ระบบสื่อสารได้ค่อนข้างเต็มประสิทธิภาพ
แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการดังต่อไปนี้
ประสิทธิภาพของเครื่องและซอฟต์แวร์ที่ใช้สื่อสารข้อมูล
ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสถานีส่งและรับข้อมูล
ความเร็วของช่องทางการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้
ข้อจำกัดที่ออกโดยองค์การที่ควบคุมการสื่อสารของแต่ละประเทศ
3
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสาร
(Switched Network)
จากรูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นแบบจุดซึ่งต้องต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา
แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้วการสื่อสารข้อมูลไม่ได้ผ่านตลอดเวลา
ดังนั้นจึงมีแนวความคิดในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารหรือเครือข่ายสวิตซ์ซิ่ง
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุดให้สามารถใช้สื่อสารได้มากที่สุด
ลักษณะเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารสามารถแสดงได้ดังรูป
เครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารที่เห็นโดยทั่วไปมี
4 รูปแบบดังนี้
เครือข่ายสื่อสารโทรศัพท์ (The
Telephone Network)
เครือข่ายสื่อสารเทลเล็กช์ (The
Telex/TWX Network)
เครือข่ายสื่อสารแพคเกตสวิตซ์ซิ่ง (package Switching
Network)
เครือข่ายสื่อสารสเปเซียลไลซ์
ดิจิตอล (Specialized Digital Network)
หลักการทำงานของเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารดังนี้
การเชื่อมต่อต้องเป็นแบบจุดต่อจุด
ต้องมีการเชื่อมต่อการสื่อสารกันทั้งฝ่ายรับและส่งก่อนจะเริ่มรับหรือส่งข้อมูล
เช่น หมุนเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
หลังจากสื่อสารกันเสร็จเรียบร้อยจะต้องตัดการเชื่อมต่อ
เพื่อให้ผู้อื่นใช้สายสื่อสารได้ต่อไป
10.
สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลอันหนึ่งที่ขาดไม่ได้
คือสายสื่อกลาง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้ เช่น สายโคแอกเซียล (Coaxial)
สายเกลียวคู่ (Twisted-pair) สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic)
และสื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ เช่น คลื่นวิทยุ
คลื่นดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น
การเลือกสื่อกลางที่จะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระบบสื่อสารข้อมูลนั้น
จำเป็นต้องพิจารณากันหลายประการ เช่น ความเร็วในการส่งข้อมูล
ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้ สถานที่ใช้ การบริการ การควบคุม
ตลอดจนเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้
ซึ่งลื่อกลางแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป
สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable)
สายโคแอกเซียลเป็นสายที่นิยมใช้กันค่อนข้างมากในระบบการสื่อสารความถี่สูง
เช่น สายอากาศของทีวี
สายชนิดนี้ถูกออกแบบมาให้มีค่าความต้านทาน 75 โอห์มและ 50
โอห์ม โดยสาย 75 โอห์ม ส่วนใหญ่ใช้กับสายอากาศทีวีและสาย 50
โอห์ม จะนำมาใช้กับการสื่อสารที่เป็นระบบดิจิตอล
คุณสมบัติของสายโคแอกเซียลประกอบด้วยตัวนำสองสาย
โดยมีสายหนึ่งเป็นแกนอยู่ตรงกลางและอีกเส้นเป็นตัวนำล้อมรอบอยู่อีกชั้น
มีขนาดของสาย 0.4 ถึง 1 นิ้ว
สายโคแอกเซียลมี
2 แบบ คือ แบบหนา (Thick) และแบบบาง (Thin) แบบหนาจะแข็ง
การเดินสายทำได้ค่อนข้างยาก
แต่สามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่าแบบบาง
สายคู่บิดเกลียว ( Twisted-Pair)
สายคู่เกลียวเป็นสายมาตรฐานสองเส้นหุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็นเกลียว
สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งแบบ อนาลอกและแบบดิจิตอล
สายชนิดนี้จะมีขนาด 0.015-0.056 นิ้ว
ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที
ถ้าใช้ส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะต้องใช้วงจรขยายหรือแอมพลิฟายเออร์
ทุก ๆ ระยะ 5-6 กม.
แต่ถ้าต้องการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะต้องใช้อุปกรณ์ทำซ้ำสัญญาณ
(Repeater) ทุก ๆ ระยะ 2-3 กม.
โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล
สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม
สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาทีในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร
เนื่องจากสายคู่เกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี
และมีน้ำหนักเบา นอกจากนั้นยังง่ายต่อการติดตั้ง
จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตัวอย่างของสายคู่บิดเกลียว คือ
สายโทรศัพท์ สำหรับสายคู่บิดเกลียวนั้นจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ
สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน
(Shielded Twisted Pair : STP)
เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นหนึ่ง
เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังรูป
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน
(Unshielded Twisted Pair : UTP)
เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางทำให้สะดวกในการโค้งงอ
แต่จะป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก
ดังรูป
สายส่งแบบไฟเบอร์ออฟติก (Fiber
Optic)
เป็นการส่งสัญญาณด้วยใยแก้ว
และส่งสัญญาณด้วยแสงมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสามารถส่งข้อมูลได้ด้วยเร็วเท่ากับแสง
ไม่มีสัญญาณรบกวนจากภายนอก
สายส่งข้อมูลแบบไฟเบอร์ออฟติกจะประกอบด้วยเส้นใยแก้ว
2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ตรงแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก
โดยที่ใยแก้วทั้ง 2 นี้จะมีดัชนีในการสะท้อนแสงต่างกัน
ทำให้แสงที่ส่งจากปลายด้านหนึ่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้
11.
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
โมเด็ม (MODEM)
MODEM
มาจากคำเต็มว่า Modulator Demodulator
ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลดิจิตอล
ที่ได้รับจากเครื่องส่งหรือคอมพิวเตอร์
เป็นสัญญาณแบบอนาลอกก่อนทำการส่งไปยังปลายทางต่อไป
โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์
และเมื่อส่งถึงปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากอนาลอกให้เป็นดิจิตอล
เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง
มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer)
วิธีการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งปลายทางที่ง่ายที่สุดคือ
การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to Point)
แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและใช้งานไม่เต็มที่
จึงมีวิธีการเชื่อมต่อที่ยุ่งยากขึ้น
คือการเชื่อมต่อแบบหลายจุดซึ่งใช้สายสื่อสารเพียงเส้น 802.3
คอนเซนเตรเตอร์
(Concentrator)
คอนเซนเตรเตอร์เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง
สามารถเพิ่มสายหรือช่องทางการส่งข้อมูลได้มากขึ้น
การส่งข้อมูลจะเป็นแบบอซิงโครนัส
คอนโทรลเลอร์ (Controller)
คอนโทรลเลอร์เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่ส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส
ที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ดี
การทำงานจะต้องมีโปรโตคอลพิเศษสำหรับกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูล
มีบอร์ดวงจรไฟฟ้าและซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์
ฮับ (HUB)
ฮับเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่เช่นเดียวกับมัลติเพล็กซ์เซอร์
ซึ่งนิยมใช้กับระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มีราคาต่ำ
ติดต่อสื่อสารข้อมูลตามมาตรฐาน IEEE 802.3
ฟรอนต์ เอ็นโปรเซสเซอร์ FEP
(Front-End Processor)
FEP
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างโฮสต์คอมพิวเตอร์
หรือมินิคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับสื่อสารข้อมูล
เช่น โมเด็ม มัลติเล็กซ์เซอร์ เป็นต้น FEP
เป็นอุปกรณ์ทีมีหน่วยความจำ (RAM)
และซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมการทำงานเป็นของตัวเองโดยมีหน้าที่หลักคือ
ทำหน้าที่แก้ไขข่าวสาร เก็บข่าวสาร
เปลี่ยนรหัสรวบรวมหรือกระจายอักขระ
ควบคุมอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล
จัดคิวเข้าออกของข้อมูล ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูล
อิมูเลเตอร์ (Emulator)
อิมูเลเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกลุ่มข่าวสารจากโปรโตคอลแบบหนึ่งไปเป็นกลุ่มข่าวสาร
ซึ่งใช้โปรโตคอลอีกแบบหนึ่ง
แต่จะเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือเป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ก็ได้
บางครั้งอาจจะเป็นทั้ง 2 อย่าง
โดยทำให้คอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ามานั้นดูเหมือนเป็นเครื่องเทอร์มินัลหนึ่งเครื่อง
โฮสต์หรือมินิคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนิยมนำเครื่อง PC
มาใช้เป็นเทอร์มินัลของเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
ทั้งนี้เพราะประหยัดกว่าและเมื่อไรที่ไม่ใช้ติดต่อกับมินิหรือเมนแฟรมก็สามารถใช้เป็น
PC ทั่วไปได้
เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่หลักคือ
ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2
เครือข่ายหรือมากกว่าซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน
สามารถสื่อสารกันได้เสมือนกับเป็นเครือข่ายเดียวกัน
โดยทั่วไปแล้วระบบเครือข่ายแต่ละเครือข่ายอาจจะแตกต่างกันในหลายกรณี
เช่น ลักษณะการเชื่อมต่อ (Connectivity) ที่ไม่เหมือนกัน
โปรโตคอลที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลต่างกัน เป็นต้น
บริดจ์ (Bridge)
เป็นอุปกรณ์
IWU (Inter Working Unit)
ที่ใช้สำหรับเชื่อมเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network
หรือ LAN) 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน
ซึ่งอาจจะใช้โปรโตคอลที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้
เราเตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน
ซึ่งอาจจะเป็นเครือข่ายเดียวกันหรือข้ามเครือข่ายกัน
โดยการเชื่อมกันระหว่างหลายเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet)
โดยเครือข่ายแต่ละเครือข่ายจะเรียกว่า เครือข่ายย่อย (Sub
network) ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
เรียกว่า IWU (Inter Working Unit) ได้แก่ เราเตอร์และบริดจ์
รีพีตเตอร์ (Repeater)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณซ้ำ
เพื่อส่งสัญญาณต่อไปนี้ในระยะไกลป้องกันการขาดหายของสัญญาณ
ซึ่งรูปแบบของเครือข่ายแต่ละแบบรวมทั้งสายสัญญาณที่ใช้เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางแต่ละชนิดจะมีข้อจำกัดของระยะทางในการส่ง
ดังนั้นเมื่อต้องการส่งสัญญาณให้ไกลกว่าปกติต้องเชื่อมต่อกับรีพีตเตอร์ดังกล่าว
เพื่อทำให้สามารถส่งสัญญาณ ได้ไกลยิ่งขึ้น
12. เครือข่าย (Networks)
เครือข่าย
หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร
อุปกรณ์
และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2
ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ
ความจำเป็นในการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นในการทำงานในยุคปัจจุบัน
ด้วยเหตุผลดังนี้
1)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้การทำงานมีความคล่องตัว ยืดหยุ่น
และปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆ
ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
2)
เครือข่ายช่วยให้หน่วยงานประหยัดงบประมาณโดยช่วยสนับสนุนการใช้ทรัพยากร
คอมพิวเตอร์ร่วมกัน เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูล
3)
เครือข่ายทำให้พนักงานหรือทีมงานของหน่วยงานที่อยู่ห่างไกลกันสามารถใช้เอกสารร่วมกัน
และแลกเปลี่ยนแนวคิด ความเห็น
ตลอดจนเสริมให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพดีขึ้น
และกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
4)
เครือข่ายช่วยสร้างให้การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับลูกค้าหรือองค์การภายนอกมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น
ประเภทของเครือข่าย
- เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area
Network-LAN)
เป็นการติดต่ออุปกรณ์สื่อสารตั้งแต่
2 ชิ้นขึ้นไประยะ 2 , 000 ฟุต
(โดยปกติจะอยู่ในอาคารเดียวกัน) LAN
จะช่วยให้ผู้ใช้จำนวนมากสามารถใช้ทรัพยากรของหน่วยงานร่วมกัน
เช่น พรินต์เตอร์ โปรแกรม และไฟล์ข้อมูล ในกรณีที่ LAN
ต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะภายนอก เช่น
เครือข่ายโทรศัพท์หรือเครือข่ายของหน่วยงานอื่น จะต้องมี
gateway
ซึ่งทำหน้าที่เหมือนประตูติดต่อระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกัน
โดยช่วยแปลโปรโตคอลของเครือข่ายให้กับอีกโปรโตคอลหนึ่งเพื่อจะทำงานร่วมกันได้
- เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area
Network-MAN)
เครือข่าย
MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN
ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงขนาดใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง
เช่น ในเมืองเดียวกัน
- เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area
Network-WAN)
เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ในบริเวณกว้างโดยครอบคลุมทั้งประเทศหรือทั้งทวีป
WAN จะอาศัยสื่อโทรคมนาคมหลายประเภท เช่น เคเบิ้ล ดาวเทียม
และไมโครเวฟ
2) แบ่งตามความเป็นเจ้าของ
- เครือข่ายสาธารณะ (Public Network)
เป็นเครือข่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้โดยทั่วไปได้ใช้ประโยชน์
ดังนั้นผู้ใช้จะต้องแข่งกับผู้ใช้รายอื่น
โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีผู้ใช้จำนานมาก เช่น
ระบบโทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งผู้ใช้ไม่มีหลักประกันว่า
สายจะว่างในช่วงที่ต้องการหรือไม่
- เครือข่ายเอกชน (Private
Network)
เป็นเครือข่ายที่หน่วยงานสามารถเป็นเจ้าของเอง
หรือ เช่าเพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร
กรณีนี้ก็จะเป็นหลักประกันว่าหน่วยงานจะมีโอกาสได้ใช้เครือข่ายเมื่อต้องการเสมอ
- เครือข่ายแบบมูลค่าเพิ่ม
(Value-added Network-VAN)
เป็นเครือข่ายกึ่งสาธารณะซึ่งให้บริการเพิ่มขึ้นจากการติดต่อสื่อสารปกติผู้ให้บริการสื่อสาร
(Communication service provider) เป็นเจ้าของ VAN
อย่างไรก็ตาม VAN
เร็วกว่าเครือข่ายสาธารณะและมีความปลอดภัยมากกว่า
เครือข่ายสาธารณะ
- เครือข่ายเอกชนเสมือนจริง
(Virtual Private Network-VPN)
เป็นเครือข่ายสาธารณะที่รับประกันว่าผู้ใช้จะมีโอกาสใช้งานเครือข่ายได้ตลอดเวลาแต่ไม่ได้ให้สายหรือช่องทางการสื่อสารแก่หน่วยงานผู้ใช้โดยเฉพาะ
แต่จะใช้วิธีแปลงรหัสข้อมูลของหน่วยงานผู้ใช้โดยเฉพาะ
เพื่อที่จะส่งไปพร้อม ๆ กับหน่วยงานอื่น ๆ
13. Network Topology
คือการออกแบบและการติดต่อเชื่อมโยงกันของเครือข่ายทางกายภาพ
โดยทั่วไปโทโปโลจีพื้นฐานมีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้
เป็นเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์ทุกตัวและอุปกรณ์อื่นเชื่อมกับโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่อยู่
และการสื่อสารทั้งหมดระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ
ภายในเครือข่ายต้องผ่านโฮสต์คอมพิวเตอร์
เนื่องจากโฮสต์คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์อื่นทั้งหมดในเครือข่าย
เครือข่ายแบบดาวเหมาะสำหรับการประมวลผลที่มีลักษณะรวมศูนย์
อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของแบบนี้ คือ
หากใช้โฮสต์คอมพิวเตอร์ก็จะทำให้ระบบทั้งหมดทำงานไม่ได้
2) แบบบัส (Bus Network)
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์โดยใช้สายวงจรเดียว
ซึ่งอาจจะเป็นสายเกลียวคู่สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วก็ได้
สัญญาณสามารถสื่อสารได้ 2
ทางในเครือข่ายโดยมีซอฟต์แวร์คอยช่วยแยกว่าอุปกรณ์ใดจะเป็นตัวรับข้อมูล
หากมีคอมพิวเตอร์ตัวใดในระบบล้มเหลวจะไม่มีผลต่อคอมพิวเตอร์อื่น
อย่างไรก็ตามช่องทางในระบบเครือข่ายแบบนี้สามารถจัดการรับข้อมูลได้ครั้งละ
1 ชุดเท่านั้น
ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการจราจรของข้อมูลได้ในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้งานพร้อมกัน
โทโปโลจีแบบนี้นิยมใช้ในวงแลน
3) แบบวงแหวน (Ring Network)
คอมพิวเตอร์ทุกตัวเชื่อมโยงเป็นวงจรปิด
ทำให้การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งโดยเดินทางไปในทิศทางเดียว
คอมพิวเตอร์แต่ละตัวทำงานโดยอิสระ หากมีตัวใด
ตัวหนึ่งเสียระบบการสื่อสารในเครือข่ายได้รับการกระทบกระเทือน
ยกเว้นจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่ง ข้อมูลในทิศทางต่างๆ กัน
เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในการป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง
นอกจากโทโปโลจีทั้ง
3 แบบที่กล่าวข้างต้น อาจจะพบโทโปโลจีแบบอื่นๆ เช่น
แบบโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical Network)
ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายต้นไม้ (Tree) หรือมีแบบผสม
(Hybrid)
อย่างไรก็ตามโทโปโลจีแต่ละประเภทจะมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันผู้พัฒนาระบบจะต้องพิจารณาถึงความเร็ว
ความเชื่อถือได้ และความสามารถของเครือข่ายในการทำงาน
หรือการแก้ไขข้อบกพร่องในกรณีที่อุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งในระบบมีปัญหาตลอดจนลักษณะทางกายภาพ
เช่น ระยะห่างของ node และต้นทุนของทั้งระบบ
14. รูปแบบการประมวลผลแบบกระจายเครือข่าย
(Organizational Distributed Processing)
วิธีการประมวลผลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์มี
3 รูปแบบ คือ
1. Terminal-to-Host Processing
2. File Server Processing
3. Client/Server