เทคโนโลยีสารสนเทศกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน
การประเมินผลการปฏิบัติงานนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
แต่จะเอียงมาเป็นทางศิลป์มากกว่า กล่าวคือ
การประเมินผลการปฏิบัติงานจะอิงอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของผู้ประเมิน
ผนวกเข้าเป็นข้อสรุปในการตัดสินว่า
ผลการปฏิบัติงานจะได้จากแรงานและแรงสมองของพนักงานนั้นอยู่ในระดับใด
เช่น ดีมาก ดี มาตรฐาน หรือต่ำกว่ามาตรฐาน
อย่างไรก็ตาม
ไม่ว่าผลของการประเมินผลการปฏิบัติงานจะออกมาดีหรือไม่
หรือไม่ได้มาตรฐาน จะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 3
ส่วน ดังนี้
- แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
(Appraisal Form)
นอกจากจะต้องสร้างแบบประเมินผลที่มีความน่าเชื่อถือแล้ว
ยังประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นดังต่อไปนี้
1)
ข้อมูลพนักงานที่จำเป็นในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
เช่น ชื่อตำแหน่ง ระดับตำแหน่ง
สถิติเวลาการทำงาน
เป็นต้น
2)
ปัจจัยในการประเมินผลการปฏิบัติงานในกรณีที่เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เน้นพฤติกรรม
(Behavior
Oriented)
จะต้องประกอบด้วยปัจจัยอะไรบ้าง
3)
เป้าหมายในการทำงานที่เน้นผลลัพธ์
หรือโครงการที่คาดว่าจะสำเร็จได้
ในกรณีที่เป็นการประเมินผลการปฏิบัติ
งานที่เน้นผลลัพธ์
(Results Oriented)
4)
คำถามเกี่ยวกับการพัฒนาสายอาชีพและความพอใจในการทำงาน
5)
ความเห็นของผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน
6)
คำอธิบายความหมายวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน
7)
ช่องสำหรับใส่คะแนน
- ผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานหรือผู้บังคับบัญชา
- ผู้ถูกประเมินผลการปฏิบัติงานหรือพนักงาน
หลายบริษัทได้จัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
โดยมีรูปแบบเป็นรูปเล่มประมาณ 4- 8 หน้า
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ต้องการประเมินผล
และนิยมแยกสีเพื่อให้รู้ว่าเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละระดับตำแหน่ง
เช่น
สำหรับผู้บริหารจะมีสีแตกต่างจากพนักงานปฏิบัติการ
ในแวดวงการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับโปรแกรมสำเร็จรูปทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน
และบริษัทที่พัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าใดนัก
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความถี่ในการใช้งาน
เนื่องจากปีหนึ่งใช้เพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น
ซึ่งต่างกับโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการจ่ายเงินเดือน
ค่าจ้าง (Payroll System)
ที่ต้องใช้ทุกเดือนหรือทุก 15
วัน
เป็นการเข้าใจผิดที่ว่าโปรแกรมสำเร็จรูปการประเมินผลการปฏิบัติงานใช้งานไม่ค่อยบ่อยครั้ง
ความจริงแล้วเป็นกาประเมินผลการปฏิบัติงานต้องใช้ทุกวันทุกเดือน
โดยเฉพาะในกรณีที่บริษัทต้องการใช้แบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่เน้นผลลัพธ์
ซึ่งผู้บังคับบัญชาต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานติดตามความก้าวหน้าในขั้นตอนของกระบวนการของงานเช่นกัน
(Process Appraise)
โดยเฉพาะการมอบหมายงานให้พนักงานใหม่
งานที่เป็นลักษณะโครงการหรืองานใหม่
เมื่อถึงจุดฤดูกาลประเมินผลการปฏิบัติงาน
ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์และผู้บังคับบัญชาในฐานะผู้ประเมินก็จะทุมเทเวลาให้กับการประเมินผลการปฏิบัติงานเสียคราวหนึ่ง
(ซึ่งเป็นอุปนิสัยไม่ค่อยจะถูกต้องนัก)
หรือถ้าไม่มีเวลาก็จะประเมินผลการปฏิบัติงานผู้ใต้บังคับบัญชาแบบขอไปที
และชอบผลักภาระไปให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
ในเมื่อไม่มีแบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่ถูกประมวลด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ลักษณะจึงเป็นการจัดการด้วยมือ
และใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปเอ็กส์เซล
(Microsoft Excel) คำนวณ สรุป
และการประมวลผลเพื่อจัดกลุ่มงาน
ซึ่งจะมีการคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับการปรับเงินเดือนเมื่อได้คำนวณแล้ว
จึงนำไปป้อนเข้าระบบการจ่ายเงินเดือนที่จัดการโดยโปรแกรมสำเร็จรูป
(Payroll System) อีกทอดหนึ่ง
จึงมีคำถามตามมาว่า
ทำไมไม่มีใครพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ผู้เขียนใคร่เสนอความคิดเห็น
และแนะนำบริษัทที่พัฒนาโปรแกรมงาการจ่ายเงินเดือนว่า
น่าจะพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปนี้
โดยผนวกหรือแยกจัดการอิสระจากโปรแกรมสำเร็จรูปการจ่ายค่าจ้าง
เงินเดือน
เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับโปรแกรมสำเร็จรูปการจ่าย
ค่าจ้าง เงินเดือน
ผลประโยชน์ที่ได้อาจทำให้โปรแกรมสำเร็จรูปการจ่ายเงินเดือนจำหน่ายได้ง่ายขึ้น
ลองนึกภาพเมื่อผู้ประเมินให้คะแนนผลการปฏิบัติงาน
และอนุมัติส่งให้ฝ่ายบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ผ่านเครือข่ายภายในแบบออนไลน์
(Interactive Online)
ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์
สำหรับรวบรวม ประมวลผล
และวิเคราะห์ผลการประเมินการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายโดยทันทีแบบอัตโนมัติ
ส่วนเอกสารประเมินผลการปฏิบัติงาน
ผู้ประเมินสามารถพิมพ์จากคอมพิวเตอร์และลงลายมือชื่อ
แล้วส่งให้ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงต่อไป
การจะประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น
จะเกิดประโยชน์เต็มที่เมื่อได้นำระบบอินทราเน็ต
(Intranet)
มาใช้ในการบริหารงานในอย่างเต็มรูปแบบโดยต้องพิจารณาองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. ประเภทของกาประเมินผลการปฏิบัติงานต้องมีความชัดเจน
และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายว่าได้ใช้การประเมินผลการปฏิบัติงานประเภทใด
และได้ใช้จนกลายเป็นมาตรฐานของบริษัท
2. พนักงานต้องมีจำนวนมากพอ
3.
วิธีการปรับเงินเดือน(Salary Increase)
ใช้วิธีการใด เช่น เป็นวิธีการกำหนดโควต้า (Forced
Ranking)
หรือวิธีกระจายอำนาจจากการบริหารให้แต่ละฝ่ายงานรับผิดชอบ
ที่เรารู้จักกันดีว่า แบ่งเค็ก
ให้แต่ละฝ่ายงานจัดการกันเอง ฯลฯ
แต่ละวิธีย่อมมีผลต่อการประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อปรับเงินเดือนประจำปี
โดยทั่วไปมีขั้นตอนที่สำคัญดังต่อไปนี้
-
ประมาณงานประมาณการปรับเงินเดือนประจำปี
- ขออนุมัติวงเงินงบประมาณปรับเงินเดือนประจำปี
- ผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนนี้ส่งแบบฟอร์ม
(โดยมือหรือใช้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์)
-
รวบรวม ประมวลผล วิเคราะห์ และสรุปผล
-
ปรับเงินเดือนตามผลงานภายใต้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ
- ทำหนังสือแจ้งการปรับเงินเดือน
- ป้อนข้อมูลปรับเงินเดือน
(เงินเดือนส่วนเพิ่ม)
เข้าสู่โปรแกรมสำเร็จรูปในการจ่ายเงินค่าจ้าง
เงินเดือน ในกรณีที่ไม่มี
โปรแกรมสำเร็จรูปทางการประเมินผลการปฏิบัติงานเชื่อมต่อกับโปรแกรมสำเร็จรูปการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน
จึงต้อง
ทำการป้อนข้อมูลเงินเดือนที่เพิ่มเข้าสู่โปรแกรมสำเร็จรูป
การจ่ายเงินเดือนอีกขั้นตอนหนึ่ง
-
จ่ายเงินเดือนอัตราใหม่
ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น
ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังจัดการด้วยมือ
(Management By Manual) เสียเป็นส่วนใหญ่
เพราะยังไม่มีการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปที่ระบบมีความสามารถเชื่อต่อระหว่างโปรแกรมสำเร็จรูปประเมินผลการปฏิบัติงานกับโปรแกรมสำเร็จรูปการจ่ายค่าจ้าง
เงินเดือน
ใช้กันอย่างจริงจังและแพร่หลาย
ที่มา :
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้วย
เทคโนโลยีสารสนเทศ
โดย :
ประเวศน์ มหารัตน์กุล