|
การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบสากลที่สำคัญ
ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification)
ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification)
เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) บรรณารักษ์ชาวอเมริกันเป็นผู้คิดระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมขึ้น ดิวอี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในวงการห้องสมุดและบรรรณารักษศาสตร์
เพราะนอกจากจะเป็นผู้คิดระบบการจัดหมู่แบบทศนิยมแล้ว ยังเป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่ม ก่อตั้งสมาคมห้องสมุดอเมริกันซึ่งเป็นสมาคมอาชีพบรรณารักษ์แห่งแรกในโลก สมาคมนี้ได้มี
การฉลองครบรอบร้อยปีของการจัดตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1976 ยังเป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์แห่งแรกขึ้น ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียนิวยอร์กเมื่อ ค.ศ. 1887
และได้ออกวารสาร Library Journal ซึ่งเป็นวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ฉบับแรก
ดิวอี้เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1851 และถึงแก่กรรม วันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ.1931 ดิวอี้มีความสนใจงานห้องสมุดเป็นพิเศษ ในขณะที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยแอมเมอร์สต์ (
Amherst College ) ในรัฐแมสซาจูเซท ได้สมัครเข้าทำงานห้องสมุดในวิทยาลัยนั้นใน
ตำแหน่งผู้ช่วยบรรณารักษ์ดิวอี้ไปดูงานด้านการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1873 ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการห้องสมุดของวิทยาลัย
และได้รับอนุมัติให้ใช้ในห้อง สมุดของวิทยาลัยนั้น (Elliott 1981 : 666-671)
ดิวอี้เริ่มพิมพ์หนังสือการจัดหมวดหมู่ครั้งแรกของเขาโดยให้ชื่อว่า A Classification and Subject Index for Cataloguing and
Arranging the Books and Pamphletts of a Library เมื่อปี ค.ศ. 1876 ซึ่งต่อมาได้รับการปรับปรุงนำไปใช้ในหลายประเทศ
ฉบับพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1876 ประกอบไปด้วยตารางการจัดหมวดหมู่ 44 หน้า หมวดหมู่ใหญ่ ๆ ได้ดัดแปลงมาจากการจัดหมวดหมู่ ฮาร์ริส ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการจัดหมวดหมู่ของ
ฟรานซิส เบคอน มาก่อน
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1876 ถึงปี ค.ศ. 1971 ได้มีการจัดพิมพ์ตารางการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมของดิวอี้ฉบับสมบูรณ์ รวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง ฉบับย่อพิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1894
ฉบับย่อเหมาะสำหรับใช้ในห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชนซึ่งมีจำนวนหนังสือ
ไม่เกิน 20,000 ชื่อเรื่อง แผนการจัดหมู่ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 15 เมื่อปี ค.ศ. 1951 ถือได้ว่าเป็นฉบับพิมพ์มาตรฐาน โดยมี มิลตัน เจ เฟอร์กุสัน
(Mitton J. Ferguson) เป็นบรรณาธิการ มีการปรับปรุงระบบทศนิยมของดิวอี้ให้ทันสมัยยิ่งขึ้นมีการพิมพ์ออกเป็น 2 เล่ม คือ เล่มตาราง
การจัดหมวดหมู่ และเล่มดรรชนีสัมพันธ์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 16 ออกจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 1958 ได้มีการพิมพ์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องฉบับที่ 15 มีเลขหมู่รวม 17,928 เลขหมู่
เหมาะสมกับห้องสมุดที่มีมากกว่า 200,000 เล่ม ส่วนฉบับพิมพ์ครั้งที่ 17 พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1965
เป็นฉบับแก้ไขและขยายเพิ่มเติมของฉบับพิมพ์ครั้งที่ 16 มีเลขหมู่รวม 17,132 เลขหมู่ (Custer 1972 : 132-135) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 18
พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1971 มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมลักษณะบางอย่างให้เหมาะสมกับความต้องการของห้องสมุดในปัจจุบันให้
มากขึ้น ลักษณะพิเศษดังกล่าว คือการเพิ่มเลขหรือตารางย่อย 7 ตาราง และการจัดทำเลขหมู่ 340 กฎหมาย และ 510 คณิตศาสตร์ เสียใหม่เพื่อให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
ฉบับพิมพ์ครั้งล่าสุดได้แก่ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 19 เมื่อ ค.ศ. 1979 แบ่งออกเป็น 3 เล่ม มีความหนาถึง 1217 หน้า (Dewey 1980) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 19
มีการปรับปรุงขอบเขตอย่างกว้างขวางและเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในห้องสมุดเกือบทุกแห่ง (Batty
1981 : 7) แสดงว่าวิทยาการในโลกนี้ได้เพิ่มพูนขึ้นอีกเป็นอันมาก และยังมีฉบับย่อสำหรับ ให้ห้องสมุดเล็ก ใช้และสำหรับนิสิต นักศึกษาบรรณารักษศาสตร์ใช้เป็นตำราเรียน
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11 เป็นฉบับพิมพ์ครั้งล่าสุด พิมพ์ในปีเดียวกับฉบับเต็ม หนังสือนี้ได้รับการแปลออกเป็นหลายภาษา ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก
ในประเทศไทยสมาคมห้องสมุดแห่งปรเทศไทยได้จัดแปลและจัดพิมพ์ฉบับย่อซึ่งเป็นฉบับพิพม์ครั้งที่ 7 เป็นภาษาไทยไทยครั้งแรก ขณะนี้ได้ดำเนิน
การจัดแปลฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 เรียบร้อย ชื่อว่า แผนการจัดหมู่ระบบทศนิยมและดรรชนีสัม
พันธ์ฉบับย่อ (สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย 2523 : เล่ม 1) ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน ที่จะใช้เป็นคู่มือในการให้เลขหมู่หนังสือ เมื่อเร็ว ๆ นี้
มีรายงานการวิจัยเปิดเผยว่า มีห้องสมุดเกือบทุกประเภทรวมกัน ประมาณ กว่า 85 เปอร์เซนต์ ใช้ระบบทศนิยมของดิวอี้ทั่วประเทศ สหรัฐอเมริกาและ แคนาดา (Comaromi 1975 : 12) นอกจากนี้ตารางการจัดหมวดหมู่ยังได้รับการแปล
เป็นภาษาต่างประเทศอื่น ๆ อีกมาก
ในประเทศอังกฤษได้มีการวิจัยว่า ในบรรดาห้องสมุด 940 แห่งที่ตอบแบบสอบถาม กล่าวว่า ใช้ระบบทศนิยมของดิวอี้ ในการจัดหมวดหมู่ 744 แห่ง
แบ่งเป็นห้องสมุดประชาชน 441 แห่ง ห้องสมุดวิทยาลัย 265 แห่ง ห้องสมุดมหาวิทยาลัย 27 แห่ง และ
ห้องสมุดอื่น ๆ 14 แห่ง (Bakewell 1978 : 15)
ระบบทศนิยมของดิวอี้มีการแบ่งหมวดหมู่วิชาการออกเป็น 10 หมวด แต่ละหมวดใหญ่จะมีการแบ่งย่อยอีก 10 หมวด เช่นเดียวกับการแบ่งของหมวด 0-9
และจะเป็นตำแหน่งที่สองของเลขหมู่ เลข 0 ใช้สำหรับงานทั่ว ๆ ไปของวิทยา
ศาสตร์ประยุกต์ 61 หมายถึง แพทยศาสตร์ 62 วิศวกรรมศาสตร์และวิชาที่เกี่ยวข้องแต่ละหมวดย่อยจะมีเลข 0 อีก 1 หลักตามมา ดังนั้น 600 เป็นงานทั่ว ๆ ไปของหมวดหลัก 6 610
สำหรับแพทยศาสตร์ 620 สำหรับวิศวกรรมศาสตร์ และ 630 สำหรับเกษตรศาสตร์
เป็นต้น แต่ละหมวดย่อยจะมีการแบ่งอีก 10 หมู่ ให้เลข 0-9 เช่นกัน ตัวเลขนี้จะเป็นตำแหน่งที่สามของเลขหมู่ ดังนั้นเลขเติมช่องของเลขหมู่
แต่ละหมวดย่อยของตัวอย่างดังที่กล่าวมาจะเป็น 600-609, 610-619, 620-629, 630-639 ในเลขหมู่เหล่านี้ เลข 0 หมายถึง งานทั่ว ๆ ไปของหมวดย่อยทั้งหมด และ 1-9
ใช้สำหรับวิชาที่แบ่งย่อยออกไปอีกของหมวดย่อยต่าง ๆ ดังนั้น 630 จะเป็นเลขหมู่วิชาเกษตรศาสตร์ 631 เป็นเลขหมู่ ของพืชผล 632 สำหรับสิ่งที่ทำอันตรายพืช โรคพืช 633
ผลิตผลพืชเกษตร 636 สำหรับ สัตวบาล
ระบบการจัดหมู่นี้จะยอมให้มีการแบ่งเลขหมู่ย่อยออกไปมากกว่าอีกเท่าใดก็ได้ โดยการใช้เลขแบ่งหลังจุดทศนิยมตามที่ต้องการ แบ่งให้ละเอียดออกไป ดังนั้น 636 เลขหมู่
สำหรับสัตวบาล แบ่งได้เป็น 636.1 เรื่องของม้า 636.2 วัวควาย 636.3 แกะ และ
การแบ่งย่อยลงไปในเรื่องของม้า อาจแบ่งได้เป็น 630.11 ม้าพันธุ์ตะวันออก 636.12 เชื้อสายพันธุ์ม้า 636.16 ลูกม้า เป็นต้น (Dewey 1980 : xxviii-xxix)
ดังนั้นระบบทศนิยมของดิวอี้เป็นระบบที่สามารถเพิ่มเติมเนื้อหาวิชาได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ลักษณะการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
การจัดหมู่หนังสือใช้ตัวเลขเป็นสัญญลักษณ์แทนประเภทของหนังสือ มี 10 หมวดใหญ่ (Dewey 1980 : 471) ดังต่อไปนี้ คือ
000 เบ็ดเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป
100 ปรัชญา
200 ศาสนา
300 สังคมศาสตร์
400 ภาษา
500 วิทยาศาสตร์
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือเทคโนโลยี
700 ศิลปกรรมและการบันเทิง
800 วรรณคดี
900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว ชีวประวัติ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้อง
การแบ่งหมวดใหญ่ทั้ง10หมวดนี้เป็นการแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้อย่างกว้างขวาง เรียกว่า การแบ่งครั้งที่ 1 (First Summary)
เลขหมวดใหญ่ยังแบ่งออกเป็นครั้งที่ 2 (Second Summry) ได้อีกหมวดละ 10 หมู่ (Dewey 1980 : 472) ดังเช่น
หมวดใหญ่ 300 สังคมศาสตร์ แบ่งเป็น 10 หมู่ ดังนี้
300 สังคมศาสตร์
310 สถิติ
320 รัฐศาสตร์
330 เศรษฐศาสตร์
340 กฎหมาย
350 รัฐประศาสนศาสตร์
360 สวัสดิการสังคม
370 การศึกษา
380 การพาณิชย์
390 ขนบธรรมเนียมประเพณีและนิทานพื้นเมือง
นอกจากการแบ่งครั้งที่ 2 แล้ว แต่ละหมู่ใหญ่ยังแบ่งได้อีก 1 หมู่ย่อย เป็นการแบ่งครั้งที่ 3 (Third Summary) ดังตัวอย่าง (Dewey 1980 : 476) ดังนี้ คือ
370 การศึกษา
371 โรงเรียน
372 ประถมศึกษา
373 มัธยมศึกษา
374 การศึกษาผู้ใหญ่
375 หลักสูตร
376 การศึกษาสำหรับสตรี
377 โรงเรียนกับศาสนา
378 อุดมศึกษา
379 การศึกษาและรัฐ
การแบ่งที่ละเอียดลงไปมากกว่านี้คือ การแบ่งสาขาวิชาให้ละเอียด โดยใช้จุดทศนิยม (Dewey 1980 : 513) ตัวอย่างเช่น
371 โรงเรียน
.1 การสอนและครู
.2 วิธีสอนและวิธีศึกษา
.3 วิธีสอนและวิธีศึกษา
.32 หนังสือตำราเรียน
.33 โสตทัศนวัสดุเพื่อการสอน
.4 การแนะแนว
.5 ระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน
.6 อาคารเรียน
.7 สุขวิทยาโรงเรียนและความปลอดภัย
.8 นักเรียน
.9 การศึกษาพิเศษ
ที่มา:
จุมพจน์ วนิชกุล. (2553).การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบสากลที่สำคัญ
ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification).
ค้นเมื่อ กันยายน 1, 2553, จาก http://lib.kru.ac.th/
eBook/1633101/11s33.html
|
|