|
004.678v2 ดอทคอมสายพันธุ์ใหม่อียูนิเวิร์ส
การรายงานของสำนักวิจัยคอมสกอร์เน็ตเวิร์ค กล่าวว่า ยอดขายของอีเบย์นั้นสูงกว่าร้านค้ารายใหญ่อย่าง ร้านวอลมาร์ตและ
ร้านเซียร์แอนด์โรบัค ซึ่งเป็นเครือข่ายศูนย์การค้าที่ยิ่งใหญ่ในอเมริกา เป็นต้น ที่มีการดำเนินธุรกิจในแบบ "บริกแอนด์คลิก (Brick and
Click)" คือมีทั้งสถานที่จริงและเปิดให้ลูกค้าซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตได้ด้วย
ถึงแม้ว่าจะมีข่าวการปิดกิจการของร้านค้าในอินเทอร์เน็ตแต่ก็ยังมีร้านค้าอีกมากที่สามารถดำเนินกิจการของตนในอินเทอร์เน็ต
ได้ ซึ่งแต่ละรายนั้นล้วนมีศักยภาพในการเติบโตแทบทั้งสิ้น และหนึ่งในนั้นก็คือดอทคอมสายพันธุ์ใหม่ ที่ชื่อว่า "อียูนิเวิร์ส (eUniverse)"
อียูนิเวิร์สเกิดขึ้นโดย "แบรด ดี กรีนสแปน (Brad D. Greenspan)" หนุ่มนักธุรกิจวัย28 ปี ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง
ของอียูนิเวิร์สซึ่งเป็นบริษัทดอทคอมมหาชน โดยมีบริษัทโซนี่ฯ เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ ปัจจุบันอียูนิเวิร์สมีลูกค้ากว่า 10 ล้านคน
กรีนสแปนเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่เริ่มทำธุรกิจอินเทอร์เน็ตในช่วงเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยมสูงสุดคือ ในปี
2542 ซึ่งหลังจากนั้นอีกไม่นานก็ถึงช่วงฟองสบู่แตก กิจการดอทคอมหลายรายต่างปิดกิจการไปเพราะขาดเงินทุน แต่อียูนิเวิร์สอยู่
รอดปลอดภัยได้ ฉะนั้นจึงน่าสนใจว่าอะไรเป็นตัวแปรที่ทำให้อียูนิเวิร์สสามารถประคับประคองตัวเองมาจนถึง ณ วันนี้ได้
จากการสำรวจของสำนักวิจัยเน็ลสัน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 พบว่า เว็บไซต์ในเครือของอียูนิเวิร์สนั้นกลายเป็นเว็บบริการ
บนอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 15 ด้วยจำนวนผู้เข้าชมเว็บกว่า 18 ล้านคนในเดือนนั้น โดยมีกำไรจากไตรมาสเดือนกันยายน
2544 จะมีมูลค่า 6.7 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 300 ล้านบาท ซึ่งสำหรับธุรกิจเล็กๆ นี้ก็ถือว่าสามารถทำกำไรได้ไม่น้อย
พรสวรรค์ของกรีนสแปนในการทำธุรกิจได้เริ่มมีแววมาตั้งแต่สมัยตอนที่เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง
ลอสแองเจลีส ที่ตอนแรกได้เข้าไปสมัครงานในบริษัทการเงินใหญ่ๆ ในวอลล์สตีต แต่ก็ต้องพบกับความผิดหวังดังนั้นกรีนสแปนจึงได้ตั้ง
บริษัทของตนเอง โดยได้ตั้งบริษัทชื่อ "พาลิเสส แคปิตอล" โดยใช้โทรศัพท์และเครื่องโทรสารที่อยู่ในห้องพัก ในการส่งสัญญาณเตือนหรือ
แจ้งเพื่อทราบแก่บริษัทในตลาดหุ้นที่กำลังจะประสบปัญหากับการขาดเงินทุน ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องรีบหาเงินทุนเพิ่มขึ้นอย่างเร่งด่วน
ที่มา: http://technology.mweb.co.th/articles/9774.html
|
|