ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

004.678 v.1 เจาะลึกโครงข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย

ในโลกยุคปัจจุบันเราทุกคนคงไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ข้อมูลข่าวสารมีความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจและผูกพันกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคโลกใบเล็กขึ้นไปทุกที ลองนึกถึงสมัยก่อนที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต เวลาที่เราต้องการส่งจดหมายสักฉบับไปต่างประเทศ เราต้องเสียเวลาเป็นอาทิตย์กว่าจดหมายจะถูกส่งไปถึงมือผู้รับปลายทาง และกว่าจะตอบกลับมาก็กินเวลาไปอีกเป็นอาทิตย์เช่นกัน ต่อจากนั้นโทรศัพท์ก็ได้ถูกนำเข้ามาแทนที่จดหมาย ซึ่งทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่ข้อจำกัดของโทรศัพท์ก็คือสามารถพูดคุยได้อย่างเดียว ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ในทันทีทันใด ซึ่งทำให้ไม่สะดวกมากนักหากคนอีกซีกโลกหนึ่งต้องการข้อมูลบางอย่างที่สำคัญ อีกทั้งค่าใช้จ่ายก็สูงมาก ดังนั้นเมื่อเวลาเปลี่ยนไปโลกธุรกิจเติบโตขึ้น ความต้องการข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวโทรสารจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรับและส่งข้อมูลในปริมาณมากๆ ในเวลาอันรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการพูดคุยด้วยเสียง แต่ข้อจำกัดของโทรสารก็มีอีกเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลที่เราส่งเข้าหากันจะเป็นลักษณะจากกระดาษสู่กระดาษ ข้อมูลที่เราได้รับนั้นเรายังไม่สามารถนำมาใช้งานอย่างอื่นได้นอกจากรับทราบเท่านั้น ถ้าต้องการนำข้อมูลไปใช้งานต่อเราก็ต้องมานั่งพิมพ์ข้อมูลใหม่อีกครั้ง เช่น บริษัทในประเทศไทยต้องการนำราคาสินค้าตัวล่าสุดส่งไปให้บริษัทสาขาในอเมริกา เพื่อนำเสนอลูกค้าถ้าเราใช้วิธีการโทรสารบริษัทสาขาในอเมริกาก็ต้องนำข้อมูลจากโทรสารพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้ความสวยงาม เพื่อนำเสนอให้ลูกค้าต่อไป ซึ่งเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนและล่าช้าเป็นอย่างมาก และหากเรามานั่งคิดกันต่อไปอีกว่าถ้าเรามีสาขาต่างๆอยู่ทั่วโลกความลำบากในการแลกเปลี่ยนข้อมูลจะมีความยุ่งยาก และซับซ้อนขนาดไหน

แต่มนุษย์ก็ไม่ยอมให้ความลำบากเข้ามาครอบครองชีวิต และการทำงานได้ ดังนั้นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ก็เริ่มถือกำเนิดและพัฒนาจนเป็นเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่ และทรงพลังที่สุดโดยที่แม้แต่ผู้คิดค้นก็ไม่คาดฝันเหมือนกันว่ามันจะยิ่งใหญ่และเติบโตได้อย่างรวดเร็วขนาดนี้ เครือข่ายที่ว่าก็คือ “อินเทอร์เน็ต” นั่นเอง ณ วันนี้เราคงไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า อินเทอร์เน็ตได้รุกคืบเข้ามาในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นทุกขณะ เพราะทุกวันนี้เราทุกคนที่มีโอกาสได้ใช้อินเทอร์เน็ต ลองนึกดูว่าเวลาที่เราต้องการหาข้อมูลอะไรบางอย่างเราก็จะนึกถึงอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับแรกเสมอหรืออยากส่งจดหมายสักฉบับถ้าผู้รับสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้เหมือนเราก็คงไม่พ้นที่จะต้องใช้อีเมล์ในการติดต่อ หรือหากต้องการพักผ่อนด้วยการเล่นเกมก็คงนึกถึงเกมบนพีซี และเกมในสมัยนี้ก็คงหนีไม่พ้นเกมออนไลน์ที่สามารถเล่นกันได้หลายๆ คนโดยอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง และปัจจุบันโลกของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ได้เริ่มรุกคืบเข้าสู่โทรศัพท์มือถือ, Palmไม่เว้นแม้แต่กระทั่งตู้เย็นอินเทอร์เน็ตที่สามารถสั่งซื้อของบนตู้เย็นได้ทันที

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยโดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศ หลังจากนั้นอัตราการใช้งานก็เริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และได้กระจายออกสู่ประชาชนภายนอกทั้งในระบบธุรกิจ, ส่วนราชการและการใช้ส่วนบุคคล ทุกวันนี้ในบ้านเราจะพบเห็นร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่กันเกลื่อนเมือง โดยมีกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นชัดแล้วว่า อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก และในธุรกิจปัจจุบันหากบริษัทไหนไม่มีอีเมล์ใช้นั้นหมายถึงความเป็นต่อทางธุรกิจของบริษัทนั้นก็ถูกลดลงตามไปด้วย เบื้องหลังความสำเร็จก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะแพร่หลายเหมือนอย่างในปัจจุบันนั้นประเทศไทยของเราต้องลงทุนศึกษา และวิจัยโดยใช้งบประมาณของประเทศไม่รู้กี่พันกี่หมื่นล้านบาท ซึ่งทุกบาททุกสตางค์ก็มาจากภาษีอากรของประชาชนตาดำๆ อย่างเราๆ ท่านๆ นี่เอง

กลุ่มองค์กรที่อยู่เบื้องหลังในขณะนี้ก็มีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย และNECTEC โดยการสื่อสารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่เป็น Gateway ออกสู่ต่างประเทศ และ NECTEC ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยน Internet ภายในประเทศ แต่ในระยะเวลาอันใกล้นี้ การสื่อสารแห่งประเทศไทยจะเข้ามาทำหน้าที่แทน NECTEC ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในประเทศส่วนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เราใช้บริการกันอยู่ทุกวันนี้ก็จะเชื่อมโยงเครือข่ายเข้ากับการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อออกนอกประเทศและเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าหากันในประเทศโดยผ่านศูนย์ NECTEC และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบางรายก็ยังมีเครือข่ายที่เชื่อมต่อโดยตรงจากต่างประเทศ โดยไม่ผ่านการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นเครือข่ายสำรองอีกด้วย

เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเพียงเวลาไม่ถึง 5 ปี จากที่เรามีช่องสัญญาณที่ต่อออกนอกประเทศโดยแบ่งเป็นข้อมูลขาเข้า 22.6875 Mbps และขาออก 22.6875 Mbps เมื่อเดือนตุลาคม ปี 1997 มาถึงปัจจุบันเรามีช่องสัญญาณขาเข้าขนาด 691.256 Mbps และขาออกขนาด 576.256 Mbps และช่องทางสื่อสารที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต่อเชื่อมไปยังการสื่อสารแห่งประเทศไทยร่วมกับ NECTEC มีขนาดถึง 1173.255 Mbps ซึ่งเป็นการเติบโตที่รวดเร็วมาก และการเติบโตนี้ก็ยังไม่มีแนวโน้มที่จะหยุดลงหรือเพียงพอแก่การใช้งานในปัจจุบันแต่ประการใด

ที่มา
http://technology.mweb.co.th/articles/11091.html

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to chumpot@hotmail.com