ระบบสารสนเทศทางการศึกษา
ระบบสารสนเทศทางด้านวิชาการ

Index
เนื้อเรื่อง หน้าที่ : 2 จาก 8

ระบบสารสนเทศทางด้านวิชาการ


๑. ระบบสารสนเทศทางด้านวิชาการ

๑.๑ การสนับสนุนการดำเนินงานวิชาการ

งานวิชาการเป็นกิจกรรมอันดับแรกของการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา ซึ่งระบบสารสนเทศที่จะสนับสนุนด้านงานวิชาการให้เป็นไปด้วยดีนั้น จะต้องจัดหาสารสนเทศในเรื่องต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกดังนี้
รายละเอียดของหลักสูตร และข้อกำหนดประสิทธิภาพของหลักสูตรนั้น ๆ
  • คุณภาพของหลักสูตร
  • ปริมาณของผู้เรียนในแต่ละหลักสูตร
  • ประโยชน์ที่เอื้ออำนวยต่อบุคลากรสายการสอน
  • การส่งเสริมพัฒนาบุคลากรสายการสอน
  • แผนการสร้างความเชื่อมั่นในหลักสูตร
  • จุดอ่อนและจุดแข็งของสถาบันอื่นเกี่ยวกับหลักสูตร
  • นโยบายการดำเนินการของสถาบัน
  • หลักสูตรที่คาดว่าจะเปิดในอนาคต
  • ภาวะหรือสภาพหลักสูตรที่เปิดทำการสอนอยู่
จะเห็นได้ว่าสารสนเทศนั้น มาจากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น นโยบายการดำเนินงานของสถาบันก็อาจจะออกมาจากฝ่ายบริหาร หรือ ภาวะหลักสูตรที่เปิดทำการสอนอยู่ก็อาจจะมาจากฝ่ายหลักสูตรและการสอน เป็นต้น

๑.๒ การวิเคราะห์การดำเนินการวิชาการ

ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์หลักสูตร จัดเป็นระบบที่มีความสำคัญอีกระบบหนึ่งของสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาสารสนเทศในเรื่องที่เกี่ยวกับ
  • แนวโน้มของหลักสูตรในอนาคต
  • ผลสำเร็จของหลักสูตรแต่ละหลักสูตร
  • ประสิทธิภาพของสถาบันที่เกี่ยวกับหลักสูตร
  • ประสิทธิภาพของคณาจารย์
โดยทั่ว ๆ ไปแล้วสารสนเทศที่ใช้ในการวิเคราะห์หลักสูตรจะได้มาจากระบบการรับนักศึกษา ซึ่งเป็นรายการที่สามารถประมวลผลได้แน่นอน ชัดเจน และมีหลักฐานชัดเจน เช่น จำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียน จำนวนนักศึกษาที่จบออกไป จำนวนนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน ฯลฯ รายงานที่เกี่ยวกับนักศึกษา ซึ่งข้าพเจ้าเป็นอธิการบดีและเป็นผู้บริการสูงสุดจะต้องรู้ข้อมูลนั้นจากทางฝ่ายรองอธิการ โดยที่ข้อมูลสารสนเทศอาจจะได้มาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เช่น รายงานจำนวนนักศึกษาปัจจุบัน ก็อาจจะได้จากฝ่ายหนึ่ง รายงานการจบหลักสูตรอีกฝ่ายหนึ่ง หรือรายงานการมีงานทำของนักศึกษาที่จบออกไปอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นต้น หากฝ่ายบริหารต้องการรายละเอียดความต้องการขององค์กรต่าง ๆ ก็อาจจะได้มาจากแหล่งข้อมูลภายนอก เช่น ความต้องการนักศึกษาฝึกงาน การให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา เพื่อปฏิบัติงานในองค์กรของตน หลังจากจบการศึกษาแล้ว เป็นต้น สถาบันสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ มาวิเคราะห์เพื่อการดำเนินการเกี่ยวกับหลักสูตรต่อไป ถ้าปราศจากสารสนเทศเหล่านี้แล้ว สถาบันก็ไม่สามารถที่จะหาประสิทธิภาพของหลักสูตรที่เปิดทำการสอนในสถาบัน เช่น ทราบแต่เพียงจำนวนผู้เข้ารับการศึกษา ผู้จบการศึกษา แต่ไม่ทราบจำนวนผู้ที่จบการศึกษาไปแล้วประสบความสำเร็จในการทำงานมากน้อยเพียงใด ก็ไม่สามารถจะทราบได้ว่า หลักสูตรที่เปิดทำการสอนอยู่หลักสูตรใดตลาดแรงงานต้องการ หลักสูตรใดมีประสิทธิภาพ และในทำนองเดียวกันหากทราบสารสนเทศต่าง ๆ แล้ว ก็สามารถที่จะทำการวิเคราะห์เพื่อดูว่าปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุที่ทำให้หลักสูตรใดประสบความสำเร็จ หรือหลักสูตรใดล้มเหลวได้เช่นกัน และสารสนเทศดังที่ได้กล่าวมานี้จะยังเป็นข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบเพื่อจูงใจ หรือกระตุ้นให้คณาจารย์เกิดความพึงพอใจ เกิดความภาคภูมิใจ มีผลต่อประสิทธิภาพในการสอนด้วย
สารสนเทศที่ได้มาจากระบบนี้แม้จะเป็นเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ยังสามารถที่จะแสดงถึงแนวโน้มของการดำเนินงานของสถาบันได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการดำเนินงานของสถาบัน รวมไปถึงงานวิจัยทางด้านวิชาการด้วย
รายงานต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วต้องใช้สารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการผลิตนักศึกษา เช่น รายงานผลการเรียน รายงานจำนวนนักศึกษา รายงานคณาจารย์ โดยปกติแล้วจะต้องมีการรายงานอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นรายภาคเรียน รายปีการศึกษา เพื่อจะได้เปรียบเทียบระหว่างปริมาณนักศึกษาที่มีอยู่กับแผนการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้ หรืออาจจะใช้ปริมาณเปรียบเทียบกับศักยภาพของสถาบันอื่น ๆ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีความแตกต่างกันอันเนื่องมาจากข้อจำกัด และสภาพของธรรมชาติของหลักสูตรนั้นๆ
ชนิดของสารสนเทศที่จะนำมาใช้ในระบบย่อยการวิเคราะห์ด้านหลักสูตร ควรประกอบด้วย
  • สารสนเทศเกี่ยวกับจำนวนนักศึกษาที่ผ่านมา และในปัจจุบัน
  • สารสนเทศ จากแบบสอบถามองค์กรต่าง ๆ ที่นักศึกษาเข้าทำงาน ผลการปฏิบัติงาน รายงานการปฏิบัติงานของนักศึกษา ผลของสังคมที่มีต่อนักศึกษาของสถาบัน
  • สารสนเทศด้านงบประมาณที่ดำเนินการ
ข้อมูลในข้อ 2 นับว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เพราะข้อมูลเหล่านี้มักจะไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม นักศึกษาที่จบออกไป จะสัมผัสกับผู้ประกอบการ หรือองค์กรโดยตรง และผู้ประกอบการหรือองค์กรก็จะสัมผัสกับนักศึกษาโดยตรงเช่นกัน ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้รู้ถึงสถานการณ์ของสถาบัน รู้ถึงความต้องการของสังคม ความต้องการในด้านการเปิดหลักสูตร รวมทั้งความแตกต่างของหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ

๑.๓ การวิเคราะห์ผู้เข้ารับการศึกษา

ระบบวิเคราะห์ผู้รับการศึกษา หรือนักศึกษาในสถาบันนั้น เพื่อให้ทราบถึงเหตุผลของการเข้ามาศึกษาในสถาบัน การเลือกเรียนหลักสูตรต่าง ๆ และประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับจากสถาบัน เพื่อสถาบันจะได้นำไปปฏิบัติให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป
จัดทำโดย ธนา จารุพันธุเศรษฐ์