4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 7

การจัดการความรู้ในชีวิตประจำวัน
ผศ.ดร.ไพโรจน์ ชลารักษ์

7.6 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ได้สำเร็จแท้จริงหมายความว่าใช้ความรู้แก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่สำเร็จ ลุล่วงไปได้สมตามความมุ่งหวังที่ตั้งไว้แต่แรก ความสำเร็จใน
การจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหาจึงมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ
1)ปัจจัยภายใน หมายถึง ส่วนประกอบคุณสมบัติของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่จะใช้แก้ไข ปัญหาภายใน ซึ่งถ้าเป็นปัญหาส่วนตัว บุคคลคนเดียว ก็หมายถึงปัจจัยในตัวบุคคลที่เผชิญปัญหาเอง เช่น ความรู้จักและเข้าใจหรือตระหนักความเป็นปัญหามากน้อยเพียงใด กำลังใจความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหามีมากน้อยเพียงใดความคาดหวังอยากจะให้เป็นไปของปัญหาเป็นอย่างไร เป็นต้น หากเป็นปัญหาในองค์กร ปัจจัยภายในองค์กรได้แก่ จำนวนคนในองค์กร ความสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์กร ทัศนคติความมุ่งหวังของคนในองค์กร เอกภาพความสามัคคีของคนในองค์กรและอื่น ๆ ถ้าหากเป็นปัญหาสาธารณะการจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหาสาธารณะให้สำเร็จย่อมต้องอาศัยปัจจัยทั้งแบบส่วนตัว ลักษณะกลุ่มหรือองค์กรแล้วยังต้องคำนึงถึงบรรยากาศ ความรู้สึก และท่าทีทัศนะของผู้ร่วมเผชิญปัญหาด้วยว่าตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความรู้และร่วมมือร่วมใจกันใช้ความรู้แก้ปัญหาอย่างจริงจังหรือจริงใจหรือไม่ โดยสรุปแล้วการจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหามีปัจจัยภายในสำคัญ 3 ส่วน คือ ความรู้ ความร่วมมือ และความตั้งใจในการจัดการ
2)ปัจจัยภายนอก หมายถึงส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ที่เกี่ยวกับความรู้และกระบวนการในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจำแนกได้เป็น
(1)แหล่งความรู้ที่จะใช้แสวงหาเพื่อสนับสนุนการใช้ความรู้ มี หรือ ไม่เพียงพอหรือไม่ ถูกต้องหรือไม่เพียงใด
(2)แหล่งสนับสนุนด้านเครื่องมืออุปกรณ์ วัสดุ หรือทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อการจัดการความรู้ที่ใช้แก้ปัญหา เช่น การจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียของชุมชนเมื่อได้ความรู้เรื่องการแก้ปัญหาน้ำเสียได้แล้วจำเป็นต้องหาสถานที่ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ เวลาและการแสวงหาวิธีการทำงานที่ดีจึงจะแก้ปัญหาน้ำเสียได้สำเร็จ
3)ความร่วมมืออย่างจริงใจและจริงจัง ของผู้เกี่ยวข้องซึ่งบางโอกาสอาจไม่ใช้ผู้รับผลจากการแก้ปัญหาโดยตรง เช่น องค์กรเอกชน หรือหน่วยราชการที่เข้าไปร่วมมือช่วยเหลือสนับสนุนชุมชน หรือบุคคล หรือองค์กรบางองค์กร ให้สามารถใช้ความรู้เพื่อจัดการแก้ปัญหาของชุมชน หรือองค์กรนั้นให้สำเร็จได้ กล่าวโดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหามี 3 ปัจจัยหลักที่สำคัญมาก คือ
(1)ความตั้งใจจริงที่จะใช้ความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหา ความจริงใจ และจริงจัง ที่จะแก้ปัญหา โดยอาศัยความรู้เป็นตัวจัดการซึ่งไม่ว่าเป็นปัญหาใหญ่หรือเล็ก ปัญหาส่วนตัวหรือส่วนรวม ก็ต้องอาศัยความจริงใจ จริงจัง และตั้งใจจริงของผู้เผชิญปัญหาทั้งสิ้น
(2)ความร่วมมือของบุคคลแวดล้อม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัว ปัญหาเล็ก หรือปัญหาองค์กร ปัญหาส่วนร่วม ปัญหาสาธารณะ ย่อมต้องอาศัยบุคคลมากกว่า 1 คน ร่วมมือกันแก้ไขทั้งนั้น ความร่วมมือกันที่จะแก้ไขหรือใช้ความรู้มาแก้ไขจึงต้องมีขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
(3)ความต่อเนื่องสม่ำเสมอ ปัญหาแต่ละปัญหาไม่ได้แก้ไขได้ในเวลาสั้นหรือรวดเร็ว หรือแม้ทำได้สำเร็จโดยรวดเร็วแต่ก็จะมีปัญหาอื่นต่อเนื่องตามมาอีกในรูปแบบลักษณะต่าง ๆ ออกไป ทำให้การแก้ปัญหาต้องทำต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ มีปัญหาเพิ่มเข้ามาก็ต้องมีการแสวงหาและจัดการความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาความต่อเนื่องของปัญหาทำให้เกิดเป็นปัญหาในชีวิตประจำวันดังได้กล่าวมาแล้ว การใช้ความรู้จัดการกับปัญหาจึงต้องมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอด้วย


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008