4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 6

การนำเสนอและการเผยแพร่ความรู้

6.2 การเตรียมสาระความรู้เพื่อการนำเสนอ

สาระความรู้ที่สำคัญ ๆ มี 4 อย่างที่จำเป็นต้องเตรียมหรือกำหนดไว้ล่วงหน้า ได้แก่
1)สาระหลักของความรู้เรื่องนั้น (principles of knowledge ) คือ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องชัดเจนของความรู้ที่ต้องการเสนอให้ผู้อื่นได้รับในเรื่องนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ต้องการนำเสนอความรู้เรื่องการออกกำลังกายก็ต้องเตรียมกำหนดสาระหลักของความรู้เรื่องการออกกำลังกายว่าการออกกำลังกายหมายความว่าอย่างไร มีเหตุผลหรือความจำเป็นอย่างไรจึงต้องออกกำลังกาย วิธีการออกกำลังกายทำอย่างไรได้บ้าง และเมื่อออกกำลังกายแล้วจะเกิดผลอะไรบ้าง ประเด็นเหล่านี้จะเป็นสาระหลักที่ต้องเตรียมเพื่อที่ว่าเมื่อนำเสนอความรู้ไปแล้ว ผู้รับความรู้จะเกิดความรู้หรือได้รับสิ่งที่ต้องการจากการนำเสนออย่างถูกต้องตรงตามที่หวัง และครบถ้วนหรือไม่
2)สาระประกอบหรือบริบทของความรู้ (knowledge content) คือรายละเอียด ที่เพิ่มเติมกับสาระหลัก ที่แวดล้อมชักนำให้ผู้รับความรู้ก้าวไปสู่การได้สาระหลักในที่สุด การนำเสนอความรู้แก่กลุ่มบุคคลต่างกันอาจต้องใช้สาระประกอบมากน้อยต่างกันไปได้เช่น ต้องการเสนอสาระหลักว่า การออกกำลังกายหมายความว่าอย่างไร สาระประกอบก็จะต้องมีคำนิยามของคำว่าออกกำลังกาย คำอธิบายเพิ่มเติม ตัวอย่างการกระทำหรือแสดงซึ่งอาจเป็นรูปภาพ หรือการสาธิต หรือสื่อชนิดอื่น ๆ ประกอบกัน
3)ปฏิบัติการ (action) หรือพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นเมื่อผู้รับการนำเสนอหรือผู้รับความรู้ได้รับแล้วจะทำพฤติกรรมหรือปฏิบัติได้ถูกต้องหรือไม่ อย่าลืมว่าความรู้เป็นนามธรรมหรือความรู้สึกภายในจิตใจคน หากไม่แสดงออกโดยทางพฤติกรรมหรือการกระทำแล้วจะไม่สามารถทราบหรือตรวจจัดได้ การตรวจวัดอาจใช้วิธีการซักถามให้ตอบหรือให้ทดลองทำให้ดูก็ได้
4)ผลลัพธ์ (out put) หมายถึง สิ่งที่จะได้หรือเกิดขึ้นกับผู้รับความรู้หลังจากได้ รับการนำเสนอความรู้แล้วสาระนี้จะต้องเตรียมหรือกำหนดไว้ล่วงหน้าด้วยว่าจะเป็นอะไรออกมาเช่น กำหนดว่าต้องตอบคำถามถูกต้องหรือแสดงท่าทางถูกต้อง หรือทำชิ้นงานได้สำเร็จ เป็นต้น


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008