4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 5

การประเมินคุณค่าและการใช้ประโยชน์จากความรู้
ผศ.ฑัณฑิกา ศรีโปฎก

5.1 ความหมายของการประเมินคุณค่า

การประเมิน หมายถึง การวัดโดยประมาณไม่สามารถวัดแล้วชี้ชัดออกมาอย่างชัดเจนได้ การประเมินจึงใช้กับการวัดสิ่งที่ไม่เป็นรูปธรรม โดยอาศัยเครื่องมือหรือวิธีการที่มีมาตรฐานเป็นที่เชื่อถือหรือยอมรับได้ เราจึงใช้คำว่าประเมินแทน ซึ่งคล้ายกับคำว่าประมาณ ซึ่งหมายถึง การคาดคะเนเองด้วยความรู้สึกเท่านั้นไม่ได้ใช้เครื่องมือหรือวิธีการที่เป็นมาตรฐานแต่อย่างใด
ความรู้เป็นนามธรรม เป็นภาวะที่อยู่ในตัวคน ไม่สามารถใช้เครื่องมือมาตรฐานใด ๆ วัดได้แน่นอน ว่าใคร หรือคนใดมีความรู้มากน้อยเพียงใด การวัดความรู้จึงใช้การประเมิน โดยการสร้างข้อทดสอบขึ้นมา แล้วทำการทดสอบด้วยวิธีการที่เหมาะสมให้ได้ผลออกมาเป็นหน่วยคะแนน แล้วจึงอธิบายคะแนนที่กำหนดวัดได้เป็นระดับความรู้อีกทีหนึ่ง
ความรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า หมายความว่ามนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ได้ และในชีวิตประจำวันมนุษย์ต้องใช้ความรู้ตลอดเวลา เพียงแต่เวลาใดสถานการณ์ใดจะใช้ความรู้เรื่องอะไรนั้นเป็นรายละเอียดเฉพาะกรณี เมื่อเวลาคนเกิดปัญหาหรือต้องการใช้ความรู้ก็ต้องพิจารณา(คิด)ว่าจะเลือกใช้ความรู้อะไรมากน้อยเพียงใดจึงจะแก้ปัญหาได้สำเร็จ หรือจะทำให้เกิดความพอใจได้ เนื่องจากความรู้มีมากมายมหาศาลเปรียบเสมือนอากาศ หรือน้ำ หรืออาหารที่อยู่รอบตัวเรา คนต้องการทั้งอากาศ น้ำ และอาหาร แต่ในแต่ละสถานที่หรือแต่ละสถานการณ์ เราต้องเลือกเพื่อที่จะให้ได้อากาศที่บริสุทธิ์ดี น้ำสะอาด อาหารสะอาดมีคุณค่าสารอาหารครบถ้วนเป็นต้น ความรู้ก็เช่นกันจำเป็นต้องมีการเลือกใช้ให้เหมาะสม และก่อนจะตัดสินใจเลือก ก็ต้องคิดพิจารณาประเมินคุณค่าของความรู้นั้นเสียก่อนว่า สมควรจะนำมาใช้หรือไม่
ความจริงความรู้เป็นสภาวะธรรมกลาง ๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว แต่จะเป็นประโยชน์หรือส่งผลต่อคนไปทางลบหรือบวกอย่างใดขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ถ้านำความรู้ไปใช้ในทางที่ดีก็ เกิดประโยชน์ ถ้านำไปใช้ในทางไม่ดีก็เกิดโทษ ตัวอย่างเช่น ใครคนหนึ่งมีความรู้ความสามารถเรื่องการพิสูจน์ เพชร ว่าเป็นของแท้หรือเทียม ถ้าเขาใช้ความรู้นี้หลอกหลวงคนอื่นก็จะเกิดโทษเป็นความผิดศีลธรรมจรรยา เกิดความเสียหายแก่การค้าขายปกติได้ แต่ถ้าเขาใช้ความรู้ไปในทางดี คือตรวจพิสูจน์แล้วบอกหรือประกาศความจริง ก็จะเป็นประโยชน์แก่ตนเองและคนอื่น ไม่เป็นการผิดศีลธรรมจรรยา และธุรกิจการค้าขายเพชร ก็จะไม่ประสบปัญหาเนื่องจากการหลอกลวงได้


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008