4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 4

การแสวงหาความรู้ การค้นคืนความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ
รศ.อัญญาณี คล้ายสุบรรณ์

4.9 การถ่ายโอนความรู้ (knowledge transferring)

การถ่ายโอน อาจมีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายหรือใกล้เคียงกัน ได้แก่ การถ่ายทอด การถ่ายโยง การถ่ายเท ซึ่งมีความหมายเป็นลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งคือ การทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปลี่ยนย้ายที่อยู่ไปสู่ที่ใหม่ สิ่งที่แตกต่างเป็นรายละเอียดดับรองลงไป คือลักษณะหรือวิธีการถ่ายเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการถ่าย ที่มีส่วนทำให้เกิดคำว่าถ่ายทอด ถ่ายโยง ถ่ายเทหรือ ถ่ายโอน
การถ่ายเทมักใช้เป็นการกระทำกับวัตถุสิ่งของโดยเฉพาะของเหลว เช่น น้ำหรือน้ำมัน จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น จากถังที่หนึ่งไปสู่ถังที่สอง เป็นต้น
การถ่ายทอด จะมีความหมายในเชิงส่งผ่านเครื่องมือ หรือวิธีการเพื่อให้สิ่งที่ต้องการถ่ายไปสู่ที่ใหม่ มักใช้กับสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ความรู้ หรือ พลังงาน เช่น เสียง หรือ สัญญาณ เป็นต้น การถ่ายทอดเสียงจะใช้เครื่องมืออุปกรณ์ รับเสียง แปลงสัญญาณส่งผ่าน และกระจายเสียง เช่น ถ่ายทอดเสียงวิทยุ ถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ เป็นต้น ส่วนการถ่ายทอดความรู้ซึ่งเป็นนามธรรม มักจะหมายถึง กลวิธีที่คนสอนหรือบอกวิธีแสวงหาความรู้แก่คนอื่น มีลักษณะเป็นการตั้งใจหรือเจตนาบอกหรือสอนให้โดยตรง
การถ่ายโอน หรือการถ่ายโยง มีความหมายที่ใช้แทนกันได้ ซึ่งแทนความหมายเป็นภาษาอังกฤษว่า transfer หมายถึงการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อยู่และเปลี่ยนแปลงสภาพไปด้วยโดยลักษณะวิธีการทำให้เปลี่ยนแปลงที่อยู่หรือเปลี่ยนสภาพมีหลายแบบหลายวิธีและหลายปัจจัย หรือองค์ประกอบมีส่วนร่วม การถ่ายโยง หรือถ่ายโอน ความรู้จึงหมายถึงการทำให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ขยายไปสู่แหล่งใหม่ ๆ (โดยแหล่งเดิมก็มิได้หมดไป) และมีลักษณะจากคนสู่คน โดยอาศัยกระบวนวิธีที่ตั้งใจบ้าง ไม่ตั้งใจบ้างได้แก่การอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน ใช้ชีวิตร่วมกัน ก็จะมีการเรียนรู้ร่วมกันตามโอกาสที่เหมาะสมสืบทอดความรู้เป็นมรดกต่อ ๆ กันไปจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง และจากคนหนึ่งหรือหลายคนไปสู่คนอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้เป็นวงกว้างออกไป กิจกรรมลักษณะนี้ทำให้ความรู้ได้รับการตรวจสอบทบทวนพิสูจน์โดยคนหลายคน มีการพิจารณาหรือปรับปรุงเสริมแต่ง ดัดแปลงไปใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ หรือบริบทไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด การถ่ายโอนหรือถ่ายโยงความรู้จึงเกิดขึ้นได้เพราะมีคนมีปฏิสัมพันธ์กันในรูปแบบต่าง ๆ หลากหลาย ความรู้ได้รับการเผยแพร่ และพัฒนามากนับว่าเป็นการจัดการความรู้ที่ดีอย่างหนึ่งโดยธรรมชาติ
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าการถ่ายโอนความรู้มี 3 ลักษณะ ได้แก่
1) จากบุคคลสู่บุคคล ได้แก่การบอกหรือสอนหรือฝึกกันตัวต่อต่อโดยตรง หรือจากบุคคล แอบสังเกตจดจำผู้อื่นก็ได้
2) จากบุคคลสู่กลุ่ม ได้แก่การสอนหรือบอกหรือฝึกโดยบุคคล 1 คน กระทำต่อบุคคลจำนวนมาก เช่นในชั้นเรียน เป็นต้น
3) จากกลุ่มสู่กลุ่ม ได้แก่การมีปฏิสัมพันธ์กันของคน 2 กลุ่มที่มีวัฒนธรรมความรู้แตกต่างกัน ต่างก็จะถ่ายโอนหรือถ่ายโยงความรู้เข้าหากัน ผสมผสานหรือแลกเปลี่ยนความรู้กัน


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008