4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 4

การแสวงหาความรู้ การค้นคืนความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ
รศ.อัญญาณี คล้ายสุบรรณ์

4.7 วิธีการค้นคืนความรู้

เมื่อได้ทราบว่าความรู้ถูกเก็บสะสมไว้ที่ใดอย่างไรแล้วการค้นคืนความรู้ก็จะกระทำได้ไม่ยาก การค้นคืนความรู้จึงหมายถึงการค้นหาความรู้หรือข้อมูลหรือสารสนเทศที่จะถูกจัดเก็บโดยมีการจัดกระทำหรือเตรียมพร้อมสำหรับการนำกลับมาใช้ได้โดยสะดวกและรวดเร็วนั่นเอง การค้นคืนความรู้จึงมีวิธีการดังนี้
1) โดยการสอบถามจากบุคคลผู้ทรงจำความรู้นั้นไว้ หรือจากผู้มีความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง นั้นโดยตรง เช่น พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาทรงจำวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้จำนวน 227 ข้อ เมื่อใดต้องการตรวจสอบทบทวนหรือบอกอธิบายแก่ผู้ใด พระสงฆ์ก็สามารถบอกอธิบายหรือแสดงวินัยที่ทรงจำไว้แล้วได้
2) โดยการสืบค้นจากสื่อหรือวัตถุที่บันทึกไว้ ในกรณีนี้สื่อ หรือวัสดุบันทึกหรือ เครื่องมือที่จัดเก็บความรู้ หรือข้อมูลหรือสารสนเทศมีหลายชนิดหลายประเภทมาก และแต่ละชนิดแต่ละประเภทก็จะจัดเก็บข้อมูลไว้มากมายมหาศาล การสืบค้นจึงมีวิธีการทำได้ 2 แบบ คือ
(1) การสืบค้นด้วยเครื่องมือช่วยค้น และวิธีการพื้นฐานธรรมดา หมายถึง การสืบค้นจากแหล่งความรู้หรือแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือสลับซับซ้อนไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้หรือการฝึกใช้เครื่องมือมากนัก ก็สามารถค้นหาความรู้ที่ต้องการจากแหล่งที่จัดเก็บหรือเตรียมไว้แล้วนั้นได้ ตัวอย่าง เช่น ค้นหาบทความจากวารสารโดยอาศัยหน้า ดัชนี ค้นหาหนังสือที่ต้องการ โดยใช้หัวเรื่อง หรือบัตรชื่อเรื่องในห้องสมุด เป็นต้น
(2) การสืบค้นโดยใช้เครื่องมือช่วยค้นอัตโนมัติ หมายถึง เครื่องมือช่วยค้น (search engine) เป็นเครื่องมือที่มีการทำงานสลับซับซ้อนมีสมรรถนะ และประสิทธิภาพสูง แต่ผู้ใช้ต้องมีความรู้ความชำนาญพื้นฐานในการใช้เครื่องมือค้นเหล่านี้พอสมควรตามแต่ลักษณะเฉพาะของเครื่องมือนั้น ๆ เครื่องมือเหล่านี้ที่สำคัญได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ (computer system) ระบบและเครื่องมือช่วยสืบค้นแบบนี้ อาจแยกออกเป็น 3 แบบย่อย ๆ คือ
(2.1) ระบบสืบค้นกลางที่คนทั่วไป ใช้สืบค้นข้อมูลสารสนเทศหรือความรู้ได้เหมือนกัน แต่ใช้เฉพาะแหล่ง ส่วนใหญ่จะติดตั้งและมีใช้อยู่ตามแหล่งบริการความรู้หรือห้องสมุดต่าง ๆ ได้แก่ระบบบริการโดยโปรแกรมอัตโนมัติ เช่น ระบบ Alice for Window, Innopac, Dynic, เป็นต้น
(2.2) ระบบสืบค้นด้วยเครื่องมือเฉพาะบุคคล (data base) เป็นระบบที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งบันทึกข้อมูลความรู้ไว้ในเครื่องมือหรืองานส่วนตัว และค้นคืนได้ด้วยความรู้ ความเข้าใจเฉพาะตัวเองเท่านั้น เช่น ข้อมูลส่วนตัวหรือส่วนงาน ที่ต้องมีรหัสผ่านจึงจะเรียกข้อมูลหรือสารสนเทศได้
(2.3) ระบบสืบค้นข้อมูลเครือข่าย (net work) เป็นการเชื่อมโยงฐานข้อมูล (data bases) หรือแหล่งข้อมูล (information sources) หลายแหล่งเข้าด้วยกันและเปิดโอกาสให้ใคร ก็ได้เข้าถึงและค้นหา นำข้อมูลกลับมาใช้ได้ เช่นระบบ Internet


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008