4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 4

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล

ผู้ใช้สารสนเทศ

ผู้ใช้สารสนเทศนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในระบบสารสนเทศ เพราะบริการสารสนเทศให้บริการแก่ผู้ใช้หลายระดับ และเพื่อประโยชน์ ที่ต่างวัตถุประสงค์กันออกไป ประภาวดี สืบสนธิ์ ได้เปรียบเทียบการใช้สารนิเทศในสังคมสารสนเทศว่า เปรียบได้เหมือนกับวงการธุรกิจ ผู้ใช้สารนิเทศคือผู้บริโภค บรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศจึง ต้องพยายามเข้าใจผู้ใช้ในการวิจัยตลาดเพื่อสำรวจหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภค
การพัฒนาผู้ใช้สารสนเทศ เป็นสิ่งจำเป็นที่แหล่งให้บริการสารสนเทศจะดำเนินการ ให้เกิดการใช้สารสนเทศได้เต็มที่ เพราะผู้ใช้สารนิเทศ ต้องนำความรู้ ข้อมูลข่าวสารมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและงานของตน สารสนเทศที่ไม่มีผู้ใช้นับว่าไร้ประโยชน์ การพัฒนาผู้ใช้ และยกระดับมาตรฐานของผู้ใช้จึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงควบคู่ไปกับการพัฒนา ห้องสมุด
ผู้ใช้สารสนเทศแบ่งได้ตามกลุ่มผู้ใช้ของแหล่งบริการสารสนเทศ เช่น กลุ่มผู้ใช้ห้องสมุดประชาชน กลุ่มผู้ใช้ห้องสมุดโรงเรียน กลุ่มผู้ใช้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มผู้ใช้ห้องสมุดเฉพาะ เป็นต้น มีผลของการวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มผู้ใช้ห้องสมุด ได้แบ่งกลุ่มผู้ใช้ออก เป็น 6 ระดับ ดังต่อไปนี้ คือ
1. กลุ่มผู้ใช้ระดับโรงเรียน เป็นการใช้สารสนเทศภายในห้องสมุดโรงเรียน ผู้ใช้สารนิเทศได้แก่ นักเรียน การพัฒนาผู้ใช้ในระดับนี้ บรรณารักษ์ในห้องสมุดโรงเรียน ต้องปลูกฝังนักเรียนให้มีนิสัยรักการอ่าน ให้รู้จักใช้ห้องสมุดเพื่อการค้นคว้าหาคำตอบแก่ตนเอง ให้รู้จักใช้หนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่ในห้องสมุด บรรณารักษ์และครูผู้สอนในโรงเรียนต้องร่วมมือประสานงานกัน ในการชี้แนะการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศที่มีอยู่ใน โรงเรียนอย่างเต็มที่
2. กลุ่มผู้ใช้ระดับประชาชน เป็นการใช้สารสนเทศของกลุ่มประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้รู้หนังสือน้อย กลุ่มนี้ใช้บริการสารสนเทศ ค่อนข้างน้อย และแหล่งบริการของกลุ่มผู้ใช้ ระดับนี้คือห้องสมุดประชาชน ยังมีอุปสรรคต่อการบริการงาน ทำให้ประชาชนไม่เห็นความ จำเป็นของการใช้ห้องสมุดประชาชน ความต้องการในการใช้สารสนเทศยังไม่ลึกซึ้ง ส่วน ใหญ่แล้ว อ่านหนังสือเพื่อการบันเทิงพักผ่อน กลุ่มผู้ใช้ระดับนี้จึงควรได้รับการพัฒนาในการ ใช้สารสนเทศเพื่อให้ติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะคนส่วนใหญ่เมื่อจบการศึกษา ภาคบังคับแล้วไม่ค่อยมีโอกาสติดตามสารสนเทศจากสังคม ก่อให้เกิดสภาพการลืมหนังสือได้
3. กลุ่มผู้ใช้ระดับการศึกษาชั้นสูง เป็นการใช้สารสนเทศของอาจารย์ นิสิต นักศึกษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้ห้องสมุดเพื่อประกอบการเรียนการสอนตาม หลักสูตรและเพื่อการวิจัย ผู้ใช้กลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือในการขอรับบริการสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
4. กลุ่มผู้ใช้ระดับการค้นคว้าวิจัยที่ลึกซึ้ง ผู้ใช้สารนิเทศกลุ่มนี้เป็นกลุ่มผู้ใช้ที่พึ่ง ตนเองได้มากที่สุด แหล่งบริการที่สำคัญ ได้แก่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดเฉพาะ และ ศูนย์สารสนเทศเฉพาะวิชาต่าง ๆ ผู้ใช้กลุ่มนี้มีความรู้เรื่องที่ตนเองจะค้นคว้าได้อย่างลึกซึ้ง
5. กลุ่มผู้ใช้ระดับผู้บริหาร ผู้ใช้สารสนเทศกลุ่มนี้คือกลุ่มระดับผู้บริหารในหน่วย งานต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน และภาครัฐบาล ผู้ใช้ในระดับนี้มีความต้องการใช้สารสนเทศแตกต่างไปจากนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย และประชาชนโดยทั่วไป ผู้บริหารจะต้องรวบรวม สารนิเทศขึ้นเองเพื่อความสะดวกต่อการบริหารงาน ในหลาย ๆ องค์การได้จัดให้มีระบบ ข้อมูลเพื่อการบริหารขึ้นแยกต่างหากจากห้องสมุด เรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร หรือ เพื่อจัดการ (management information system - MIS) ซึ่งภายในระบบจะรวมข้อมูลเกี่ยวกับ องค์การไว้ทุกประเภท และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดการ ขององค์การ บรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศจะต้องหาสารนิเทศ ที่เหมาะสมสำหรับผู้บริหาร และต้องตื่นตัวต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาให้บริการแก่ผู้บริหารเพื่อให้เข้าใจอย่างแจ่มชัดถึง ความต้องการด้านสารสนเทศต่าง ๆ
6. กลุ่มผู้ใช้ระดับผู้บริการผู้ใช้สารสนเทศกลุ่มนี้คือ กลุ่มของผู้ให้บริการสารสนเทศเอง ซึ่งได้แก่บรรณารักษ์และนักสารสนเทศต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะเกิดการเปลี่ยน แปลงสภาพการจัดเก็บสารสนเทศจากสื่อประเภทสิ่งพิมพ์เป็นสื่อโสตทัศนวัสดุ ซึ่งภายหลังนำมาใช้ประโยชน์ ร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ทำให้สารสนเทศเกิดการ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ห้องสมุดเปลี่ยนสภาพการให้บริการ ตลอดจนหน้าที่ของห้อง สมุดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ห้องสมุดหลายแห่งเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล และอื่น ๆ มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสืบค้นสารสนเทศ บรรณารักษ์และนักสารนิเทศจึง จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
กลุ่มผู้ใช้สารสนเทศทั้ง 6 กลุ่ม ล้วนแล้วแต่ทำให้สารสนเทศเกิดการใช้ประโยชน์ได้ อย่างเต็มที่ นับเป็นองค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่สำคัญ


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008