หน่วยที่ 2 กระบวนการจัดการความรู้ (knowledge management procedure)
ผศ.พิมพา สุวรรณฤทธิ์
2.7 ผลลัพธ์ จากการจัดการความรู้
เมื่อมีการจัดการความรู้แล้วผลลัพธ์ที่ได้มีดังนี้
1)ได้ขุมความรู้ (knowledge assets) คือ การสั่งสมความรู้เพิ่มขึ้น ความรู้ที่สั่งสมนี้จะได้รับการจัดเก็บอย่างเป็นระบบมากขึ้น เน้นการเพิ่มพูนความรู้ รวมทั้งแตกแขนงกิ่งก้านสาขาของความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยรวมหมายความว่าความรู้จะเกิดทั้งแนวตั้งหรือแนวดิ่งที่เป็นรูปเกลียวความรู้ (knowledge spiral) และแนวราบ (knowledge spreading) และรวมกันเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงที่อาจคล้าย ๆ รูปทรงกลมที่เรียกว่า (knowledge global) ที่มีหน่วยหลัก ๆ ของความรู้ (knowledge cells) บรรจุอยู่ภายในมากมายนับไม่ถ้วน ปรากฏการณ์นี้จะเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งในเอกัตตบุคคล และองค์กรในลักษณะคล้าย ๆ กัน
2)ได้เกิดการกระทำหรือปฏิบัติการ (actions) เกิดขึ้น และนำไปสู่ความเป็นประสบการณ์และทักษะต่อไป ทั้งในเอกัตตบุคคล และในองค์กร เช่นกัน
3)ได้ผลสำเร็จในการแก้ปัญหา (soled problem) ปัญหาที่เผชิญอยู่ก็จะหายไปหรืออาจเปลี่ยนแปลงไปได้ในมิติอื่น ซึ่งหากเปลี่ยนแปลงไปก็ต้องอาศัยการจัดการความรู้ไปช่วยจัดการกับปัญหาใหม่นั้นอีกได้
4)เกิดการถ่ายทอดและพัฒนาความรู้ โดยเฉพาะความรู้แฝง (tacit knowledge) จะถูกแสดงออกเป็นความรู้ปรากฏ (explicit knowledge) มีการตรวจสอบ แลกเปลี่ยน ปรับปรุง และถ่ายทอดกันต่อไปซึ่งจะแผ่ขยาย และกลายเป็นขุมความรู้ที่กว้างขวางใหญ่โต หรือลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ
หน้าสารบัญ
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com
|