4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 2 กระบวนการจัดการความรู้ (knowledge management procedure)

ผศ.พิมพา สุวรรณฤทธิ์

2.6 เครื่องมือและอุปการณ์ที่ใช้ช่วยในการจัดการความรู้

ความจริงเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้นี้สามารถจัดเก็บความรู้ที่ถูกแสดงออกมาจากคนแล้ว (explicit knowledge) ความรู้เหล่านั้นจึงถูกเก็บในลักษณะของสารสนเทศ (information) หรือข้อมูล (data) ให้อยู่ในสื่อ (media) หรือวัสดุบันทึกแบบต่าง ๆ การเก็บรักษาความรู้ไว้ในรูปแบบของข้อมูลหรือ สารสนเทศดังกล่าวที่มีวัตถุประสงค์การจัดเก็บอยู่ 4 อย่าง ได้แก่
1) เพื่อรักษาความรู้ไว้มิให้สูญหายหรือผิดเพี้ยน หรือลืมเลือน เมื่อใดที่ต้องการใช้ก็สามารถทำให้ข้อมูลหรือสารสนเทศแสดงออกได้เหมือนเดิม เช่นเดียวกับเมื่อแรกบันทึกลงสื่อ เครื่องมือชนิดนี้จะได้แก่เครื่องมือบันทึก (recorders) แบบต่าง ๆ ได้แก่
(1.1) บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร หรือสัญลักษณ์ ที่นิยมมากคือบันทึกลงใน กระดาษ ผ้า หรือวัสดุแข็งอื่น ๆ เช่น ไม้ หิน เป็นต้น
(1.2) บันทึกเสียง (sound recording) เช่น เทป หรือแผ่นบันทึกเสียง
(1.3) บันทึกเป็นภาพ ทั้งภาพนิ่ง (still picture) และภาพเคลื่อนไหว (motion picture)
(1.4)บันทึกเป็นระบบสื่อผสม (multimedia) คือมีทั้งภาพ เสียง ตัวอักษร สัญลักษณ์ และมิติความลึก ซึ่งทำให้เก็บสาระได้มากและละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น
2)เพื่อขยายหรือเพิ่มปริมาณ ข้อมูลหรือสารสนเทศ (enlarge or duplicate) เพื่อให้มี จำนวนซ้ำ ๆ เหมือน ๆ กัน มากขึ้น จะช่วยให้การเก็บรักษาและเผยแพร่ ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
3)เพื่อส่งผ่านหรือกระจายถ่ายทอด (disseminate) ข้อมูลและสารสนเทศให้ไปสู่ที่ต่าง ๆ ได้ทั้งสะดวกรวดเร็ว ทำให้เกิดความรู้ในหลาย ๆ ที่เป็นการเผยแพร่ความรู้ให้กว้างขวางออกไปยังต่างถิ่น ต่างแดนไกล ไปมีการแลกเปลี่ยนกันได้
4)เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาความรู้ การใช้เครื่องมือจัดการกับข้อมูลหรือสารสนเทศ สามารถทำให้ข้อมูลและสารสนเทศถูกจัดระบบใหม่ ถูกวิเคราะห์ และถูกสังเคราะห์ใหม่ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทำให้เกิดข้อมูลหรือสารสนเทศในมิติใหม่ขึ้น อันนำไปสู่ความรู้ใหม่ในตัวคนเมื่อได้สัมผัสหรือเรียนรู้ข้อมูลใหม่แล้ว


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008