|
หน่วยที่ 2 กระบวนการจัดการความรู้ (knowledge management procedure)
ผศ.พิมพา สุวรรณฤทธิ์
2.3 ขั้นตอนการจัดการความรู้
ดังได้กล่าวแล้วว่าการจัดการความรู้ต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเสมอ ดังนั้นในขั้นตอนการจัดการความรู้จึงมีขั้นตอนดังนี้
1) กำหนดประเด็นหรือเรื่องของการจัดการความรู้ หมายถึงการกำหนดว่าจะจัดการความ
เรื่องใดหรือเรื่องอะไร
2) ตั้งวัตถุประสงค์ และเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะจัดการความรู้เรื่องนั้นเพื่ออะไร และจะ
จัดการให้ได้ผลเพียงใด ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บเป็นบาดแผลแม้เพียงเล็กน้อย ผู้บาดเจ็บก็ต้องการรักษาบาดแผลให้หายโดยเร็ว ทั้งผู้บาดเจ็บก็ต้องการรู้ว่ามียาหรือวิธีใดรักษาบาดแผลได้ จะหายานั้นได้จากที่ไหนจะใช้ยานั้นด้วยวิธีใด มากน้อยเพียงใด และจะมีผลอื่นแทรกซ้อนหรือไม่ จะป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อย่างไร ตัวอย่างนี้ในทางการจัดการความรู้ก็คือผู้บาดเจ็บมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการแสวงหาความรู้หรือใช้ความรู้ที่มีอยู่แล้วเพื่อ เป้าหมายและวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่า เพื่อรักษาบาดแผลให้หายโดยไม่ให้มีอาการแทรกซ้อนได้อีกโดยเร็วที่สุด เขาจึงต้องการความรู้หลายอย่างกิจกรรมหลายอย่างมาใช้ผสมผสานกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์แล้เป้าหมายนั้น
3) แสวงหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้จากแหล่งต่าง ๆ
4) พิจารณาจัดลำดับความสำคัญ และความจำเป็นของความรู้ที่ต้องการใช้ว่าเรื่องใดต้องการ
ก่อนหลัง เช่นถ้าได้รับอุบัติเหตุมีเลือดออก ก็ต้องการความรู้ในการหยุดการไหลออกของเลือดก่อน เป็นต้น
5) ผสมผสานความรู้เข้าด้วยกันอย่างมีความเหมาะสมโดยอาศัยกระบวนการคิดเป็น
กิจกรรมสำคัญ และลงท้ายด้วยการสรุปและตัดสินใจเพื่อปฏิบัติการให้ได้ผลออกมา
6) ลงมือปฏิบัติการ (actions) กิจกรรมนี้อาจจะปฏิบัติตั้งแต่ขั้นแรกแล้วเปลี่ยนตามลำดับ
ขั้นตอนเรื่อย ๆ
7) สังเกตผลจากการปฏิบัติว่าเกิดหรือได้รับสิ่งที่คาดหวังหรือมุ่งหวังหรือไม่ หากได้ผล
ตามที่มุ่งหวังก็ดำเนินการทางปฏิบัติต่อไปแต่หากผลไม่ตรงตามที่คาดหวังหรือผิดเพี้ยนไปก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณาว่าต้องใช้ความรู้เรื่องใดมาใช้ประกอบเพิ่มขึ้นอีกนำมาพิจารณาแล้วตัดสินใจปฏิบัติการอีก
8) แสดงออกต่อผลลัพธ์ที่ได้นั้นออกมาว่า พอใจ หรือไม่พอใจ
หน้าสารบัญ
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com
|
|