4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

ความรู้กับมนุษย์

โดย ผศ.ดร.ไพโรจน์ ชลารักษ์

1.13 ประเภทของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา

ข้อมูล สามารถจัดประเภทเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุดโดยใช้เกณฑ์ความเป็นข้อมูล เบื้องต้นแท้จริงจากธรรมชาติ กำเนิดต้นแหล่งหรือเป็นข้อมูลที่ได้รับการส่งผ่าน ตีความ อธิบายความมาหลายชิ้นแล้วดังนี้
1) ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) เป็นข้อมูลที่เก็บจากต้นแหล่งแท้ครั้งแรกโดย ผู้เก็บข้อมูลหรือผู้ตรวจสอบ หรือผู้สังเกตเห็น ส่วนใหญ่ถ้าคนตั้งใจเก็บข้อมูลปฐมภูมิจะใช้วิธีสำรวจจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีอยู่จริง อีกประการหนึ่งสิ่งที่เรียกว่าเป็นข้อมูลปฐมภูมิ คือผลงานการสร้างหรือทำของมนุษย์แต่ผู้สร้างหรือทำตั้งใจใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วผลงานนั้นตกทอดถูกเก็บรักษาและได้รับการค้นพบ ทำให้เป็นหลักฐานวินิจฉัย เรื่องราวหรือเหตุการณ์จริงได้ เช่น ผลงานศิลปะของคน สถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้าง การแกะสลัก หรือการเขียนบันทึกตัวหนังสือ รูปภาพ เรื่องราวลงบนวัตถุต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อมีการค้นพบภายหลังสิ่งเหล่านี้ ก็คือเป็นข้อมูลปฐมภูมิเช่นกัน
2) ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary sources) เป็นข้อมูลที่ได้รับการนำมาจัดกระทำแล้ว หรือได้รักการกล่าวอ้างถึงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ตัวอย่างเช่น ตัวอักษรที่จารึกเรื่องราวเป็นแท่งหินถือเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ต่อมามีผู้พบแล้วพยายามอ่านแล้วแปลหรือถ่ายทอดออกมาเผยแพร่ต่อส่วนที่ถูกถ่ายทอดออกมาเผยแพร่นี้ เรียกว่า เป็นข้อมูลทุติยภูมิ
3) ข้อมูลตติยภูมิ (tertiary sources) เป็นข้อมูลชิ้นรองลงมา หรือตัดต่อออกมาจากชิ้นที่สองอีกที่หนึ่ง หมายถึงการนำเอาข้อมูลชินทุติยภูมิมา จัดกระทำหรืออธิบายให้ได้สาระหลักเช่นเดิม แต่ด้วยวัตถุประสงค์ต่างไปจากเดิม ดังตัวอย่างเช่น ข้อมูลชิ้นที่สองที่มีผู้ถ่ายทอดออกมาจากชิ้นที่หนึ่งแล้วต่อมามีผู้อธิบายเพิ่มเติมลงไปอีกแล้วเผยแพร่ต่อไป ข้อมูลชิ้นนี้เรียกว่าเป็นข้อมูลตติยภูมิ ข้อมูลอาจได้รับการจัดกระทำหรือส่งผ่านต่อ ๆ ไปหลาย ๆ แหล่งผ่านกาลเวลายาวนาน หากเป็นข้อมูลที่ต่ำกว่าชั้นทุติยภูมิแล้วเรียกรวมๆ ว่าข้อมูลตติยภูมิทั้งสิ้น และมีคุณต่อความน่าเชื่อถือไม่สนิทนก

หากพิจารณาในแง่ของเวลา และการเปลี่ยนแปลงของสภาพข้อมูลด้วยเหตุผล บางประการแล้ว อาจแบ่งข้อมูลได้เป็น 2 ประการได้แก่

1) ข้อมูลเก่า หมายถึงข้อมูลซึ่งเคยปรากฏเป็นจริงได้รับการตรวจพบหรือวินิจฉัยยอบรับกันทั่วไป มาก่อนระยะหนึ่ง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์คุณสมบัติหรือเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทำให้ข้อมูลเปลี่ยนไป สิ่งที่เคยบันทึกยอมรับกันไว้เดิมก็ถือว่าไม่ถูกต้อง ข้อมูลนี้จึงเป็นข้อมูลเก่าที่ยอมรับเป็นจริงอยู่ระยะเวลาหนึ่ง เช่น ในอดีตเคยยอมรับกันว่าดาวเคราะห์ว่าเป็นบริวารของดวงอาทิตย์มี 9 ดวง ต่อมาในปีพ.ศ. 2549 นี้ นักดาราศาสตร์ได้ลงความเห็นเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ทำให้ลักษณะและคุณสมบัติของความเป็นดาวเคราะห์เปลี่ยนไป มีผลทำให้การยอมรับความเป็นดาวเคราะห์บริวารของดวงอาทิตย์มีเพียง 8 ดวง เท่านั้นคือ ไม่นับดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์อีกต่อไป ข้อมูลระบุว่าดาวเคราะห์มี 9 ดวง จึงเป็นข้อมูลเก่า
2) ข้อมูลใหม่ หมายถึงข้อมูลที่ได้รับการตรวจพบ บันทึกหรือแจงนับหรือแสวงใหม่เป็นครั้งแรกหรือครั้งล่าสุด ถ้าเป็นข้อมูลใหม่ครั้งแรกที่ปรากฏหมายความว่า ไม่เคยมีการสำรวจวินิจฉัย หรือบันทึกไว้มาก่านหน้านี้เลย อาจเป็นการค้นพบใหม่ก็ได้ เช่น การค้นพบพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีการบันทึกหลักฐานการค้นพบมาก่อนหน้านี้เลย เป็นต้น หรืออาจเป็นข้อมูลใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลเก่าดังที่อธิบายแล้วในข้อ 1) ก็ได้ คือ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าดาวเคราะห์บริวารของดวงอาทิตย์มี 8 ดวง แต่มีกลุ่มเทหวัตถุลักษณะคล้ายด้าวเคราะห์แต่ยังไม่มีการตรวจพิสูจน์หรือยอมรับว่าเป็นดาวเคราะห์อีกจำนวนหนึ่ง หากต่อไปมีการค้นพบใหม่หรือตรวจพิสูจน์แล้วยอมรับว่าใช่ ก็จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ได้อีกเรียกว่า เป็นข้อมูลใหม่ได้ สารสนเทศ (information) เป็นเรื่องราวข่าวสารหรือข้อเท็จจริงที่ได้รับการจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะสำคัญไว้แล้ว อีกชั้นหนึ่งมิใช่บันทึกไว้เป็นข้อมูลเท่านั้น วัตถุประสงค์ของการจัดทำสารสนเทศมี 2 วัตถุประสงค์ คือ
1) สารสนเทศเพื่อความรู้ (information for knowledge) เป็นเรื่องราวที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ใช้ประโยชน์ทางความรู้ให้ผู้คนได้สัมผัสเข้าถึง และเรียนรู้แล้วเกิดความรู้ขึ้นในตัวคน เช่นหนังสือที่เป็นทฤษฏีทางวิชาการต่าง ๆ เรื่องราวต่างๆ ที่เรียบเรียงขึ้นจากข้อมูลหรือข้อเท็จริง หรือสารสนเทศที่ถูกเก็บหรือจัดกระทำไว้ในรูปแบบหรือวิธีอื่น ๆ เช่น เป็นสื่อโสตทัศน์ สื่อสัญญาณ สื่ออิเลคโทรนิกร์ เป็นต้นเมื่อนำมาใช้โดยผ่านกระบวนการที่ถูกวิธีแล้วก็จะได้สารสนเทศที่ให้ความรู้กลับมาปรากฏได้
2) สารสนเทศเพื่อความบันเทิง (information for recreation and inspiration) เป็นสารสนเทศที่อาจไม่ได้จัดทำขึ้นจากข้อเท็จจริงทั้งหมด อาจเป็นเพียงจัดทำออกมาจากความคิดจินตนาการ เสริมต่อจากความเป็นจริง เพื่อให้ผู้ที่ได้อ่านหรือสัมผัสเข้าถึงทั้งความหมายและความรู้สึกเป็นสุขหรือสบายใจ มีแรงบันดาลใจเกิดขึ้นโดยไม่มุ่งเอาความจริงหรือความรู้เป็นสำคัญ

ความรู้ (knowledge) อาจแบ่งประเภทตามลักษณะฐานหรือแหล่งที่ทำให้เกิดได้ 2 แหล่ง จัดเป็นความรู้ได้ 2 ประเภท คือ
1) ความรู้จากแหล่งภายนอก (external-based knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสของคนรับสัมผัสจากสิ่งภายนอกตัวคนได้แก่ การเห็น การฟัง การดม การชิม และการสัมผัสทางกายทำให้เกิดความรู้ขึ้นในตัวคน เป็นการรู้จักและเข้าใจสิ่งภายนอกทั่วไป ความรู้ประเภทนี้อาจเรียกหรือถือว่าเป็นความรู้จากการถูกบอกสอนหรือกระตุ้นให้ได้รู้จำสิ่งภายนอก
2) ความรู้จากแหล่งภายใน (internal-based knowledge) เป็นความรู้ที่มีฐานกำเนิดจากการระลึกหรือตระหนัก (realizing) ในสาระความรู้ชนิดนี้จะเป็นความรู้ในสิ่งที่เป็นนามธรรม ความเข้าใจ ความซาบซึ้งเป็นความดี ความงาม ความถูกต้อง ชอบด้วยเหตุผลความสวย หรืออาการบางอย่างที่เกิดขึ้นจากภายในแล้วบุคคลภายนอกหรือใครอื่นไม่สามารถรู้ได้ เช่น ความหิว ความง่วง ความดีใจ ความเศร้า เงียบเหงาเป็นต้น ความรู้ชนิดนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นความรู้ที่รู้ได้เองด้วยตนเอง

โนนากะและทาเคอุชิ (สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2547, 16) ได้จำแนกความรู้ไว้เป็น 2 ชนิด โดยอาศัยลักษณะการปรากฏของความรู้ คือ
1) ความรู้แฝง หรือความรู้โดยนัย (tacit knowledge) เป็นความรู้เฉพาะตัวของใครของมันที่รู้ได้เฉพาะตัวเจ้าของเองและอยู่ในตัวของบุคคลผู้นั้นแม้บางครั้งตัวเจ้าของก็อาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองมีความรู้นี้อยู่ เป็นความรู้ที่เกิดจากผสมผสานระหว่างความรู้ที่รับใหม่จากภายนอกกับความรู้หรือประสบการณ์เดิมภายใน ซึ่งจะแสดงออกหรือปรากฏได้เมื่อมีการกระทำเป็นกิจกรรมหรืออาการเกิดขึ้น
2) ความรู้แสดงหรือปรากฏ หรือความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge) เป็นความรู้ส่วนที่บุคคลแสดงออกมาจากตัวโดยการบอกพูด หรือกระทำด้วยอาการ หรือวิธีใดๆ ก็ตามให้ปรากฏแก่ผู้อื่น ซึ่งอาจถูกบันทึกลงเป็นสารสนเทศ หรือข้อมูลในวัสดุหรือระบบบันทึกแบบต่างๆ ก็ได้ ความรู้ชนิดนี้เมื่อเทียบกับอย่างแรกที่เป็นความรู้แฝงแล้วความรู้ชนิดแรกมีมากกว่าหลายเท่าตัวประมาณว่าเป็นอัตราส่วนประมาณ 80:20 ทีเดียว

ปัญญา (wisdom) ปัญญาเป็นพลังระดับสูงสุดในมนุษย์ที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นในตัวเองได้ด้วยความพยายามรับรู้ เรียนรู้ และฝึกฝนจากขั้นต้นง่ายๆ น้อยๆ จนถึงขึ้นสูงสุดของปัญญาที่เรียกกันว่า ความรู้เจ้ง (enlighted) ในคำสอนทางพุทธศาสนากล่าวถึงปัญญาไว้ 3 ประเภทหรือ 3 ระดับ ตามลักษณะการเกิด คือ
1) สุตตมยปัญญา หมายถึงปัญญาอันเกิดจากการได้ยินได้ฟัง ซึ่งหมายรวมถึงการได้อ่าน ได้สัมผัสทุกชนิด ทุกประเภท แต่เป็นขั้นที่สูงกว่าความรู้ เพราะจะผ่านจากขั้นการเป็นความรู้โดยการพิจารณาไตร่ตรองหรือคิดอย่างรอบคอบเพื่อขจัดความไม่แจ่มแจ้งชัดเจนให้หายไปได้แล้ว
2) จินตมยปัญญา หมายถึงปัญญาอันเกิดจากากรคิดไตร่ตรองหรือจินตนาการแต่ไม่ใช่การจินตนาการสิ่งที่รับรู้จากภายนอกมาทั้งหมด จินตมยปัญญา นี้คือผลจากการพิจารณาสภาวะธรรมชาติจากรูปธรรมไปสู่นามธรรมให้เห็นความจริงแท้ของสังขารธรรม คือ การเป็นเหตุปัจจัยหรือทำให้เกิดและเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ที่เห็นได้หรือสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส ปัญญาชนิดนี้ทำให้เชื่อมโยงสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมเข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
3) ภาวนมยปัญญา หมายถึงปัญญาที่เกิดจากการเข้าถึงจินตมยปัญญาแล้ว และใช้สติพิจารณาความจริงเหล่านั้นกระจ่างแจ้งในทุกสภาวะแล้วถอนหรือปล่อยสภาวะที่พิจารณาเห็นแล้วนั้นไปจากจิตไม่ให้ยึดเหนี่ยวหรือต้องคิดอีกต่อไปทำให้สภาวะจิตว่าง แจ่มใส ไม่มีสภาวะอาการใดหมองมัวหรือเป็นที่สงสัยอีกต่อไป จัดว่าเป็นปัญญาภายใน (internal enlightenment) ภาวนามยปัญญานี้ทำให้เกิดสภาวะจิตหลุดพ้นจักทุกอย่างที่เคยครอบงำจิตอยู่ ผู้แก้สภาวะนี้ได้เรียกว่า อริยบุคคล

ในปัจจุบันมนุษย์มีความพยายามจะสร้างหุ่นยนต์ หรือเครื่องมือที่สามารถทำงาน หรือแสดงออกต่างๆ ได้เหมือนมนุษย์จริงโดยการพยายามลอกเรียนความสารมารถและสมรรถนะทางสติปัญญา ความรู้ของมนุษย์ไปใส่ไว้ในหุ่นยนต์หรือเครื่องมือเพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ สมรรถนะชนิดนี้เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) ซึ่งกำลังถือกันว่าเป็นศาสตร์ใหม่แขนงหนึ่งที่อาศัยพื้นฐานจากวิชาทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มาผสมผสานกัน อ้างจาก (O’Brian, 1999, 473) ดังนั้นหากเราจำแนกประเภทของปัญญาได้ตามลักษณะการสร้างจะได้ปัญญา 2 ประเภท คือ

1) ปัญญาแท้ (intelligence) ซึ่งเกิดในตัวมนุษย์อยู่ในตัวมนุษย์โดยการศึกษาเรียนรู้ฝึกฝนของมนุษย์เอง
2) ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) เป็นการลอกเรียนแบบปัญญามนุษย์ไปสร้างในสิ่งที่ไม่ใช้มนุษย์ให้ได้เหมือนมนุษย์


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008