บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1635303 บริการสารสนเทศเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
Information Service for Business and Industry
(3-0)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2549

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

chumpot@hotmail.com

อุตสาหกรรมการผลิต

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (2528 : 1) ได้จัดแบ่งอุตสาหกรรมการผลิต ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

    1.1 อุตสาหกรรมที่นำหรือสกัดทรัพยากรธรรมชาติ (Extractive Industry) ให้เป็นสินค้าขึ้นมา เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมป่าไม้ อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ การทำเหมืองแร่ เป็นต้น

    1.2 อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing Industry) เป็นการนำวัตถุดิบมาปรุงแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพด้วยแรงมนุษย์ หรือเครื่องจักร ให้เปลี่ยนสภาพมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการอุปโภคและบริโภค เช่น การผลิตอาหารกระป๋อง ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง การผลิตรถยนต์ เป็นต้น โดยทั่วไปจะสามารถจัดแบ่งอุตสาหกรรมการผลิตออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

      1. ประเภทอุตสาหกรรมจัดตามวัตถุดิบ
      2. ประเภทอุตสาหกรรมจัดตามวิธีการผลิต

    ประเภทอุตสาหกรรมจัดตามวัตถุดิบในประเทศไทย จัดแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิด ดังนี้

      1) อุตสาหกรรมเคมีพื้นฐาน เช่น การขุด แยกแร่ การผลิตสารเคมี และอะเซทีลีน ไนโตรเจน สารส้ม ออกซิเจน กรดกำมะถัน เป็นต้น
      2) อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เช่น ผงซักฟอก สบู่ ยาง แก้ว ปุ๋ย สี ยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ฯลฯ
      3) อุตสาหกรรมสิ่งทอ เช่น การปั่นด้าย ทอผ้า พิมพ์กระสอบ ทอกระสอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น
      4) อุตสาหกรรมวัสดุและสิ่งก่อสร้าง เช่น อิฐ ปูนซิเมนต์ กระจก ผลิตภัฑ์ยิปซั่ม เสาคอนกรีต สะพาน เป็นต้น
      5) อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำอัดลม อาหารกระป๋อง น้ำตาล นมข้น บุหรี่ น้ำมันพืช เป็นต้น
      6) อุตสาหกรรมไฟฟ้า เช่น สายไฟ หลอดไฟ เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ วงจรคอมพิวเตอร์
      7) อุตสาหกรรมด้านบริการ เช่น การขนส่ง การท่องเที่ยว การศึกษา การรักษาพยาบาล การสันทนาการต่างๆ

    อุตสาหกรรมจัดตามวิธีการผลิต จะเป็นอุตสาหกรรมที่มีขั้นตอนของการผลิต จัดแบ่งออกได้ตามลำดับ ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ หรือจากการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาผ่านกระบวนการผลิต จนสำเร็จออกมาเป็นสินค้า จัดแบ่งอุตสาหกรรมประเภทนี้ออกได้ 4 จำพวก หรือ 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

      1. ขั้นผลิตทรัพยากร (Primary Industry ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การเกษตร ผลิตภัณฑ์จากแร่และ โลหะ เคมีภัณฑ์ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
      2. ขั้นผลิตวัตถุดิบ (Refining Process) ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมแปรรูป ผลิตภัณฑ์การเกษตร เช่น น้ำตาล นม เนย ฯลฯ อุตสาหกรรมขั้นสังเคราะห์ (Synthetic Process) ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมโลหะผสมและเซรามิกส์ อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ย และสารเคมีเกษตร
      3. อุตสาหกรรมขั้นประกอบชิ้นส่วน (Assembly Process) ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมบรรจุหีบห่อ บรรจุอาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมเครื่องกล

    1.3 อุตสาหกรรมการบริการ (Servicing Industry) เป็นเรื่องของการดำเนินการลักษณะการบริการ เช่น การติดต่อค้าขาย การขนส่ง การท่องเที่ยว การโรงแรม การธนาคาร เป็นต้น

ระบบการผลิตในงานอุตสาหกรรม

ระบบการผลิตเป็นรูปแบบและกระบวนการผลิตเพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบ หรือทรัพยากรป้อนเข้า (Input) โดยอาศัยอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร สมองและกำลังแรงงานมนุษย์ เพื่อผลิตสินค้า (Goods) และบริการ (Service) ออกมาจัดจำหน่ายหรือ ให้บริการลูกค้า

การผลิตในงานอุตสาหกรรม จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิตทั้งหลายอันประกอบด้วยกำลังคน วัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องใช้ งบประมาณ อาคารสถานที่ ที่ดิน และเทคโนโลยีซึ่งนำไปสร้างหรือผลิตสินค้าและบริการ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ หรือการให้บริการ ตามประมาณและคุณภาพที่ต้องการ ด้วยวิธีที่ดีที่สุด ประหยัดที่สุด

หน้าที่ของการผลิต การผลิตมีหน้าที่ประสานปัจจัยการผลิตเพื่อเปลี่ยนรูปหรือสถานะปัจจัยป้อนเข้า ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นใน 2 ด้าน

    1. ด้านประโยชน์ใช้สอย เช่น สามารถเพิ่มคุณค่าให้ใช้ได้นานขึ้น ทำงานได้มากขึ้น หรือใช้งานได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
    2. ด้านค้านิยม เป็นการเพิ่มภายนอกให้สวยงาม ดูมีคุณภาพและมีราคาเกินกว่ามูลค่าที่แท้จริง หน้าที่ของการผลิตด้านการจัดการ จะเกี่ยวกับกิจกรรมการปฏิบัติงานอุตสาหกรรมใน 3 เรื่องต่อไปนี้
      1. การออกแบบ เป็นการจัดเตรียมระบบการผลิต
      2. การวางแผนและการควบคุม
      3. การประสานงาน

ลักษณะและชนิดของระบบการผลิต ลักษณะของการผลิตไม่ว่าจะเป็นลักษณะใด จะเป็นเรื่องการเปลี่ยนวัตถุดิบให้มี่คุณค่าเพิ่มขึ้น สามารถแยกลักษณะการผลิตออกได้ดังนี้

    1. การแยก เป็นการผลิตทีใช้วัตถุดิบชนิดเดียวป้อนเข้าไปในระบบการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตหลายชนิด
    2. การรวม เป็นการใช้วัตถุดิบหลายชนิด ป้อนเข้าไปในระบบการผลิต เพื่อให้ได้ผลชนิดเดียว
    3. การรวมหลายชนิด เป็นการรวมวัตถุดิบหลายชนิด หลายขนาด หลายรูป ป้อนเข้าสู่ระบบการผลิตให้ได้ผลผลิตชนิดเดียว
    4. การให้การบริการ เป็นการอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการตามความต้อง ทั้งทางด้านปริมาณขนาดและรูปร่าง ลักษณะของระบบ ระบบที่ใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
      1.ระบบปิด เป็นระบบการทำงานที่ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอก โดยเน้นความสนใจอยู่ที่ส่วนต่าง ๆ ภายในระบบ ขอบเขตของการพิจารณาจะเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายในองค์กร ซึ่งช่วยให้ทราบผลกระทบภายใน ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจ ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดในส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กร ทำให้ทราบว่าจะมีผลกระทบระบบรวมอย่างไร
      2.ระบบเปิด เป็นระบบการทำงานที่ขึ้นกับความสัมพันธ์ของปัจจัจสิ่งแวดล้อมฟภายนอกมีความหมายกว้างกว่าระบบปิด จัดเป็นองค์กรทางธุรกิจที่มีกิจกรรมอยู่ในระบบ ที่มีสภาพแวดล้อมสัมพันธ์กันในองค์กรทุกขณะ เป็นส่วนหนึ่งของระบบใหญ่ ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตลอดเวลา หากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงย่อมีผลกระทบต่อองค์กร ลักษณะของระบบเปิดมี ความสมบูรณ์มากกว่าระบบปิด เพราะองค์กรมีโอกาสดำเนินกิจการภายในได้อย่างเหมาะสม และสามารถติดตามปรับสภาพตัวเอง ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายนอก

ระบบการผลิตในงานอุตสาหกรรม ระบบการผลิตในวงการอุตสาหกรรมสามารถแบงออกได้ 2 ลักษณะ

    1.ระบบการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Intermittent Production) เป็นการผลิตตามใบสั่ง (Job-Lot-Work) เป็นครั้ง ๆ ไป ส่งผลให้ได้ ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าหลายแบบที่มีจำนวนจำกัด เช่น ผลผลิตจากโรงกลึง บริษัทเหมาก่อสร้าง เป็นต้น
    2.ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Production) ใช้หลักการผลิตจำนวนมาก ๆ (Mass Production) ให้ผลผลิตไม่จำกัด จำนวน จำกัดเฉพาะชนิดของผลิตภัณฑ์หรือแบบของผลิตภัณฑ์

องค์ประกอบของการผลิต องค์ประกอบสำคัญของระบบการผลิต ประกอบด้วย

    1. แรงงาน (Labor) ซึ่งประกอบด้วย แรงงานทางตรงและทางอ้อม แรงงานชำนาญงานและแรงงานทั่วไป แรงงานประจำและ แรงงานชั่วคราว
    2. เครื่องจักร (Machines & Equipment's) ประกอบด้วย เครื่องจักร อุปกรณ์ ที่จัดแบ่งตามหน้าที่ เพื่อ งานการผลิต ช่วยผลิต ซ่อมบำรุง ขนถ่ายวัสดุ ขจัดของเสีย บริการ ความคุมคุณภาพ วัดและตรวจสอบ และปองกันอันตราย
    3. วัสดุ (Materials) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ วัสดุทางตรงและวัสดุทางอ้อม วัตถุ ดิบ สินค้าระหว่างผลิตและสินค้าสำเร็จรูป และของเสีย ของนำมาดัดแปลงใหม่ ของคุณภาพต่ำ
    4. องค์ประกอบเพื่อการผลิต (Manufacturing) 4 ประการ คือ การออกแบบทางวิศวกรรม การวางแผนและควบคุมการผลิต วิศวกรรมโรงงาน และงานบริหารอื่น ๆ ทางธุรการ เช่น การเงิน บัญชี บุคลากร เป็นต้น

หน่วยบริหารการผลิต ระบบการผลิตอุตสาหกรรมย่อย จะมีหน่วยบริหารงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ ทำให้เกิดผลผลิต เป็นสินค้า หรืองานบริการ โดยจัดรูปองค์กรแสดงหน่วยงานที่สำคัญในรูปธุระกิจอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ผลิตหรือให้บริการ ในระบบการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รวมถึงหน่วยงานการเงิน หน่วยงานการตลอดและอื่น ๆ ในระบบการผลิตสินค้า

อุตสาหกรรม อาจจัดหน่วยบริหารการผลิตออกได้ดังนี้

    1. หน่วยออกแบบผลิตภัณฑ์
    2. หน่วยออกแบบกระบวนการผลิต
    3. หน่วยจัดหา
    4. หน่วยควบคุมการผลิต
    5. หน่วยควบคุมคุณภาพ
    6. หน่วยควบคุมด้านต้นทุน
    7. หน่วยบำรุงรักษา

ตัวอย่าง

อุตสาหกรรมการผลิตที่นำหรือสกัดทรัพยากรธรรมชาติ : อุตสาหกรรมน้ำมัน ของบางจาก (http://www.bangchak.co.th)

ภายในเว็บไซต์ได้นำเสนอ

    1. ประวัติความเป็นมา มีเนื้อที่ 600 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางจาก อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร โรงกลั่นน้ำมันกำลังการผลิตวันละ5,000 บาเรล ได้รับการอนุมัติให้สร้างขึ้น โดยกระทรวงกลาโหมเล็งเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินกิจการเรื่อง "น้ำมัน" เองทั้งหมด เพื่อช่วยตรึงราคาน้ำมันในตลาด มิให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบริษัทค้าน้ำมันต่างชาติแต่เพียงฝ่ายเดียว และสำรองน้ำมันไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน หลังจากโรงกลั่นน้ำมันของราชการถูกบังคับขายให้บริษัทต่างชาติที่เป็นฝ่ายชนะสงครามโลก ครั้งที่ 2 โรงกลั่นน้ำมันที่ตำบลบางจากก่อสร้างเสร็จในปี 2507เป็นปีเดียวกับที่รัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีน้ำมันที่ผลิตในประเทศ ทางเลือกในขณะนั้นมีเพียงขยายกำลังการกลั่นเป็น 20,000 บาเรล เพื่อให้การดำเนินกิจการมีผลกำไร แต่เนื่องจากขาดเงินทุนในการขยายกิจการ รัฐบาลจึงได้เปิดประมูลเช่าโรงกลั่น กำหนด 15 ปี โดยมีเงื่อนไขให้ผู้เช่าลงทุนต้องขยายกำลังการกลั่น ในที่สุด บริษัท ซัมมิท อินดัสเตรียล คอร์ปอเรชั่น (ปานามา) เป็นผู้ประมูลได้และทำการขยายโรงกลั่นแล้วเสร็จในอีก 4 ปีต่อมา
    2. ที่ตั้ง : แสดงแผนที่ตั้งของบางจากภายในประเทศไทยว่ามีที่ใดบ้าง
    3. วัฒนธรรม : วัฒนธรรมธุรกิจ , วัฒนธรรมพนักงาน
    4. กิจการ ผู้ถือหุ้น บริษัทร่วมทุน คณะกรรมการ ผู้บริหาร
    5. โรงกลั่น : โรงกลั่นของบริษัท บางจากฯ มีกำลังการผลิตวันละ 120,000 บาเรล หรือเท่ากับ 20% ของปริมาณการใช้ภายในประเทศ ประกอบด้วย หน่วยผลิตน้ำมันคุณภาพสูง ทั้งต่อการใช้งานและต่อสิ่งแวดล้อม เช่น หน่วยไอโซเมอร์ไรเซชั่น (Isomerization Unit) ซึ่งเป็นหน่วยผลิตเบนซินไร้สารตะกั่ว ที่บริษัทฯ ได้ลงทุนเป็นแห่งแรกในเอเชียอาคเนย์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2534 กระบวนการผลิตทั้งหมดของบางจาก ควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ DCS (Distributed Control System) ซึ่งอยู่ในห้องควบคุมการผลิต (Control Room) ทำหน้าที่ควบคุมและบันทึกการทำงานของอุปกรณ์ และเครื่องจักรทุกๆส่วนภายในโรงกลั่น ประกอบกับ
    บุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่ควบคุมดูแลการผลิตทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง
    6. มาตรฐาน : จนได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001- PetroleumRefining เป็นแห่งแรกในเอเชียอาคเนย์ ครอบคลุมการผลิต การดูแลรักษา และการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ครบทุกขั้นตอน
    7. กระบวนการ : การกลั่นน้ำมัน คือ การแยกน้ำมันดิบออกเป็นส่วนต่างๆ ที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกันตามลำดับตั้งแต่ ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และยางมะตอย เรียกว่ากลั่นลำดับส่วน (Fractional Distillation) โดยนำ น้ำมันดิบมากลั่น ในหอกลั่น บรรยากาศ(Atmospheric Tower or Pipe Still) ซึ่งภายในหอมีถาดที่มีรูพรุนวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ หลายสิบชั้น ก่อนที่จะนำน้ำมันดิบเข้า กลั่นต้องแยกน้ำ และ เกลือแร่ ที่ปนอยู่ออกเสียก่อน และ ผ่านกระบวนการให้ความร้อนน้ำมันดิบจนมี อุณหภูมิ ประมาณ370 C แล้วจึงส่งเข้าหอกลั่นบรรยากาศบริเวณเหนือส่วนล่างของหอกลั่นประมาณ 60-70% ของน้ำมันดิบจะระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปยังยอดหอ ซึ่งเป็นบริเวณที่เย็นที่สุด ส่วนที่เหลือของน้ำมันดิบที่ไม่ระเหยเป็นไอในหอกลั่น จะยังคงเป็นของเหลวอยู่ที่ก้นหอกลั่น ซึ่งเป็นบริเวณที่ร้อนที่สุดเรียกน้ำมันส่วนนี้ว่า กากกลั่น (Residue or Long Residue or Reduced Crude)
    8. สิ่งแวดล้อม
    9. ผลิตภัณฑ์และบริการ : แก๊สโซฮอล์ , น้ำมันบางจาก , ร้านเลมอนกรีน , ร้านใบจาก
    10. โครงการเชื่อมโยงธุรกิจชุมชน : ปั๊มชุมชน , สนับสนุนสินค้าชุมชน , ซุ้มสินค้าชุมชน , เวทีประชาคมเพื่อธุรกิจชุมชน
    11. บัตรบางจากเชื่อมโยงไทย : เป็นบัตรที่มอบส่วนลดละสมจากการใช้น้ำมันบางจาก และ มอบสิทธิพิเศษจากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าพันธมิตรมากกว่า 500 แห่ง
    12. กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
    13. ข่าวบางจากและคุยกับบางจาก

ตัวอย่างเว็บไซต์ต่างประเทศ http://www.oilonline.com/

ภายในเว็บได้นำเสนอ แบ่งหัวข้อเป็นหัวข้อใหญ่ๆ และแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยเพื่อ Link เข้าไปยังข้อมูล

    1. Industry News
    - Headlines
    - Features
    - Tech Briefs
    - Archives

    2. Key Indicators
    - Drilling Report
    - Oil & Gas Prices
    - Stock
    - Rig Count
    - Rig Location

    3. Careers
    - Job Posting
    - Resumes
    - Personnel Locator
    - Training Material

    4. Industry Info
    - Industry Group
    - Market Overview
    - Publication
    - Literature Showcase
    - Event Calendar
    - Oilfield Glossary
    - Submit

    5. Online Store
    - Oil Directory
    - Books
    - CD-ROM / Software
    - Maps & Wallcharts
    - Videos
    - Bestsellers
    - Submit a Product

    6. Equipment & Service
    - Equipment
    - Services
    - Submit It

    7. Contact Us
    - Contact Info
    - Guest Book
    - About Us
    - Quotable

อุตสาหกรรมจัดตามวัตถุดิบ : อุตสาหกรรมสิ่งทอ

อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจไทยมาอย่างต่อเนื่องโดยสร้างรายได้จากการส่งออกให้แก่ประเทศเป็นอันดับ 2 (รองจากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) มีจำนวนโรงงานมากกว่า 4,500 โรงตั้งกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 1 ล้านคน รวมทั้ง ยังเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศโดยคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) การผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยในปี 2543 ปรับตัวดีขึ้นมากแทบทุกผลิตภัณฑ์ โดยมีมูลค่าส่งออกรวม 221,633.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 14.5 (คิดเป็นมูลค่า 5,588.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 9.2 เทียบกับที่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 12.8 ต่อปีในช่วงปี 2539 - 2542) และมีสัดส่วนร้อยละ 8 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งประเทศ ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร โดยเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.1 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด ทั้งนี้ การขยายตัวของการส่งออกเป็นผลมาจากเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะเศรษฐกิจและความต้องการของตลาดส่งออกสำคัญดังกล่าว ประกอบกับโรงงานสิ่งทอขนาดใหญ่ได้พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตโดยปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อพัฒนาคุณภาพและรูปแบบสินค้าให้มีความทันสมัย และมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้รับผลดีจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัว รวมทั้งภาครัฐให้ความช่วยเหลือกิจการ SMEs ในด้านสภาพคล่องทางการเงิน ประกอบกับการขยายการส่งออกสู่ตลาดใหม่ๆ ในปี 2543 อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยยังคงประสบปัญหาการอ่อนตัวของค่าเงินบาทและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นในขณะที่ไม่สามารถปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นตาม เนื่องจากผู้บริโภคยังไม่มั่นใจภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในระยะฟื้นตัว รวมทั้งปัญหาน้ำท่วมและผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้กำลังซื้อจากตลาดในประเทศยังคงชะลอตัว โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าระดับกลางและล่างของไทยต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่ามาก เช่น จีน และอินเดีย ในขณะที่กลุ่มสินค้าระดับบนหรือเสื้อผ้าแฟชั่นต้องแข่งขันกับสินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา สำหรับในปี 2544 คาดว่าการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยจะขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอลงตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทย โดยไตรมาสแรกของปี 2544 การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทย ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าจะยังได้รับปัจจัยบวกช่วยสนับสนุนด้านการส่งออก จากผลของข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการเร่งขยายตลาดส่งออกไปยังตลาดใหม่ รวมทั้ง การส่งออกผ้าผืนมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นำเข้าผ้าผืนจากไทยมากขึ้น เพื่อส่งให้กับประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางและแอฟริกา (ที่มา : http://www.thaitextile.org/ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เข้าถึงเมื่อ 10.12.44)

ตัวอย่างเว็บไซต์ประเทศไทยของบริษัทก้องเกียรติเท็กซ์ไทล์ จำกัด(http://www.melangeyarn.com/) เป็นโรงงานปั่นเส้นด้ายแห่งแรกที่ผลิต และส่งออกเส้นด้ายท๊อปดาย (Top Dyed Melange Yarn) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 ภายในเว็บไซต์ได้นำเสนอ

    1. ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัท ก้องเกียรติ เท็กซ์ไทล์ จำกัด
    2. กระบวนการผลิต
    3. คุณภาพของสิ่งทอ เช่น เส้นด้าย วัตถุดิบต่างๆ
    4. ให้เลือกแสดงภาษาที่เสนอบนเว็บไซต์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน
    5. การบริการลูกค้าที่จะเลือกซื้อสินค้า จุดประสงค์ของบริษัท ก้องเกียรติ เท็กซ์ไทล์ จำกัด คือต้องการให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายในการทำงาน" โดยใช้ catalogue books ในรูปแบบของผ้าสำเร็จพร้อมด้วยรหัสสีเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาเมื่อนำมาเทียบกับใบเสนอราคา ทุกๆรหัสสีจะอธิบายถึงอัตราส่วนผสมของวัสดุต่างๆซึ่งได้ทำการเตรียมขึ้น พร้อมที่จะให้บริการ ลูกค้า
    6. การพยากรณ์หรือคาดคะเนว่าสีไหนเหมาะกับช่วงไหน และการสั่งซื้อมีปริมาณเท่าใด
    7. การเปรียบเทียบสีของสิ่งทอว่ามีสีคล้ายกับอะไร
    8. รางวัลที่ได้รับ : ได้รับรองมาตรฐานจาก ISO9002

ตัวอย่างเว็บไซต์ต่างประเทศ American Textile Manufacturers (http://www.atmi.org/) Offers information about the association, industry news, a product directory, publication details, and membership registration. ภายในเว็บไซต์ได้นำเสนอ

    1. การโพสต์ข่าวประกาศไว้หน้าแรกและมีการจัดข้อมูลไว้เป็นหมวดหมู่
    - member only
    - the textile crisis
    - government affairs
    - newsroom
    - economic & trade info
    - standards
    - member product directory
    - publications
    - ATMI programs
    - Links
    - About ATMI

    2. มีบอร์ดข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ

    3. สามารถค้นหาข้อมูลได้นอกเหนือจากในเว็บ
    4. This Week in Textile Trends มีการนำเสนอเรื่อง

      Bush Assures Textile State Reps on Fulfilling Commitments to Aid Textile Industry
      Senate Panel Approves Trade Promotion Authority
      Congress Approves Hayes Proposal to Codify Berry/Hefner "Buy American" Law
      Textile Corporate Sales and Profits Fall in Third Quarter 2001

สมาชิกของเว็บไซต์สามารถอ่านข้อมูลสำหรับสมาชิกได้โดยเฉพาะ ถ้าไม่ใช่สมาชิกต้องการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการและผลิตภัณฑ์ต่างๆ สามารถเข้าได้อีกช่องทาง และถ้าสมาชิกไม่มีบัตรประจำตัวและรหัสผ่านเพื่อเข้าถึงข้อมูลก็สามารถเข้าได้อีกช่องทาง

ตัวอย่าง

http://www.geocities.com/thaikeramos ให้ความรู้เรื่องเซรามิก ประเภทของผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ เทคนิคและกระบวน การผลิต ทั้ง conventional ceramic และ advance ceramic อาทิ การเตรียมวัตถุดิบ การขึ้นรูป การอบ การเคลือบ ฯลฯ แนะนำ วิศวกรรม ...

ภายในเว็บไซต์ได้นำเสนอ

    1. ประวัติผู้จัดทำ
    2. ผลิตภัณฑ์เซรามิก
    สามารถแบ่งได้เป็น 2 จำพวกได้แก่
    - Traditional Ceramic
    - Advance Ceramic

    3. ข่าวสารเซรามิกส์
    4. กระบวนการผลิต

    กระบวนการผลิตประกอบด้วย

      - การเตรียมวัตถุดิบ
      - การบด
      - การผสม
      - การขึ้นรูป
      - การอบ
      - การเผาครั้งที่ 1
      - เคลือบ
      - การเผาครั้งที่ 2

    5. มาอ่านกระทู้กันเถอะ
    6. สมุดเยี่ยม
    7. สมุดเยี่ยมชาว ม.ท.ส.
    8. คุณรู้จักเซรามิกแค่ไหน
    9. วิศวกรรมเซรามิก
    10. โรงงานเซรามิกในไทย
    12. Link
    13. Home
    14. ติชมกันหน่อยนะ

ผู้จัดทำรายงาน

    1. นายบุญหลาย บำรุงรักษ์
    2. นส.ชนัญญา เกบไว้
    3. นส. จิตราพรรณ์ ฉัตรสถานนท์
    4. นายวินัย รำพรรณ์


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 ธันวาคม 2549
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com