1635303 บริการสารสนเทศเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
Information Service for Business and Industry

(3-0)

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
กรุงเทพมหานคร

chumpot@hotmail.com

ข้อมูลและแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ควรรู้ในการทำธุรกิจ (2)

กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ

ในการทำธุรกิจ ต้องมีการปฏิบัติตามกฎหมายที่ได้กำหนดไว้หลายเรื่องที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบธุรกิจจำเป็นต้องรับทราบ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ กฎหมายต่างๆเหล่านี้ ศึกษารายละเอียดของกฎหมายตัวเต็มฉบับได้จากแหล่งให้บริการข้อมูลทางกฎหมาย เช่น www.krisdika.go.thซึ่งเป็นหน่วยงานของ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้รวบรวมกฎหมายว่าด้วยการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และ การค้าระหว่างประเทศ มากกว่า 45 ฉบับ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจได้ทราบ รายชื่อกฎหมายดังกล่าว ได้แก่

    1. พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
    2. พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
    3. พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
    4. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535
    5. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542
    6. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
    7. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
    8. พระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2502
    9. พระราชบัญญัติกำหนดวิธีการระงับการค้ากำไรเกินสมควรจากราชการ พุทธศักราช 2491
    10. พระราชบัญญัติสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2497
    11. พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำบางอย่างในการขนส่งสินค้าขาออกทางเรือ พ.ศ. 2511
    12. พระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509
    13. พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พุทธศักราช 2495
    14. พระราชบัญญัติส่งเสริมสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 ENG
    15. พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาญาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522
    16. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
    17. พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย พ.ศ. 2510
    18. พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509
    19. พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของบรรษัทประกันต่อแห่งเอเซีย พ.ศ. 2534
    20. พระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534
    21. พระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534
    22. พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530
    23. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503
    24. ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58(ควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัย)
    25. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
    26. พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การการค้าโลก พ.ศ. 2537
    27. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. 2524
    28. พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของประชาคมยุโรป และสำนักงานคณะกรรมาธิการประชาคมยุโรปในประเทศไทย พ.ศ. 2522 3
    29. พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502
    30. พระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว พุทธศักราช 2489
    31. พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษในประเทศไทย พ.ศ. 2504
    32. พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521
    33. พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การข่ายงานศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งเอเชียและแปซิฟิก พ.ศ. 2536
    34. พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาญาจักร พ.ศ. 2524
    35. พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์ พ.ศ. 2503
    36. พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร พ.ศ. 2541
    37. พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางกงสุล พ.ศ. 2541
    38. พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
    39. พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
    40. พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542
    41. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
    42. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543
    43. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543
    44. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
    45. พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสถาบันประกันการลงทุนพหุภาคี พ.ศ. 2543
    กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

    ทรัพย์สินทางปัญญา (Intelectual Property) คือ ผลงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญา ชีวิตจิตใจ ความคิดริเริ่มของตนเอง สร้างสรรค์ขึ้น อันถือได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ ถือเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็น สังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ถ้าต้องการให้มีการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นที่แพร่หลายและเกิดประโยชน์ต่อสังคม จำเป็นต้องมีมาตรการ ที่จะให้มีความคุ้มครองแก่ผู้สร้างสรรค์ที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดไม่ว่าทางด้านเศรษฐกิจ หรือ ทางด้านอื่นๆ มาตรการดังกล่าว คือ การออกกฎหมายเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

    กฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญ

      1. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
      2. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร
      3. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า

    สัญญาธุรกิจ

    การทำธุรกิจต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องทางกฎหมายอื่นๆอีก ที่สำคัญ คือเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญา การทำธุรกิจทุกอย่าง จะต้องทำสัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาขายฝาก สัญญาเช่าทรัพย์ สัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าสินทรัพย์ สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน สัญญาจำนอง และ สัญญาจำนำ เป็นต้น

ข้อมูลประกอบการศึกษา

    คณะทำงานเพื่อความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. (2543). เอกสาร
            ประกอบการสัมมนาเรื่อง ลิขสิทธิ์ในงานห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ.
    กรุงเทพมหานคร:
            สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

    รีดเดอร์ ไดเจสท์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท. (2544). รู้กฎหมาย รักษาสิทธิ์.
            กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

    www.siamlaw.com

    www.krisdika.go.th

    203.155.72.9/patinfo.html

    www.ipic.moc.go.th/search1.html

หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 30 ธันวาคม 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com