สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


คำนำ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
สังคมข่าวสาร

วัสดุสารสนเทศ

หนังสือและส่วนต่างๆ
ของหนังสือ

การจัดหมวดหมู่
สารสนเทศ

การค้นข้อมูลใน
สังคมสารสนเทศ

หนังสืออ้างอิง

การเขียนรายงาน
การศึกษา
และค้นคว้า

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

บทสนทนาเรื่องการจัดหมู่หนังสือ

"โอ้โฮ หนังสือเยอะแยะเลย,"ก้องร้องลั่นด้วยความลืมตัวเมื่อครูชัยพา นักเรียนทั้งห้องเข้าชมหอสมุดแห่งชาติที่ท่าวาสุกรี

"อย่าเสียงดังซิ ก้อง," แก้ว หัวหน้าห้องร้องเตือน พลางถามครูชัยว่า "เราต้องรอเจ้าหน้าที่ตรงนี้ใช่ไหมครับ"

"ใช่ แก้ว,"ครูชัยตอบ "เราคอยที่นี่แหละ เดี๋ยวเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติจะ มาแนะนำให้พวกเราได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องหอสมุดแห่งชาติ

ก้องอดตื่นเต้นไม่ได้เมื่อเห็นสภาพห้องโถงใหญ่ มีตู้บัตรรายการมากมายสูงเกิน กว่าที่เขาจะเปิดลิ้นชักบนสุดได้ มองไปทางขวา และซ้ายก็เป็นห้องกระจก มีคนนั่งอ่านหนังสือ เต็มไปหมด ไม่มีใครส่งเสียงคุยกันเลย รู้สึกจะเริ่มหนาวนิด ๆ เพราะหอสมุดแห่งชาติติดตั้ง เครื่องปรับอากาศทั้งหลัง

เสียงจ้อกแจ้กเริ่มลดลงตามลำดับเมื่อบรรณารักษ์สาวสวยคนหนึ่งเดินตรงมาที่คณะของก้อง ก้องเห็นครูชัยทำความเคารพตอบ และเห็นสนทนากันเบา ๆ ดูเหมือนว่าทั้งครูชัยและ บรรณารักษ์จะรู้จักกันมาก่อน

"สวัสดีครับ คุณครู" แก้วพูดนำตามที่ครูชัยสอนไว้แล้วทำให้เพื่อนคนอื่น ๆ สวัสดี ตาม

"สวัสดีจ้ะ นักเรียนทุกคน," บรรณารักษ์ฝ่ายบริการผู้ใช้ห้องสมุด หอสมุดแห่งชาติ กล่าวต้อนรับ สีหน้าของเธอดูสดใสเบิกบาน เพราะคงขำในท่าทางของเด็กๆ ที่ใคร่ อยากรู้อยากเห็น

"ผมต้องรบกวนคุณวิลาวัณย์หน่อยนะครับ ช่วยอธิบายให้นักเรียนของผมได้รู้เรื่อง การบริการหนังสือที่นี่ว่าเป็นอย่างไร ทำงานกันยังไงบ้าง เพื่อที่ความคิดของเด็กจะได้ กว้างขวางขึ้น," ครูชัยพูดขึ้น

"ค่ะ เดี๋ยวดิฉันจะอธิบายให้ แต่คงไม่สลับซับซ้อนมากนะคะ เพราะที่มานี่กำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมปีที่ ๖ ทั้งนั้นใช่ไหมคะ," คุณวิลาวัณย์ถามในตอนหลัง

"ครับ ใช่ครับ," ครูชัยตอบ

"เรารู้อยู่แล้วนะคะว่าหอสมุดแห่งชาติก็คือห้องสมุดประเภทหนึ่ง," คุณ วิลาวัณย์เริ่มพูด "หอสมุดแห่งชาติจึงมีการดำเนินงาน เหมือนกับห้องสมุดโดยทั่วไปแต่ลักษณะ งานจะกว้างขวางและละเอียดมากกว่า เรามีหนังสือรวมกันกว่าล้านเล่ม"

"โอ้โฮ แล้วผมจะหาหนังสือเจอได้ยังไงครับ," ก้องร้องถามขึ้นท่ามกลางเสียง หัวเราะของเพื่อน ๆ

"หาได้ซิจ๊ะ," คุณวิลาวัณย์ตอบ พลางอธิบายต่อไปว่า "เรามีบัตรรายการ ให้ค้นในตู้บัตรรายการ ซึ่งแบ่งแยกบัตรรายการเป็น 3 ประเภท คือ
    1. บัตรผู้แต่ง
    2. บัตรชื่อหนังสือ
    3. บัตรเรื่อง

ผู้ใช้ห้องสมุดต้องค้นบัตรรายการ จดเลขเรียก หนังสือแล้วตรงไปห้องเก็บหนังสือหมวดหมู่ต่าง ๆ"

"หมวดหมู่หนังสือเป็นยังไงครับ เหมือนกับที่โรงเรียนของผมไหมครับ," มานพ ถามขึ้นบ้าง

"เหมือนกันจ้ะ ที่โรงเรียนของเธอใช้ระบบหมวดหมู่ของใครล่ะจ๊ะ," คุณวิลาวัณย์ถาม

"เห็นครูสุดาบอกว่าระบบดิวอี้ครับ," ก้องรีบตอบคำถามแทนเพื่อน

ใช่จ้ะ หอสมุดแห่งชาติก็จัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบดิวอี้ มาดูผังการจัด หมวดหมู่ดิวอี้ตรงนี้ซิจ๊ะ," คุณวิลาวัณย์ตอบ พลางเดินนำหน้านักเรียนมาที่ผนังด้านหนึ่ง ใกล้ตู้บัตรรายการซึ่งเขียนแผนภูมิอธิบายการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้

"การจัดหมู่หนังสือมีประโยชน์มากทีเดียว เพราะหนังสือมีจำนวนมากมาย ถ้า ไม่มีการจัดหมวดหมู่ เราคงหาหนังสือลำบาก จึงพอสรุปประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือ ได้ดังนี้
    1. รวมหนังสือที่มีเนื้อหาวิชาเดียวกันไว้ในหมวดหมู่เดียวกัน
    2 หนังสือที่มีเนื้อเรื่องสัมพันธ์กันจะอยู่ใกล้ ๆ กัน
    3.สะดวกในการจัดเก็บและการค้นหาหนังสือได้รวดเร็ว

ในปัจจุบันทั่วโลกนิยมจัดหมวดหมู่หนังสือตามความจำเป็นของเนื้อหาวิชา ปัจจุบันนิยมใช้ 2 ระบบคือ
    1. ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification)
    2. ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification)

ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือ ที่แพร่หลายทั่วโลก ผู้คิดระบบนี้ขึ้นมาคือ เมลวิล ดิวอี้ เขาใช้ตัวเลขเป็น สัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชาการของหนังสือ ดิวอี้มีวิธีการแบ่งวิชาการต่าง ๆ ของโลกเป็น 10 หมวดใหญ่ ๆ โดยใช้เลข 3 หลัก คือ
    1. หมวด 100 ได้แก่ วิชา ปรัชญา จิตวิทยา
    2. หมวด 200 ได้แก่ วิชา ศาสนา
    3. หมวด 300 ได้แก่ วิชา สังคมศาสตร์
    4. หมวด 400 ได้แก่ วิชา ภาษาศาสตร์
    5. หมวด 500 ได้แก่ วิชา วิทยาศาสตร์
    6. หมวด 600 ได้แก่ วิชา วิทยาศาสตร์ประยุกต์
    7. หมวด 700 ได้แก่ วิชา ศิลปและการบันเทิง
    8. หมวด 800 ได้แก่ วิชา วรรณคดี
    9. หมวด 900 ได้แก่ วิชา ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์
    10. หมวด 000 ได้แก่ วิชา เบ็ดเตล็ดทั่ว ๆ ไป

ใแต่ละหมวดใหญ่ ดิวอื้ยังแบ่งออกเป็น 10 หมวดย่อย โดยใช้ตัวเลขกระจาย ในหลักสิบ และแต่ละหมวดย่อยยังแบ่งออกไปได้อีก 10 หมู่ย่อยโดยกระจายในหลัก หน่วย," คุณวิลาวัณย์พูดช้า ๆ พลางชี้มือให้นักเรียนดูที่ผนังตึก

"หอสมุดแห่งชาติก็ใช้ระบบดิวอี้เช่นเดียวกันในการกำหนดที่อยู่ของหนังสือ แต่ละเล่ม แต่เรากระจายหนังสือออกไปเป็นห้องๆ เช่น ห้องสังคมศาสตร์ ห้องภาษา ไทย ห้องวรรณกรรม เป็นต้น นักเรียนดูแผนภูมิแล้วก็คงจะเห็นใช่ไหมจ๊ะว่า นักเรียนจะ เห็นได้ชัดเจนขึ้น," คุณวิลาวัณย์พานักเรียนมาดูแผนภูมิการแบ่งครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ของระบบดิวอี้ ดังต่อไปนี้

หมวดใหญ่ 300 สังคมศาสตร์

หมวดย่อย 310 สถิติ
    320 รัฐศาสตร์
    330 เศรษฐศาสตร์
    340 กฎหมาย
    350 รัฐประศาสนศาสตร์
    360 สังคมสงเคราะห์
    370 การศึกษา
    380 การพาณิชย์
    390 ขนบธรรมเนียมประเพณี

หมวดใหญ่ 300 สังคมศาสตร์

หมวดย่อย 370 การศึกษา
    หมู่ย่อย 371 ระบบโรงเรียน
    372 การประถมศึกษา
    373 การมัธยมศึกษา
    374 การศึกษาผู้ใหญ่
    375 หลักสูตร
    376 การศึกษสำหรับสตรี
    377 โรงเรียนและศาสนา
    378 การอุดมศึกษา
    379 การศึกษาและรัฐ

"เมื่อแบ่งหมู่ย่อยแล้ว ดิวอี้ยังแบ่งเนื้อหารายวิชาต่อไปได้อีกโดยการใช้ จุดทศนิยมซึ่งสามารถทำให้แบ่งรายละเอียด ของความรู้ออกไปได้เรื่อยๆ โดยไม่มีสิ้น สุด เราจึงเรียกระบบทศนิยมของดิวอี้ อย่างไรก็ดี ระบบดิวอี้ยังอนุญาตให้ใช้ตัวอักษร แทนเลขหมู่ในบางหมวดได้ เช่น ใช้ตัวอักษร น แทน นวนิยาย ใช้อักษร ย แทน หนัง สือสำหรับเยวชนหรือหนังสือเด็ก และใช้ตัวอักษร ช แทนหนังสือในหมวดชีวประวัติ

ระบบที่ใช้ตัวอักษรแทนตัวเลขที่นิยมใช้กันทั่วโลกได้แก่ ระบบหอสมุดรัฐสภา อเมริกัน ผู้คิดค้นระบบนี้คือ ดร.เฮอร์เบริต์ พัทนัม เขาแบ่งหนังสือออกเป็น 20 หมวด ใหญ่ โดยใช้ตัวอักษรโรมัน 21 ตัวตั้งแต่ A ถึง Z ยกเว้นตัว I,O,W,X,Y แล้ว แบ่งหมวดย่อยโดยใช้ อักษรโรมันใหญ่ 2 ตัว แบ่งย่อยลงไปได้อีกโดยเพิ่มตัวเลขอารบิค 1 -999 ซึ่งนักเรียนไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดมากหรอกจ้ะ,"

คุณวิลาวัณย์กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า "ระบบหมวดหมู่ทศนิยมของดิวอี้เรียงตาม เนื้อหาวิชา สะดวกต่อการค้น เราจดเลขเรียก หนังสือแล้วก็ไปหาหนังสือที่ชั้น ตัวเลข จะเรียงตามลำดับ ถ้าซ้ำกันจะเรียงตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ตามครูไปดูที่ห้องสังคม ศาสตร์ จะได้เรียนรู้อะไรอีกมากทีเดียว"

นักเรียนต่างพากันเดินตามคุณวิลาวัณย์ตรงไปที่ห้องสังคมศาสตร์ เลื่อนประตูกระจกออกก็ยิ่งสัมผัสกับความเย็นฉ่ำของเครื่อง ปรับอากาศเต็มที่ ความรู้ที่ได้รับต่างก็ตักตวง กันได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008