สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


คำนำ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
สังคมข่าวสาร

วัสดุสารสนเทศ

หนังสือและส่วนต่างๆ
ของหนังสือ

การจัดหมวดหมู่
สารสนเทศ

การค้นข้อมูลใน
สังคมสารสนเทศ

หนังสืออ้างอิง

การเขียนรายงาน
การศึกษา
และค้นคว้า

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

หนังสือคู่มือ
(Handbook)

ความหมายของหนังสือคู่มือ

หนังสือคู่มือเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องราวและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ บุคคล เหตุการณ์แนวโน้มเฉพาะด้านหรือเรื่องราวที่น่าสนใจเฉพาะด้านหรือเรื่องในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยเฉพาะ โดยให้รายละเอียดของเรื่องราวนั้นอย่างสั้น ๆ หรืออาจใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานและใช้ เป็นแหล่งอ้างอิงหาข้อเท็จจริงที่จะตอบคำถาม

วัตถุประสงค์ของหนังสือคู่มือ
1. ให้เรื่องราวและความรู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
2. เป็นคู่มือในการตอบคำถามเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งอย่างรวดเร็ว
3. เป็นคู่มือในการศึกษาปฏิบัติงานในด้านหนึ่ง ๆ ได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของหนังสือคู่มือ

หนังสืออ้างอิงประเภทนี้จะช่วยให้ทราบถึงข้อเท็จจริง ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องราวที่ควรรู้ใน สาขาวิชาต่างและคู่มือปฏิบัติในวิชาใดวิชาหนึ่งเช่น คู่มือในวิชาเคมี เป็นต้น

ประเภทของหนังสือคู่มือ

หนังสือคู่มือมี 4 ประเภทได้แก่
1. คู่มือช่วยปฏิบัติงาน เป็นหนังสือที่ทำหน้าที่แนะแนวทางให้คำสั่งสอนและแนะนำเช่นหนังสือแนะนำอาชีพ ตำราประกอบอาหาร คู่มือซ่อมรถ เป็นต้น
2. หนังสือรวบรวมความรู้เบ็ดเตล็ด เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้ที่ค้นได้ยากในสาขาวิชาต่าง ๆ
3. หนังสือคู่มือเป็นหนังสือที่ให้คำอธิบายและตีความหมายของเรื่องราวของเนื้อหาวิชาใดวิชาหนึ่งในแง่มุม หลาย ๆ ด้าน
4. หนังสือที่ให้เรื่องราวหรือเนื้อหาสำคัญโดยย่อเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะเรื่องที่สำคัญ โดยย่อภายใต้หัวเรื่องหรือชื่อเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ที่มา:

สุนิตย์ เย็นสบาย. (2543). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง.

พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:ศิลปาบรรณาคาร.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008