สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


คำนำ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
สังคมข่าวสาร

วัสดุสารสนเทศ

หนังสือและส่วนต่างๆ
ของหนังสือ

การจัดหมวดหมู่
สารสนเทศ

การค้นข้อมูลใน
สังคมสารสนเทศ

หนังสืออ้างอิง

การเขียนรายงาน
การศึกษา
และค้นคว้า

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home



แบบทดสอบเรื่อง การศึกษาค้นคว้าและการเขียนบทนิพนธ์

คำสั่ง  ให้นักศึกษาใช้เมาส์คลิก หน้าคำตอบที่ถูกที่สุด

1. รายงานคืออะไร

ก. งานที่ผู้สอนสั่งให้ทำ
ข. การค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง
ค. การบันทึกผลการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระเบียบแบบแผน
ง. ข้อเขียนที่นำเสนอเพื่อรับการตรวจสอบ

2. รายงานที่นักศึกษาได้รับมอบจากอาจารย์ผู้สอนให้ทำเรียกว่าเป็นรายงานอะไร

ก. รายงานทั่วไป
ข. รายงานทางวิชาการ
ค. รายงานประจำภาค
ง. รายงานส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาใดวิชาหนึ่ง

3. รายงานประกอบการศึกษามีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออะไร

ก. บันทึกผลการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ผลงาน
ข. ฝึกการใช้ภาษาทั้งพูดและเขียน
ค. ฝึกการวิพากษ์วิจารณ์หาเหตุผล
ง. ฝึกนิสัยการทำงานที่ดี

4. ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของรายงานคือส่วนใด

ก. ปก
ข. ส่วนประกอบตอนต้น
ค. ส่วนประกอบตอนกลาง
ง. ส่วนประกอบตอนท้าย

5. เชิงอรรถปรารกฏอยู่ส่วนใดของรายงาน

ก. ส่วนประกอบตอนต้น
ข. ส่วนประกอบตอนกลาง
ค. ส่วนประกอบตอนท้าย
ง. ส่วนหนึ่งต่างหากจากที่กล่าวมาแล้ว

6. เชิงอรรถมีกี่ประเภท

ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท

7. สิ่งแรกที่ต้องทำในรายงานคืออะไร

ก. ตั้งจุดมุ่งหมาย
ข. วางเค้าโครงเรื่อง
ค. กำหนดหัวข้อเรื่อง
ง. รวบรวมแหล่งข้อมูล

8. การกำหนดหัวข้อรายงานควรยึดอะไรเป็นหลัก

ก. เลือกหัวข้อที่สำคัญที่สุด
ข. เลือกหัวข้อที่ร่างต่อการเขียนมากที่สุด
ค. เลือกหัวข้อที่แปลกใหม่ไม่เคยมีใครเขียน
ง. เลือกหัวข้อที่ผู้เขียนสนใจมากที่สุด

9. การรวบรวมข้อมูลเพื่อทำรายงานควรยึดวิธีใดเป็นหลักในการจดบันทึก

ก. คัดลอกลงรายงานไว้เลยเพื่อสะดวกในการทำ
ข. จดลงสมุดไว้ก่อน
ค. จดบันทึกลงบนบัตรกระดาษขนาดเท่า ๆ กันไว้ก่อน
ง. จดใส่อะไรไว้ก่อนก็ได้

10. ส่วนประกอบตอนท้ายของรายงานที่สำคัญทีสุดคืออะไร

ก. ภาคผนวก
ข. ดรรชนี
ค. บรรณานุกรม
ง. อภิธานศัพท์

11. -------------

1 ดูรายละเอียดจากบทที่ 4 หน้า 86.

เชิงอรรถข้างบนนี้ เป็นเชิงอรรถแบบใด

ก. เชิงอรรถอ้างอิง
ข. เชิงอรรถเสริมความ
ค. เชิงอรรถโยง
ง. เชิงอรรถบรรณานุกรม

12. เชิงอรรถที่ไม่สามารถเขียนจบในบรรทัดเดียวได้ ต้องเขียนต่อในบรรทัดที่สอง

หรือที่สามต้องมีการย่อหน้าในบรรทัด ที่สองหรือสามอย่างไร
ก. ย่อหน้าให้เยื้องไปทางขวามือ
ข. ย่อหน้าให้เยื้องไปทางซ้ายมือ
ค. ย่อหน้าให้ตรงกับบรรทัดแรก
ง. ใช้แบบใดก็ได้ให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ

13. บรรจบ พันธุ์เมธา และคนอื่น ๆ. ภาษาไทยชุดครูมูล.

พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2514.

จากรายการบรรณานุกรมนี้ทราบได้ว่าหนังสือนี้มีผู้แต่งกี่คน

ก. 1 คน
ข. 2 คน
ค. 3 คน
ง. มากกว่า 2 คน

14.ข้อใดเป็นลักษณะเหมือนกันทั้งบรรณานุกรม และเชิงอรรถ

ก. ย่อหน้าและการใช้เครื่องหมาย
ข. วิธีการเขียนรายการหลักของทั้งสองแบบ
ค. การอ้างอิงหลักฐานประกอบการค้นคว้า
ง. ส่วนที่เกี่ยวกับการพิมพ์ของหนังสืออยู่ในวงเล็บ

15.ควรใช้ข้อมูลใดประกอบการเขียนรายงาน เรื่อง "วิวัฒนาการการ์ตูนไทย"

ซึ่งจะช่วยให้รายงาน มีความน่าเชื่อถือได้เพราะข้อมูลมาจากแหล่งต้นตอ
ก. ข้อเขียนเรื่อง การ์ตูนนิสต์คนแรกใน หนังสือพิมพ์มติชน
ข. บทสัมภาษณ์ ชัย ราชวัตร (ไอ้จ่อยตัวจริงแห่งทุ่งหมาเมิน)
ค. บทวิเคราะห์การ์ตูนไทย ของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
ง. หนังสือเรื่อง ความรู้เรื่องการ์ตูน

16. ข้อใดตรงกับคำกล่าวที่ว่า "ผู้ทำรายงานหรือภาคนิพนธ์ต้องเป็นนักเสาะแสวงหา"

ก. ใช้หนังสืออ้างอิงมากเล่มในการทำรายงาน
ข. ใช้ข้อมูลที่ทันสมัยทั้งจากแหล่งความรู้ชนิดตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์
ค. ใช้การค้นหาบัตรเรื่องจำนวนมากบัตรเพื่อจะได้หนังสือมากเล่ม
ง.ใช้บทความภาษาต่างประเทศเพราะมีความก้าวหน้าทางวิทยาการสูง

อ่านข้อความข้างล่างนี้ แล้วตอบคำถามข้อที่ 17-20

"...ย้อนหลังไปในเดือนกันยายน พ.ศ.2504 ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ในประเทศไทย ในปีนั้นได้มีการเปิดสอนวิชาจัดห้องสมุดในลักษณะ ของการศึกษาภาคพิเศษในตอนเย็น ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ต้นเหตุแห่งการที่บรรณารักษ์ไทยได้ศึกษาวิชาชีพเป็นเริ่มแรกนี้เนื่องมาจากการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดตั้ง ห้องสมุดสำนักข่าวสารอเมริกันขึ้นที่อาคารถนนราชดำเนินเมื่อปี พ.ศ.2489 นับเป็น ห้องสมุดแห่งแรกที่มีวิธีการจัดตามลักษณะ ของห้องสมุดที่ทันสมัย..."

17. ชื่อเรื่องของรายงานนี้ควรตั้งชื่อว่าอย่างไร

ก. ประวัติความเป็นมาของห้องสมุด
ข. ประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค. วิชาบรรณารักษศาสตร์ในประเทศไทย
ง. ประวัติห้องสมุดสำนักข่าวสารอเมริกัน

18. บทที่ 1 ของรายงานดังกล่าวควรมีเนื้อหาอย่างไร

ก. การดำเนินงานห้องสมุด
ข. ประวัติความเป็นมาของวิชาบรรณารักษ์
ค. ปัญหาและข้อเสนอแนะของห้องสมุด
ง. การสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์

19. ควรใช้หนังสือเล่มใดประกอบการเขียนรายงาน

ก. ประวัติหนังสือพิมพ์ไทย
ข. วารสารที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย
ค. บรรณารักษศาสตร์ภูมิหลัง
ง. ประวัติการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา

20. ชื่อเรื่องใดที่ใกล้เคียงกับเรื่องรายงานฉบับนี้

ก. การสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข. การสอนวิชาห้องสมุดและการศึกษาค้นคว้า
ค. ห้องสมุดและสังคม
ง. พัฒนาการของห้องสมุดในประเทศไทย

ทบทวนบทเรียนเรื่องนี้ใหม่

 

 

Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008