สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


คำนำ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
สังคมข่าวสาร

วัสดุสารสนเทศ

หนังสือและส่วนต่างๆ
ของหนังสือ

การจัดหมวดหมู่
สารสนเทศ

การค้นข้อมูลใน
สังคมสารสนเทศ

หนังสืออ้างอิง

การเขียนรายงาน
การศึกษา
และค้นคว้า

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
(Library of Congress Classification)

ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือกับห้องสมุดของรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1800 มีการออกกฎหมายให้จัดหาสถานที่ วางกฎข้อบังคับ และแต่งตั้งบรรณารักษ์สำหรับห้องสมุดประธานาธิบดีโธมัสเจฟเฟอร์สัน จึงได้แต่งตั้ง นายจอห์น เบคลีย์ (John Beekley) เป็นบรรณารักษ์คนแรกของห้องสมุด (บุญถาวร หงสกุล, 2521, หน้า 1)

การจัดหมวดหมู่หนังสือในระยะแรกจัดแบบง่าย ๆ โดยจัดเรียงตามขนาดของหนังสือ และเมื่อหนังสือมีจำนวน มากขึ้นเริ่มมีการจัดหมวดหมู่ตามเนื้อหาวิชาโดยการแบ่งหมวดหมู่เป็น 18 วิชา ระยะต่อมาประธานาธิบดี โธมัส เจฟเฟอร์สัน ได้เสนอขายหนังสือส่วนตัว จำนวน 6,487 เล่ม ให้แก่รัฐสภาทำให้ห้องสมุดมีความจำเป็นในการแบ่งหมวดหมู่วิชาให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น และหนังสือที่ได้รับมาจากการขายมีการจัดหมู่ตามแนวความคิดของเจฟ เฟอร์สัน ซึ่งแบ่งหมวดหมู่หนังสือออกเป็น 44 หมวด เมื่อจำนวนหนังสือได้ทวีปริมาณเพิ่มขึ้น และประกอบกับมีการก่อสร้างอาคาร หอสมุดหลังใหม่ ทำให้มีความจำเป็น ในการจำแนกหมวดหมู่หนังสือให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น

ผู้ที่มีความสำคัญต่อการปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดหมู่สำหรับห้องสมุดของรัฐสภาคือ นายเฮอร์เบริต์ พัทนัม (Herbert Putnum) ซึ่งเดิมเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน เมืองบอสตันพัทนัมดำรงตำแหน่งอยู่นานถึง 40 ปี (บุญถาวร หงสกุล, 2521, หน้า 2-8)และ ได้พัฒนาระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันอย่างสมบูรณ์และใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกระบบหนึ่ง

ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันแบ่งหมวดหมู่วิชาออกเป็น 20 หมวด (Chan, 1985, p. 369) ใช้อักษรโรมัน A-Z ยกเว้นตัวอักษร I O W X Y เพื่อสำหรับ การขยายหมวดหมู่วิชาการใหม่ ๆ ในอนาคต

ตารางการแบ่งหมวดหมู่หนังสือ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน แบ่งหมวดหมู่วิชาการเป็น 20 หมวด (Chan, 1985, pp. 276-277) คือ
    A : ความรู้ทั่วไป
    B : ปรัชญา ศาสนา
    C : ประวัติศาสตร์
    D : ประวัติศาสตร์สากล
    E-F: ประวัติศาสตร์อเมริกา
    G : ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา คติชนวิทยา
    H : สังคมศาสตร์
    J : รัฐศาสตร์
    K: กฎหมาย
    L : การศึกษา
    M : ดนตรี
    N : ศิลปกรรม
    P : ภาษาและวรรณคดี
    Q : วิทยาศาสตร์
    R : แพทยศาสตร์
    S : เกษตรศาสตร์
    T : เทคโนโลยี
    U : วิชาการทหาร
    V : นาวิกศาสตร์
    Z : บรรณารักษศาสตร์

การใช้สัญลักษณ์

ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ใช้สัญญลักษณ์ผสมโดยใช้อักษรตัวใหญ่ประจำหมวดวิชาใหญ่ มีการแบ่งหมู่ย่อย โดยใช้อักษรโรมันตัวใหญ่ซ้อนเพิ่มเติม จากนั้นจึงใช้เลขอารบิค 1- 9999 เพื่อแบ่งหมวดหมู่วิชาการ

ตัวอย่าง

หมวดใหญ่และหมวดย่อย

    Q วิทยาศาสตร์
      QA คณิตศาสตร์
      QB ดาราศาสตร์
      QC ฟิสิกส์
      QD เคมี

ตัวอย่าง

การกระจายหมวดหมู่วิชาด้วยต้วเลขหลังตัวอักษร

    QD เคมี
      – 23.3.26
      – 71-142 เคมีวิเคราะห์
      – 146-197 อนินทรีย์เคมี
      – 241-441 อินทรีย์เคมี

การใช้ตารางช่วย

ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกากันมีตารางช่วยสำหรับเพิ่มเติมรายละเอียดตามตารางการจัดหมวดหมู่อีกมาก เป็นตารางช่วยเติมเพื่อแสดงรายละเอียดตามวิธีเขียน การแบ่งตามเขตภูมิภาค การแบ่งตามยุคสมัย การแบ่งตามตัวอักษรย่อของ ชื่อใดชื่อหนึ่ง

การใช้ตารางช่วยจะมีอยู่ในเกือบทุกหมวดหมู่ และมีลักษณะการใช้ที่อาจแตกต่างกันออกไป

ตัวอย่างการให้เลขหมู่

หนังสือชื่อ ประวัติศาสตร์ในประเทศ .P7G8 โปแลนด์ เขียนโดย V.S. Gubarev มีเลขหมู่ เป็น

    QB33
    .P7G8

อธิบายโดยสรุป

    QB ดาราศาสตร์
      33 ประวัติศาสตร์, แบ่งตามประเทศ, A-Z
      .P7 ประเทศโปแลนด์ (ตามตารางRegions and Countries in one Alphabet)
      G8 เลขผู้แต่งของ Gubarev

หนังสือชื่อ ความเป็นมาของแรงงานและกรรมกรในแคลิฟอร์เนีย โดย D.F.Selvin มีเลขหมู่เป็น

    HD8083
    .C2S4

อธิบายโดยสรุป

    HD ประวัติความเป็นมาทางเศรษฐกิจ
      8083 แรงงานและกรรมกรในประเทศสหรัฐอเมริกา
      .C2 มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
      S4 เลขผู้แต่งของ Selvin

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008