สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


คำนำ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
สังคมข่าวสาร

วัสดุสารสนเทศ

หนังสือและส่วนต่างๆ
ของหนังสือ

การจัดหมวดหมู่
สารสนเทศ

การค้นข้อมูลใน
สังคมสารสนเทศ

หนังสืออ้างอิง

การเขียนรายงาน
การศึกษา
และค้นคว้า

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

นามานุกรม
(Directory)

ความหมายของนามานุกรม

นามานุกรมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ทำเนียบนาม" แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า " Directory" ซึ่งมีความหมาย ตามที่ปรากฎใน ALA Glossary of library and Information Science ดังนี้

นามานุกรมคือรายการเกี่ยวกับบุคคลหรือหน่วยงานที่นำมาจัดเรียงลำดับอย่างเป็นระเบียบ โดยทั่วไปจะเรียกตามลำดับ อักษร แต่ละรายการจะให้ชื่อ ที่อยู่ ตำแหน่งงานของบุคคลและให้ชื่อ ที่อยู่ ของหน่วยงานต่าง ๆ

นามานุกรมคือ หนังสือที่ให้รายชื่อขุคคล รายชื่อขององค์การ ห้างร้าน หรือรายชื่อของสถาบันต่าง ๆ โดยมีการจัดเรียง รายชื่ออย่างมีระเบียบ อาจจัดตามลำดับอักษร จัดตามลำดับขั้นหน้าที่การงาน จัดตามประเภทของกิจกรรมหรือจัดแบบอื่น ๆ

นามานุกรมคือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อบุคคลหรือรายชื่อองค์การ มีการจัดระบบเพื่อความสะดวกในการค้นหา โดยทั่วไป มักจะเรียงตามลำดับอักษรหรือชั้น ให้ชื่อบุคคล ชื่อองค์การ สถานที่ทำงาน หน้าที่ หรือรายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็น

สรุปว่า นามานุกรมคือหนังสือรวบรวมรายชื่อของบุคคล สถาบัน สมาคม หน่วยงานต่าง ๆ เรียงตามลำดับอักษรของชื่อนั้น ๆ หรือจัดเรียงลำดับรายชื่อเป็นหมวดหมู่ พร้อมทั้งให้เรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญของชื่อนั้น พร้อมทั้งตำบล ที่อยู่ หรือที่ตั้งของ ชื่อนั้น ๆ

ประเภทของนามานุกรม

การแบ่งประเภทของนามานุกรมนั้น พิมลวรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์ ได้แบ่งไว้เป็น 5 ประเภทคือ
1. นามานุกรมท้องถื่น (Local Directories)
2. นามานุกรมสถาบัน (Institutional Directories)
3. นามานุกรมรัฐบาล (Goverment Directories)
4. นามานุกรมบุคคลในอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
5. นามานุกรมด้านธุรกิจการค้า (Trade and Business Directories)

ประโยชน์ของนามานุกรม

นามานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิงที่มีประโยชน์ในฐานะเป็นคู่มือค้นหาข้อเท็จจริงในเรื่องดังต่อไปนี้คือ
1. ชื่อบุคคลและสถานที่อยู่
2. ชีวประวัติที่ทันสมัย เฃ่น ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
3. ชื่อหน่วยงาน องค์การต่าง ๆ และสถานที่ตั้ง
4. เรื่องราวเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน องค์การนั้น ๆ เช่น ปีที่จัดตั้ง จำนวนสมาชิก จำนวนบุคลากรของหน่วยงาน วัตถุประสงค์ และหน้าที่กิจกรรมและสถิติในด้านต่าง ๆ
5. ใช้ประโยชน์ในการคัดเลือกและรวบรวมรายชื่อห้างร้าน บริษัท หน่วยงาน สมาคม ฯลฯ พร้อมทั้งสถานที่ตั้ง เพื่อการติดต่อ งานธุรกิจการค้าหรือการติดต่อเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง

จะเห็นได้ว่า หนังสือนามานุกรมเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันของบุคคลทุกคน และของหน่าย งานทุกหน่วยงาน ทั้งที่เป็นของรัฐบาลและของเอกชน

ที่มา:

สุนิตย์ เย็นสบาย. (2543). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง.

พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:ศิลปาบรรณาคาร.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008