สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


คำนำ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
สังคมข่าวสาร

วัสดุสารสนเทศ

หนังสือและส่วนต่างๆ
ของหนังสือ

การจัดหมวดหมู่
สารสนเทศ

การค้นข้อมูลใน
สังคมสารสนเทศ

หนังสืออ้างอิง

การเขียนรายงาน
การศึกษา
และค้นคว้า

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

พจนานุกรม(Dictionaries)

พจนานุกรมเป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำ และวลี เรียบเรียงไว้ตามลำดับอักษร ให้ตัวสะกดที่ถูกต้อง การอ่านออกเสียง ชนิดของคำความหมาย หรือคำจำกัดความของคำ ประวัติของคำ วิธีใช้คำ ตัวย่อ คำเหมือน คำพ้อง คำที่มีความหมายตรงข้าม

ลักษณะของพจนานุกรม

    1. ตัวสะกดที่ถูกต้อง
    2. การอ่านออกเสียง
    3. ความหมายของคำ คำจำกัดความ
    4. ชนิดของคำ เช่น คำนาม สรรพนาม ฯลฯ
    5. ประวัติที่มาของคำ รากศัพท์ เช่น เป็นคำที่มีรากศัพท์มากจากภาษาใด
    6. การใช้คำ ตัวอย่างการแต่งประโยค
    7. คำพ้อง คำตรงข้าม
    8. ตัวย่อต่าง ๆ
    9. บางเล่มมีประวัติบุคคลสำคัญด้วย
    10. มีภาพประกอบตามความจำเป็น

ความสำคัญของพจนานุกรม

พจนานุกรมมีความสำคัญเพราะเป็นแหล่งอ้างอิง หรือคู่มือที่ช่วยในการเลือกใช้ถ้อยคำในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่เป็นพื้นฐานและจำเป็นมากที่สุด ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียนในการพูดและการเขียนจะใช้ถ้อยคำในลักษณะที่แตกต่างกัน เพื่อให้ผู้พูดและผู้เขียนสื่อความหมายได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ เป็นแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือสูงสุด

ประเภทของพจนานุกรม

1. การแบ่งประเภทตามทัศนะของวิลเลี่ยม เอ. แคทส์ (William A. Katz) แบ่งเป็น7 ประเภท คือ
    1.1 พจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป (General English language dictionaries) เป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษ บรรจุคำเป็นจำนวนมาก
    1.2 พจนานุกรมฉบับปกอ่อน (Paperback dictionaries) บรรจุคำไม่เกิน 3,000 - 55,000 คำ ได้รับความนิยมมาก ราคาไม่แพง
    1.3 พจนานุกรมเชิงประวัติ (Historical dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่บรรจุคำแสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของคำ ตั้งแต่สมัยอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน
    1.4 พจนานุกรมรากศัพท์ (Etymological dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่มีลักษณะคล้าย ๆ พจนานุกรมเชิงประวัติ แต่พจนานุกรมประเภทนี้จะเน้นการวิเคราะห์คำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอื่นๆ
    1.5 พจนานุกรมภาษาต่างประเทศ (Foreign language dictionaries) เป็นพจนานุกรมสองภาษา ที่แปลความหมายจากคำภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง
    1.6 พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่อธิบายความหมายของคำในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น
    1.7 พจนานุกรมอื่น ๆ ("Other" dictionries) เป็นพจนานุกรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำในด้านอื่น ๆ

2. การแบ่งประเภทตามทัศนะของ เค็นเนธ เอ.วิทเดคเคอร์ (Kenneth A. Whittaker) แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
    2.1 พจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป (General language dictionaries) พจนานุกรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำโดยทั่วไป ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
    2.2 พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject dictionaries) พจนานุกรมเฉพาะวิชาให้ความรู้เกี่ยวกับคำในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง อาชีพใดอาชีพหนึ่ง หรือวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งโดยเฉพาะ
    2.3พจนานุกรมเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ (Special purpose dictionries) รวบรวมคำที่ไม่สามารถค้นหาได้จากพจนานุกรมทางภาษาทั่วไป
    2.4 หนังสือรวมคำสุภาษิต (Books of quotations) หนังสือรวมคำสุภาษิต เป็นหนังสืออ้างอิงที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมสุภาษิตในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือของนักเขียนคนใดคนหนึ่ง
    2.5 ดรรชนีในหนังสือ (Concordances) ดรรชนีประเภทนี้เป็นการนำเอาหัวข้อสำคัญในหนังสือมาจัดทำดรรชนี และเรียงไว้ตามลำดับอักษร เป็นดรรชนีที่ละเอียด

3. การแบ่งประเภทตามทัศนะของสอางศรี พรสุวรรณ และเพชราภรณ์ พิทยารัฐ แบ่งตามเนื้อเรื่องและวัตถุประสงค์แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
    3.1 พจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป (General language dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่ใช้รายการคำและความหมายของคำเป็นภาษาเดียว
    3.2 พจนานุกรมอื่น ๆ ("Other" dictionaries) หมายถึง พจนานุกรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ
    3.3 พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject dictionaries) พจนานุกรมที่ใช้สำหรับค้นคว้าความหมายของคำในสาขาวิชาหนึ่ง อาชีพใดอาชีพหนึ่ง หรือวิชาชีพหนึ่งโดยเฉพาะ

วิธีใช้พจนานุกรม

1. พิจารณาดูว่าคำที่ต้องการค้นนั้น ต้องการข้อเท็จจริงทางด้านภาษา ทางด้านเฉพาะวิชาหรือทางด้านอื่น ๆ
2. เลือกใช้พจนานุกรมให้ถูกกับข้อเท็จจริงที่ต้องการ
3. อ่านข้อแนะนำการใช้ แล้วจึงลงมือค้นหาคำตอบ

ที่มา:

สุนิตย์ เย็นสบาย. (2543). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง.

พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:ศิลปาบรรณาคาร.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008