สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


คำนำ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
สังคมข่าวสาร

วัสดุสารสนเทศ

หนังสือและส่วนต่างๆ
ของหนังสือ

การจัดหมวดหมู่
สารสนเทศ

การค้นข้อมูลใน
สังคมสารสนเทศ

หนังสืออ้างอิง

การเขียนรายงาน
การศึกษา
และค้นคว้า

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

พัฒนาการของสารนิเทศจากประเภทของสื่อสารนิเทศ

เนื่องจากสารนิเทศในสาขาต่าง ๆ ที่มนุษย์รู้จักและใช้กันตั้งแต่แรกเริ่มมีตัวอักษร และมีพัฒนาการในการประดิษฐ์วัสดุเพื่อใช้ กับการเขียนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือ หรือ วัสดุตีพิมพ์ แต่ภายหลังจากการเริ่มมีการแนะนำสารนิเทศในรูปแบบอื่น คนในสังคมได้ ตระหนักดีถึงความเปลี่ยนแปลงสภาพของสังคมและเกิดการเรียนรู้ในเรื่องราวการสื่อสารที่มี ความสะดวกและรวดเร็ว และได้หาวิธีการที่จะพัฒนาสื่อสารนิเทศให้สอดคล้องกับสังคมที่ เปลี่ยนแปลงไป เช่น ความรวดเร็วต่อการที่จะได้รับข่าวสาร อุปกรณ์สำหรับใช้กับสาร นิเทศที่เปลี่ยนไป เป็นต้น

พัฒนาการของสารนิเทศตามวิวัฒนาการของสื่อสารนิเทศ อาจสรุปสังคมสาร นิเทศตามที่ทอฟเฟลอร์ (Toffler, 1980) และพรทิพย์ ดีสมโชค (2531, หน้า 47-48) ได้กล่าวเปรียบเทียบเหมือนกับคลื่นของสารนิเทศ มี 3 ยุค คือ

คลื่นยุคที่ 1 ได้แก่ ยุคปฎิวัติทางเกษตรกรรม (Agricultural Revolution) ยุคแรกนี้เริ่มตั้งแต่ประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงประมาณ ค.ศ.1750 ความเป็น อยู่ของคนในสังคมสารนิเทศแรกมีความเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ปฏิบัติตามประเพณีนิยมที่ เคยปฎิบัติกันมา ได้รับการถ่ายทอดความคิดจากบุคคลในครอบครัวและในหมู่บ้านของตน ไม่ มีโอกาสได้เห็นสังคมอื่น ๆ ที่แตกต่างไปจากสังคมที่ตนอาศัยอยู่ สารนิเทศจะอยู่ในรูปแบบ ของภาษาพูดและภาษาเขียน

คลื่นยุคที่ 2 ได้แก่ ยุคปฎิวัติทางอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ยุคที่สองของสารนิเทศเริ่มตั้งแต่ ค.ศ.1750 ถึงประมาณ ค.ศ.1950 เป็นยุคที่สาร นิเทศประเภทหนังสือและวารสาร มีบทบาทสำคัญและสื่อสารนิเทศด้านสื่อมวลชนเข้ามามีบทบาทต่อ สังคมสารนิเทศยุคนี้ เช่น การตื่นตัว การจัดทำหนังสือพิมพ์เพื่อสังคมได้รับข่าวสาร การพัฒนาสื่อสารนิเทศด้านวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ สื่อสารนิเทศได้แพร่ กระจายเข้าไปในชุมชนผ่านอุปสรรคของการขวางกั้นจากสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ระยะทาง เวลา ภาษา ศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณี

คลื่นยุคที่ 3 ได้แก่ ยุคเทคโนโลยีระดับสูง (High Technology Civilization) ยุคนี้เป็นยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 เป็นต้น มา เป็นสังคมข่าวสารที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์ เกิดสภาพ สื่อสารนิเทศใหม่ ๆ จนทำให้สภาพของสังคมสารนิเทศเหมือนกันใน ทุกประเทศ ไม่มีปัญหาใด ๆ ต่อการที่จะรับทราบสารนิเทศ ซึ่งกันและกัน

ในสังคมสมัยโบราณ การติดต่อสื่อสารเพื่อถ่ายทอดสารนิเทศซึ่งกันและกัน ใช้ เวลานานมากกว่าจะได้ทราบเรื่องซึ่งกันและกัน ดังเช่นการเชิญพระราชสาส์นในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช สมัยกรุงศรีอยุธยา ใช้เวลาในการเชิญพระราชสาส์นจากกรุง ศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2229 จนกระทั่งไปถึงกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2229 (พลับพลึง มูลศิลป์, 2523, หน้า 113-114) การเดินทาง ของสารนิเทศคือ พระราชสาส์นใช้เวลาเดินทางเกือบ 2 เดือนเต็มกว่าที่พระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศสได้ทอดพระเนตร

เมื่อระบบโทรคมนาคมเข้ามาเกี่ยวข้องกับสารนิเทศ ความเปลี่ยนแปลงต่อการรับ สารนิเทศจึงเปลี่ยนแปลงไป จากเวลาหลายเดือน ในการส่งสารนิเทศ และต้องใช้คนเดินทางไปกับสารนิเทศ กลายเป็นใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงด้วยการส่งโทรเลข หรือโทรศัพท์โดย ไม่ต้องใช้คน และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการปรับปรุงพัฒนาระบบโทรคมนาคม

จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงสื่อสารนิเทศจากหนังสือ เป็นวัสดุประเภทอื่น ๆ และแม้แต่จำนวนหนังสือเอง ก็มีการเพิ่มปริมาณ มากอย่างมหาศาลตามพัฒนาการของอุตสาหกรรม การพิมพ์ ความจำเป็นในการศึกษาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศจึงมีมากขึ้น กลายมาเป็นวิชาใหม่ ที่แยกไปจากวิชาบรรณารักษศาสตร์ ก่อให้เกิดพัฒนาการวิชาสารนิเทศศาสตร์ขึ้นมาแทนที่

ประเทศสหรัฐอเมริกานับเป็นประเทศแรกที่ก้าวเข้าสู่ยุคสังคมสารนิเทศ เพราะ กิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจของสังคม จะอยู่บนพื้นฐานของการบริการ บุคคลส่วนใหญ่จะทำ งานเกี่ยวกับสารนิเทศในยุคนี้สารนิเทศจะเป็นทรัพยากรหลักของสังคม แทนที่จะเป็นเงิน ทุนอย่างเช่นยุคอุตสาหกรรม สมาชิกของสังคมจะหันมาผลิตความรู้ซึ่งเป็นหัวใจของการผลิต การแข่งขัน และความสำเร็จทางเศรษฐกิจ (ประทุม ฤกษ์กลาง, 2531, หน้า 30) และยุค ของสังคมสารนิเทศได้เริ่มขึ้นแล้วในอีกหลาย ๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น

ในประเทศที่เริ่มเข้าสู่ยุคสังคมสารนิเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศญี่ปุ่น มีอัตราการขยายตัวของบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสารนิเทศสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1980 เป็นต้นมา โดยมีสถิติว่าจำนวนบุคลากรที่ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสารนิเทศมีแนวโน้มสูงมากกว่าบุคลากรในสาขาอุตสาหกรรม สาขาเกษตรกรรม หรือแม้แต่สาขา งานบริการ (Dordick, 1986, p. 9) แสดงให้เห็นว่า ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น กำลังอยู่ในยุคอุตสาหกรรม ของสังคมข่าวสาร ซึ่งนับวันจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆในประเทศ

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008