***เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน***


ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล/ ผศ.ฟ้อน เปรมพันธ์/ ผศ.วิไลวรรณ สันถวะโกมล/
อาจารย์ราตรี แจ่มนิยม/ อาจารย์นงนุช ถ้วยทอง
โปรแกรมวิชาการศึกษาทั่วไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน
(Course Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบการสอน
(Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ
(Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet
(Resources about the Internet and Its Tools)

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์
(On-Line Journals and Magazines)

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

การพัฒนาทักษะในการอ่าน

การอ่านจะสัมฤทธิ์ผลต้องมีการฝึกฝนถูกวิธีอย่างสม่ำาเสมอจึงจะพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องทักษะต่าง ๆ ที่ควรได้รับการฝึกฝนจากการอ่านเพื่อการพัฒนาสมรรถภาพทางความรู้ความคิด คือ
1. การอ่านทั่วไป
2. การอ่านโดยใช้วิจารณญาณ
3. การอ่านด้วยหลักเหตุผล

1. การอ่านทั่วไป

1.1 ทักษะการอ่านทั่วไปที่ควรได้ฝึกฝนอย่างสม่ำาเสมอ คือ การอ่านให้รู้เรื่อง เป็นทักษะพื้นฐานที่ต้องสร้างให้เกิด ขึ้น หากทักษะนี้ขาดไปทักษะการอ่านในระดับ อื่น ๆ ก็จะขาดไปเลย โดยมีหลักการดังนี้
• ควรมีพื้นฐาน ความรู้ในเรื่องที่อ่านอยู่บ้าง
• ควรอ่านจากข้อความสั้น ๆ ก่อนแล้วขยายไปสู่การอ่านข้อความที่ยาว ๆ
• ควรอ่านข้อความที่ง่ายไม่ซับซ้อนมากนักแล้วค่อยพัฒนาไปอ่านข้อความที่ยากขึ้นสลับซับ ซ้อนขึ้น
• ควรอ่านให้จบตอนหรือให้จบเรื่อง 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย
• มีความสามารถในการตีคําตีความ
• ตั้งคําถามในแต่ละตอนหรือในเรื่องที่อ่านจบไปแล้วว่าผู้เขียนมีแนวคิดหรือมีจุด ประสงค์อย่างไร
• ตั้งคําถามว่าในแต่ละส่วน แต่ละตอน ใจความสําคัญที่ผู้เขียนต้องการเสนอนั้นคืออะไร อยู่ตรงส่วนใด ของย่อหน้าหรือของตอน
• ในกรณีข้อเขียนเป็นเหตุการณ์หรือมีตัวละครแสดงพฤติกรรม ควรได้ตั้งคําถามว่า ใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ผลเป็นอย่างไร
• รวบรวมเรียบเรียงประเด็นหรือเรื่องราวที่ได้จากการอ่านแล้วบันทึกไว้ให้เรียบร้อย

1.2 การอ่านเร็วและเข้าใจ ผู้ที่อ่านสารได้เร็วย่อมได้เปรียบ แต่จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ หลายประการเช่น ความยากง่ายของเรื่องที่อ่าน คุณภาพของสาร กลวิธีการเขียน คุณภาพของผู้อ่าน เป็นต้น การอ่านเร็วเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนได้ โดยมีหลักการดังนี้
• อ่านเป็นกลุ่มคําหรือประโยค โดยการกวาดจับสายตาไปอย่างรวดเร็วไม่อ่านไปทีละคํา แต่อาศัยช่องไฟ ส่วนขยาย ช่วงพักสายตาเป็นการหยุดช่วงตอน
• ประสานหน่วยความคิดให้เข้ากับตัวอักษร ไม่สะดุดเป็นช่วง ๆ จนขาดตอนแห่งความคิด ส่วนที่ไม่เข้าใจให้ผ่านไปก่อนเมื่อต้องการที่จะหาความหมาย จึงค่อยกลับมาอ่าน ทบทวนภายหลัง ไม่ พะวงในส่วนที่ไม่เข้าใจนั้นจะละเลยข้อความที่จะอ่านต่อไป
• อ่านเฉพาะใจความสําคัญ ข้อเขียนที่แบ่งเป็นย่อหน้าชัดเจน เช่น เรียงความ บทความ ใจความสําคัญ มักจะอยู่ ส่วนต้นหรือท้ายย่อหน้า หากไม่มีเวลาอาจจะอ่านเฉพาะส่วนนั้นที่คิดว้าเป็นใจความสําคัญ แล้วค่อยนําใจความสําคัญที่ คัดเลือกไว้มาเรียบเรียงใหม่ภายหลังก็ได้

1.3 การอ่านโดยละเอียด เป็นการอ่านที่ไม่คุ้นเคย หรือสารที่จะต้องวิเคราะห์วิจารณ์ การอ่านเพื่อการศึกษา อย่างแท้จริงต้องการความเข้าใจอย่างลึกซึ้งหรือต้องการอรรถรสทางภาษาจําต้องอ่านโดยละเอียด เพื่อจะได้วินิจสารได้ ทั้งแนวกว้างและแนวลึก
หลักการอ่านโดยละเอียดควรพิจารณาดังนี้
• ต้องมีทักษะในการอ่านเร็ว เพราะการอ่านโดยละเอียดต้องใช้เวลามากจึงต้องอ่านอย่างรวดเร็ว
• รู้หลักการเขียนในลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะหลักการเขียนในสิ่งที่อ่านว่ากลวิธีการเสนอเรื่องราว และ การให้รายละเอียดผู้เขียนมีกลวิธีอย่างไร การรู้เขา รู้เราจะทําให้การอ่านบรรลุผลอย่างรวดเร็วและถูก ต้อง
• รู้จักทั้งชนิดของคํา ความหมายของคํา และวิธีการใช้คํา
• มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่อ่านดีพอ จะทําให้เข้าใจเรื่องราวได้ง่าย หากยังไม่มีประสบการณ์ ควรได้ ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรือสอบถามจากผู้รู้

2. การอ่านโดยใช้วิจารณญาณ การอ่านโดยใช้วิจารณญาณนับว่าสําคัญยิ่ง เพราะเป็นการอ่านเพื่อให้รู้เท่าทันผู้เขียน เท่าทันข้อเขียน สามารถประเมินค่าและเลือกหาแนวทางสู่การปฏิบัติได้ การอ่านโดยใช้วิจารณญาณมีส่วนที่ต้องพิจารณาดังนี้

1. เข้าใจนัยของเรื่อง นัยของเรื่องคือแนวคิดหรือเจตนาของเรื่องเป็นการอ่านระดับลึก ไปกว่าการอ่านเพียงเพื่อรู้และเข้าใจในเนื้อหา แต่เป็นการนําเอาการรู้เห็นของผู้อ่านทั้งหมดมาประมวลกันเข้าแล้วชี้ ออกมาว่าแนวคิดหรือเจตนาของผู้เขียนที่ต้องการหรือที่แฝงเร้นเอาไว้คืออะไร การเข้าใจนัยของเรื่องต้องอาศัยคุณสมบัติของผู้อ่านดังนี้
1.1 เข้าใจความหมายของถ้อยคําทั้งความหมายตรง ความหมายแฝงเร้น หรือคํา เฉพาะใน วงการวิชาชีพหรือในกลุ่ม และความหมายของคําด้วยการประมวลจากบริบท รวมไปถึงกลุ่มคําหรือวลีที่ความหมายแฝงเร้นอยู่
1.2 เข้าใจในทัศนคติ อารมณ์ ความรู้สึกของผู้เขียน โดยการพิจารณาการใช้ถ้อยคํา สํานวน น้ำเสียง ลีลา ท่าที ว่าผู้เขียนมีทัศนคติ อารมณ์ ความรู้สึกอย่างไร เช่น พอ ใจ ไม่พอใจ ชอบ ไม่ชอบ หรือแฝงไว้ด้วยการเยาะเย้ย ถากถาง ประชดประชัน แดก ดัน อวดรู้ เคร่งขรึม เป็นการเป็นงาน ฯลฯ
1.3 เข้าใจความคิดและความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อว่าที่สุดแล้วผู้เขียนต้องการ อะไร เช่น ให้ปรับปรุงแก้ไข ให้ดําเนินการใหม่ เลิกล้ม แนะนํา เชิญชวน วิงวอน ขอ ร้อง ฯลฯ หากผู้อ่านอ่านด้วยมีจิต วิญญาณแห่งการวิเคราะห์วิจารณ์ จะมองเห็น จุดประสงค์ของผู้เขียนได้ การจะให้ถึงการมองเห็นจุดประสงค์ของผู้เขียนต้อง อาศัยองค์ประกอบมาประมวลเป็นความคิดของ ตนเอง โดยการพิจารณาด้วยใจ เป็นกลางไม่อคติ ด้วยประการทั้งปวง เมื่อเห็นแล้วผู้อ่านจะโต้แย้งหรือคล้อยตาม อย่างไรเป็นสิ่งที่อยู่นอกประเด็นการวิจารณญาณในระดับนี้
1.4 รู้จักความหมายในสํานวนโวหารต่าง ๆ ทั้งที่เป็นความหมายสํานวนโวหารโดยตรง หรือ โดยแฝงไว้ ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ประสบการณ์ในการตีความหมาย

2. การรู้จักผู้เขียน ข้อเขียนบางข้อเขียนผู้เขียนอาจบอกชื่อตนเองเอาไว้แต่บางข้อเขียนอาจใช้นาม แฝง หรืออาจไม่ลงนามใด ๆ ในข้อเขียนนั้น ๆ ก็ได้ ผู้อ่านควรรู้จักผู้เขียนว่าเป็นใคร เพศ วัย การศึกษา อาชีพ และทัศนคติอย่างไร ในกรณีที่ข้อเขียนนั้นไม่ ได้ลงชื่อจริงของผู้เขียนเอาไว้ ผู้อ่านควรจะได้พิจารณาส่วนต่าง ๆ จากข้อความนั้นแล้วนํามาประมวลคาดคะเนว่าผู้เขียนน่าจะเป็นใคร คําว่าน่าจะเป็นใครไม่ใช่ว่าชื่อสกุลอย่างไร แต่รู้ในส่วนอื่น เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ ทัศนคติ การรู้จักผู้เขียนในลักษณะดังกล่าวจะทําให้พิจารณาข้อเขียนได้ง่ายขึ้นว่าข้อเขียนน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร ควรค่า แก่การรับฟังหรือไม่ หรือผู้เขียนมีจุดประสงค์อะไร อนึ่ง การคาดคะเนนั้นเพียงแต่เป็นการมองอย่างเป็นภาพรวมเท่านั้น มิได้เป็นสิ่งประกันว่าสิ่งที่คาด คะเนนั้นถูกต้องเสมอไป การรู้จักผู้เขียนทําให้ผู้อ่านรู้เท่าทันในความคิดอ่านจากข้อเขียนนั้น ไม่คัดค้านหรือสนับสนุน จนขาดเหตุผล

3. การเข้าใจในความสัมพันธ์ของสาร คือการนําส่วนต่าง ๆ มาพิจารณาถึงสัมพันธภาพตั้งแต่ความ หมาย นัยของสาร การรู้จักผู้เขียน เพื่อผลสุดท้ายคือการประเมินคุณค่าของข้อเขียน วิธีการแห่งการหาความสัมพันธ์ของสารอาจพิจารณาได้ดังนี้
3.1 สามารถเปรียบเทียบสารในแง่มุมต่าง ๆ ได้ว่าเหมือน ต่าง สอดคล้องกันอย่างไร เช่น เหตุผล กลวิธีการ นําเสนอ แนวคิดหลักกับแนวคิดย่อย โครงเรื่องใหญ่กับโครงเรื่องย่อย ใจความสําคัญกับส่วนขยาย เป็นต้น
3.2 เข้าใจพฤติกรรมความคิดของบุคคลหรือตัวละคร โดยปกติแนวคิดของบุคคลส่งผลต่อ พฤติกรรม จึง ควรพิจารณาว่าพฤติกรรมของบุคคลสอดประสานกับแนวคิดหรือไม่ หรือเป็น พฤติกรรมเสแสร้ง แนว คิดและพฤติกรรมของบุคคลหรือตัวละครแต่ละตัวมีความสัมพันธ์ต่อกัน สอดคล้องกัน กลมกลืนกัน หรือไม่อย่างไร นอกจากนั้นยังมีส่วนประกอบอื่นที่เสริมหนุนแห่ง พฤติกรรมสัมพันธ์ของตัวละคร เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ ปทัสถานทางสังคม ฯลฯ ผู้อ่านก็ควร พิจารณาว่าสอดรับกันหรือไม่ มากน้อย เพียงไรการที่ผู้อ่านมองเห็นความสัมพันธ์เหล่านี้จะทําให้เข้าใจเรื่องราวเหตุการณ์ได้ง่ายเข้าใจจุด ประสงค์ของผู้เขียน เข้าถึงแนวคิด และสามารถนํามาประมวลเพื่อประเมินค่าในที่สุด
3.3 การนําสารที่ได้ไปใช้ การอ่านเพียงเพื่อทราบหรือประดับความรู้อย่างเดียวย่อมไม่เกิด ประโยชน์เท่าที่ ควร ดังนั้นหลังจากอ่านแล้วควรจะได้นําสิ่งที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ให้เกิดผลต่อเรื่องโดยการ สรุปเป็นหลัก การและวิธีการ การนําสารไปใช้สามารถใช้ได้หลายลักษณะ เช่น

3.3.1 นํามาจัดเป็นหลักการทฤษฎีหรือวิธีการ
3.3.2 นําไปเผยแพร่สู่บุคคลอื่นด้วยการพูดหรือการเขียน
3.3.3 นําไปปฏิบัติให้เกิดผลต่อตนเอง เช่น อ่านเรื่องการติดตาต่อกิ่งต้นไม้ ก็ สามารถนําไปปฏิบัติได้
3.3.4 นําไปประยุกต์หรือพัฒนาต่อเนื่อง เช่น อ่านหลักการหรือวิธีการเรื่องการถนอม อาหารสับปะรด อาจ จะนําไปทดลองประยุกต์ใช้กับการถนอมอาหารประเภท อื่น ๆ หรือคิดหาหนทางรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ การจัด หาตลาด หรือพัฒนาใน แนวทางอื่น ๆ โดยอาศัยความรู้ความคิดที่ได้จากการอ่านเป็นพื้นฐาน

3. การอ่านด้วยหลักเหตุผล

การอ่านด้วยหลักเหตุผลเป็นการอ่านในขั้นสูง เพราะไม่เพียงแต่ให้เข้าใจความหมายอย่างเดียว แต่ต้องรู้เท่าทันความถูกผิดที่แฝงอยู่ในความหมายของสารนั้นแล้วจึงประเมินค่าว่าสารนั้นดีหรือเหมาะสม เพียงไร การอ่านด้วยหลักเหตุผลต้องใช้วิจารณญาณระดับสูงที่ต้องอาศัยทักษะหลายทักษะคือ
3.1 เหตุผลที่พิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ส่วนใดที่ผู้เขียนเสนอไว้เป็นโวหาร เปรียบเทียบ เช่น ตํานานทางอภินิหารต่าง ๆ การพิจารณาแยกแยะความจริง ไม่จริง ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้เขียน กล วิธีการเขียนข้อมูลด้าน บุคคล กาลเวลา และประสบการณ์ของผู้อ่านตลอดจนวิจารณญาณ สิ่งเหล่านี้ ผู้อ่านจะต้องมีสามัญสํานึก ด้วยความรอบรู้ด้วยความคิดที่จะพิจารณาทั้งด้านข้อเท็จจริง ทัศนะ และ เจตนาของผู้เขียนที่ปรากฏอยู่ในข้อ เขียนนั้น
3.2 ควรพิจารณาข้อมูลและความคิดเห็น คือผู้อ่านต้องแยกให้ออกว่าส่วนใดเป็นข้อมูลหรือข้อ เท็จจริง ส่วนใดเป็นข้อคิดเห็น ข้อเขียนบางครั้งที่ผู้เขียนได้แยกให้เห็นได้ระหว่างข้อมูลกับความคิดเห็นผู้ อ่านก็ ไม่สับสน แต่บางข้อเขียนไม่ได้แยกไว้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้เขียนต้องแยกให้ออก เพื่อจะไปประเมินค่า แห่งความน่าเชื่อถือหรือปฏิบัติ
3.3 ควรรู้เท่าทันการโฆษณาชวนเชื่อ คือผู้อ่านต้องรู้เท่าทันในจุดประสงค์ของผู้เขียนว่าส่วนใด เป็นวัตถุประ สงค์โดยตรง ส่วนใดเป็นวัตถุประสงค์แอบแฝงเพื่อให้คล้อยตาม เครื่องมือในการพิจารณาคือ การอ่าน อย่างมีวิจารณญาณ อาทิ การโฆษณาจะอาศัยหลักจิตวิทยาโน้มน้าวและอาศัยภาษาเพื่อน้อมนํา เช่น ใช้ ถ้อยคําเร้าอารมณ์ ชวนเป็นพวกเดียวกัน อ้างคนมีชื่อเสียงขู่ให้กลัว หว่านล้อม เป็นต้น ดังนั้นการ จะเชื่อหรือ ไม่เชื่อในข้อมูลใดผู้อ่านควรจะได้พิสูจน์ทราบเสียก่อนเสมอ
3.4 ควรรู้เท่าทันการใช้เหตุผลว่าถูกต้องหรือไม่ คือผู้อ่านต้องมีหลักการพิจารณาว่าการไม่สม เหตุสมผลใน ข้อมูลมีลักษณะอย่างไรบ้าง เช่น การใช้ภาษากํากวม การอ้างเหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล การ เหมาว่า เป็นพวกเดียวกัน อ้างเหตุผลจากคนละเรื่องคนละประเด็น เหตุผลขัดแย?นเอง การอ้างเหตุผลผิด หรืออ้างเหตุผลที่อยู่บนพี้นฐานของความมีอคติ เป็นต้น

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2004
Revised:Junr 2004