***เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน***


ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล/ ผศ.ฟ้อน เปรมพันธ์/ ผศ.วิไลวรรณ สันถวะโกมล/
อาจารย์ราตรี แจ่มนิยม/ อาจารย์นงนุช ถ้วยทอง
โปรแกรมวิชาการศึกษาทั่วไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน
(Course Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบการสอน
(Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ
(Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet
(Resources about the Internet and Its Tools)

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์
(On-Line Journals and Magazines)

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

วิธีการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ

การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการอ่านที่มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของสารที่อ่านได้อย่างถูกต้อง ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการและสามารถสรุปความ หรือขยายความข้อความที่อ่านได้อย่างรวดเร็วอีกทั้งสามารถนําไป ใช้ประโยชน์ตามที่ตนตั้งจุดประสงค์ไว้ได้ การที่จะอ่านอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น ผู้อ่านควรมีวิธีการฝึกฝนการอ่าน ของตนเองดังนี้
1. กําหนดจุดมุ่งหมายในการอ่าน การอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพผู้อ่านต้องกําหนดจุดมุ่งหมายใน การอ่านหนังสือให้แน่นอน เพื่อสามารถกําหนดจิตใจในการรับรู้ข้อความที่อ่านแต่ละครั้ง เช่น ต้องการเพียงแค่รู้ เรื่องราว หรือต้องการถึงขั้นแสดงความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งที่ตนอ่านได้ หรือ ต้องการถึงขนาดจดจําสาระสําคัญต่าง ๆ ได้ด้วย
2. การสํารวจข้อมูล ผู้อ่านควรศึกษาเกี่ยวกับผู้แต่ง เวลาที่แต่ง เวลาที่จัดพิมพ์ สถาบันที่จัดพิมพ์ เพื่อ ศึกษาภูมิหลังของหนังสืออันจะช่วยเสริมให้ผู้อ่านมีความรู้ ความเข้าใจในความเป็นมาของหนังสือ นั้นมากขึ้น
3. ศึกษาส่วนประกอบของหนังสืออย่างคร่าว ๆ ได้แก่ คํานําของหนังสือ หรือบทนํา เพราะจะทําให้ เรา ได้ทราบจุดมุ่งหมายโดยตรงของผู้เขียนหรือผู้จัดพิมพ์ทั้งยังอาจจะทําให้ทราบแนวโน้มของ หนังสือเล่มนั้น ๆ อย่างแน่ชัด เช่น เพื่อเผยแพร่วิชาการ หรือเพื่อเสนอปัญหา หรือเพื่อแก้ปัญหา เป็นต้น
4. อ่านอย่างมีสมาธิ การอ่านอย่างมีสมาธิ จะทําให้ผู้อ่านรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากําลังอ่านอะไร เพื่อ อะไร มีข้อความและแนวความคิดเรียงมาเป็นลําดับอย่างไร จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถจําเนื้อหาที่ อ่านได้เป็นอย่างดี
5. ฝึกอ่านให้เป็นนิสัย โดยพยายามฝึกอ่านหนังสือสม่ำาเสมอ อ่านหนังสือทุกชนิดเท่าที่โอกาสจะ อํานวย อ่านบ่อย ๆ จนเป็นกิจวัตรไม่จําเป็นต้องอ่านเมื่อมีเวลาว่างเท่านั้น
6. ตั้งคําถามทบทวนในขณะที่อ่านอยู่เสมอ ในขณะที่อ่านหนังสือควรตั้งคําถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านว่า ใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วพยายามหาคําตอบในใจอยู่ตลอดเวลา จะทําให้เราเป็นผู้ อ่านอย่างมีจุดมุ่ง หมาย มิใช่อ่านอย่างเคว้งคว้าง
7. อ่านโดยฝึกสร้างภาพขึ้นในใจ จะทําให้การอ่านเข้าใจง่ายขึ้น และจดจําสิ่งที่อ่านได้เป็นอย่างดี หนังสือบางชนิดนอกจากจะให้ความรู้แล้วยังสร้างมโนภาพให้แก่ผู้อ่านด้วย การสร้างภาพขึ้นในใจ ตามที่ผู้เขียนวาด ไว้ จะทําให้ได้รสชาติและได้ความเพลิดเพลินมากขึ้น
8. อ่านโดยรู้จักเพิ่มเติมข้อความที่บกพร่อง ในขณะที่อ่านหนังสือนั้นผู้ที่คิดตามและตั้งคําถามเกี่ยวกับ เรื่องที่อ่านอยู่เสมอ และพบว่าสิ่งที่อ่านยังไม่สมบูรณ์หรือเขียนไว้ไม่ชัดเจน และสามารถเติมข้อ ความหนังสือนั้นได้ ย่อมจะทําให้ผู้อ่านนอกจากจะได้ความรู้จากเรื่องที่อ่านแล้วยังเป็นการฝึกขยาย ความคิดให้กว้างขวางออกไปอีกด้วย
9. ความพร้อมทางร่างกาย การจะอ่านให้มีประสิทธิภาพนั้นผู้อ่านควรมีความพร้อมทั้งทางด้านร่าง กาย และจิตใจ เช่น การมีสุขภาพสมบูรณ์ สายตาดี มีทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน อารมณ์ไม่หงุดหงิด ตื่นเต้น เสียใจ หรือ กังวลใจ เป็นต้น เพราะถ้าสภาพความพร้อมทางร่างกายของผู้อ่านไม่ดีพอย่อม ทําให้สมรรถภาพทางการอ่านลด น้อยลง การอ่านก็จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร
10. เข้าใจลักษณะงานเขียนแต่ละประเภท ผู้อ่านที่ดีควรมีความรู้ความเข้าใจลักษณะงานเขียนแต่ละ ประเภท เพื่อทําความเข้าใจเรื่องที่อ่านได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และอย่างลึกซึ้ง เพราะงานเขียนแต่ ละประเภทจะมี วิธีการอ่านที่แตกต่างกัน เช่น การอ่านหนังสือบันเทิงคดี ได้แก่ นิทาน วรรณคดี นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร ฯลฯ เป็นเรื่องสมมุติที่มุ่งให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน มากกว่า ความรู้ ในขณะที่ สารัตถคดี เช่น ตํารา ข่าว บทความ สารคดี ฯลฯ เป็นงานเขียนที่มุ่งให้ความรู้ หรือความคิดแก่ผู้อ่าน เป็นต้น

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2004
Revised:Junr 2004