***เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน***


ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล/ ผศ.ฟ้อน เปรมพันธ์/ ผศ.วิไลวรรณ สันถวะโกมล/
อาจารย์ราตรี แจ่มนิยม/ อาจารย์นงนุช ถ้วยทอง
โปรแกรมวิชาการศึกษาทั่วไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน
(Course Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบการสอน
(Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ
(Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet
(Resources about the Internet and Its Tools)

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์
(On-Line Journals and Magazines)

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

ความหมายของการอ่าน
การอ่านมีความสําคัญอย่างมากสําหรับคนเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาวิชาการต่าง ๆ การอ่านทํา ให้เราทราบความรู้สึกนึกคิดของคนทั้งในอดีตและปัจจุบัน ช่วยเพิ่มพูนสติปัญญา ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหา ตลอดจนทําให้เราเข้าใจและเข้าถึงหนังสือต่าง ๆ ได้และในโลกปัจจุบันนี้การอ่านจะจําเป็นสําหรับเราทุกคนมาก เพราะเราต้องทราบข่าวสารให้ทันกันความเจริญก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงของโลก นอกจากนี้เราต้องอ่านเพื่อ การดํารงชีวิตประจําวันให้มีความสุขและมีคุณภาพ ได้แก่ การอ่านฉลากยา ป้ายจราจร ป้ายห้างร้าน ป้ายโฆษณา แบบฟอร์มที่ต้องเติมข้อความ ฯลฯ กิจกรรมการอ่านจึงจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับมนุษย์เราและเป็นกิจกรรมที่ต้อง กระทําต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพราะความสามารถในการอ่านจะมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการศึกษาค้นคว้าหาความ รู้ ดังนั้นคนเราจึงต้องฝึกฝนตนเองให้มีนิสัยรักการอ่านและเป็น นักอ่านอย่างมีคุณภาพ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2538 : 941) ให้ความหมายการอ่านไว้ว่า "อ่าน หมายถึง ว่าตามตัวหนังสือออกเสียงตามตัวหนังสือดูหรือเข้าใจความจากตัวหนังสือ สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้ เข้าใจ" วิจิตรา แสงพลสิทธิ์และคณะ (2519 : 133) กล่าวถึงความหมายของการอ่านไว้ดังนี้ "การอ่านในใจ คือ การแปลความหมายของตัวอักษรออกมาเป็นความคิดและนําความคิดนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ การอ่านออกเสียง คือ การเปล่งเสียงถ้อยคําและเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เขียนไว้ออกมาให้ชัดถ้อยชัดคํา และให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ฟัง"
ชวน เพชรแก้ว (2522 : 4) ได้กล่าวถึงความหมายของการอ่านไว้ว่า "การอ่าน คือ การแปลความ หมายของตัวอักษรออกมาเป็นความคิด และนําความคิดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตัวอักษร คือ เครื่องแทนคําพูด และคําพูดก็เป็นเพียงเสียงที่ใช้แทนของจริงอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นหัวใจของการอ่านจึงอยู่ที่ การเข้าใจความหมายของคํา" ดังนั้นถ้ากล่าวโดยสรุปแล้ว การอ่าน หมายถึง พฤติกรรมการรับสารอย่างหนึ่งที่ผู้อ่านพยายามทําความ เข้าใจสารทั้งวัจนสาร (สารที่สื่อด้วยคําพูด) และอวัจนสาร (สารที่สื่อด้วยสัญลักษณ์อย่างอื่น) จากนั้นผู้อ่านเกิด ความคิด ความเข้าใจแล้วสามารถนําความคิด ความเข้าใจนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2004
Revised:Junr 2004