บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
วิชา 1065106
มนุษยสัมพันธ์สำหรับผู้บริหาร
Human Relations for Administrators
ผู้สอน
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
***ความรู้คืออำนาจ เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


แนวสังเขปรายวิชา

สารบัญ
เนื้อหาวิชา

กิจกรรม
การเรียนการสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล

ตำราประกอบ
การสอน

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศ
ประกอบ
การเรียนการสอน

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ Internet

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน


Home

องค์ประกอบของการบริหารงานที่ดี

การบริหารงานที่ดีควรมีองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ผู้นำหรือผู้บังคับบัญชา ผู้ปฏิบัติงาน และ บรรยากาศในการทำงาน

1. ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง หรือได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้าทำหน้าที่ตัดสินใจ มีความสามารถในการควบคุมปกครอง บังคับบัญชา และนำผู้ใต้บังคับบัญชาไปในทิศทางใดก็ได้ ผู้นำบางคนได้รับการแต่งตั้งเป็นทางการ บางคนไม่ได้รับการแต่งตั้ง แต่สามารถควบคุมบังคับบัญชาและชักจูงให้ผู้อื่นร่วมมือในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ ก็นับว่ามี "ภาวะผู้นำ" คำว่า ผู้นำมีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น หัวหน้า ผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ผู้จัดการ เป็นต้น ผู้นำมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีความเกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์มากบ้าง น้อยบ้าง
1.1 ประเภทของผู้นำ
1.1.1 ผู้นำที่จำแนกตามการใช้อำนาจหน้าที่
1.1.1.1ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leader) เชื่อมั่นตนเอง ชอบสั่งการ ตัดสินใจตามอารมณ์ ผูกขาดการตัดสินใจที่ตัวคนเดียว
1.1.1.2 ผู้นำแบบตามสบาย
1.1.1.3 ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic leader) ถือเอาความคิดของกลุ่มเป็นหลัก ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ปัจจุบันถือว่า เป็นแบบผู้นำที่ดีที่สุด
1.1.2 ผู้นำจำแนกตามพฤติกรรมของฟลานาแกน จอห์น ฟลานาแกน (John C. Flanagan) ได้ศึกษาลักษณะพฤติกรรมของหัวหน้า และได้แบ่งผู้นำตามลักษณะออกได้เป็น 3 ประเภท (Flanagan, 1961, pp.282-283) คือ
1.1.2.1 ผู้นำที่มุ่งแต่งานเป็นสำคัญ มีลักษณะพฤติกรรมแสดงออกเป็นเผด็จการ
1.1.2.2 ผู้นำที่ตระหนักถึงผลงานและความพอใจของทุกฝ่าย เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมแบบประชาธิปไตย
1.1.2.3 ผู้นำที่ถือว่าประสิทธิภาพของการทำงานสูงได้เนื่องจากน้ำใจ ผู้นำประเภทนี้ถือว่าน้ำใจหรือสิ่งตอบแทน เป็นสิ่งสำคัญที่กระตุ้นให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูง
1.1.3 ผู้นำ่จำแนกตามลักษณะของเรดดิน เรดดิน (William J. Reddin) ได้กำหนดลักษณะของผู้นำเป็น 8 ลักษณะ (Reddin, 1970, pp.215-234) คือ
1.1.3.1 ผู้ทนทำหรือผู้นำแบบทิ้งงาน (deserter) เป็นลักษณะผู้นำที่ไม่มีความสนใจ ในงาน ไม่มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ขัดขวางผู้อื่น ไม่ยอมรับความผิดพลาด ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก ผู้ร่วมงานจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว ขาดขวัญกำลังใจ และผลสำเร็จของานไม่บรรลุผลตามที่ตั้งไว้
1.1.3.2 ผู้เอาใจหรือผู้นำแบบนักบุญ (Missionary) เป็นลักษณะผู้นำที่มุ่งแต่เพียง สัมพันธภาพอันดีเหนือสิ่งอื่นใด มีความเกรงใจต่อทุกคน ไม่กล้าว่ากล่าวตักเตือนผู้ใด ไม่โต้แย้งหรือคัดค้านการกระทำใด ๆแม้จะไม่เห็นด้วย พร้อมที่จะเปลี่ยนใจเสมอ เพื่อจะรักษาความสงบเรียบร้อยไว้ให้ได้ ผลของงานมักจะหย่อนประสิทธิภาพ
1.1.3.3 ผู้คุมงานหรือผู้นำแบบเผด็จการ (Autocrat) ผู้นำแบบนี้ใช้อำนาจในการ บริหารงาน เป็นลักษณะผู้นำที่มุ่งงานอย่างเดียว มิได้ คำนึงถึงอย่างอื่น ไม่ไว้วางใจผู้อื่น เชื่อมั่นในตนเองสูง ขาดสัมพันธ์ภาพกับผู้ร่วมงาน มักใช้วิธีการสั่งสอน ผู้ร่วมงานจะตกอยู่ภายใต้ความกลัวตลอดเวลา ไม่กล้าริเริ่มหรือโต้แย้งกับหัวหน้า
1.1.3.4 ผู้ยอมความหรือผู้นำแบบประนีประนอม (Compromiser) เป็นลักษณะผู้นำที่ ยอมรับว่า ความสำเร็จของงานและสัมพันธ์ภาพกับผู้ร่วมงานเป็นสิ่งสำคัญ พยายามที่จะให้ได้ทั้งสองอย่าง แต่ขาดความสามารถไม่กล้าตัดสินใจ ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เวลาเกิดปัญหาผู้นำแบบนี้ใช้วิธีการประนีประนอมอยู่ตลอดเวลา
1.1.3.5 ผู้นำที่ทำตามกฎ (Bureaucrat) เป็นลักษณะผู้นำที่สนใจทั้งคนและงาน ยึดถือ กฎระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด มีความเข้มงวด ลูกน้องมีความพึงพอใจซึ่งเป้าหมายร่วมกัน คือ ความสำเร็จ ผู้นำเช่นนี้พบได้เสมอในระบบราชการทั่วไป
1.1.3.6 ผู้สอนแนะหรือผู้นำแบบพัฒนา (Developer) เป็นลักษณะผู้นำที่ทํ างานร่วมก ผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการจูงใจผู้อื่น สนใจการพัฒนาตัวบุคคล รู้จักมอบหมายหน้าที่การงานให้ผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสม ไม่ใช่วิธีการรุนแรง มีความสุภาพนิ่มนวล ผู้ร่วมงานมักจะเลื่อมใส วางใจ
1.1.3.7 ผู้บุกงานหรือผู้นำแบบเผด็จการที่มีศิลปะ (Benevolent Autocrat) เป็น ลักษณะผู้นำที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีจิตใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมุ่งผลงานเป็นหลัก มีศิลปะในการปฏิบัติงาน มีทักษะและประสบการณ์ดี งานมีผลผลิตสูง เป็นแบบที่เหมาะสมกับวงการอุตสาหกรรม
1.1.3.8 ผู้นํ าแบบนักบริหาร (Executive) เป็นลักษณะผู้นำที่มีความกระตือรือร้น รู้จักใช้ความ สามารถของผู้ร่วมงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด วางมาตรฐานในการทำงาน มีประสิทธิภาพในการ ทำงาน เอาใจใส่และรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่ม เปิดเผย ยอมรับความคิดเห็นของผู้ร่วมงานด้วยใจ ที่เป็นธรรม ให้กำลังใจผู้ร่วมงาน สนใจในวิชาความรู้ใหม่ ๆ ปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเวลา มีผล งานดี กิจการมีความก้าวหน้า เกิดความพึงพอใจทั้งผู้ร่วมงานและผู้นำ
จะเห็นได้ว่าผู้นำ 4 ประเภทแรก เป็นผู้นำที่ขาดประสิทธิภาพ
ส่วนผู้นำ 4 ประเภทหลังเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพและมนุษยสัมพันธ์
1.1.4 ผู้นำจำแนกตามระดับความสามารถของเฮอร์เซ และ บลองชาร์ด

เฮอร์เซ และ บลองชาร์ด (hersey & Blanchard, อ้างถึงใน ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ, 2529, หน้า 97-98) ได้จำแนกประเภทของผู้นำตามระดับความสามารถไว้ 4 ประเภท คือ
ผู้นำที่มีความสามารถสูง - สัมพันธภาพกับผู้อื่นต่ำ
ผู้นำที่มีความสามารถสูง - สัมพันธภาพกับผู้อื่นสูง
ผู้นำที่มีความสามารถต่ำ - สัมพันธภาพกับผู้อื่นสูง
ผู้นำที่มีความสามารถต่ำ - สัมพันธภาพกับผู้อื่นต่ำ
ผู้นำประเภทต่างๆ ย่อมมีบทบาทในการบริหารงานในองค์การแตกต่างกันไปตามบุคลิกภาพของแต่ละคน แต่จะสังเกตได้ว่าผู้นำที่มีประสิทธิภาพมักจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน
1.2 การจัดลำดับขั้นการบังคับบัญชาของผู้บริหารในองค์การ การจัดลำดับขั้นการบังคับบัญชาจะเห็นได้ชัดเจนในองค์การรูปนัย คือ องค์การที่เป็นทางการ มีระเบียบ กฎเกณฑ์ และรูปแบบการบริหารที่ชัดเจน การจัดกลุ่มผู้บริหารตามลำดับขั้นของการบังคับบัญชา สามารถจัดแบ่งกลุ่มผู้บริหารได้ 3 กลุ่ม คือ
1.2.1 ผู้บริหารระดับสูง
1.2.2 ผู้บริหารระดับกลาง
1.2.3 ผู้บริหารระดับต้น

2. ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา มีธรรมชาติ ความต้องการ และบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน การที่บุคคลมีมีความแตกต่างกันจึงทำให้ยากต่อการบังคับบัญชา

3. บรรยากาศในองค์การ เป็นองค์ประกอบที่จะขัดขวางหรือเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่องค์ประกอบด้านปัจจัยแวดล้อม ด้านโครงสร้างขององค์การ ด้านวิธีดำเนินงานขององค์การ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และด้านค่านิยมและมาตรฐานพฤติกรรม เป็นต้น

ที่มา

ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ. (2529). จิตวิทยาธุรกิจ.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มมหาวิทยาลัย.

สมพร สุทัศนีย์, ม.ร.ว. (2551). มนุษยสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 9).

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Flanaga, J. C. (1961). Leadership skill:Identification,

development and evaluation. In Potello,L., & Bass, B. M.
Leadership and interpersonal behavior.
New York: Holt Rinehart & Winston.

Reddin, W. G. (1970). Managerial effectiveness.

New York: McGraw-Hill Book.

 


Send comments to chumpot@hotmail.com
Copyright © 2011
Revised: July 2011