ประเทศสิงคโปร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐสิงคโปร์
Republic of Singapore (อังกฤษ)
新加坡共和国 (จีน)
Republik Singapura (มาเลย์)
சிங்கப்பூர் குடியரசு (ทมิฬ)
คำขวัญMajulah Singapura
("สิงคโปร์จงเจริญ")
เพลงชาติMajulah Singapura
แผนที่ประเทศสิงคโปร์ (สีเขียว)ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สีเทาเข้ม)
แผนที่ประเทศสิงคโปร์ (สีเขียว)
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สีเทาเข้ม)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
สิงคโปร์1
1°17′N 103°51′E / 1.283°N 103.85°E / 1.283; 103.85
ภาษาทางการ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษามาเลย์ ภาษาทมิฬ
การปกครอง สาธารณรัฐ
 -  ประธานาธิบดี โทนี ตัน เค็ง ยัม
 -  นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง
เอกราช
 -  ประกาศฝ่ายเดียว (จาก อังกฤษ) 31 สิงหาคม พ.ศ. 2506 
 -  จาก อังกฤษ (ในฐานะรัฐหนึ่งของมาเลเซีย) 16 กันยายน พ.ศ. 2506 
 -  จาก มาเลเซีย 9 สิงหาคม พ.ศ. 2508 
พื้นที่
 -  รวม 697 ตร.กม. (192)
270 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 1.444
ประชากร
 -  ก.ค. 2553 (ประเมิน) 5,076,700 (114)
 -  2543 (สำมะโน) 4,117,700 
 -  ความหนาแน่น 7,148 คน/ตร.กม. (2)
16,392 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2549 (ประมาณ)
 -  รวม 123.4 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (57)
 -  ต่อหัว 50,180 ดอลลาร์สหรัฐ (4)
ดพม. (2549) 0.916 (สูง) (25)
สกุลเงิน ดอลลาร์สิงคโปร์ (SGD)
เขตเวลา SST (UTC+8)
 -  (DST) Not observed (UTC+8)
ระบบจราจร ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด .sg
รหัสโทรศัพท์ 652
1. สิงคโปร์เป็นนครรัฐ
2. 02 เมื่อโทรฯ จากมาเลเซีย

สิงคโปร์ (อังกฤษ: Singapore) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (อังกฤษ: Republic of Singapore) เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ละติจูด 1°17'35" เหนือ ลองจิจูด 103°51'20" ตะวันออก ( 1°17′N 103°51′E) ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ ติดกับรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย

เนื้อหา

[แก้] ภูมิศาสตร์

ภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นเนินเขา ซึ่งเนินเขาทางภาคกลางเป็นเนินเขาที่สูงที่สุดของประเทศ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของสิงคโปร์ และภาคตะวันออกเป็นที่ราบต่ำ ชายฝั่งทะเลมักจะต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ต้องมีการถมทะเล

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] ช่วงต้น

สิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปลายสุดแหลมมาลายู เป็นสถานพักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลก เดิมชื่อว่า เทมาเส็ก (ทูมาสิค) มีกษัตริย์ปกครอง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเทมาเส็กเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ต่อมาสิงหปุระก็ได้ตกเป็นของสุลต่านแห่งมะละกา

[แก้] ยุคการล่าอาณานิคม

ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป แต่ประมาณปี ค.ศ. 1817 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส แสตมฟอร์ด บิงก์เลย์ แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษก็ยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ

ค.ศ. 1819 เซอร์ แสตมฟอร์ด ราฟเฟิล สำรวจเกาะสิงคโปร์ และก่อตั้งประเทศ

[แก้] สงครามโลกครั้งที่ 2

ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ และก็สามารถยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้ แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง อังกฤษก็ได้ครอบครองสิงคโปร์เหมือนเดิม

[แก้] การรวมชาติเข้ากับมาเลเซีย

เมื่อสิงคโปร์เห็นมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์จึงรีบขอรวมชาติเข้ากับมลายูกลายเป็นสหภาพมลายาทันที เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีก แต่สิงคโปร์ก็ไม่พอใจกับมาเลเซียมากนักเพราะมีการเหยียดชนชาติกัน ทำให้พรรคกิจประชาชนของสิงคโปร์ประกาศให้สิงคโปร์เป็นเอกราชตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 ตั้งแต่บัดนั้นมาในชื่อ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อแยกตัวออกมาแล้วพรรคกิจประชาชนก็ครองประเทศมาตลอดจนถึงทุกวันนี้

[แก้] ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง

ประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ก่อนศตวรรษที่ 14 มิได้ถูกบันทึกอย่างชัดเจนและแน่นอนนัก ในช่วงศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชฌาปาหิตแห่งชวา ต่อมาในต้นศตวรรษที่ 15 ก็อยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรสยาม จนถูกประมุขแห่งมะละกาเข้ามาแย่งชิงไป และเมื่อโปรตุเกสเข้ายึดครองมะละกา สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสในราวปี ค.ศ. 1498 และต่อมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอลันดาในช่วงศตวรรษที่ 17

เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มสนใจสิงคโปร์ ในปี ค.ศ. 1819 อังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี ค.ศ. 1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซ็ตเติลเมนท์ (Straits Settlement) ซึ่งให้บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนัง และมะละกาด้วย และต่อมาในปี ค.ศ. 1857 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี ค.ศ. 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) ของอังกฤษ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1946 จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ (Separate Crow colony) เมื่ออังกฤษกลับมาควบคุมสิงคโปร์อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่สิงคโปร์อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1942-1946)

ในฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศนั้น สิงคโปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดูแลกิจการทหารและการต่างประเทศ และยังมีผู้ว่าราชการจากอังกฤษมาปกครองอยู่ ในสภานิติบัญญัติ (Legislative Council) นั้น อังกฤษเริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกบางส่วน (6 คน จาก 22 คน) ได้ ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาบางส่วนนี้ในปี 1948 พรรคก้าวหน้า (Progressive Party) ของสิงคโปร์ได้ที่นั่งมากที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ. 1951 สมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งถูกเพิ่มเป็น 9 คน ในจำนวน 25 คน และในปี ค.ศ. 1955 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งมีจำนวน 25 คน ในจำนวน 32 คน

ต่อมาอังกฤษให้ชาวสิงคโปร์มีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้นในช่วง 10 ปี ก่อนที่สิงคโปร์จะประกาศเป็นสาธารณรัฐนั้น สิงคโปร์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล 3 ชุด คือ (1) รัฐบาลของนายเดวิด มาร์แชล (David Marshall) จากปี 1955-1956 (2) รัฐบาลของนายลิม ยิว ฮ๊อค (Lim Yew Hock) จากปี ค.ศ. 1956-1959 และ (3) รัฐบาลของนาย ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) ซึ่งภายใต้รัฐบาลนี้สิงคโปร์มีอำนาจในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์แล้ว และนายลี กวน ยูได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ต่อมาในช่วงปี 1963-1965 รัฐบาลชุดนี้ก็ได้ตัดสินใจเข้าไปรวมอยู่ในสมาพันธรัฐมาเลเซีย และอยู่ได้เพียง 2 ปี

นับจากปี ค.ศ. 1965 เมืองสิงคโปร์ประกาศตนเป็นประเทศเอกราช มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง โดยปกครองในรูปของสาธารณรัฐ หลังจากนั้นสิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวเป็นเวลาถึง 25 ปี ซึ่งก็คือ นาย ลี กวน ยู ทั้งนี้เป็นเพราะพรรคกิจประชา (PAP: People’ Action Party) ซึ่งนาย ลี เป็นผู้ก่อตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 นั้นมีชัยชนะในการเลือกตั้งเกือบทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งซ่อม

ทศวรรษ 1990 เป็นจุดเริ่มต้นของกรปรับเปลี่ยนการปกครองสิงคโปร์จากผู้นำกลุ่มเก่า (Old Guards) เป็นผู้นำรุ่นใหม่ (New Guards) นายโก๊ะ จ๊กตง (Goh Chok Tong) ได้รับการคัดเลือกจากพรรคกิจประชาและคณะรัฐมนตรี ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1990 นาย ลี กวน ยู ยังดำรงตำแหน่งอยู่ในรัฐบาลชุดใหม่โดยเป็นรัฐมนตรีอาวุโส และในปี ค.ศ. 1993 สิงคโปร์เริ่มใช้ระบบประธานาธิบดีแบบใหม่ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน

ปัจจุบันปี ค.ศ. 2006 ประเทศสิงคโปร์ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อเลือกผู้นำคนใหม่และทีม เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศต่อไป แต่อย่างไรก็ดี พรรคกิจประชาก็ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นเหมือนอย่างเดิม โดยพรรค PAP ได้รับที่นั่งในฝ่ายรัฐบาล 82 ที่นั่งจาก 84 ที่นั่ง ซึ่งเท่ากับสมัยนายโก๊ะ จ๊กตงได้รับในปี พ.ศ. 2544 แต่ได้คะแนนเสียงลดลงจากสมัยแรกที่ได้ 75.3 เป็น66.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งรัฐบาลนี้ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของนาย ลี เซียน ลุง สมัยที่สองซึ่งรัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันในเรื่องปัญหาคนยากไร้ ผู้สูงอายุและคนว่างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นาย ลี เซียน ลุงจะได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้นั้น เขาได้เน้นโยบายแบ่งปันรายได้ผนวกกับความอ่อนแอและแตกแยกของพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรค PAP ได้ครองอำนาจสืบทอดมาเป็นระยะเวลา 4 ทศวรรษ

[แก้] การเมือง

ระบอบการปกครองของสิงคโปร์ คือ ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเซลลาปัน รามานาทาน เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2542 ส่วนนายกรัฐมนตรีคือ นายลี เซียน ลุง ซึ่งรับตำแหน่งต่อจากนายโก๊ะ จ๊กตง และนายลี กวน ยูซึ่งมีฐานะเป็นบิดาของนาย ลี เซียน ลุง สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียเมื่อปี พ.ศ. 2508 มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขทางพิธีการ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขทางด้านบริหาร สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก เพราะนับแต่ตั้งประเทศเป็นต้นมา มีรัฐบาลที่มาจากพรรคเดียวและเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก และมีการควบคุมสิทธิเสรีภาพของสื่อสารมวลชนและประชาชนในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างค่อนข้างเข้มงวด

[แก้] การต่างประเทศ

[แก้] เศรษฐกิจ

  1. การเพาะปลูก ปลูกยางพารา มะพร้าว ผัก ผลไม้ แต่พื้นที่มีจำกัด
  2. อาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน มีอุตสาหกรรมเบา เช่น ผลิตยางพารา ขนมปัง เครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมหนัก เช่น อู่ต่อเรือ ทำเหล็กกล้า ยางรถยนต์ มีกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้สร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ด้วย
  3. การค้าขาย เป็นท่าเรือปลอดภาษี ประเทศต่าง ๆ ส่งสินค้าต่าง ๆ มายังสิงคโปร์เพื่อส่งออก และสิงคโปร์ยังรับสินค้าจากยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เพื่อส่งไปขายต่อยังประเทศเพื่อนบ้าน มีท่าเรือน้ำลึก เหมาะในการจอดเรือส่งสินค้า

สิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่น แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เพราะสิงคโปร์พัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า โดยเป็นประเทศพ่อค้าคนกลางในการขายสินค้าเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าปลอดภาษี ทำให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูก ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และยังได้เข้าไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชาและพม่า สิงคโปร์มีประชากรน้อยจึงต้องพึงพาแรงงานจากต่างชาติในทุกระดับ สิงค์โปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงให้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่มั่งคั่งที่สุดประเทศนึงในโลก

[แก้] การคมนาคม

ที่ตั้งของสิงคโปร์เป็นเส้นทางระหว่างทวีปยุโรป และเอเซียตะวันตก กับภาคพื้นตะวันออกไกล รวมทั้งภาคพื้นแปซิฟิค ทำให้สิงคโปร์เป็นชุมทางของเส้นทางเดินเรือ และสายการบินระหว่างประเทศ และเป็นแหล่งชุมนุมการค้าขาย ปัจจุบันสิงคโปร์ มีท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเซีย รองจากโยโกฮามาของญี่ปุ่น และเป็นท่าเรือที่มีการขนส่งสินค้ามาก เป็นอันดับสามของโลก

รถไฟฟ้าในสิงคโปร์

การขนส่งทางบก สิงคโปร์มีพื้นที่ไม่มาก ประมาณ 900 ตารางกิโลเมตร แต่ถนนที่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ประมาณ 1,300 กิโลเมตร นอกจากถนนแล้ว ยังมีทางรถไฟอยู่สองสาย มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร ได้มีการสร้างทางรถไฟสายสิงคโปร์ - กรันจิ เมื่อปี พ.ศ. 2446 สมัยรัฐบาล สเตทส์ เซตเติลเมนต์ (Stste Selllement) โดยมีการเดินรถจากสถานีแทงค์โรค ไปยังวู๊ดแลนด์ และมีบริการแพขนานยนต์ ข้ามฟากไปเชื่อมต่อกับทางรถไฟจากแผ่นดินใหญ่ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 การรถไฟแห่งสหพันธ์มลายู ได้รับซื้อกิจการนี้แล้วปรับปรุง ให้เริ่มจากสถานีบูกิตบันยัง ถึงสถานีตันหยงปาการ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 ได้มีการเริ่มสร้างถนนข้ามช่องยะโฮร์ เพื่อให้ทางรถไฟติดต่อถึงกัน ทางรถไฟสายหลัก ข้ามถนนข้ามช่องยะโฮร์มาเลเซีย ตัดกลางประเทศ ลงสู่ใต้ถึงสถานีปลายทาง ที่ใกล้ท่าเรือเคปเปล โดยมีทางแยกเลยเข้าไปในท่าเรือเคปเปลด้วย ทางรถไฟอีกสายหนึ่ง แยกจากสายแรกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ รถไฟสายนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลมาเลเซีย การเดินทางไปในสถานีรถไฟ เพื่อโดยสารถือว่าเป็นการเดินทางผ่านประเทศ ต้องมีการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือเอกสารอย่างอื่นทำนองเดียวกัน

ท่าเรือสิงคโปร์

การขนส่งทางน้ำ มีการขนส่งทางน้ำภายในประเทศ ทางน้ำชายฝั่งและทางน้ำระหว่างประเทศ ทางน้ำภายในประเทศ มีใช้อยู่ในวงจำกัด และไม่ค่อยสะดวก เพราะสิงคโปร์เป็นเกาะเล็ก ๆ และมีแนวชายฝั่งสั้น ภายในเกาะเองก็มีแม่น้ำสายสั้น ๆ และไม่ติดต่อถึงกัน รวมทั้งยังตื้นเขินมาก จึงต้องจำกัดเวลา ในการใช้คือ ในช่วงเวลาน้ำขึ้นเท่านั้น ทางน้ำชายฝั่ง เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศ แต่มีลักษณะเฉพาะของตนเองคือ ใช้เรือเล็ก ท่าเรือเล็กๆ ที่มีจำนวนมากมาย เส้นทางเดินเรือสั้น การให้บริการไม่เป็นประจำ เรือที่เดินตามบริเวณชายฝั่ง มีหลายบริษัท และมีบริษัทที่ให้บริการเป็นประจำไปยังท่าเรืออินโดนิเซีย มาเลเซียตะวันออก และตะวันตก และไทย ทางน้ำระหว่างประเทศ รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานจดทะเบียนเรือของสิงคโปร์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2509 และได้มีการตราพระราชบัญญัติอนุญาตให้มีการจดทะเบียนเรือ ซึ่งเจ้าของอยู่ในต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยมีความมุ่งหมายจะชักจูงเรือสินค้าต่างชาติ ที่ไปจดทะเบียนเป็นเรือสัญชาติไซบีเรีย และปานามา ให้สนใจโอนสัญชาติเป็นเรือสิงคโปร์ได้ ท่าเรือแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 ได้มีการปรัปปรุงท่าเรือสิงคโปร์ ให้สามารถรับเรือคอนเทนเนอร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ และสามารถอำนวยความสะดวก ให้กับเรือบรรทุกน้ำมันขนาดสองแสนตัน หรือมากกว่า ท่าเรือ แต่เดิมใช้ท่าเรือเคปเปล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสิงคโปร์ และมีเกาะเซนโตซา กับเกาะบรานี เป็นที่กำบังลม ต่อมาบริเวณของการท่าเรือ ได้ขยายออกไปจนเกินอาณาบริเวณ ทั้งพื้นที่บนฝั่ง และในทะเลรวม 538 ตารางกิโลเมตร ท่าเรือสิงคโปร์ มีทั้งท่าเรือน้ำลึกตรงที่ท่าเรือเคปเปล มาจนถึงตันจงปาการ์ ท่าเรือสิงคโปร์เริ่มตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของเกาะ เลียมริมฝั่งตะวันตก เรื่อยไปจนถึงฝั่งตะวันออกของเกาะทีซันไจ มาตา อิกาน บีคอน เขตการค้าเสรี ทางการสิงคโปร์ ได้ประกาศเขตการค้าเสรี เมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามบริเวณท่าเรือ ตั้งแต่เตล๊อก อาเยอร์เบซิน จนถึงจาร์ดินสเตปส์ กับจูร่ง ในบริเวณนี้ทางการได้จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ สายการเดินเรือแห่งชาติ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 บริษัทนี้เป็นสมาชิกของชมรมเดินเรือแห่งตะวันออกไกล เมื่อปี พ.ศ. 2512

การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เริ่มมีสายการบินทำการค้าสายแรก เมื่อปี พ.ศ. 2473 เป็นของบริษัทดัทช์อิสท์อินเดีย และในปี พ.ศ. 2478 สายการบินแควนตัส ได้เปิดการบินระหว่างสิงคโปร์ กับออสเตรเลีย ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ท่าอากาศยานสากล เดิมอยู่ที่ปายาเลบาร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางวิ่งยาวประมาณ 4,000 เมตร สามารถรับเครื่องบินพาณิชย์ได้ทุกขนาดและทุกแบบ ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าอากาศยานนานานชาติ ที่จัดส่งทันสมัยมากคือ ท่าอากาศยานนานาชาติชางงี มีขีดความสามารถในการรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ และการให้บริการพร้อม ๆ กันถึง 45 เครื่อง มีการสร้างทางวิ่งที่สองบนพื้นที่ ที่ได้จากการถมทะเล สายการบินแห่งชาติ เดิมสิงคโปร์ มีสายการบินร่วมกับมาเลเซียใช้ชื่อว่า มาเลเซีย - สิงคโปร์ แอร์ไลนส์ (Malasia - Singapore Airlines) ต่อมาเมื่อได้แยกประเทศกันแล้ว ก็ได้แยกสายการบินออกจากกันด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2515 สายการบินของสิงคโปร์ใช้ชื่อว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ (Singapore Airlines SIA)

[แก้] ประชากร

ประชากรหนาแน่นที่สุดในภูมิภาค และเป็นประเทศเล็กที่สุดในภูมิภาค เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนประชากรประมาณ 5.08 ล้านคน (2553) ประกอบด้วยชาวจีน (76.5%) ชาวมาเลย์ (13.8%) ชาวอินเดีย (8.1%) และอื่น ๆ (1.6%)

[แก้] การศึกษา

[แก้] ศาสนา และ วัฒนธรรม

จากการที่มีประชากรหลายเชื้อชาติ สิงคโปร์จึงมีผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ คือ พระพุทธศาสนา ศาสนาฮินดู คริสต์ศาสนา และลัทธิเต๋า

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

แบบจำลองเมืองสิงคโปร์ บริเวณ Marina Bay ปากแม่น้ำสิงคโปร์

หากแบ่งตามภูมิศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยวภายในประเทศสิงคโปร์ มีดังนี้

  • ภาคตะวันออก - Katong, Pasir Ris, Changi/Pulau Ubin
  • ภาคตะวันตก - Kent Ridge, Mount Faber, Bukit Timah
  • ภาคเหนือ - Thomson, Lim Chu Kang/Tengah
  • ภาคกลาง - Balestier, Chinatown, แม่น้ำสิงคโปร์

สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมักอยู่ในตอนกลาง ได้แก่ พื้นที่บริเวณ Marina Bay, ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมอร์ไลออน (Merlion) , อาคารโรงละคร Esplanade ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่, สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำ บริเวณพื้นที่ริมน้ำ ได้แก่ Clarke Quay, Boat Quay, ย่านไชน่าทาวน์ (China Town) , ย่าน Little India, ย่านชอปปิ้ง บนถนน Orchard

ส่วนบริเวณเมืองรอบนอกนั้นมีแหล่งท่องเที่ยวกระจายอยู่โดยรอบ สามารถเข้าถึงได้โดยรถไฟ MRT และ รถประจำทาง ได้แก่ เกาะเซนโตซา (Sentosa Island) บริเวณ Harbour Front, สวนสัตว์กลางคืน (Night Safari) , สวนนกจูร่ง (Jurong Birdpark) เป็นต้น

[แก้] กีฬา

ฟุตบอลสิงคโปร์สามารถเข้าถึงรอบ20 ทีม สุดท้ายได้ แต่ต้องตกรอบเหมือนกับทีมในอาเซียนเหมือนกันคือ ไทย อินโดนีเซีย ในสมัยนี้ประเทศสิงคโปร์ได้พัฒนาไวมาก

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น