พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบรมนามาภิไธย ทองด้วง
พระราชอิสริยยศ พระมหากษัตริย์สยาม
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
บรมราชาภิเษก 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325
ระยะครองราชย์ 27 ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
วัดประจำรัชกาล วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279
สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352
รวมพระชนมพรรษา 73 พรรษา
พระบรมราชชนก สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระบรมราชชนนี พระอัครชายา (ดาวเรือง)
พระมเหสี สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระราชโอรส/ธิดา 42 พระองค์
    

พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (20 มีนาคม พ.ศ. 22797 กันยายน พ.ศ. 2352) พระนามพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งถวาย[1]) รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พุทธศักราช 2279 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ

เนื้อหา

พระราชประวัติ

พระราชสมภพ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ท่านมีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาพระบรมอัฐิขึ้นเป็นสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก และพระอัครชายา (ดาวเรือง หรือ หยก) ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี และพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีรวม 5 พระองค์ ได้แก่

นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระอนุชาและพระขนิษฐาต่างพระชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่

เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (ต่อมา คือ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ครั้นพระชนมายุครบ 21 พรรษา ก็เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1 พรรษา แล้วลาผนวชเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรดังเดิม เมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์เสด็จออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรีในตำแหน่ง "หลวงยกกระบัตร" ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์[2] และได้สมรสกับคุณนาค (ภายหลังได้รับการสถาปนาที่ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ธิดาในตระกูลเศรษฐีมอญที่มีรกรากอยู่ที่บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม[3]

รับราชการในสมัยกรุงธนบุรี

ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ 32 พรรษาและได้เข้าถวายตัวรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตามคำชักชวนของพระมหามนตรี (บุญมา) (ต่อมา คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) โดยทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น "พระราชริน (พระราชวรินทร์)" เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา และทรงย้ายนิวาสสถานมาอยู่ที่บริเวณวัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จขึ้นไปตีเมืองพิมายซึ่งมีกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นเจ้าเมืองพิมายอยู่ พระองค์และพระมหามนตรีได้รับพระราชโองการให้ยกทัพร่วมในศึกครั้งนี้ด้วย หลังจากการศึกในครั้งนี้ พระองค์ทรงได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาอไภยรณฤทธิ์" จางวางพระตำรวจฝ่ายขวา เพื่อเป็นการปูนบำเหน็จที่มีความชอบในการสงครามครั้งนี้

หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพขึ้นไปปราบเจ้าพระฝางสำเร็จแล้ว ทรงมีพระราชดำริว่าเจ้าพระยาจักรีแขก นั้นมิแกล้วกล้าในการสงคราม ดังนั้น จึงโปรดตั้งพระองค์ขึ้นเป็น "พระยายมราช" เสนาธิบดีกรมพระนครบาล โดยให้ว่าราชการที่สมุหนายกด้วย เมื่อเจ้าพระยาจักรีแขกถึงแก่กรรมแล้ว พระองค์จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าพระยาจักรี" อัครมหาเสนากรมมหาดไทย พร้อมทั้งโปรดให้เป็นแม่ทัพเพื่อไปตีกรุงกัมพูชา โดยสามารถตีเมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์ และเมืองพุทไธเพชร (เมืองบันทายมาศ) ได้ เมื่อสิ้นสงครามสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงโปรดให้นักองค์รามาธิบดีไปครองเมืองพุทไธเพชรให้เป็นใหญ่ในกรุงกัมพูชา และมีพระดำรัสให้เจ้าพระยาจักรีและพระยาโกษาธิบดีอยู่ช่วยราชการที่เมืองพุทไธเพชรจนกว่าเหตุการณ์จะสงบราบคาบก่อน

พระองค์เป็นแม่ทัพทำราชการสงครามกับพม่า เขมรและลาว จนมีความชอบในราชการมากมาย ดังนั้น จึงได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิฤกมหิมา ทุกนัครระอาเดช นเรศรราชสุริยวงษ์ องค์อรรคบาทมุลิกากร บวรรัตนบรินายก" และทรงได้รับพระราชทานให้ทรงเสลี่ยงงากลั้นกลดและมีเครื่องยศเสมอยศเจ้าต่างกรม[4][5]

เมื่อถึงปี พ.ศ. 2325 ได้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี คือ พระยาสรรค์ ได้ตั้งตัวเป็นกบฎ ขณะนั้นพระองค์ท่านเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้เสด็จกลับจากกัมพูชา มาที่ กรุงธนบุรี แล้วปราบปรามกบฎและนำสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปสำเร็จโทษ เหตุเพราะทรงมีพระสติวิปลาส จึงให้นำไปสำเร็จโทษด้วยการ "ทุบด้วยท่อนจันทน์" สมัยกรุงธนบุรีจึงสิ้นสุดลงในที่สุด

ปราบดาภิเษก

หลังจากนั้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 หลังจากที่พระองค์ทรงปราบปรามกบฎเรียบร้อยแล้ว ทางอาณาประชาราษฎร์ได้อัญเชิญเสด็จขึ้นปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีราชธานีเดิมที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังหลวงและโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานยังวัดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉลองสมโภชพระนครเป็นเวลา 3 วัน ครั้งเสร็จการฉลองพระนครแล้ว พระองค์พระราชทานนามพระนครแห่งใหม่ให้ต้องกับนามพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หรือเรียกอย่างสังเขปว่า "กรุงเทพมหานคร"

พระปรมาภิไธย

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 รูปอุณาโลม ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี

เมื่อพระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว พระองค์มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาษกรวงษ์ องค์บรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไศรย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอักนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรบรมาธิเบศโลกเชฐวิสุทธิ รัตนมกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูรบรมบพิตร"[6]

เนื่องจากพระปรมาภิไธยที่จารึกลงในพระสุพรรณบัฏนี้เป็นพระปรมาภิไธยเดียวกับพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง), สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ดังนั้น พระองค์จึงเป็น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4"[7]

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถวายพระบรมนามาภิไธยแก่สมเด็จพระบรมอัยกาธิราชจารึกลงในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศวราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก"[7]

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1[8]

ในวาระการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี รัฐบาลได้จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2525 ในการนี้รัฐบาลและปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันเฉลิมพระเกียรติพระองค์โดยถวายพระราชสมัญญา "มหาราช" ต่อท้ายพระปรมาภิไธย ออกพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"[9][10]

พระราชลัญจกร

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 เป็นตรางารูป "ปทุมอุณาโลม" หรือ "มหาอุณาโลม" หมายถึง ตาที่สามของพระอิศวร ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีอักขระ "อุ" แบบอักษรขอมอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็นดอกไม้ที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา

ตราอุณาโลมที่ใช้ตีประทับบนเงินพดด้วงมีรูปร่างคล้ายสังข์ทักษิณาวรรต หรือ สังข์เวียนขวา มีลักษณะเป็นม้วนกลมคล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า "ด้วง" อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2328 ในคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[11][12]

พระราชสันตติวงศ์

เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสมรสกับคุณนาค ธิดาของคหบดีใหญ่ในตระกูลบางช้าง (ดู ณ บางช้าง) โดยมีพระราชโอรสสองพระองค์หนีราชภัยมาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง เมืองราชบุรี (ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2554) แขวงบางช้างคือจังหวัดสมุทรสงคราม ในอดีตแขวงดังกล่าวมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ตามการแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2554)) ต่อมาเมื่อขึ้นครองราชย์ แม้จะมิได้ทรงโปรดให้สถาปนายกย่องขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่คนทั้งปวงก็เข้าใจว่าท่านผู้หญิงนาค เอกภรรยาดั้งเดิมนั้นเองที่อยู่ในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสี จึงพากันขนานพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา หรือสมเด็จพระพรรษา ตามอย่างการขนานพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตามสมเด็จพระพันวษาทรงมีอีกพระนามว่าสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีพระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่สมเด็จพระพันวษา พระอัครมเหสี 10 พระองค์

เรียงตามพระประสูติกาล

ประสูตินอกพระมหาเศวตฉัตร
พระนาม พระมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์ พระชันษารวม
1. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชาย
(ไม่ปรากฏพระนาม)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี - สิ้นพระชนม์แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา -
2. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง
(ไม่ปรากฏพระนาม)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี - สิ้นพระชนม์แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา -
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี - ปีกุนเอกศก จ.ศ. 1141 -
4. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายฉิม สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี วันพุธ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีกุนนพศก
จ.ศ. 1129
วันพุธ เดือน 8 แรม 11 ค่ำ ปีวอกฉศก
จ.ศ.1186
57 พรรษา
5. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าแจ่มกระจ่างฟ้า สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ปีขาลโทศก จ.ศ. 1132 วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 1 ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จ.ศ. 1170 38 พรรษา
6. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง
(ไม่ปรากฏพระนาม)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี - สิ้นพระชนม์ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี -
7. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจุ้ย สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี วันจันทร์ เดือน 5 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะโรงเบญจศก จ.ศ. 1134 วันพุธ เดือน 8 อุตราสาท ขึ้น 3 ค่ำ ปีฉลูนพศก จ.ศ. 1179 45 พรรษา
8. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง
(ไม่ปรากฏพระนาม)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี - สิ้นพระชนม์ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี -
9. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงเอี้ยง สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี วันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 7 ค่ำ ปีระกานพศก
จ.ศ. 1139
วันศุกร์ เดือน 9 แรม 2 ค่ำ ปีมะแมเบญจศก จ.ศ. 1185 47 พรรษา
10. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากล้าย เจ้าจอมมารดาภิมสวน ปีจอสัมฤทธิศก จ.ศ.1140 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 -
ประสูติเมื่อเสด็จปราบดาภิเษกแล้ว
11. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงนุ่ม เจ้าจอมมารดาปุย ปีเถาะเบญจศก จ.ศ. 1145 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 -
12. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับทิม เจ้าจอมมารดาจัน ปีเถาะเบญจศก จ.ศ. 1145 วันศุกร์ เดือน 7 แรม 6 ค่ำ ปีมะโรงโทศก
จ.ศ. 1182
38 พรรษา
13. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิง เจ้าจอมมารดาดวง ปีมะโรงฉศก จ.ศ. 1146 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 -
14. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงผะอบ เจ้าจอมมารดาภิมสวน ปีมะโรงฉศก จ.ศ. 1146 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 -
15. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงพลับ เจ้าจอมมารดาคุ้ม ปีมะเส็งสัปตศก จ.ศ. 1147 ปีขาลสัปตศก จ.ศ. 1228 82 พรรษา
16. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายอภัยทัต เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว
ธิดาพระยาจักรี เมืองนครศรีธรรมราช
วันอังคาร เดือน 9 แรม 3 ค่ำ ปีมะเส็งสัปศก
จ.ศ. 1147
วันอังคาร เดือน 3 แรม 11 ค่ำ ปีระกานพศก จ.ศ. 1199 52 พรรษา
17. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายอรุโณทัย เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่
ธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) กับท่านผู้หญิงชุ่ม (ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่เมืองนคร)
ปีเถาะนพศก จ.ศ. 1169 วันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรงจัตวาศก จ.ศ. 1194 48 พรรษา
18. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ เจ้าจอมมารดาน้อย
- วันอังคาร เดือน 5 แรม10 ค่ำ ปีระกาสัปตศก จ.ศ. 1187 39 พรรษา
19. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงธิดา เจ้าจอมมารดาเอม
ปีมะแมนพศก จ.ศ. 1149 ปีจอสัมฤทธิศก จ.ศ. 1200 52 พรรษา
20. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายคันธรส เจ้าจอมมารดาพุ่ม
ธิดาเจ้าพระยาวิเศษสุนทร (นาค นกเล็ก)
วันพฤหัสบดี เดือน 3 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะแมนพศก จ.ศ. 1149 วันอังคาร เดือนยี่ ขึ้น 13 ค่ำ ปีชวดอัฐศก
จ.ศ. 1178
30 พรรษา
21. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจงกลณี เจ้าจอมมารดาตานี
ธิดาเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค)
ปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ. 1150 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 -
22. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายสุริยา เจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่
วันอังคาร เดือน 12 แรม 1 ค่ำปีระกาเอกศก
จ.ศ. 1151
วันอาทิตย์ เดือนอ้าย ขึ้น 7 ค่ำ ปีขาลฉศก
จ.ศ.1216
66 พรรษา
23. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงเกษร เจ้าจอมมารดาประทุมา
ปีระกาเอกศก จ.ศ. 1151 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 -
24. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงมณฑา เจ้าจอมมารดานิ่ม
ปีจอโทศก จ.ศ. 1152 วันพฤหัสบดีเดือน 8 อุตราสาฒ ขึ้น 11 ค่ำ
ปีระกาตรีศก จ.ศ. 1223
72 พรรษา
25. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงมณี เจ้าจอมมารดาอู่
ธิดาพระยาเพชรบุรี (บุญรอด)
ปีจอโทศก จ.ศ. 1152 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 -
26. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงดวงสุดา เจ้าจอมมารดาน้อย
ปีจอโทศก จ.ศ. 1152 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 -
27. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจักจั่น (บางแห่งว่า พระองค์เจ้าหญิงสุมาลี) เจ้าจอมมารดาอิ่ม ภายหลังได้เป็น ท้าววรจันทร์ฯ มีหน้าที่บังคับบัญชาท้าวนางทั่วทั้งพระราชวัง


ธิดาเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล)

ปีจอโทศก จ.ศ. 1152 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 -
28. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายวาสุกรี เจ้าจอมมารดาจุ้ย
ธิดาพระราชาเศรษฐี
วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น 5 ค่ำ ปีจอโทศก
จ.ศ. 1152
วันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 8 ค่ำ ปีฉลูเบญจศก
จ.ศ. 1214
64 พรรษา
29. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายฉัตร เจ้าจอมมารดาตานี (เจ้าคุณวัง) ธิดาเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) เกิดแต่ท่านผู้หญิงเดิมที่ถูกโจรฆ่าตายไปเมื่อครั้งกลับไปขนทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้กลับมาจากกรุงเก่า
วันอังคาร เดือน 3 ขึ้น 5 ค่ำ ปีจอโทศก
จ.ศ. 1152
วันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ ปีขาลโทศก
จ.ศ. 1192
40 พรรษา
30. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายสุริยวงศ์ เจ้าจอมมารดานวล
วันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุนตรีศก
จ.ศ. 1153
วันเสาร์ เดือนอ้าย แรม 2 ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จ.ศ. 1215 63 พรรษา
31. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงอุบล เจ้าจอมมารดาทอง
ธิดาในท้าวเทพกระษัตรี วีรสตรีแห่งเมืองถลาง
วันศุกร์ เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุนตรีศก
จ.ศ. 1153
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 -
32. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงฉิมพลี เจ้าจอมมารดางิ้ว
ปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1153 วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีมะเส็งนพศก จ.ศ. 1219 67 พรรษา
33. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายไกรสร เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว
วันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีกุนตรีศก
จ.ศ. 1153
วันพุธ เดือนอ้าย แรม 3 ค่ำ ปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ.1210 57 พรรษา
34. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายดารากร เจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่
วันเสาร์ เดือน 8 ขึ้น 12 ค่ำ ปีชวดจัตวาศก
จ.ศ. 1154
ปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ. 1210 57 พรรษา
35. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายดวงจักร เจ้าจอมมารดาปาน
วันจันทร์ เดือน 8 แรม 6 ค่ำ ปีชวดจัตวาศก
จ.ศ. 1154
อาทิตย์ เดือน 10 แรม 8 ค่ำ ปีมะเมียอัฐศก จ.ศ. 1208 55 พรรษา
36. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงศศิธร เจ้าจอมมารดาฉิมแมว
ซึ่งเป็นธิดาท้าววรจันทร์ (แจ่ม)
ปีขาลฉศก จ.ศ. 1156 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 -
37. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงเรไร เจ้าจอมมารดาป้อม (ป้อมสีดา)
ธิดาพระยารัตนจักร (หงส์ทอง)
ปีเถาะสัปตศก จ.ศ. 1157 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 -
38. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงกระษัตรี เจ้าจอมมารดานวม
ปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. 1158 ปีชวดอัฐศก จ.ศ. 1178 20 พรรษา
39. พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี (พระนามเดิม พระองค์เจ้าจันทบุรี) เจ้าจอมมารดาทองสุก
พระธิดาเจ้าอินทวงศ์ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเวียงจันทน์ซึ่งเป็นเจ้าประเทศราชขณะนั้น
ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. 1160 วันเสาร์ เดือน 4 ขึ้น 3 ค่ำ ปีจอสัมฤทธิศก
จ.ศ. 1200
41 พรรษา
40. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายสุทัศน์ เจ้าจอมมารดากลิ่น
ธิดาพระยาพัทลุง (ขุน)
วันพุธ เดือน 8 บุรพาสาฒ ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จ.ศ. 1160 วันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม 10 ค่ำ ปีมะเมียนพศก จ.ศ. 1209 49 พรรษา
41. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสุภาธร เจ้าจอมมารดาเพ็งเล็ก
พระธิดาเจ้านันทเสน พระเจ้าเวียงจันทน์
ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. 1160 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 41 พรรษา
42. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสุด เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่
ธิดาพระยาพัทลุง (ขุน)
ปีมะแมเอกศก จ.ศ. 1161 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 49 พรรษา

ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ

  • พ.ศ. 2279
    • 20 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชสมภพที่กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิม ทองด้วง
  • พ.ศ. 2326
    • กำหนดระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
    • ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอุณรุท
    • เริ่มงานสร้างพระนคร ขุดคูเมืองทางฝั่งตะวันออก สร้างกำแพงและป้อมปราการรอบพระนคร
    • สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  • พ.ศ. 2328
    • งานสร้างพระนครและปราสาทราชมณเฑียรสำเร็จเสร็จสิ้น
    • พระราชทานนามของราชธานีใหม่
  • พ.ศ. 2333
    • องเชียงสือกู้บ้านเมืองสำเร็จและจัดต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาถวาย
  • พ.ศ. 2339
    • งานสมโภชพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
  • พ.ศ. 2352
    • ได้ริเริ่มให้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการสอบพระปริยัติธรรม ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนาพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช
    • เสด็จสวรรคต

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ^ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 15.
  2. ^ เทศนาพระราชประวัติและพงศาวดารกรุงเทพฯ, หน้า 5-7
  3. ^ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, หน้า 12
  4. ^ พระบาทสมเด็จพระเธียรมหาราชเจ้า, ปฐมวงศ์ (พระบรมราชมหาจักรีกษัตริย์สยาม), โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, พ.ศ. 2470
  5. ^ พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 131-132
  6. ^ 6 เมษายน - วันจักรี - พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, เข้าถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
  7. ^ 7.0 7.1 จุลลดา ภักดีภูมินทร์, สร้อยพระนาม, สกุลไทย, ฉบับที่ 2622, ปีที่ 51, ประจำวันอังคารที่ 18 มกราคม 2548
  8. ^ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธย, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๒๑๒
  9. ^ ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๔/๒๕๒๕ พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๒๐๐ ปี เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕, เล่ม ๙๙, ตอน ๔๘ ง ฉบับพิเศษ, ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕, หน้า ๑
  10. ^ พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตน์โกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี และพระราชพิธีสมโภชหลักเมือง, สำนักงานส่งเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, เข้าถึงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
  11. ^ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑, หอมรดกไทย, เข้าถึงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554
  12. ^ พระราชลัญจกรประจำรัชกาล, สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง, เข้าถึงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554
สมัยก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยถัดไป
สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (ตากสิน)
(กรุงธนบุรี)
2leftarrow.png Emblem of the House of Chakri.svg
พระมหากษัตริย์สยาม
(6 เมษายน พ.ศ. 2325 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
2rightarrow.png พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอิศรสุนทรฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย


เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น