ประเทศศรีลังกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย
ศรีลังกา
ශ්‍රී ලංකා ප්‍රජාතාන්ත්‍රික සමාජවාදී ජනරජය (สิงหล)
இலங்கை சனநாயக சோஷலிசக் குடியரசு (ทมิฬ)
ธงชาติ
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติศรีลังกามาตา
(มารดาแห่งศรีลังกา)
เมืองหลวง ศรีชัยวรเทนปุระ-โกตเต
6°54′N 79°54′E / 6.9°N 79.9°E / 6.9; 79.9
เมืองใหญ่สุด โคลัมโบ
ภาษาทางการ ภาษาสิงหลและภาษาทมิฬ
การปกครอง สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย
 -  ประธานาธิบดี มหินทะ ราชปักษา
 -  นายกรัฐมนตรี ดี. เอ็ม. ชยรัตนะ
เอกราช จาก สหราชอาณาจักร 
 -  ประกาศ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 
พื้นที่
 -  รวม 65,610 ตร.กม. (122)
25,332 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 1.3%
ประชากร
 -  2548 (ประเมิน) 20,743,000 (52)
 -  2544 (สำมะโน) 18,732,255 
 -  ความหนาแน่น 316 คน/ตร.กม. (35)
818 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 86.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (61)
 -  ต่อหัว 4,300 ดอลลาร์สหรัฐ (111)
ดพม. (2546) 0.751 (กลาง) (93)
สกุลเงิน รูปี (LKR)
เขตเวลา (UTC+5:30)
ระบบจราจร ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด .lk
รหัสโทรศัพท์ 94

ศรีลังกา (สิงหล: ශ්රී ලංකා; ทมิฬ: இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (อังกฤษ: ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; ทมิฬ: இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียใกล้ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลงกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 และเป็นชื่อที่ยังคงใช้ในบางโอกาส ซึ่งชื่อในปัจจุบันคือ ศรีลังกา ชีวิตบนเกาะนี้ ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ ระหว่างรัฐบาล และกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam) ซึ่งได้มีข้อตกลงหยุดยิงเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ศรีลังกาเป็นประเทศหนึ่งที่มีอิทธิพลทางศาสนาพุทธมาก
ตราแผ่นดินสมัยอาณานิคม

ชาวสิงหลและชาวทมิฬเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในศรีลังกาประมาณ 500 ปี และ 300 ปีก่อนคริสตกาลตามลำดับ โดยต่างก็อพยพมาจากอินเดีย อาณาจักรสิงหลได้ก่อตั้งขึ้นในบริเวณที่ราบทางภาคเหนือของศรีลังกา โดยมีเมืองอนุราธปุระเป็นเมืองหลวงแห่งแรกยาวนานถึงประมาณ 1,200 ปี ต่อมาในศตวรรษที่ 13 จึงได้เสื่อมลง พร้อมกับการเกิดขึ้นของอาณาจักรทมิฬ โดยมีเมือง'โปลอนนารุวะเป็นเมืองหลวงยาวนานประมาณ 200 ปี ชาวทมิฬจึงได้อพยพไปตั้งอาณาจักรจัฟฟ์นาทางคาบสมุทรจัฟฟ์นา ตอนเหนือของประเทศส่วนชาวสิงหลได้ถอยร่นลงไปตั้งรกรากอยู่ทางใต้ ก่อตั้งเป็นอาณาจักรแคนดี ซึ่งมีเมืองแคนดีเป็นเมืองหลวง นอกจากนี้ก็มีอาณาจักรโกฏเฏและอาณาจักรรุหุนะ โดยอาณาจักรแคนดีเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดประมาณศตวรรษที่ 15 อิทธิพลของตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในศรีลังกา เริ่มจากโปรตุเกส ดัตช์ และอังกฤษ ตามลำดับ โดยมาทำการค้าตามเมืองท่าด้านตะวันตกของประเทศ และในปี พ.ศ. 2048 (ค.ศ. 1505) โปรตุเกสได้เข้ายึดครองพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลและปกครองประเทศก่อนที่ชาวดัตช์จะเข้าครอบครองดินแดนศรีลังกาในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) และต่อมาอังกฤษสามารถครอบครองศรีลังกาเป็นเมืองขึ้นในปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) ภายใต้อนุสัญญา Kandyan รวมเวลาที่ศรีลังกาตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติเกือบ 500 ปี และอังกฤษได้ใช้ศรีลังกาเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญแห่งหนึ่งในมหาสมุทรอินเดียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948)

[แก้] การเมือง

[แก้] รูปแบบการปกครอง

รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียวโดยสมาชิกทั้งหมด 225 คน ได้รับเลือกจากประชาชนทุก ๆ 6 ปี ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ประธานาธิบดีมาจาก การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน อยู่ในตำแหน่ง 6 ปี มีฐานะเป็นประมุขของประเทศและหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และมีอำนาจถอดถอนนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรี การปกครองท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 24 เขตการปกครอง แต่ละเขตปกครองโดยผู้ว่าราชการ (Governor) ที่มาจากการแต่งตั้ง และแต่ละเขตมีสภาการพัฒนา (Development Council) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน

ประมุขของรัฐและหัวหน้า ประธานาธิบดีจันทริกา บันดารานัยเก กุมาราตุงคะ รัฐบาล (Mrs. Chandrika Bandaranaike Kumaratunga) เข้ารับตำแหน่งสมัยแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2537 (ค.ศ.1994) และสมัยที่สองเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2542 (ค.ศ. 1999) นายกรัฐมนตรี นายรัตนาสิริ วิเกรมานัยเก (Ratnasiri Wickremanayake) เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2543 (ค.ศ. 2000) สืบแทนนางสิริมาโว บันดารานัยเก (Sirimavo Bandaranaike) และได้รับการแต่งตั้งเป็น นรม. เป็นสมัยที่ 2 ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Lakshman Kadirgamar เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2537 (ค.ศ. 1994) คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยรัฐมนตรี 44 คน ประธานรัฐสภา นาย Anura Bandaranaike (น้องชายของประธานาธิบดี แต่สังกัดพรรคฝ่ายค้าน)

[แก้] พรรคการเมือง

ปัจจุบันมีพรรคการเมืองใหญ่น้อยประมาณ 30 พรรค มีพรรคการเมืองสำคัญ ๆ ได้แก่ - พรรค Sri Lanka Freedom Party (SLFP) - พรรค United National Party (UNP) - พรรค Tamil United Liberation Front (TULF) - พรรค Ceylon Workers’ Congress (CWC) - พรรค Sri Lanka Mahajana Party (SLMP) - พรรค Janatha Vimukti Peramuna (JVP) หรือ People’s Liberation - พรรค Sri Lanka Muslim Congress (SLMC)

[แก้] การเมืองภายในของศรีลังกาปัจจุบัน

ศรีลังกาเป็นประเทศที่ประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ศาสนา แต่การเมืองภายในมีพรรคการเมืองที่สำคัญเพียง 2 พรรคของชนชาติสิงหล คือ SLFP (Sri Lanka Freedom Party) และพรรค UNP (United National Party) ที่แข่งขันช่วงชิงอำนาจทางการเมือง พรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นพรรคของชนเชื้อสายทมิฬและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เป็นพรรคย่อยและมีความสำคัญน้อย นับแต่ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 (ค.ศ. 1948) จนถึงปัจจุบันพรรค SLFP และพรรค UNP ผลัดกันเป็นรัฐบาลมาโดยตลอด โดยทั้งสองพรรคดังกล่าวนิยมระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่ต่างกันที่นโยบายเศรษฐกิจของพรรค SLFP มีลักษณะเป็นสังคมนิยม ในขณะที่พรรค UNP มีนโยบายเศรษฐกิจเสรี

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

จังหวัดในศรีลังกา

ศรีลังกาประกอบด้วย 8 จังหวัด (provinces) ดังนี้ (ชื่อเมืองหลวงอยู่ในวงเล็บ)

[แก้] ภูมิประเทศ

เมืองกัณฏีล้อมรอบด้วยป่าไม้และแหล่งน้ำ

ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกคลื่น มีภูเขาสูง มีที่ราบเป็นบริเวณแคบ มีพรมแดนทางทะเลทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับประเทศอินเดีย

[แก้] ภูมิอากาศ

อากาศช่วงพื้นที่ราบลุ่ม ภูมิอากาศของโคลัมโบจะอยู่ประมาณที่ 27 องศาเซลเซียส ในพื้นที่ราบสูงอากาศจะเย็น อุณหภูมิสามารถลงถึง 16 องศาเซลเซียส จากภูเขาที่มีความสูง 2,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แดดออกตลอดทั้งวัน ช่วงลมมรสุมอากาศของศรีลังกา ลมมรสุมทางตะวันออกเฉียงใต้จะพาฝนมาด้วยตั้งแต่เดือน พ.ค. ถึง ก.ค. และพัดต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทางตอนใต้และทางภาคกลาง แต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกจะได้รับอิทธิพลลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือน ธ.ค. ถึง ม.ค.

[แก้] เศรษฐกิจ

ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4 อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 9 อัตราการว่างงาน ร้อยละ 9

[แก้] ประชากร

19,742,439 คน (2546) อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 0.83 (2546) ประชาการเป็นชาว สิงหล ร้อยละ 74 ทมิฬ ร้อยละ 8 แขกมัวร์ (มุสลิมจากอินเดียและตะวันออกกลาง) ร้อยละ 7 และ ผลิตกาแฟ คือ พวกเชื้อชาติเบอร์เกอร์, เวดด้า, มาเลย์, จีน และกัฟฟีร์ (แอฟริกัน) มีอัตราการรู้หนังสือโดยรวม ร้อยละ 92.3 (ปี2547) เพศชาย ร้อยละ 94.8 และเพศหญิง ร้อยละ 90[1]

[แก้] วัฒนธรรม

[แก้] ศาสนา

พุทธศาสนาร้อยละ 70 ฮินดูร้อยละ 7 คริสเตียนร้อยละ 6 อิสลาม ร้อยละ 7 และอื่น ๆ ร้อยละ 10 [1]

ในอดีตลังกา และ สยามมีความสัมพันธไมตรีด้านพระพุทธศาสนาอันเกิดนิกาย สยามวงศ์ในดินแดนลังกา แต่ก่อนหน้านั้นลังกาก็ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสยามอันเกิดนิกาย ลังกาวงศ์ รัฐธรรมนูญบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในปี พ.ศ. 2515มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "The Republic of Sri Lanka shall give to Buddhism the foremos place and accordingly it shall be the duty of The state to protect and foster Buddhism while assuring to all religions the rights secured by Section 18 (i) (d) " ปัจจุบันชาวศรีลังกานับถือพุทธศาสนา 80% ฮินดู 7% คริสต์ 6% อิสลาม 7%

[แก้] อ้างอิง

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น