สงครามอินโดจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประวัติศาสตร์เวียดนาม Map of Vietnam
ราชวงศ์หงบาง ถึง 257 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ราชวงศ์ถุก 257–207 ปีก่อนคริสต์ศักราช
การปกครองของจีนครั้งแรก 207 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 39
ราชวงศ์เตรียว 207–111 ปีก่อนคริสต์ศักราช
พี่น้องชึง 40–43
การปกครองของจีนครั้งที่สอง 43–544
การกบฏของท่านผู้หญิงเตรียว 248
ราชวงศ์ลี้ยุคก่อน 544–602
เตรียวเวียดเวือง
การปกครองของจีนครั้งที่สาม 602–905
• มายฮักเต๋อ 722
พุงหุง 791–798
อัตตาณัติ 905–938
ตระกูลคุ๊ก 906–930
เยืองดิ่นห์เหงะ 931–937
• เกี่ยวกงเตี๊ยน 937–938
ราชวงศ์โง 939–967
กบฏ 12 ขุนศึก 966–968
ราชวงศ์ดินห์ 968–980
ราชวงศ์เลยุคก่อน 980–1009
ราชวงศ์ลี้ 1009–1225
ราชวงศ์เตริ่น 1225–1400
ราชวงศ์โห่ 1400–1407
การปกครองของจีนครั้งที่สี่ 1407–1427
ราชวงศ์เตริ่นยุคหลัง 1407–1413
• กบฏลามเซิน 1418–1427
ราชวงศ์เล 1428–1788
• ราชวงศ์เลตอนต้น 1428–1788
• ราชวงศ์เลยุคฟื้นฟู 1533–1788
ราชวงศ์หมัก 1527–1592
ราชวงศ์ใต้และ
ราชวงศ์เหนือ
1533–1592
ตริ่นห์-เหวียน สงคราม 1627–1673
ราชวงศ์เตยเซิน 1778–1802
ราชวงศ์เหวียน 1802–1945
ลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก 1887–1945
จักรวรรดิเวียดนาม 1945
สงครามอินโดจีน 1945–1975
การแบ่งเวียดนาม 1954
สาธารณรัฐประชาธิปไตย
 เวียดนาม
1945–1976
รัฐเวียดนาม 1949–1955
สาธารณรัฐเวียดนาม 1955–1975
รัฐบาล
 ปฏิวัติเฉพาะกาล
1975–1976
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตั้งแต่ 1976
หัวเรื่องสืบเนื่อง
ราชวงศ์จามปา 192–1471
รายพระนามกษัตริย์และจักรพรรดิแห่งเวียดนาม
ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของเวียดนาม
วัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ของเวียดนาม
    

สงครามอินโดจีน (อังกฤษ: Indochina Wars, เวียดนาม: Chiến tranh Đông Dương) เป็นสงครามย่อยหลายสงครามที่เกิดขึ้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1947 จนถึง 1979 ระหว่างชาวเวียดนามชาตินิยมกับฝรั่งเศส อเมริกา และจีน คำว่า "อินโดจีน" เดิมทีจะหมายถึงอินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งรวมทั้งรัฐปัจจุบันของเวียดนาม ลาว และกัมพูชา การใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่หมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์มากกว่าพื้นที่ทางการเมือง สงครามแบ่งออกเป็นสงครามย่อย 4 สงครามได้แก่

  • สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 (ในฝรั่งเศสเรียกว่า สงครามอินโดจีน ในเวียดนามเรียกว่า สงครามฝรั่งเศส) ที่เริ่มขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และดำเนินต่อมาจนถึงการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1954 หลังจากการต่อต้านอันยาวนานกองกำลังเวียดมินห์ ในที่สุดก็ได้รับชัยชนะหลังกองทัพญี่ปุ่นและฝรั่งเศสยอมแพ้ทางตอนเหนือเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในช่วงสงครามโลกทางใต้ถูกครอบครองโดยกองกำลังของอังกฤษที่ฟื้นคืนการควบคุมอาณานิคมของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในสหประชาชาติและชาติพันธมิตรพร้อมกับอังกฤษและสหรัฐ ฝรั่งเศสได้ร้องขอที่จะกลับคืนสู่เวียดนามที่เป็นอาณานิคมของพวกเขาก่อนที่จะต้องลงเข้าร่วมในพันธมิตรนาโต้เพื่อต่อต้านการขยายอำนาจของโซเวียตที่เกินอาณาเขตของกลุ่มประเทศในสนธิสัญญาวอร์ซอในสงครามเย็น เวียด มินห์ที่เป็นคอมมิวนิสต์และชาตินิยมยังคงต่อสู้กับฝรั่งเศสต่อไปโดยได้รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต จนในที่สุดก็ผลักให้ฝรั่งเศสที่มีนาโต้คอยหนุนหลังต้องล่าถอยออกจากอินโดจีน
  • สงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 (ฝั่งตะวันตกเรียกว่า สงครามเวียดนาม ในเวียดนามเรียกว่า สงครามอเมริกา) ที่เริ่มขึ้นเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลเวียดนามใต้ที่สนับสนุนโดยสหรัฐกับฝ่ายเหนือ ทั้งกองกำลังของเวียดกงและกองทัพเวียดนามเหนือปัจจุบันกลายเป็นกองทัพประชาชนเวียดนาม มันเริ่มขึ้นในปลายทศวรรษที่ 1950 และจบลงในปี ค.ศ. 1975 สหรัฐที่สนับสนุนฝรั่งเศสในสงครามครั้งแรกได้เข้าสนับสนุนรัฐบาลเวียดนามใต้เพื่อต่อกรกับเวียดกงและเวียดนามเหนือที่เป็นคอมมิวนิสต์ ฝ่ายเหนือได้รับการสนับสนุนทางทหารและเงินจากจีนและสหภาพโซเวียต การต่อสู้ยังเกิดขึ้นในกัมพูชาระหว่างกองทัพที่สหรัฐสนับสนุนกับฝ่ายเขมรแดงที่เป็นคอมมิวนิสต์ (รู้จักกันในชื่อสงครามกลางเมืองกัมพูชา) และในลาวก็มีการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลที่สหรัฐสนับสนุน กองทัพประชาชนเวียดนาม และขบวนการปะเทดลาวที่เป็นคอมมิวนิสต์ (รู้จักกันในชื่อสงครามกลางเมืองลาว)
  • สงครามเวียดนาม-กัมพูชา เป็นสงครามที่เกิดหลังจากสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 เมื่อเวียดนามได้เข้าบุกกัมพูชาและขับไล่การปกครองของเขมรแดงออกไป สงครามดำเนินตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1975 จนถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1989
  • สงครามอินโดจีนครั้งที่ 3 หรือสงครามเวียดนาม-จีน เป็นการต่อสู้ระยะสั้นๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1979 ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จีนได้เข้าบุกเวียดนามเพื่อเป็นการ "ลงโทษ" สำหรับการที่เวียดนามเข้าบุกกัมพูชา และถอนกำลังออกหนึ่งเดือนหลังจากนั้นเมื่อได้รับความสูญเสียอย่างมาก

เนื้อหา

[แก้] การสร้างอาณานิคม

การสร้างอาณานิคมและการครอบครองของฝรั่งเศสเป็นผลให้เกิดการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในศตวรรษที่ 16 ซึ่งก่อให้เกิดการเริ่มเปลี่ยนไปเป็นคาทอลิกที่ละน้อย ในขณะที่ไก ลองยอมต่อการเข้ามาของคาทอลิก ผู้ที่สืบทอดตำแหน่งต่อจากเขามินห์ มางและตู ดักกลับเชื่อฟังลัทธิขงจื๊อของจีนมากกว่า พวกเขากดขี่คาทอลิกอย่างรุนแรงและพยายามที่จะขจัดอิทธิพลของฝรั่งเศส ซึ่งก่อให้เกิดการโต้ตอบของชาติคาทอลิกในยุโรป นโยบายโดดเดี่ยวของขงจื๊อนำชาวเวียดนามสู่การปฏิเสธความเจริญ ในเดือนสิงหาคมค.ศ. 1858 นโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศสได้สั่งการให้กองกำลังฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกที่ตูเรน (ปัจจุบันคือดานัง) เป็นการเริ่มเข้ายึดครองซึ่งคงอยู่เกือบศตวรรษ เมื่อถึงปี 1884 ฝรั่งเศสได้ควบคุมทั้งประเทศอย่างสมบูรณ์ ซึ่งได้กลายมาเป็ฯส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของอินโดจีนของฝรั่งเศส

การต่อต้านจากชนท้องถิ่นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ฮาม หงี ฟาน ดินห์ ฟุง ฟาน บุย เชา และสุดท้ายคือโฮ จิ มินห์ ผู้ที่กลับมาจากฝรั่งเศสและเช้าร่วมกับเวียดมินห์ในปี 1941 เขาเป็นสมาชิกก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส โฮ จิ มินห์ยึดมั่นในคอมมิวนิสต์ของเขาและยุบพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนลงเพื่อที่เขาจะได้อำนาจและความเชื่อใจ เมื่อเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงในปี 1945 มันส่งผลให้เกิดการตาย 2 ล้านราย เวียดมินห์ได้จัดตั้งการปลดเปลื้องครั้งใหญ่ ซึ่งตามมาด้วยชัยชนะเหนือผู้คนมากมาย โฮ จิ มินห์ได้กลายมาเป็นผู้นำของเวียดมินห์

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงเวียดนามเหนือก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของโฮ จิ มินห์ ฝ่ายญี่ปุ่นยอมแพ้ต่อกลุ่มชาตินิยมจีนในเวียดนามเหนือ และเวียดมินห์ก็ได้ก่อการปฏิวัติในเดือนสิงหาคมไปทั่วประเทศ จักรพรรดเบาไดสละอำนาจให้กับเวียดมินห์เมื่อวันที่25 สิงหาคม ค.ศ. 1945 โฮ จิ มินห์ได้แต่งตั้งให้เบาไดเป็นที่ปรึกษาพิเศษให้กับรัฐบาลใหม่ของเขาในฮานอย ซึ่งได้สิทธิเป็นเอกราชในวันที่ 2 กันยายนเมื่อเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ในค.ศ. 1946 เวียดนามได้สร้างรัฐธรรมนูญฉบับแรกขึ้นมา

ในค.ศ. 1948 ฝรั่งเศสได้พยายามที่จะเอาอาณานิคมเวียดนามของตนคืน ในทางใต้ของเวียดนามญี่ปุ่นได้ยอมแพ้ต่อกองกำลังของอังกฤษ สนับสนุนให้พวกเขาต่อต้านเวียดมินห์ ฝรั่งเศสได้แต่งตั้งให้เบาไดเป็นผู้นำเวียดนาม ซึ่งปกครองเวียดนามส่วนกลางและส่วนใต้ ผลที่ตามาคือสงครามระหว่างฝ่ายใต้ที่ควบคุมโดยฝรั่งเศสและฝ่ายเหนือที่มีพันธมิตรเป็นพวกคอมมิวนิสต์ เรียกกันว่าสงครามอินโดจีนครั้งที่ 1

[แก้] สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1

ดูบทความหลักที่ สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1

ในสงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 เวียดนามเหนือที่ได้รับการสนับสนุนจากพวกคอมมิวนิสต์ในจีนและสหภาพโซเวียตได้ต่อสู้เพื่อได้มาซึ่งเอกราชตั้งแต่เดือนธันวาคม 1946 จนถึงเดือนกรกฎาคม 1954 โดยการต่อสู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นรอบๆ ฮานอย มันจบลงด้วยการที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ที่ยุทธการเดียนเบียนฟูและฝรั่งเศสก็ต้องถอนกำลังออกจากเวียดนาม

[แก้] สงครามอินโดจีนครั้งที่ 2

ดูบทความหลักที่ สงครามเวียดนาม
รถติดปืนสี่กระบอกขนาด .50 ที่ฐานเกซานห์

สงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 หรือรู้จักกันในชื่อสงครามเวียดนาม เป็นความสำเร็จของกองทัพประชาชนเวียดนามที่เป็นคอมมิวนิสต์และเวียดกงในการต่อสู้กับทหารของสหรัฐและกองทัพสาธารณรัฐเวียดนามที่สนับสนุนโดยสหรัฐ เนื่องมาจากว่ามันไม่มีการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ จึงมีการไม่เห็นด้วยอย่างมากเมื่อสงครามเริ่มขึ้น แต่สองเหตุการณ์ที่มักอ้างอิงถึงคือการมาถึงครั้งแรกของที่ปรึกษาสหรัฐในเวียดนามใต้เมื่อปี 1955 และทำการประกาศการมีส่วนเกี่ยวข้องของสหรัฐในปี 1964 ในสงครามชาวเวียดนามเหนือขนส่งเสบียงของพวกเขาผ่านทางทางรถไฟโฮ จิ มินห์ ซึ่งวิ่งผ่านลาวและกัมพูชา ผลที่ตามมาคือบริเวณพื่นที่เหล่านี้ที่ติดกับชายแดนเวียดนามจะมีการต่อสู้กันอย่างหนัก

สำหรับสหรัฐเป้าหมายทางการเมืองและการรบนั้นเป็นสิ่งที่ยังไม่ชัดเจน ความสำเร็จและการนำเนินการนั้นแย่และการที่ได้รับความสูญเสียอย่างมากทำให้ประชาชนในอเมริกาไม่พอใจกับสงครามครั้งนี้นัก ข่าวของสหรัฐรายงานแนวโจมตีเท็ท (Tet offensive) ในปี 1968 โดยเฉพาะจากซีบีเอส มันถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีนักในการจบสงคราม แม้ว่าแนวโจมตีเท็ทปี 1968 นั้นจะส่งผลให้เกิดชัยชนะของเวียดนามใต้และสหรัฐ พร้อมกับการทำลายความสามารถในการต่อสู้ของกองกำลังเวียดกงอย่างมาก มันกลับเป็นการที่ผู้ออกเสียงในอเมริกันหันไปอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับพวกที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์

สหรัฐเริ่มถอนทหารออกจากเวียดนามในปี 1970 โดยมีทหารกลุ่มสุดท้ายออกจากประเทศเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1973 ฝรั่งเศสทำการหยุดยิงและห้ามไม่ให้เวียดนามเหนือสงทหารเข้ามาในเวียดนามใต้อีก แม้ว่าเวียดนามเหนือจะได้รับอนุญาตให้ครอบครองเมืองของเวียดนามใต้ที่อยู่ตรมแนวโจมตีตะวันออกได้

ฝ่ายเวียดนามใต้ไม่เคยมีแนวโน้มที่จะทำตามข้อตกลง การต่อสู้ยังคงดำเนินต่อไปตั้งแต่ค.ศ. 1973-1974 ในขณะที่เวียดนามเหนือวางแผนที่จะเข้าโจมตีครั้งใหญ่โดยจะเริ่มในค.ศ. 1976 กองทัพเวียดนามเหนือในเวียดนามใต้ได้รับความเสียหายในการโจมตีทางฝั่งตะวันออกเมื่อค.ศ. 1973 และมันแสดงให้เห็นว่าพวกเขายังต้องคำนวณแผนใหม่จนถึงค.ศ. 1976

การถอนกำลังออกส่งผลให้เกิดหายนะต่อกองทัพเวียดนามใต้ ไม่นานหลังจากการสั่งหยุดยิงของฝรั่งเศส สภาคองเกรสของสหรัฐได้ตัดทุนการช่วยเหลือทางทหารต่อเวียดนามใต้ กองทัพเวียดนามใต้ที่ได้รับการฝึกให้ใช้ยุทธวิธีแบบอเมริกันพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะยังคงมีการต่อสู้ประปรายตลอดปี 1973-1974 ในที่สุดก็เกิดการต่อสู้ขั้นแตกหักในเดือนมกราคม ค.ศ. 1975 เวียดนามเหนือได้เข้าโจมตีอย่างรวดเร็วเข้าใส่ฝ่ายใต้ที่อ่อนแอ

ไซ่ง่อน เมืองหลวงของเวียดนามใต้ถูกยึดโดยกองทัพเวียดนามเหนือในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1975 และสงครามเวียดนามครั้งที่ 2 ก็สิ้นสุดลง

การต่อสู้ที่เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ตามมาด้วยการถอนกำลังของสหรัฐบางครั้งก็ถูกเรียกว่าสงครามอินโดจีน โดยปกติแล้วจะหมายถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลังค.ศ. 1979

[แก้] สงครามอินโดจีนครั้งที่ 3

ดูบทความหลักที่ สงครามเวียดนาม-จีน

สงครามอินโดจีนครั้งที่ 3 มักรู้จักกันในชื่อสงครามเวียดนาม-จีน เป็นการต่อสู้ในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 1979 ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ในค.ศ. 1978 เวียดนามได้เข้าบุกกัมพูชาและขับไล่เขมรแดงออกจากอำนาจ (ดูบทความหลักที่สงครามเวียดนาม-กัมพูชา) สาเหตุที่เวียดนามเข้าบุกนั้นก็เพราะว่าฝ่ายเขมรแดงได้ทำการสังหารหมู่ชาวเวียดนามไปมาก

เขมรแดงนั้นเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับจีน ในค.ศ. 1979 รัฐบาลจีนได้เข้าบุกเวียดนามเพื่อเป็นการลงโทษสำหรับการที่เวียดนามเข้าไปขยายดินแดนในกัมพูชา

การต่อสู้นั้นกินระยะเวลาสั้นแต่รุนแรง จีนได้บุกเข้ามาในเวียดนามเป็นระยะทาง 40 กิโลเมตรโดยเข้ายึดเมืองลางซอนในวันที่ 6 มีนาคม ที่นั่นพวกเขาคิดว่าเส้นทางสู่ฮอนอยนั้นโล่งแล้ว โดยประกาศว่าภารกิจในการลงโทษเวียดนามสำเร็จและทำการการถอนกำลัง เหตุผลจริงๆ ที่พวกเขาถอนกำลังออกคือการขัดแย้ง ผลจากความขัดแย้งครั้งนั้นทำให้เวียดนามยังคงมีทหารมากจนถึงทุกวันนี้

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น