หน้าแรกคลังปัญญาไทย
หน้าแรกคลังปัญญาไทย
ลิลิตพระลอ

จาก คลังปัญญาไทย, สารานุกรมฟรี

Jump to: navigation, search

         ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือโคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า "เข้าลิลิต"

        วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ ลิลิตที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดของกลอนลิลิต คือ ลิลิตพระลอ


สารบัญ

[แก้ไข]
ลิลิตพระลอ

[แก้ไข] ความเป็นมาของลิลิต

        ไม่ปรากฏแน่ชัด โดยสืบค้นได้เก่าสุดถึง สมัยอยุธยา ได้แก่ ลิลิตยวนพ่าย และลิลิตพระลอ (สำหรับอายุของลิลิตพระลอยังเป็นที่ถกเถียง ยังไม่ยุติ) แต่ถ้าจะนับอย่างธรรมเนียมลิลิตแล้ว น่าจะมีเพียงลิลิตพระลอ เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น เนื่องจากในยวนพ่ายนั้น มีร่ายนำ 1 บท แล้วมีร่ายแทรกตอนปลายๆ (ไม่ใช่ท้ายเรื่อง)กลางเรื่องอีก 1 บทเท่านั้น ส่วนลิลิตพระลอนั้น แต่งด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพอย่างหลากหลาย สลับเป็นช่วงๆ (โปรดอ่านรายละเอียดในหัวข้อ ลิลิตพระลอ) มีทั้งโคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ นอกจากนี้ยังมีร่ายสอดสร้อยอีกด้วย

ภาพ:ลิลิต1.gif

        ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ให้เป็นยอดแห่ง ลิลิต เมื่อ พ.ศ. 2459 แต่งขึ้นอย่างประณีต งดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอยังเคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์


        ในวรรณคดีประเภทลิลิตแล้ว ลิลิตพระลอนั้นนับว่าเป็นลิลิตที่มีศิลปะในการเรียบเรียงได้ไพเราะจับใจยิ่งนัก จนวรรณคดีสโมสรได้ตัดสินเมื่อ พ.ศ. 2459 ว่าลิลิตพระลอนั้นเป็นยอดในกระบวนกลอนลิลิตทั้งหลาย ในเพชรพระอุมานั้นมีการกล่าวถึงลิลิตพระลอในตอนที่คณะเดินทางได้พบกับเสือโคร่งดำหรืออีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าผีดิบมันตรัยนั่นเอง ระหว่างการเดินทาง เจ้าเสือโคร่งดำนั้นพยายามหลอกล่อให้รพินทร์ออกไปตามมัน เพื่อจะได้อยู่ห่างจากคณะจนทำให้ เชษฐาต้องเข้ามาเตือนรพินทร์และไม่ให้ออกจากขบวนเด็ดขาดโดยกล่าวว่า'พระลอตามไก่' เมื่อนั้น"

[แก้ไข] ผู้แต่งและปีที่แต่ง

        ทั้งเรื่องผู้แต่งและปีที่แต่ง ไม่ปรากฏหลักการหรือข้อความระบุที่ชัดเจน แต่อาจอาศัยเนื้อเรื่องที่ระบุถึงสงครามระหว่างไทยและเชียงใหม่มาเป็นจุดอ้างอิง ซึ่งเดิมนั้นเชื่อว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231)แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงกันมาจวบจนปัจจุบัน นักจารณ์วรรณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ลิลิตพระลอแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาแน่ แต่ยังมีบางท่านเสนอเวลาที่ใหม่กว่านั้น ว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ยังมีผู้คล้อยตามไม่มากนัก

[แก้ไข] ทำนองแต่ง

        แต่งเป็นลิลิตสุภาพ ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ และโครงสุภาพ อีกทั้งมีบางตอนก็เป็นร่านดั้นและร่ายโบราณ

[แก้ไข] วัตถุประสงค์ในการแต่ง

        เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงอ่านเป็นที่สำราญพระทัย

[แก้ไข] สาระสำคัญ

        เนื่องจากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองสรวงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระลอ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร


        กษัตริย์พิชัยพิษณุกรทีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนมาว่า พระเพื่อน พระองค์น้องพระนามว่า พระแพง พระราชธิดาทั้งสองพระองค์ทรงต้องพระทัยในพระลอยิ่งนัก ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เคยเห็น นางรื่นกับนางโรย สองพระพี่เลี้ยงรู้ความจริง ด้วยความสงสารจึงทูลอาสาเข้าช่วยเหลือให้สมกับพระประสงค์ ส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพง ไปหาหญิงแม่มดให้ช่วยทำเสน่ห์ แต่แม่มดปฏิเสธเพราะมนตร์เสน่ห์ของตนหมดฤทธ์ขลังเสียแล้ว แม่มดจึงพาไปหาปู่เจ้าสมิงพราย ปู่เจ้าสมิงพรายให้ความช่วยเหลือ จนพระลอต้องเสด็จมาเองสรอง

        พระลอต้องมนตร์เสน่ห์เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระเนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วยไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยง

        เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องำพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่ผีของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอ จากนั้นก็พาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระแพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมด

        เวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบพระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางจนถงที่สุด จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตกันทั้งหมด กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่าและพรรคพวกประหารชีวิตเสียให้ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนัก

        จากนั้นกษัตริย์พิชัยพษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งฑูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์(คือพระลอ พระเอน และพระแพง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน


        นักวรรณคดีมักจะยกโคลงท้ายบทมาเป็นหลักฐานพิจารณาสมัยที่แต่ง ดังนี้ 659.จบเสร็จมหาราชเจ้า นิพนธ์ ยอยศพระลอคน หนึ่งแท้ พี่เลี้ยงอาจเอาตน ตายก่อน พระนา ในโลกนี้สุดแล้ เลิศล้ำคุงสวรรค์ฯ 660.จบเสร็จเยาวราชเจ้า บรรจง กลอนกล่าวพระลอยง ยิ่งผู้ ใครฟังย่อมใหลหลง ฤๅอิ่ม ฟังนา ดิเรกแรกรักชู้ เหิ่มแท้รักจริงฯ


        จากโคลงข้างบน มีผู้เสนอว่า "มหาราช" คือกษัตริย์ เป็นผู้แต่ง และ "เยาวราช"เป็นผู้เขียน (บันทึก) และสันนิษฐานว่า ผู้แต่งน่าจะเป็น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 และผู้เขียน คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 และคาดว่าน่าจะแต่งเมื่อ พ.ศ. 2034-2072

        อย่างไรก็ตาม นักวรรณคดีบางท่าน เสนอว่า น่าจะอยู่ในสมัยพระชัยราชาธิราช (พ.ศ. 2077-2089)เนื่องจากเป็นสมัยที่มีสงครามระหว่างไทยกับเชียงใหม่ และเป็นสมัยแรกที่มีการใช้ปืน (ปืนไฟ) ในการรบ

[แก้ไข] ภาษาสำนวนในลิลิตพระลอ

        อ่านเข้าใจได้ง่ายกว่าวรรณกรรมเรื่องอื่นๆ ในสมัยอยุธยา แต่ก็ยังมีศัพท์ยาก และศัพท์โบราณอยู่บ้าง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้นักวิจารณ์บางท่านเสนอว่า ลิลิตพระลอแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์

[แก้ไข] คำประพันธ์

        คำประพันธ์ในเรื่องลิลิตพระลอ เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ, ร่ายสอดสร้อย, โคลงสองสุภาพ, โคลงสามสุภาพ และ โคลงสี่สุภาพ สลับกันตามจังหวะ ลีลา และเนื้อหาของเรื่อง

[แก้ไข] เนื้อหา

        ลิลิตพระลอเป็นเรื่องรักโศก บรรยายถึงความรักระหว่างพระเอก คือ พระลอ และนางเอกสองคน คือ พระเพื่อน และพระแพง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความรักของหญิงชายอีกสองคู่ คือ นางรื่น นางโรย และนายแก้ว นายขวัญ พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง และพระลอ ตามลำดับ


        ผู้แต่งได้ผูกเรื่องไว้อย่างน่าติดตาม โดยมีบทพรรณนาที่งดงาม มีความหลากหลาย โดยตลอด แม้จะนับเป็นนิยายเรื่องยาว (ความยาวถึง 660 บท) แต่ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ

บางตอนจากลิลิตพระลอ

[แก้ไข] คุณค่าของลิลิตพระลอ

  1. ในด้านอักษรศาสตร์ นับเป็นวรรณคดีที่ใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ ปลุกอารมณ์ร่วมได้ทุกอารมณ์ เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น ๆ มากอย่างบทเสียงลือเสียงเล่าอ้างที่ว่าคุณค่าของลิลิตพระลอ
“เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ”


        แปลความว่า มีเสียงร่ำลืออ้างถึงอะไรกัน เสียงนั้นยกย่องเกียรติของใครทั่วทั้งพื้นหล้าแผ่นดิน พี่ทั้งสองนอนหลับใหล จนลืมตื่นหรือพี่ พี่ทั้งสองจงคิดเอาเองเถิด อย่าได้ถามน้องเลย บทนี้เขานับเป็นบทครูที่วรรณคดียุคต่อมาต้องนำมาเป็นแบบอย่าง

  1. ในด้านพระศาสนา ได้ให้แง่คิดทางศาสนา อย่างเช่น ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต ซึ่งเป็นของแน่ยิ่งกว่าแน่เสียอีก อย่างบทที่ว่า
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรังตรึง แน่นอยู่นา
ตามแต่บุญบาปแล ก่อเกื้อรักษา

หรือบทที่ว่าด้วยกฎแห่งกรรม

ถึงกรรมจักอยู่ได้ ฉันใด พระเอย
กรรมบ่มีมีใคร ฆ่าเข้า
กุศลส่งสนองไป ถึงที่ สุขนา
บาปส่งจำตกช้า ช่วยได้ฉันใด


  1. ในด้านการปกครอง จะเห็นว่าการปกครองในสมัยนั้น ต่างเมืองต่างก็เป็รอิสระ เป็นใหณ่ ไม่ขึ้นแก่กัน แต่สามารถมีสัมพันธไมตรีกันได้
  2. ในด้านประวัติศาสตร์ ลิลิตพระลอได้ให้ความรู้ในทางประวัติศาสตร์ของไทยได้ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะทำให้รู้เรื่องราวความเป็นมาของเมืองสรวงและเมืองสรองอันได้แก่ ลำปางและแพร่
  3. ในด้านวิถีชีวิต ได้มองเห็นถึงความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้นที่ยังเชื่อในเรื่องไสย

ศาสตร์อยู่มากมีการนับถือผีสางนางไม้ แม้ปัจจุบันก็ยังมีอยู่

[แก้ไข] เพลงยอยศพระลอ :: ลิลิตพระลอ

(ร่าย) รอย รูปอินทร์ หยาด ฟ้า เออ.... มา อ่า องค์ ในหล้า แหล่งให้ คน ชม
(ร่าย) งาม สม เออ.... ขุนลอท้าว น้ำพระทัย ณ หัวเจ้า ยิ่งแม่ กาหลง....
(ร่าย) ยาม พระทรง คชสาร เออ.... พระยิ่งหาญ ยิ่งกล้า เกินพระยา สีหราช ท้าว
กลาง ศึก.... พระบาทเจ้า ล้าน โลกใครบ่เท่า พ่อขุน แมน-สรวง
(ลา ลาลาลาลาลา ลา ลาลาลาลาลา)

..รูป ดังองค์อินทร์ หยาดฟ้า มาสู่ดิน

โสภิณดังเดือนดวง เหนือแผ่น ดินแดนสรวง
เหนือปวง หนุ่มใด
(ลาลาลาลาลา ลา ลาลาลาลาลา)
เหล่าอนงค์ หลงสวาท ยอมเป็นทาส รักบำเรอ
นามขุนลอ ท้าวเธอ ทรงสถิตย์ ณ ทรวงใจ
ลุ่มแม่กา หลงเจ้า หรือจะเท่า ถึงครึ่ง
แม้น้อยหนึ่ง น้ำหทัย เมื่อทรง คชสาร
พระยิ่งหาญ ยิ่งกล้า (ลาลาลาลาลาลา)
ดั่ง พระยา สีหราช ผู้เป็น ใหญ่
(ลาลาลาลาลาลา) ใช่เพียง ศึกรบ
สยบพระ ทรง-ชัย แม้ ใน ศึกรัก พระยังยิ่งใหญ่
(ลาลาลาลาลาลา) นาถ-อนงค์ ปลงใจ ใคร่อิง อุ่น
(ลาลาลาลาลาลา) นับล้าน โล-กาล้วน บ่ควรคู่บุญ ดั่งพ่อขุน (ลา ลา)
แมนสรวง เอย...


        ลิลิตพระลอ มีลักษณะเป็นลิลิต คือ เป็นโคลงกันร่ายปนกัน ในวงวรรณกรรมถือว่า ลิลิตพระลอเป็นยอดวรรณกรรมประเภทนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ประทานคำอธิบายเกี่ยวกับลิลิตพระลอไว้ว่าเรื่องพระลอ แต่งในสมัยอยุธยา สันนิษฐานว่า พระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งเป็นผู้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ไม่ทราบว่าเป็นองค์ใด เดี๋ยวจะมีการสันนิษฐานกัน ท่านบอกว่า แต่งในสมัยอยุธยาเหมือนกัน เป็นนิทานเรื่องทางอาณาเขตลานนา ปัจจุบันเรียก ล้านนา (มณฑลพายัพ) ดูเหมือนพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดองค์หนึ่งพระราชนิพนธ์ ในเวลาที่ทรงพระยศเป็นพระราชโอรส อันนี้เป็นการสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

        ลิลิตพระลอเป็นนิยายประจำท้องถิ่นภาคเหนือของไทย เรื่องเกิดขึ้นในแคว้นล้านนา ระหว่าง พ.ศ. 1616 ถึง 1691 สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นในจังหวัดแพร่และลำปาง พระวรเวทย์พิศิษ ท่านสันนิษฐานไว้ ด้วยเหตุที่ว่า เมืองสรอง ซึ่งเป็นเมืองของพระเพื่อนพระแพงนั้น ปัจจุบันยังตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยม ตอนเหนือของเมืองร้องกวาง จ.แพร่ ส่วนอีกกรณีคือ เมืองแดนสรวง เรียกสั้นๆ ว่า เมืองสรวง ซึ่งเป็นเมืองของพระลอ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเมืองกาหลง อยู่ใน อ.แจ้หลบ จ.ลำปาง แต่นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า น่าจะอยู่ที่ อ.แม่สวย จ.เชียงราย และน่าจะมีพื้นฐานมาจากเรื่องจริง

[แก้ไข] เรื่องย่อ

        เมืองสรวงกับเมืองสองเป็นศัตรูกัน พระเพื่อนพระแพงเป็นศัตรูกับเมืองสรวงของพระลอ เท้าแมนสรวงผู้ครองเมืองสรวงซึ่งเป็นพ่อของพระลอยกกองทัพไปตีเมืองสอง แล้วก็ได้ฆ่าเท้าพิมพิสาธร เจ้าเมืองสองตายไป เท้าพิชัยพิษณุกรซึ่งเป็นพ่อพระเพื่อนพระแพงผู้เป็นลูกเจ้าเมืองสองบอกว่า ทรงมีมเหสีชื่อว่าดาราวดี แม่พระเพื่อนพระแพง ส่วนเมืองสรวงพระลอได้ครองเมืองแทนพ่อ พระลอมีรูปโฉมงดงามเลื่องลือไปถึงพระเพื่อนพระแพง

รอยรูปอินหยาดฟ้า…. แหล่งให้คนชมแลฤา
พระองค์…เอวอ่อนอรอัน …งามบารมี
พระองค์งามยิ่งนัก ทุกส่วนพระวรกาย
โฉมผจญสามแผ่นแท้ งามเลิศ รูปต้องติดใจบารมี ฯ

        ความงามของพระลอเลื่องลือมาก พระเพื่อนพระแพงหลงไหลมากจึงให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์โดยทำหมากบิน ให้หมากบินไปหาพระลอไปตกอยู่ที่แท่น พระลอเห็นแปลกก็เลยกิน เลยถูกทำเสน่ห์ ต้องเสน่ห์หลงไหลพระเพื่อนพระแพง ก็ไม่สามารถที่จะอยู่ในเมืองต่อไปได้ ต้องออกไปตามหาพระเพื่อน พระแพงทั้งๆที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ด้วยอำนาจของความรัก พระลอก็อยู่ร่วมกับพระเพื่อนพระแพง ส่วนนายแก้วนายขวัญ นางรุ่งนางโรยก็จับคู่กันเลย เมื่อเท้าวิษณุกรทราบก็ทรงมีเมตตาจัดงานอภิเสกสมรสให้ แต่มีปัญหาคือพระเจ้าย่าซึ่งเป็นมเหสีเท้าพิมสาคนที่ถูกเท้าแมนสรวงพ่อพระลอฆ่าตาย ก็โกรธมาก ก็เลยส่งทหารไปฆ่าพระลอ พระเพื่อนพระแพงทนไม่ได้ก็เลยปกป้องพระลอ ในที่สุดก็ตายตามกันหมด 3 กษัตริย์ แล้วก็นายแก้วนายขวัญ นางรุ่งนางโรยก็ฆ่าตัวตายตาม สรุปเป็นเรื่องโศกนาฏกรรม ซึ่งไม่เหมือนกับวรรณกรรมไทยส่วนใหญ่ที่ลงด้วยความสุขทั้งหลาย เท้าพิชัยวิษณุกรทรงพิโรธมากที่ย่าสั่งฆ่าหมด ก็เลยรับสั่งให้ประหารชีวิตย่า ซึ่งเป็นมารดาเลี้ยงของพระองค์ หลังจากนั้นก็มีความคิดโดยหลักพุทธศาสนาว่า ขืนปล่อยอย่างนี้คงไม่ไหว มีการฆ่ากันมากมาย เพราะฉะนั้นก็เลยทำไมตรีกับเมืองสรวงเจ้าเมืองของพระลอ เพราะผลของความเป็นศัตรูมีแต่ความคิดร้ายฆ่ากันซึ่งไม่ส่งผลดีกับใครเลย

[แก้ไข] ลักษณะคำประพันธ์

        เป็นลิลิต คือเป็นโคลงกับร่าย ส่วนใหญ่แล้วเป็นโคลงสุภาพ กับร่ายสุภาพ แต่บางตอนจะเป็นร่ายดั้น โคลงดั้น บางตอนเป็นร่ายโบราณ ยกตัวอย่างคือ มันจะขึ้นด้วยร่าย ขึ้นด้วยคำไหว้ครู ยอพระเกียรติ เทพยดา สดุดีพระเจ้าแผ่นดิน ประเทศชาติ

[แก้ไข] ความหมายของร่าย

        กรุงศรีอยุธยาสำเร็จความมีชัยอันงดงาม เป็นเมืองที่เลิศยิ่ง เลื่องลือไป ชั้นฟ้า (ต่อจากนี้เป็นคำแปลความหมายของหลวงวรเวทย์พิศิษ) ประเทศต่างๆในพื้นแผ่นดินนี้ย่อท้อเกรงอานุภาพอันยิ่งใหญ่จนตัวสั่นรัว สามารถกล่าวได้ทั่วทุกทิศ ได้ยกกองทัพไปรุกรานตีประเทศลาว เอาดาบฟันหัวขาดตายเกลื่อนกลาด แล้วยกไปตีญวน (เชียงใหม่) จนพ่ายแพ้ล้มตายพินาศ เมื่อได้ชัยชนะแล้วก็ยกกลับประเทศ (กรุงศรีอยุธยา) ราษฎรมีความสุขอย่างสบายใจ พรั่งพร้อมด้วยราชสมบัติต่าง ๆ มีความเจริญสิริมงคลทั่วราชอาณาจักร ประชากรมีความเกษมสุขสนุกทั่วพระนครศรีอยุธยาอันประกอบด้วยยศอย่างสูง บริบูรณ์พูนสุขทั่วประเทศ ทีนี้ก็ต่อด้วยโคลงสี่สุภาพ

บุญเจ้าจอมโลกเลี้ยง โลกา
ระเรื่อยเกษมสุขพูล ใช่น้อย
แสนสนุกศรีอโยธยา ฤๅร่ำ ถึงเลย
ทุกประะเทศชมค้อยค้อย กล่าวอ้างเยินยอ ฯ


        เป็นการสรรเสริญคุณของพระเจ้าแผ่นดิน ว่าด้วยอำนาจคุณของพระราชาธิบดีที่เลี้ยงประเทศ คือพระมหากษัตริย์ ให้ประชาราษฎร์มีความสุขล้นพ้นเสมอไป กรุงศรีอยุธยาจึงแสนสนุกสนาน เป็นที่ล่ำลือทั่วไป ทุกประเทศต่างก็พากันชมและยกย่องสรรเสริญ อันนี้ก็คือเป็นโคลง และก็จะมีขึ้นด้วยร่าย แล้วก็ต่อด้วยโคลง ลิลิตเป็นสิ่งที่ไพเราะมาก ใช้ถ้อยคำกระทัดรัด รักษาฉันทลักษณ์ของโคลงอย่างเต็มที่ รักษาสัมผัส สมกับเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยม แล้ววรรณคดีสโมสรยกให้เป็นยอดของหนังสือวรรณคดี

รอยรูปอินทร์หยาดฟ้า มาอ่าองค์ในหล้า
แหล่งให้คนชม แลฤๅ ฯ

และบทที่ว่า

ร้อยชู้ฤๅเท่าเนื้อ เมียตน
เมียแล่พันฤๅดล แม่ได้
ทรงครรภ์คลอดเปนคน ฤๅง่าย เลยนา
เลี้ยงยากนักท้าวไท้ ธิราชผู้มีคุณ ฯ


        มีเสียงยกย่องพระลอว่าหล่อมาก ทีนี้วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นวรรณคดีที่ยอดเยี่ยมที่สุด ผู้แต่งก็ไม่ทราบอย่างชัดเจนว่าเป็นใคร เช่นกับวรรณคดีโบรานหลายเรื่อง เช่นไตรภูมิพระร่วง เป็นต้น ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ก็ได้แต่สันนิษฐานเอาว่าใครแต่ง เขาว่าโคลงบทสุดท้ายในลิลิตพระลอได้กล่าวถึงมหาราช ซึ่งก็ไม่แน่ชัดว่ามหาราชองค์ใด

จบเสร็จมหาราชเจ้า นิพนธ์
ยอยศพระลอคน หนึ่งแท้
พี่เลี้ยงอาจเอาตน ตายก่อน พระนา
ในโลกนี้สุดแล้ เลิศล้ำ คุง สวรรค์ ฯ


        ไม่ทราบว่าเป็นใคร มหาราช แต่พระวรเวทย์พิสิษสันนิษฐานไว้ในหนังสือคู่มือลิลิตพระลอว่า นักวรรณคดีบางกลุ่มสันนิษฐานคำว่า มหาราชเจ้า ว่า น่าจะเป็นสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากว่า ในสมัยพระนารายณ์นี้มีพระมหากษัตริย์ที่รับพระราชทานว่า มหาราช ไม่กี่องค์ สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ดูเหมือนมี ๒ องค์ แต่ว่าสมเด็จพระนเรศวรนั้นไม่มีใครสันนิษฐานว่าเป็นพระองค์ท่านเลย เนื่องจากว่า ไม่มีเวลาจะเขียน พระองค์ท่านยุ่งอยู่กับศึกสงครามตลอด และองค์ที่น่าเป็นไปได้คือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นมหาราชอีกองค์หนึ่ง น่าจะทรงมีเวลามากกว่า ทีนี้ยังมีโคลงอีกบทหนึ่งที่บอกว่า

จบเสร็จเยาวราชเจ้า บรรจง
กลอนกล่าวพระลอยง ยิ่งผู้
ใครฟังย่อมใหลหลง ฤๅอิ่ม ฟังนา
ดิเรกแรกรักชู้ เหิ่มแท้รักจริง ฯ


        คำว่า เยาวราช ในที่นี้น่าจะหมายถึงผู้ดำรงตำแหน่งอุปราช มหาอุปราช หรือยุพราช ซึ่งน่าจะหมายถึงเจ้าฟ้าพระอภัย ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งยุพราชของพระนารายณ์มหาราชเป็นผู้เขียน และที่บอกว่า จบเสร็จเยาวราชเจ้าบรรจง ก็เพราะพระมหากษัตริย์เป็นผู้เขียนและให้ยุพราชบรรจงเขียนลงไป คนแต่งคือกษัตริย์ คนเขียนคือพระยุพราช อย่างไรก็ตามก็มีนักวรรณคดีอีกกลุ่มบอกว่า คำว่า มหาราชไม่จำเป็นที่ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการถวายพระนามว่า เป็นมหาราช อาจจะไม่ใช่ก็ได้ เป็นใครก็ได้ เพราะอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า คำว่า มหาราช มาถวายพระนามเมื่อพระมหากษัตริย์องค์นั้นๆ สวรรณคตแล้ว สมัยพระองค์ท่านไม่รู้หรอกว่าเป็นมหาราช อย่างพ่อขุนรามนี่ สมัยก่อนท่านทราบไหม ว่าเป็นพ่อขุน ท่านคงทราบ ต่อมาภายหลังจึงได้ถวายพระนามเป็นมหาราช เพราะฉะนั้นอาจจะเป็นใครก็ได้ ที่ทรงทำคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง นักวรรณคดีบางกลุ่มบอกว่า ไม่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่อาจเป็นได้ว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพราะว่าทรงทำคุณประโยชน์กับบ้านเมืองมากมายไม่ด้อยกว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะฉะนั้นจึงมีคำสันนิษฐานอยู่ 2 กลุ่ม อาจเป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งก่อนพระนารายณ์ แล้วก็สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช เหตุที่สันนิษฐานว่าเป็นสมเด็จพรบรมไตรโลกนาถเพราะว่า ภาษาในลิลิตพระลอเก่ามาก เก่ากว่าที่แต่งในหนังสือสมัยพระนารายณ์ ดังนั้นนักโบราณคดีจึงบอกว่าภาษาโบราณกว่าภาษาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ จึงสันนิษฐานว่าไม่น่าใช่สมเด็จพระนารายณ์ ที่นี้ก็หาใครที่ทำประโยชน์มากมายแก่บ้านเมือง ก็ได้แก่พระบรมไตรโลกนาถ เพราะฉะนั้นโดยสรุปเป็นการสันนิษฐานทั้งสิ้น

ภาพ:ลิลิต2.gif

[แก้ไข] แนวคิดทางจริยธรรมที่ปรากฏในลิลิตพระลอ

  1. หลักจริยธรรมของพระมหากษัตริย์ ในการปกครองไพร่ฟ้าแผ่นดิน ชัดเจนมาก เริ่มตั้งแต่ก่อนที่จะออกจากเมืองสอง พระราชมารดา พระนามว่าบุญเหลือทรงสั่งสอนพระลอให้ตระหนักถึงจริยธรรม 7 ประการของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า จารีต 7 ประการ
    1. อย่าลืมตัว ห้ามคบคนไม่ดี คิดอะไรให้รอบคอบก่อนค่อยทำ เขาบอกว่าคิดทุกคำ จึงออกปาก หมายความว่า จะพูดอะไรคิดเสียก่อน อย่าให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินลำบากใจ ว่าเรื่องการบ้านเมืองให้เที่ยงตรง หมายความว่า ไม่เห็นกับหน้าผู้ใด ยุติธรรม ปกครองประเทศให้ร่มเย็น ดับเข็ญนอกเข็ญใน คือ อะไรที่เป็นความลำบากทั้งภายในภายนอกให้ขจัดให้หมด
    2. ส่งใจดูทุกกรม อย่าชมตามคำเท็จ คือให้สอดส่องการบริหารงานทั่งทุกหน่วยงาน อย่าเชื่อตามคำทูลเท็จของใคร ต้องให้เห็นกับตา อย่าทำให้ผิดทางธรรม ทำอะไรให้มันถูกต้อง
    3. เวลาที่จะต้องใช้อำนาจหรือพระเดชในการบัญชา ก็ต้องใช้ให้เหมาะสม จงทำให้มีเลห์เหลี่ยมที่เหมาะสม
    4. ดูคนรับใช้ที่ให้มาทำงานกับเราดีๆ สอดส่องดูให้เหมาะสม เลือกหาคนที่ซื่อสัตย์ พยายามปลุกใจคนให้ตื่นตัว ให้กล้าหาญกล้าต่อสู้กับศัตรูที่จะมากินเมือง ให้ตายไป ให้อำนาจศักดิ์สิทธิ์แก่ราษฎร ตัดความชั่วอย่าให้มันรุกราม
    5. อย่าชิงสุกก่อนห่าม อย่าล่ามม้าสองฝั่ง จะทำอะไรก็อย่ารีบทำโดยไม่คิดเพราะก่อผลเสีย อย่าล่ามม้าสองปาก คืออย่ากดหัวพลเมืองให้โงหัวไม่ขึ้น อย่าใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมแก่ราษฎร อย่ารากผิดไว้ข้างหลัง คือ อะไรที่ผิดอย่าทิ้งไว้ข้างหลัง ให้จัดการให้เรียบร้อย แก้ไข อย่าทำตนให้คนเกลียด จงทำตนให้คนรัก
    6. ชักชวนคนสู่ฟ้า คือนำคนให้ประพฤติแต่สิ่งที่ดีที่ชอบที่เหมาะที่ควร นำคนให้ไป ข้างหน้าให้มีความเจริญก้าวหน้า ให้เทวดาสรรเสริญเยินยอ คือนำประชาชนให้ทำดี ไปภพหน้าแม้แต่เทพเทวดาก็ยังต้องสรรเสริญเยินยอ ทำในส่งที่โลกยกย่อง
    7. ขอให้คิดอยู่เสมอว่าจะต้องทำความดี ไม่ต้องอาย จงอย่าทำยศของพ่อให้หายไป รักษาเกียรติยศไว้ อย่าให้เกียรติยศต้องเสื่อมทราม ต้องรักษาไว้ตลอดชีวิต - อันนี้เป็นจริยธรรมที่พระมารดาของพระลอสั่งสอนพระลอก่อนที่จะออกจากเมือง
  2. หลักจริยธรรมระหว่างมารดากับบุตร เป็นสิ่งที่ต้องเอ่ยถึงพระมารดาของพระลอรัก พระราชโอรสประดุจดังแก้วในดวงใจ แล้วทรงยอมสละทุกอย่างเพื่อให้พระราชโอรสกลับมาเป็นอย่างเดิม พระนางบุญเหลือรับสั่งว่า
ออกท้าวฟังลูกไท้ ทูลสาร
ถนัดดังใจจักลาญ สวาทไหม้
น้ำตาท่านคือธาร แถวถั่ง ลงนา
ไห้บรู้กี่ไห้ สรอื้นอาดูร ฯ


        พระมารดาได้รับฟังพระโอรสทูลข้อความ ทรงรู้สึกดังดวงหฤทัยของท่านจะแตก และด้วยความรักร้อนดังจะไหม้พระวรกาย น้ำพระเนตรไหลลงดังหนึ่งน้ำที่ไหลล้นลงมา ทรงกรรแสงแล้วกรรแสงอีก ถึงแก่สะอื้นอย่างเดือดร้อน

ตีอกโอ้ลูกแก้ว กลอยใจ แม่เอย
เจ้าแม่มาเปนใด ดั่งนี้
สมบัติแต่มีใน ภพแผ่น เรานา
อเนกบรู้กี้ โกฏิไว้จักยา พ่อนา ฯ


        ทรงทุกข์พระอุระ รับสั่งว่า เจ้าเป็นอะไรไปอย่างนี้ สมบัติในแผ่นดินของเราที่มีอยู่นี้มากเหลือที่จะประมาณ แม่จะใช้รักษาเจ้าหาหมอยามาหาแม่มดถ้วนหน้าหรือพวกที่แก้คุณไสย์นั้นได้

คลังกูคลังลูกแก้ว กูนา
จักจ่อมจ่ายเยียวยา หน่อเหน้า
สิ้นทั้งแผ่นดินรา แม่ลูก ก็ดี
สิ้นแต่สินจงเจ้า แม่ได้แรงคืน ฯ

        พวกเราถึงหมดสิ้นทั้งแผ่นดิน ทั้งของเราและลูกของเราก็ช่าง ให้หมด แต่เงิน ขอให้ลูกเราหายก็แล้วกัน เสร็จแล้วปรากฏว่า ตอนที่พระลอต้องออกจากเมืองให้ได้ พวกหมอผีจากเมืองสรวงก็สกัดพยายามไม่ให้ออก ปรากฏว่าทำไม่สำเร็จ พระลอฟั่นเฟือนมากเลย พระองค์สั่นจนพระทัยจะขาด หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกอันเป็นที่ตั้งของเมืองสองตลอดเวลา นางสนมกำนัลก็ไปทูลพระนางบุญเหลือ พระนางบอกว่า

เจ้าไข้ทุกข์แม่เพี้ยง ภูเขา ลูกเฮย
เจ้าเคลื่อนทุกข์บางเบา สว่างร้อน
มาเห็นพ่อเงียบเหงา หนักกว่า ก่อนนา
ทุกข์เร่งซ้อนเหลือซ้อน ยิ่งฟ้าทับแด ฯ


        เจ้าป่วยแม่ทุกข์หนักอย่างภูเขานะลูก เห็นเจ้าหายป่วยทุกข์ของแม่ก็น้อยลง ใจหายเดือดร้อน พอเห็นลูกเหงา ป่วยหนักกว่าเก่า ทุกข์ของแม่ยิ่งทับซับซ้อนเหลือคณา เหมือนอย่าง ฟ้าทับหัวใจ แล้วก็ทรงพรรณนาถึงว่า ทรงเลี้ยงพระลอมาอย่างไร บอกว่า เลี้ยงมาอย่างชนิดที่เรียกว่า รักมากเลย

สิบเดือนอุ้มท้องพระ ลอลักษณ์
สงวนบ่ลืมตนสัก หนึ่งน้อย
ตราบพระปิ่นไตรจักร เสด็จคลอด มานา
ถนอมอาบอุ้มค้อยคอ้ย ลูบเลี้ยงรักษา ฯ


        เป็นเวลานานถึงสิบเดือนที่ทนทุกข์อุ้มท้อง ด้วยความรักอย่างหวงแหน ไม่ลืมตัวกระทำสิ่งใดอันเป็นที่กระทบลูกสักเล็กน้อย จนกระทั่งเจ้าจอมโลกทั้งสาม หมายถึงพระลอ คลอดออกมา เฝ้าถนอมอาบน้ำ และอุ้มเองเสมอด้วยการเอาใจใส่รักษา แม่ป้อนข้าวเองวันละสามครั้งเป็นนิจ ไม่เคยให้คนอื่นทำเลย จริยธรรมของความเป็นแม่รักลูกมาก เพราะกลัวจะผิดไป แม่แสนรักหวงแหนเสมอชีวิต ย่อมประคับประคองเอาใจใส่จนเจ้าเสวยเองได้ แม้แต่ของเสวยก็เลือกอย่างดีที่สุด การตกแต่งกับข้าวของเจ้าซึ่งเป็นของเสวยของเจ้าอยู่เป็นนิจ ไม่เคยลืมเลยแม้สักเล็กน้อย อาหารของลูกทั้งหมด แม่ตรวจตราดูอย่างถี่ถ้วน ทำด้วยฝีมือแม่เองด้วย ไม่วางใจสักนิดเดียวที่จะให้คนอื่นทำ

สุดใจสุดแม่ห้าม ภูธร
สอนบ่ฟังแม่สอน จักเต้า
หนักใจหนักอาวรณ์ ทุกข์ใหญ่ หลวงนา
แม่อยู่ตั้งแต่เศร้า โศกร้อนฤๅเสบย


        สุดใจของแม่แล้วที่จะห้ามเจ้า สอนก็ไม่ฟังคำสอนของแม่ จะไปถ่ายเดียว แม่หนักใจและเป็นห่วงเจ้าอย่างหนัก เกิดเป็นความทุกขอย่างใหญ่หลวง แม่อยู่ข้างก็จะเศร้าโศกร้อนรนไม่สะบายเลย จะไปหานางอยู่อย่างเดียว


ชมปรางชมผากเผ้า ริมไร เกศนา
เชยปากตาตรูไตร เพริศพริ้ง
ชมพักตรดั่งแขไข ขวัญเนตร
บพิตรพ่องามสิงคลิ้ง จูมแก้มเชยกรรณ ฯ


        ก็แปลว่า จูบแก้มจูบหน้าผากจูบผม จูบหมดเลยน่ะ ดวงหน้าซึ่งงามอย่างดวงใจ ที่ส่องแสงสว่างเป็นขวัญตาของพระราชา แสดงให้เห็นว่า คนที่งามเกินไปก็มีปัญหา เพราะว่ามีคนมาชอบและก็มาทำเสน่ห์ เพราะฉะนั้นแม่ก็ทุกข์หนัก เพราะว่าลูกนี่เอง

        เมื่อพระลอไปแล้ว ก็มีหลักจริยธรรมบางข้อที่ต้องเอ่ยถึง คือ เรื่องเกี่ยวกับความกล้าหาญ เป็นตอนที่เห็นไดชัดเจนมาก ก็คือตอนที่ทุกพระองค์ยอมตาย เพราะพระเจ้าญาติซึ่งเป็นย่าของพระเพื่อนพระแพงส่งคนมาฆ่าพระลอ เพราะเห็นว่าพระลอได้เดินทางไปถึงเมืองสอง ก็เข้าไปอยู่ในห้องของพระเพื่อนพระแพงอย่างลึกลับ คือได้กันโดยที่ผู้ใหญ่ไม่รู้เรื่อง เสร็จแล้วเรื่องก็ลือไปไกล จนกระทั่งพระเจ้าย่ารู้ พระยาพระชัยพิษณุกร บิดาของพระเพื่อนพระแพงรู้ แต่ว่าพระองค์เป็นคนดี ก็บอกว่าไม่เป็นไร ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วก็จะตกแต่งให้ แต่ว่า พระเจ้าย่าไม่ยอม ทรงส่งทหารมา คือมีข่าวบอกว่า พนักงานในวังมีการซุบซิบกันว่า ทำไมนะพระเพื่อนพระแพงจึงไม่ออกมาจากวัง พี่เลี้ยงก็ทำอะไรลับๆล่อ อาหารก็ไม่ออมาเสวย ไม่ออกมาเดินชมสวนอะไรเลย

        ลางคราวก็ไม่สะบายใจ ลางคราวก็หน้าตาชุ่มชื่น ลางคราวก็สำราญใจเล่นหัวเป็นปกติ ลางคราวก็เร้นพระองค์ไม่ให้ใครเห็น แสดงอาการพูดจาซุบซิบข้อลี้ลับอย่างมีชั้นเชิง แต่ว่านางพี่เลี้ยงเข้าข้างในได้ พวกพนักงานและกำนัลต่างสะกิดกันนินทาว่า บัดนี้ แปลกแท้ๆ แม่นั่งหัวของเราทั้งสองกับนางพี่เลี้ยงแสดงอาการแปลก ผู้คนต่างสงสัย มีอะไรลี้ลับถึงไม่ให้ใครเข้าไปในห้องของพระเพื่อนพระแพง มันต้องมีอะไรผิดปกติ

        ความสำคัญที่ปิดเอาไว้ เปรียบประดุจดังควันไฟ ที่ปิดบังไว้ไม่อยู่ รั่วรอดออกมาจนคนเขารู้ คนหนึ่งเห็นก็สะกิดบอกคนหนึ่ง พนักงานฝ่ายในก็พูดกันเซ็งแซ่ เป็นความขายหูไม่อยากฟัง แล้วก็เป็นการขายปาก ฟังแล้วรู้สึกละอายใจต่อ คือในที่สุดก็แอบเห็น เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่อยากฟังไม่อยากเห็นเลย เราไม่เอาใจใส่ที่จะรู้ แต่ที่นี้ข่าวฟุ้งไปถึงพระราชบิดาของนางทั้งสอง เท้าวิษณุกรก็แอบมาดูลูกของท่าน โกรธเหมือนไฟฟ้าไหม้กอแฝก แต่พอเห็นพระลอมีรูปโฉมงดงาม ความงามของพระลอสามารถระงับดับไฟที่ไหม้ได้ ก็เลยรำพึงว่า ชะรอยจะตกแต่งขึ้นมาได้ อยู่ไกลแสนไกลแต่ใกล้ยิ่งกว่าใกล้

        พระลอหล่อมาก ใครเห็นแล้วอยากดูต่อ เรารู้ว่าพระลออยู่ในเงื้อมมือเราร้อยเท่าไปไม่พ้นเป็นแน่ ได้คว้าเอามาไว้ในเงื้อมมือเรา เอาเป็นเขยแขกแก้ว คือเป็นคนแปลกหน้า และเป็นคนที่มาหาเราเอง เป็นคนมียศไม่รู้ที่สิ้นสุด ก็เลยตัดสินพระทัยว่าไม่แปลก ทรงใจกว้างมาก เพราะอยู่ดีๆ ก็ไปสืบได้ว่า พระลอเข้าไปได้พระเพื่อนพระแพงแล้ว พ่อของผู้หญิงแทนที่จะโกรธมาก แต่เห็นรูปลักษณ์ของพระลอแล้วโกรธไม่ลง ประกอบกับรู้ว่าเป็นใคร ก็เลยเต็มใจยอมรับ

        เท้าวิษณุกรก็เข้าไปให้เห็นพระองค์ แล้วก็เข้าไปพูดกับสองพระนางกับพระลอ แล้วก็เลยอธิบายว่า นี่เป็นพ่อน่ะ พระลอก็เลยมาฝากเนื้อฝากตัว ข้าทิ้งสมบัติ มาแต่ตัวเพื่อมาเฝ้าบิดาผู้เป็นใหญ่ขอฝากตระกูลเดียวของข้าพระองค์ไว้ด้วย เอาไว้เป็นตระกูลเดียวกัน เท้าวิษณุกรได้ฟังก็มีพระทัยเบิกบาน เพราะนี่เป็นเมืองที่ถูกพ่อพระลอ เพราะฉะนั้นก็เลยรู้สึกว่า ดีนี่ ที่พระลอมา แล้วก็ฝากเนื้อฝากตัว จึงตรัสสั่งให้ทำพิธีวิวาห์เลย พอรับสั่งเสร็จก็กลับไปยังปราสาท ข่าวนี้รู้ไปถึงพระเจ้าย่า พระเจ้าย่าก็เลยพูดอ้อนวอนเท้าวิษณุกรว่า อ้า พระจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่ นั่นเป็นลูกไพรีใจร้ายที่ฆ่าพระราชบิดา ฆ่าพ่อเขยเลยนะ และยังแอบมาดูถูกสบประมาทลูกสาวเรา จะให้จับตัวไปฆ่าให้ได้ พระเจ้าไม่ยอม อย่าเอาไว้เลยข้าศึก เราจะให้จับตัวไป จะให้สับเป็นท่อน ๆ ให้แล่เนื้อทุกแผ่นให้หนำใจ ให้ตัดหัวแร่เนื้อเอาเกลือทา

        ลูกไพรีใจบาป ฆ่าพระราชบิดา แล้วมาดูถูกลูกหลานเรา จะให้เอาจงได้ ฯลฯ เท้าวิษณุกรพยายามบอกพระเจ้าย่าว่า ไม่เป็นไร ได้กันแล้ว ก็ให้มันแล้วไป พระเจ้าต่างหากกลับไปถึงวังพระเจ้าย่า ก็เลยพูดข่มขู่ให้ทหารจับตัวไปฆ่าซะ เพราะฉะนั้นตอนตกกลางคืน ทหารก็เข้าล้อมตำหนักพระลอสามรอบ พอเจ้านายเห็นเหตุการณ์ก็เอาไปบอกนายแก้วนายขวัญ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร พระลอก็ยิ้มแย้มแจ่มใส นี่แสดงว่ากล้าหาญมาก เพราะรู้ว่าจะตายแล้ว

        กลับแสดงท่าทางองอาจ มีอาการดังราชสีห์ รู้แล้วว่าวันนี้จะไปไม่รอดแน่ เพราะทหารมาเป็นกองร้อย ตัวนายแก้วนายขวัญก็แข่งกันอาสาขอตายก่อนพระองค์ ส่วนสองพระราชธิดาก็ก้มเศียรลงกราบที่เท้าพระลอ พระลอก็ปลอบสองนางว่า น้องทั้งสองอย่าตกใจไปเลย ไม่เป็นไรหรอก พลางตรัสบอกอย่างชื่นบาน แสดงความยิ้มหัวเล่นอย่างไม่สะทกสะท้าน ทั้งสองนางก็มีความชื่นชม แสดงน้ำใจถวายว่า น้องทั้งสองก็เป็นลูกกษัตริย์ตรี ถึงอย่างไรก็ไม่เอาใครเป็นคู่หรอก ไม่อยากอยู่ให้ใครดูถูก หากพระองค์เสด็จไปสู่สวรรค์ ข้าพระองค์ก็จะเสด็จไปกับพระองค์ พูดแล้วก็เปลื้องผ้าห่ม แล้วห่มเข้ากันให้กระชับ มีท่าทางฉะอ้อน คือสมัยก่อนเขาใส่เป็นกระโจมอก เป็นผ้าแถบ ให้กระชับเตรียมต่อสู้ แกว่งดาบแอบอยู่ข้างพระลอ ในทันใดนั้นนางโรยกับนางรื่นเกิดความยินดี เชื่อถ้อยคำที่พระธิดากล่าว จึงคิดว่า ถ้ากษัตริย์ทั้งสามองค์เสด็จสวรรค์ เราจะอยู่เป็นทาสใคร ใครจะถามเรา เราจะตายตามเจ้าของตัวไปอยู่เมืองฟ้า นางรื่นนางโรยก็คือเจ้านาย ขอตายเป็นการไว้ยศให้คนชมดีกว่า คิดแล้วก็เข้าไปกราบสามกษัตริย์ แล้วแปลงเพศเป็นผู้ชาย สวมเสื้อ ถือดาบ เรารู้เลยผู้ชายใส่เสื้อแบบผู้หญิง นางรื่นนั้นวิ่งเข้าไปอยู่ด้วย นายแก้วข้างขวา นางโรยไปอยู่ข้างนายขวัญฝ่ายซ้าย ทั้งสองไม่จากกันเลยแม้สักหนึ่งวินาที พระลอทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ พระองค์เองก็มีนางเพื่อนนางแพงยืนแนบอยู่ทั้งซ้ายและขวา มีความปลื้มใจ กอดคอสองนางเข้ามาจูบแล้วกอดชมเชยกันไปมา ไม่ช้าผู้คนของย่าก็เข้ามากกระชากถึงตำหนัก นายแก้วก็เอาดาบฟาด นายขวัญก็เอาดาบแทงจนสุดแรง พวกคนที่โจมเข้ามาก็ล้มตาย ทำท่าจะหนี แต่ถูกหัวหน้าต้อนตีเข้ามา กระชากใหม่ เข้าคลุกคลี พระลอก็ฟันด้วยพระแสงดาบ ตายทับกันเกลื่อนกล่น หัวขาด แต่พวกคนก็ได้ดากันเข้าไปเป็นหน้ากระดานแห่กันเข้าไป ด้วยอาการรีบเร่ง บ้างก็เอาไม้ไล่ตี ส่วนสองพี่เลี้ยงของพระลอ ก็นำดาบฟันอย่างดุเดือด

        ตอนตายนั้นบอกไว้อย่างชัดเจน เห็นภาพพจน์มาก (คำแปล) หลบไม่ให้ถูกลูกปืน หลีกไม่ให้ถูกของ ทหารยิงปืนซ้อนๆ กันมากมาย และต่างก็พุ่งหอกกันมาหนาแน่นทั้งซ้ายและขวา สองนางพี่เลี้ยงก็โดดฟันอย่างเชี่ยวชาญ หัวขาดกระเด็น พวกทหารก็ยิงธนูขึ้นไป ปักตัวนายแก้วล้มลงดิ้นยันๆ แล้วก็ถูกนายขวัญล้มซบลงตาย นางรื่นบุกเข้าฟันข้าศึก ส่วนนางโรยแดงด้วยปลายดาบจน ดาบปักติดตัวศัตรู ผู้ที่บุกรุกเข้ามาไม่รู้ว่าเป็นผู้หญิง เขาจึงยิงธนูถึงสองนัด นางโรยกับนางรื่นวิ่งมาสู่ศพผัวของตัว ครั้นถึงก็ทิ้งตัวลงทับ ตายด้วยกันทั้งสี่คน พระลอเห็นพี่เลี้ยงของพระองค์รู้สึกชื่นชมนัก น่ารักน้ำใจพวกเขา สองราชธิดาจึงหัวเราะขึ้นดังๆ แล้วกล่าวว่า เขาซิไม่กลัวความตาย ทำให้ข้าทั้งสองเป็นชาติกษัตริย์จะกลัวตาย ทิ้งความอายไว้ให้สูญสิ้นอย่างนั้นหรือ ถ้าหากว่าตายลงก็จะไม่ต้องพลัดพรากจากพระองค์

        อันนี้ก็สะท้อนให้เห็นความกล้าหาญแล้วยังสะท้อนให้เห็นความเสียสละ จริยธรรมนายกับบ่าว บ่าวเสียสละชีวิตเพื่อนาย จริยธรรมของสามีภรรยา มันจะมีลักษณะจริยธรรมหลาย ๆ รูปแบบ

        เดียวลองดูที่คุณปู่เขียนไว้ พระลอเป็นนิยายเรื่องประจำท้องถิ่นภาคเหนือ มีเค้าโคลงเรื่องเกิดขึ้นในแคว้นล้านนาระหว่าง พ.ศ.1116 ถึง 1193 ท้องที่อันเป็นของพระลอเท่านั้นที่สอบสวนได้ความว่าอยู่ จ.แพร่ อันนี้ไม่ทราบเลยว่าจริงๆแล้ว มันมีจริงหรือไม่ อาจจะเป็นได้ก็ได้ เพราะเรื่องมันก็น่าเป็นไปได้ เราไม่ทราบแน่ชัดว่ามันจริงหรือไม่จริง มันก็เป็นไปได้ว่ามีเคล้าโคลงมาจากตำนานท้องถิ่น หรืออาจเป็นไปได้ว่า ไม่ได้เป็นความจริงเลย แต่ว่าพยายามนึกสถานที่ว่าตรงอยู่ไหนเพื่อให้เกิดความสมจริงว่า ก็มีได้สองแบบ เพราะว่าตอนแรกได้กล่าวไว้ว่า เรื่องเท้าแมนสรวง มีว่า มีพระราชาธิบดีผู้ห้าวหาญผู้หนึ่ง ทรงพระนามว่า เท้าแมนสรวง พระองค์มีอัครมเหสีโฉมงาม พระนามว่า พระนางบุญเหลือ ทรงมีสนมกำนัลต่างๆ แล้วเขาถึงที่ทางทิศตะวันออก ก็จะมีพระราชาธิบดีอีกองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าเท้าพิมพิสาคร เป็นกษัตริย์ครองเมืองสอง แต่ก็ไม่ได้บอกว่าเมืองสองอยู่ไหน เพียงแต่บอกว่าอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองสรวง แล้วก็มีการสันนิษฐานว่า อำเภอแจ้ ก็อาจเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นจะถามว่ามีความจริงเท่าไร คงลำบากน่ะ เพราะว่าเราไม่อาจทราบได้

        พระลอก่อนออกจากเมืองนั้น มีมเหสีอยู่แล้ว ชื่อนางรัชนวดี แต่ว่า ไม่สามารถที่หยุดยั้งพระลอได้ ว่า เพราะพระองค์ถูกต้องมนต์เสนห์ เดี๋ยวลองดูนะ มีตอนหนึ่งบอกว่า นางรัชนวดี พระลอก่อนที่จะออกจากเมืองแมนสรวงก็ไปลานางรัชนวดี นางรัชนวดีเจ็บในอกเศร้า มีความทุกข์ น้ำตาไหลจนเนตรบวม และตรงนี้จริงๆ แล้วก็มีคนวิจารณ์เยอะ บอกว่าเป็นวรรณคดีศักดินา ตอนนั้นพระลอโดนโจมตีเยอะ เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา เพราะว่า ในตอนไหว้ครูนั้น ในตอนแรกบอกไว้อย่างชัดเจนว่า เรื่องนี้คือสมัยอยุธยา ในตอนหนึ่งก็กล่าวถึงอยุธยาไว้อย่างชัดเจนว่า อโยธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ ราชธานี บุรีรมย์ อุดมยศยิ่งลาภ คำพูดเหล่านี้ต่อมากลายเป็นคำอธิบายของกรุงเทพฯด้วย เพราะราชการที่หนึ่ง สร้างกรุงเทพฯ มาก็จำลองอยุธยามาเกือบทุกอย่าง เพราะฉะนั้นส่วนที่เป็นอธิบายความหมายหรือเป็นชื่อเต็มของอยุธยาท่านก็เอามาเป็นชื่อกรุงเทพฯ ด้วย แต่ชัดเจนว่าสมัยอยุธยา จริง ๆ น่ะไม่ทราบว่ามหาราชองค์ใด หรืออาจจะไม่ใช่มหาราช จริงก็ได้อาจจะเป็นกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งเสียดายที่ไม่มีใครจดบันทึกไว้เลยว่าเป็นองค์ใด แม้กระทั่งศรีปราชญ์ยังไม่แน่ใจเลยว่ามีตัวตนจริงหรือปล่าว อาจจะเป็นนามแฝงก็ได้ของใครบางคน

ตอนที่ว่า


        บัดนางโรยแลนางรื่น ชื่นชมใจเชื่อแท้ แม้สามกษัตริย์สู่ฟ้า เผือจะเปนข้าผู้ใด ใครเขาจะเกรงจะขาม ขอตายตายเจ้าตน อยู่เมืองบนด้วยไท้ ไว้ยศให้คนชม ถวายบังคมนฤเบศร์ สองแปรเพศดุจชาย ห่มเสื้อกรายดาบง่า นางรื่นร่าไปสู่ อยู่ด้วยนายแก้วฝ่ายขวา นางโรยมาด้วยพลัน อยู่ด้วยนายขวัญฝ่ายซ้าย บมิผ้ายจากเจียนกัน เห็นอัศจรรย์จอมราช พระบาทเสด็จอยู่กลาง สองนางแนบสองข้าง เจ้าช้างจูบสองศรี สองกษัตริยีย์จูบท้าว สองนายน้าวสองนาง กอดกันพลางชมเชย ในทันใดนั้นนางโรมนางรื่นก็เกิดปีติ เชื่อในคำที่สองราชธิดากล่าว จึงคิดว่าถ้ากษัตริย์สามองค์เสด็จขึ้นสู่สวรรค์ เราจะอยู่เป็นข้าใคร ใครจะเกรงขามเรา คือ ถ้าเปลี่ยนนาย ตายตามไปดีกว่า อยู่เมืองฟ้า เป็นการไว้ยศให้คนชมดีกว่า คิดแล้วก็เลยตรงเข้าไปกราบสามกษัตริย์ แล้วก็เปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชายแล้วก็สู้จนตาย

        ตอนจบ ก็คือเท้าวิชัยวิษณุกรก็เลยสั่งฆ่าพระเจ้าย่า ทั้งสามกษัตริย์ คือ พระลอ พระเพื่อนพระแพงยืนตาย งามเหลือเกินสมเป็นกษัตริย์นักรบ เท้าวิชัยวิษณุกร จึงทราบว่า สามกษัตรีถึงแก่กรรมแล้ว พระองค์ ก็ทำเหมือนกับไม่โกรธ ลักษณะว่านักโทษทั้งสามตายตามกันเป็นการหนำใจแล้ว แต่ว่าผู้ใดที่กล้าสามารถอาจมาฆ่า จงมาเอารางวัล คนใดที่กล้าอาจหาญเราบำนาญให้มากยิ่งขึ้น คือเราจะให้มีศักดิ์เป็นขุน แล้วให้เป็นหมื่นเป็นพัน พวกเหล่านั้นพากันเฝ้าโดยเร็วจนครบถ้วยไม่เหลือเลย เท้าวิชัยวิษณุกรให้เอาเชือกสวมคอ เอาเชือกสามเกลียวผูกมัดคอให้แน่น แล้วให้เอาหอกจิ้มขาจดชื่อไว้หมด แล้วจึงรับสั่งให้ฟันคนเหล่านั้น ราวกับฟันหยวกกล้วย เอาดาบฟันลงไปเต็มแรงจนเกลือกกลิ้งตายกันหมด ส่วนคนที่เป็นนายๆ พระองค์สั่งให้ต้มบ้าง ให้เอาไปเผาบ้าง แต่เฉพาะตัวย่านั้นหรอก รับสั่งให้แร่เนื้อ เพราะเหตุที่ไม่ใช่มารดาตัว ท่านจึงให้ฆ่าให้ตายลำบาก แล้วรากเอาศพไปทิ้งเสียสิ้น

        การเอาศพไปทิ้งถือว่าเป็นการประจาน จึงเสด็จไปเข้า..จึงร้องไห้ไม่รู้แล้ว ออกพระวาจาว่า โอ! ลูกแก้วของพ่อ ก็คือลูกทั้งสองงามเหมือนกับแว่นฟ้า ทุกข์เท่าใดเห็นหน้าลูกแก้วพลอยหาย พ่อจะตายตามลูกแก้ว พ่อขืนอยู่ก็รู้สึกใจเจ็บไม่รู้แล้วจะอยู่ได้อย่างไร แต่ในที่สุดก็ไม่ได้ฆ่าตัวตาย และในที่สุดทั้งสองเมืองก็ตกลงที่จะเป็นมิตรกัน เพราะว่าเห็นแล้วมันเป็นความทุกข์ยากเหลือเกิน กษัตริย์ทีทรงพระเยาว์น่าทำนุบำรุงบ้านเมืองก็มาตายกันหมด เพราะฉะนั้นก็เลยตัดสินใจว่า น่าจะมีไมตรีกัน เพราะในเมืองก็มีพระนางบุญเหลือเหลืออยู่ พระลอก็สวรรคตไป ดังนั้นจึงบอกว่าควรที่จะเป็นไมตรีกัน ทั้งสองพระนครก็จัดงานเผาสามกษัตริย์ ลิลิตพระลอก็จบบริบูรณ์ สุดท้ายที่ได้กล่าวว่า

จบเสร็จมหาราชเจ้า นิพนธ์
ยอยศพระลอคน หนึ่งแท้
พี่เลี้ยงอาจเอาตน ตายก่อน พระนา
ในโลกนี้สุดแล้ เลิศล้ำ คุง สวรรค์ ฯ

        มีนักดนตรีบอกว่า มหาราชคือพระนารายณ์ แต่มีพวกหนึ่งค้านว่าไม่ใช่ ค้านว่าเป็นบรมไตรโลกนาถ แล้วก็ลิลิตพระลอจบเพียงนี้ มหาราชแต่งขึ้นเพื่อยกย่องยศพระลอว่า เป็นคนมีเกียติสูงคนหนึ่งโดยแท้ ส่วนพี่เลี้ยง สามารถเอาตัวตายก่อนเจ้าของตนนั้น ต้องเป็นการกระทำที่ดีที่สุดในโลกนี้ จบเสร็จอันนี้เป็นโคลงบทสุดท้าย บทที่ 294

จบเสร็จเยาวราชเจ้า บรรจง
กลอนกล่าวพระลอยง ยิ่งผู้
ใครฟังย่อมใหลหลง ฤๅอิ่ม ฟังนา
ดิเรกแรกรักชู้ เหิ่มแท้รักจริง ฯ

        พระเยาวราชทรงเขียนจบตรงนี้ หมายถึงพระยุพราชทรงเขียนอาจจะทรงบันทึกจากคำบอกเล่า ของมหาราชอาจเป็นกษัตริย์ที่เป็นพระราชบิดาของพระองค์ ที่กล่าวถึงความเก่งกล้าของพระลอ หาใครเปรียบมิได้ ใครฟังลิลิตพระลอแล้วก็ติดใจ ในเรื่องแรกรักผู้หญิงเป็นพิเศษของชายหนุ่มซึ่งมีน้ำใจเอิบด้วยความรักแท้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

  • "ลิลิตพระลอ วรรณกรรมสมัยอยุธยา",วรรณกรรมสมัยอยุธยา ฉบับแปล. ดร.สิทธา พินิจภูวดล. กรุงเทพฯ : โครงการวรรณกรรมอาเซียน, 2542.
  • "ลิลิตพระลอ:การศึกษาเชิงประวัติ", พินิจวรรณกรรม. ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร. กรุงเทพฯ : แม่คำผาง, 2535.
 
 
 
   Hosted by kapook.com