สนุก! ค้นหาตรวจหวยข่าว อีเมล์ หาเพื่อนคิวคิว ฟังเพลง คลาสสิฟายด์ ริงโทน เล่นเกมส์ ดูทั้งหมด »
 
  เว็บไซต์    สารบัญเว็บไทย    หางาน   วิดีโอ    เพลง    ข่าว     ความรู้    ถามตอบ    ไฟล์ข้อมูล  
 
 
หาแบบละเอียด
ช่วยเหลือ


สนุก!ความรู้ > ห้องสมุดความรู้ > สารานุกรม > สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27 > ประวัติของลิเก
ประวัติของลิเก  
 

 
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27
 
ประวัติของลิเก โดย นายสุรพล วิรุฬห์รักษ์
          ลิเก มีพัฒนาการที่สลับซับซ้อน อย่างไรก็ดี ประวัติของลิเกแบ่งออกได้เป็น ๖ ยุคหลัก คือ ลิเกสวดแขก ลิเกออกภาษา ลิเกทรงเครื่อง ลิเกลูกบท ลิเกเพชร และ ลิเกลอยฟ้า
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

หัวข้อ

ยุคลิเกออกภาษา
           คือ ยุคที่ลิเกนำเพลงออกภาษาของการบรรเลงปี่พาทย์ และการสวดคฤหัสถ์ในงานศพสมัยรัชกาลที่ ๕ มาเพิ่มเข้าไปในการแสดงลิเก เพลงออก ภาษาเป็นการแสดงล้อเลียนชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครในขณะนั้น  ด้วยการนำการแต่งกาย น้ำเสียงในการพูดภาษาไทยปนกับภาษาของตน และเพลงที่ ขับร้องในหมู่ชาวต่างชาติเหล่านั้นมาล้อเลียน เป็นที่สนุกสนาน ผู้ชมนิยมกันมาก เมื่อลิเกนำมาใช้ก็เริ่มต้นการแสดงด้วยการสวดแขกเป็นการออกภาษามลายู เพราะถือว่าเป็น การแสดงที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิริมงคล แล้วจึงต่อด้วยภาษาอื่นๆ เช่น มอญ จีน ลาว ญวน พม่า เขมร ญี่ปุ่น ฝรั่ง ชวา อินเดีย ตะลุง (ปักษ์ใต้) การแสดงออกภาษาเป็น การแสดงตลกชุดสั้นๆติดต่อกันไป ต่อมาปรับปรุงการแสดงมาเป็นเริ่มต้นด้วยสวดแขก แล้วต่อด้วยชุดออกภาษาแสดงเป็นละครเรื่องยาวอีก ๑ ชุด

[กลับหัวข้อหลัก]

การสวดคฤหัสถ์แสดงออกภาษา

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ยุคลิเกทรงเครื่อง
          การแสดงลิเกออกภาษาในส่วนที่เป็นสวดแขกกลายเป็น การออกแขก มีผู้แสดงแต่งกายเลียนแบบชาวมลายูออกมาร้องเพลงอำนวยพร มีตัวตลกถือขันน้ำตามออกมาให้ผู้แสดงเป็นแขกประพรมน้ำมนต์เพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนที่เป็นชุดออกภาษา กลายเป็นละครเต็มรูปแบบ ซึ่งวงรำมะนายังคงใช้บรรเลงตอนออกแขก  แต่ใช้ปี่พาทย์บรรเลงในช่วงละคร เครื่องแต่งกายหรูหราเลียนแบบข้าราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงเรียกว่า ลิเกทรงเครื่อง ลิเกทรงเครื่องแสดงในโรง (วิก) และเก็บค่าเข้าชม เกิดขึ้นโดยคณะของพระยาเพชรปาณี ข้าราชการกระทรวงวัง ซึ่งนำแสดงโดยภรรยา ของตน วิกพระยาเพชรปาณีตั้งอยู่นอกกำแพง เมือง หน้าวัดราชนัดดาราม ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๐ ลิเกทรงเครื่องแพร่หลายไปทั่วภาคกลางอย่างรวดเร็ว มีวิกลิเกเกิดขึ้นมากมาย ต่อมามีการนำเนื้อเรื่องและขนบธรรมเนียมของละครรำมาใช้ จนถึงขั้นแสดงเรื่องอิเหนา ตามบทพระราชนิพนธ์ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๘๔ ลิเกทรงเครื่อง ก็ประสบปัญหาการขาดแคลนวัสดุเครื่อง แต่งกายซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ผ้าและเพชรเทียม จนในที่สุดการแต่งกายชุดลิเกทรงเครื่องก็หมดไป วงรำมะนาที่ใช้กับการออกแขกก็เปลี่ยนไปใช้วงปี่พาทย์แทนเพื่อเป็นการประหยัด เพลงรานิเกลิงหรือเพลงลิเก เกิดขึ้นโดย นายดอกดิน  เสือสง่า ในยุคลิเกทรงเครื่องนี้เอง และต่อมา นายหอมหวล นาคศิริ ได้นำเพลงรานิเกลิงไปร้องด้นกลอนสดอย่างยาวหลายคำกลอน ทำให้มีชื่อเสียงและมีลูกศิษย์มากมาย ช่วงปลายยุคนี้เริ่มมีการออกอากาศลิเกทางวิทยุ
[กลับหัวข้อหลัก]

ลิเกทรงเครื่องยุคต้นๆ

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ยุคลิเกลูกบท
          อยู่ในช่วงสงคราม โลกครั้งที่ ๒ จนถึงช่วงภายหลังสงคราม  รวมเวลานานประมาณ ๑๐ ปี ลิเกในยุคนี้ แต่งกายแบบสามัญคือ เสื้อคอกลมแขนสั้น  โจงกระเบน มีผ้าคาดพุง คล้ายเครื่องแต่งกาย  ของลำตัดในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะเป็นช่วงที่อยู่ในสภาวะขาดแคลน แต่การแสดงลิเกก็ยังเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง เนื้อเรื่องที่แสดงเปลี่ยนไปเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นใหม่ ซึ่งอาศัยพื้นฐานของบทละครนอก และละครพันทางอยู่มาก
[กลับหัวข้อหลัก]

ลิเกลูกบท

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ยุคลิเกเพชร

          หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ ก็มีการตกแต่งเครื่องแต่งกายลิเกตัวพระให้หรูหราอีกครั้ง แต่มิได้กลับไปใช้รูปแบบลิเกทรงเครื่อง เริ่มต้นด้วยการสวมเสื้อกั๊กปักเพชรทับเสื้อคอกลม สวมสนับเพลา แล้วนุ่งผ้าโจงทับอย่างตัวพระของละครรำ สวมถุงน่อง สีขาวเหมือนลิเกทรงเครื่อง เอาแถบเพชร หรือ เพชรหลาŽ มาทำสังเวียนคาดศีรษะประดับขนนกสีขาวของลิเกทรงเครื่อง คาดสะเอวเพชร แถบเชิงสนับเพลาเพชร ฯลฯ มาเป็นลำดับ ส่วนผ้านุ่งใช้ผ้าไหมที่นำเข้ามา จากเมืองจีน เพราะเนื้อแข็งนุ่งแล้วอยู่ทรงไม่ ยับ สำหรับชุดลิเกตัวนางไม่ค่อยมีแบบแผน ส่วนใหญ่เป็นชุดราตรียาวสมัยนิยม มีเครื่องประดับ เช่น มงกุฎ สายสร้อย กำไล ฯลฯ แต่ไม่หรูหราเท่าตัวพระ การแสดงลิเกยุคนี้มีความหลากหลาย เพราะพยายามนำการแสดงประเภทอื่นๆเข้ามาเสริม เพื่อให้การแสดงเป็นที่นิยมอยู่เสมอ เช่น เพลงลูกทุ่งยอดนิยม เพลงจากภาพยนตร์อินเดีย การ เต้นอะโกโก้ การนำม้าขึ้นมาขี่รบกันบนเวที การทำฉากสามมิติให้ดูสมจริง เป็นต้น ลิเกได้มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์เป็นประจำ หนังสือพิมพ์ให้ความสนใจเสนอข่าวเรื่อง ลิเก โรงละครแห่งชาติให้การยอมรับและ จัดให้มีการแสดงลิเกขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยคณะลิเกของนายสมศักดิ์ ภักดี ซึ่งเป็นผู้ หนึ่งที่เริ่มขยายหน้าเวทีให้กว้างออกไปกว่าเดิมเกือบ ๒ เท่า


[กลับหัวข้อหลัก]

การแสดงของคณะลิเก สมศักดิ์ ภักดี ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ยุคลิเกลอยฟ้า
           เป็นยุคที่เวทีลิเกเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมที่มีเวทีดนตรีอยู่ทางขวาของผู้แสดง มาเป็นเวทีที่วางเครื่องดนตรี  อยู่บนยกพื้นหลังเวทีการแสดง ให้ผู้ชมได้เห็นวงดนตรีทั้งวง และได้ขยายขนาดเวทีการ แสดงออกไปจากประมาณ ๖ เมตรเป็น ๑๒ เมตร แต่ไม่มีหลังคา จึงเรียกว่า ลิเกลอยฟ้า เครื่องแต่งกายตัวพระในยุคนี้เพิ่มเครื่องเพชร มากขึ้นคือ มีแผงประดับศีรษะเพชรแทน ขนนก เสื้อรัดรูปปักเพชรที่เกิดขึ้นในปลายยุคลิเกเพชร ก็เพิ่มจำนวนเพชรจนเต็มไป ทั้งตัว ผ้านุ่งกลายเป็นแบบสำเร็จรูป ปักเพชรทั้งผืน ส่วนเครื่องประดับต่างๆก็เพิ่มจำนวนเพชรขึ้นมากกว่าแต่ก่อน ประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา เริ่มมีการนำเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ บทละครพันทางของอาจารย์ เสรี หวังในธรรม ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในขณะนั้นมาแสดงเป็นลิเก และแต่งตัวแบบละครพันทาง 
          ลิเกเป็นการแสดงเพื่อเลี้ยงชีพ ผู้ชมชอบอย่างไรก็แสดงอย่างนั้น ดังนั้นรูปแบบ การแสดงลิเกในแต่ละยุคจึงมีการปรับเปลี่ยน อยู่ตลอดเวลา สิ่งที่คงอยู่คือ ปฏิภาณศิลป์ที่ทำให้ลิเกยังคงมีความแปลกใหม่ สำหรับให้ความบันเทิงแก่คนในสังคมไทยตลอดไป

[กลับหัวข้อหลัก]

การแสดงลิเกลอยฟ้า

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ยุคลิเกสวดแขก
          คือ ยุคที่ชาวไทยมุสลิมเดินทางจากภาคใต้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในกรุงเทพมหานคร ในสมัยรัชกาลที่ ๓  แล้วได้นำการสวดสรรเสริญพระเจ้าประกอบ การตีรำมะนา (กลองหน้าเดียวตีประกอบลำตัดในปัจจุบัน) เข้ามาด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ลูกหลานชาวไทยมุสลิมก็ใช้ภาษาไทยแทนภาษามลายู สำหรับการแสดง  ลิเกสวดแขกนั้น ผู้แสดงชายนั่งล้อมเป็นวงกลม มีคนตีรำมะนาเสียงทุ้มและแหลม  ๔ ใบ หรือ ๑ สำรับ การแสดงเริ่มด้วยการสวดสรรเสริญพระเจ้าเป็นภาษามลายู จากนั้นก็ร้องเพลงด้นกลอนภาษามลายูตอนใต้ เรียกกันว่า ปันตุน หรือ ลิเกบันตน ต่อมาแปลงจากภาษามลายูเป็นภาษาไทย การแสดงบางครั้งมีการประชันวงร้องตอบโต้กัน จนกลายมาเป็นลำตัดในปัจจุบัน
[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

บรรณานุกรม
• นายสุรพล วิรุฬห์รักษ์

[กลับหัวข้อหลัก]
 

บทความอื่น ๆ ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ  
 
บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27 สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มอื่น
การควบคุมและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ
การใช้สารเคมีบางประเภท
การพัฒนาด้านการศึกษาวิจัยและการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง
โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ปัจจัยภายนอก
โรคพิษสุราเรื้อรัง
ศักยภาพของประเทศไทยในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 11
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 15
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 16
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 20
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 24
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 26
   

ผู้สนับสนุน
สนใจลงโฆษณา คลิก!

สนุก!ความรู้ > ห้องสมุดความรู้ > สารานุกรม > สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27 > ประวัติของลิเก