คลื่นสึนามิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพแสดงคลื่นสึนามิพัดขึ้นฝั่ง

คลื่นสึนามิ (ญี่ปุ่น: 津波 tsunami สึนะมิ, "คลื่นที่ท่าเรือ" หรือ "คลื่นชายฝั่ง" ?) เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่น (รวมทั้งการจุดระเบิดวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น[1]

คลื่นสึนามิไม่เหมือนกับคลื่นทะเลตามปกติ เพราะมีความยาวคลื่นยาวกว่ามาก แทนที่จะเป็นคลื่นหัวแตก (breaking wave) ตามปกติ คลื่นสึนามิเริ่มแรกอาจดูเหมือนกับว่าคลื่นน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุนี้ คลื่นสึนามิจึงมักเรียกว่าเป็นคลื่นยักษ์ (tidal wave) โดยทั่วไป คลื่นสึนามิประกอบด้วยกลุ่มคลื่นซึ่งมีคาบเป็นนาทีหรืออาจมากถึงชั่วโมง มากันเรียกว่าเป็น "คลื่นขบวน" (wave train)[2] ความสูงของคลื่นหลายสิบเมตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ขนาดใหญ่ แม้ผลกระทบของคลื่นสึนามินั้นจะจำกัดอยู่แค่พื้นที่ชายฝั่ง แต่อำนาจทำลายล้างของมันสามารถมีได้ใหญ่หลวงและสามารถมีผลกระทบต่อทั้งแอ่งมหาสมุทร คลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย

ธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เสนอเมื่อ 426 ปีก่อนคริสตกาล ว่า คลื่นสึนามิเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวใต้ทะเล[3][4] แต่ความเข้าใจในธรรมชาติของคลื่นสึนามิยังมีเพียงเล็กน้อยกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และยังมีอีกมากที่ยังไม่ทราบในปัจจุบัน ขอบเขตการวิจัยในปัจจุบันส่วนใหญ่รวมไปถึงความพยายามค้นหาความจริงว่าเหตุใดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บางครั้งจึงไม่ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ ขณะที่แผ่นดินไหวที่รุนแรงน้อยกว่ามากกลับก่อให้เกิดคลื่น พยายามพยากรณ์เส้นทางของคลื่นสึนามิข้ามมหาสมุทรอย่างแม่นยำ และยังพยากรณ์ว่าคลื่นสึนามิจะมีปฏิสัมพันธ์กับชายฝั่งแห่งหนึ่ง ๆ อย่างไร

เนื้อหา

[แก้] ศัพทมูลวิทยา

ภาพศิลปะของศิลปินชาวญี่ปุ่น "The Great Wave at Kanagawa" (จากภาพชุดของภูเขาไฟฟูจิ) ขนาดกว้าง 10 นิ้ว ยาว 15 นิ้ว ที่เก็บรักษาอยู่ที่ Metropolitan Museum of Art นิวยอร์ก แม้ภาพดังกล่าวจะถูกนำไปใช้พูดถึงคลื่นสึนามิ แต่แท้จริงแล้วภาพนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคลื่นสึนามิแต่อย่างใด

สึนามิ (ออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นคือ /tsunami สึนะมิ ซึ่งต่างกันเล็กน้อยกับการออกเสียงในภาษาอังกฤษว่า /suːnɑːmi (ː)/ สึนามิ หรือ /tsuːnɑːmi (ː)/ (ทซู) นามิ (ท ควบ ซ ในเสียงญี่ปุ่น) คำว่า "สึนามิ" มีความหมายว่า "ท่าเรือ" (津 สึ) และ "คลื่น" (波/浪 นะมิ)

บางครั้งคลื่นสึนามิถูกเรียกว่า คลื่นยักษ์ แต่ในช่วงปีหลัง คำนี้ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงวิทยาศาสตร์ เพราะคลื่นสึนามิไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับกระแสน้ำเลย คำว่า "คลื่นยักษ์" ที่ครั้งหนึ่งเคยนิยมใช้นี้ มาจากลักษณะปรากฏทั่วไปที่สุด ซึ่งคือ คลื่นทะเลหนุน (tidal bore) สูงผิดปกติ ทั้งคลื่นสึนามิและกระแสน้ำต่างก็ก่อให้เกิดคลื่นน้ำที่พัดพาเข้าสู่ฝั่ง แต่ในกรณีของคลื่นสึนามิ การเคลื่อนที่ของน้ำในแผ่นดินนั้นยิ่งใหญ่กว่าและกินเวลานานกวามาก จึงให้ความรู้สึกของกระแสน้ำสูงอย่างน่าเหลือเชื่อ คำว่า "คลื่นสึนามิ" เองก็ไม่ถูกต้องนักเมื่อเทียบกับ "คลื่นยักษ์" เพราะคลื่นสึนามิไม่จำกัดอยู่เฉพาะกับท่าเรือ บรรดานักธรณีวิทยาและนักสมุทรศาสตร์ต่างไม่เห็นด้วยกับคำว่าคลื่นยักษ์

[แก้] ลักษณะของคลื่น

ลักษณะการเกิดของสึนามิ

คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นน้ำธรรมดามาก ตัวคลื่นนั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกล โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้ โดยทั่วไปแล้วคลื่นสึนามิซึ่งเป็นคลื่นในน้ำ จะเดินทางได้ช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นที่เดินทางในพื้นดิน ดังนั้น คลื่นอาจเข้ากระทบฝั่งภายหลังจากที่ผู้คนบริเวณนั้นรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาหลายชั่วโมง[ต้องการอ้างอิง]

คลื่นโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติสำคัญที่วัดได้อยู่สองประการคือ คาบ ซึ่งจะเป็นเวลาระหว่างลูกคลื่นสองลูก และ ความยาวคลื่น ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างลูกคลื่นสองลูก ในทะเลเปิด[ต้องการอ้างอิง] คลื่นสึนามิมีคาบที่นานมาก โดยเริ่มจากไม่กี่นาทีไปจนเป็นชั่วโมง ในขณะเดียวกันก็มีความยาวคลื่นที่ยาวมาก โดยอาจยาวถึงหลายร้อยกิโลเมตร ในขณะที่คลื่นทั่วไปที่เกิดจาก ลมที่ชายฝั่งนั้นมีคาบประมาณ 10 วินาที และมีความยาวคลื่นประมาณ 150 เมตรเท่านั้น ความสูงของคลื่นในทะเลเปิดมักน้อยกว่าหนึ่งเมตร[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งทำให้ไม่เป็นที่สังเกตของผู้คนบนเรือ คลื่นสึนามิจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วตั้งแต่ 500 ถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ชายฝั่งที่มีความลึกลดลง คลื่นจะมีความเร็วลดลงและเริ่มก่อตัวเป็นคลื่นสูง โดยอาจมีความสูงมากกว่า 30 เมตร[ต้องการอ้างอิง]

คลื่นสึนามิจะเคลื่อนตัวออกจากแหล่งกำเนิด ดังนั้น ชายฝั่งที่ถูกกำบังโดยแผ่นดินส่วนอื่นๆ มักปลอดภัยจากคลื่น อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่คลื่นจะสามารถเลี้ยวเบนไปกระทบได้ นอกจากนี้ คลื่นไม่จำเป็นต้องมีความแรงเท่ากันในทุกทิศทุกทาง โดยความแรงจะขึ้นกับแหล่งกำเนิดและลักษณะของภูมิประเทศแถบนั้น[ต้องการอ้างอิง]

คลื่นจะมีพฤติกรรมเป็น "คลื่นน้ำตื้น" เมื่ออัตราส่วนระหว่างความลึกของน้ำและขนาดของคลื่นนั้นมีค่าต่ำ ดังนั้น เนื่องจากมีขนาดของคลื่นที่สูงมาก คลื่นสึนามิจึงมีคุณสมบัติเป็นคลื่นน้ำตื้นแม้อยู่ในทะเลลึกก็ตาม คลื่นน้ำตื้นนั้นมีความเร็วเท่ากับรากที่สองของผลคูณระหว่างความเร่งจากสนามแรงโน้มถ่วง (9.8 เมตร/วินาที2) และความลึกของน้ำ ตัวอย่างเช่น ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร คลื่นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 200 เมตรต่อวินาที หรือ 720 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนที่ชายฝั่งที่มีความลึก 40 เมตร คลื่นจะมีความเร็วช้าลงเหลือ 20 เมตรต่อวินาที หรือ 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

[แก้] สาเหตุการเกิด

คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชน[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกระทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าแผ่นดินมีขนาดใหญ่มากพอ อาจทำให้เกิด เมกะสึนามิ ซึ่งอาจมีความสูงร่วมร้อยเมตรได้[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] เมกะสึนามิ และ คลื่นเซช

มีหลักฐานว่าเมกะสึนามิที่มีความสูงมากกว่า 100 เมตรนั้นเกิดขึ้นได้ เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นจากเนื้อที่ขนาดใหญ่บางส่วนของเกาะพังทลายลงสู่ทะเล หรืออุกกาบาตตกลงสู่ทะเล เมกะสึนามิจะสามารถทำอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อพื้นที่ชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลออกไปได้[ต้องการอ้างอิง]

ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสึนามิคือ คลื่นเซช (seiche) แผ่นดินไหวที่รุนแรงมักทำให้เกิดทั้งคลื่นสึนามิและคลื่นเซช มีหลักฐานว่าคลื่นเซชอาจเกิดจากคลื่นสึนามิได้เช่นกัน[ต้องการอ้างอิง]

คลื่นสึนามิที่สูงที่สุดที่เคยมีการบันทึกไว้มีความสูงกว่า 500 เมตร โดยเกิดจากแผ่นดินถล่มที่รัฐอลาสกาในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) อย่างไรก็ตาม เมื่อคลื่นไปถึงทะเลเปิดมันได้สลายตัวไปอย่างรวดเร็ว ความสูงของคลื่นสึนามินั้นถูกกำหนดโดยลักษณะของพื้นที่มากกว่าพลังงานที่เกิดจากแผ่นดินถล่ม [ต้องการอ้างอิง]

ส่วนค่าของความดันน้ำแบบ static หาได้จากสมการ

\,\! P = \rho gh[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อ
P = ความดัน มีหน่วยเป็น นิวตัน/ตารางเมตร,
\rho = ความหนาแน่นของน้ำทะเลมีค่า = 1.1 x 103 kg/m3
g = ค่าความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงซึ่งมีค่า = 9.8 m/s2
h = ความสูงของน้ำ

น้ำที่มีความลึกประมาณ 10 เมตร ดังนั้น ความดันของน้ำจะมีค่าเท่ากับ
\,\! P = \rho gh= (1.1 * 10^3 \frac{kg}{m^3}) (9.8 \frac{m}{s^2}) (10 m) =1.07*10^5 \frac{N}{m^2}
หรือประมาณ 11 ตันต่อตารางเมตร[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] สัญญาณเกิดเหตุและระบบเตือนภัย

สัญญาณเตือนคลื่นสึนามิที่เมืองกามากุระ ประเทศญี่ปุ่น
กำแพงกั้นสึนามิ ในญี่ปุ่น

ขณะที่จุดต่ำสุดของคลื่นเคลื่อนเข้าสู่ฝั่ง ระดับน้ำทะเลจะลดลงและทำให้ขอบทะเลร่นถอยออกจากชายฝั่ง ถ้าชายฝั่งนั้นมีความลาดชันน้อย ระยะการร่นถอยนี้อาจมากถึง 800 เมตร ผู้ที่ไม่ทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นอาจยังคงรออยู่ที่ชายฝั่งด้วยความสนใจ นอกจากนี้บริเวณที่ต่ำ อาจเกิดน้ำท่วมได้ก่อนที่ยอดคลื่นจะเข้าปะทะฝั่ง น้ำที่ท่วมนี้อาจลดลงได้ก่อนที่ยอดคลื่นถัดไปจะเคลื่อนที่ตามเข้ามา ดังนั้นการทราบข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นสึนามิจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ตระหนักถึงอันตราย ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ระดับน้ำในครั้งแรกลดลงไปนั้น อาจมีคลื่นลูกใหญ่ตามมาอีกได้

ประเทศและบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิได้มีการติดตั้งระบบเตือนภัยเพื่อพยากรณ์ และตรวจจับการเกิดขึ้นของคลื่นยักษ์นี้

แม้การป้องกันไม่ให้คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจะยังทำไม่ได้ ในบางประเทศได้มีการสร้างเครื่องป้องกันและลดความเสียหายในกรณีที่คลื่นสึนามิจะเข้ากระทบฝั่ง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นได้มีการสร้างกำแพงป้องกันสึนามิที่มีความสูงกว่า 4.5 เมตร ด้านหน้าของชายฝั่งบริเวณที่มีประชากรหนาแน่น บางที่ได้มีการสร้างกำแพงกันน้ำท่วมและทางระบายน้ำเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางของคลื่น และลดแรงกระแทกของคลื่น ถึงแม้ว่า ในกรณีของคลื่นสึนามิที่เข้ากระทบเกาะฮอกไกโดที่มักมีความสูงมากกว่าเครื่องกีดขวางที่ได้สร้างขึ้น กำแพงเหล่านี้อาจช่วยลดความเร็วหรือความสูงของคลื่นแต่ไม่สามารถที่จะป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้

สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) หลังจากที่คลื่นสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้น้ำเข้ากระทบชายฝั่งทางใต้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกมาตรการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ เพื่อเตือนประชาชนให้ป้องกันตัวโดยไม่ต้องรอประกาศจากทางราชการ

[แก้] ประวัติเกี่ยวกับสึนามิที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

แม้ว่าสึนามิจะเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็เป็นที่รู้จักกันดีว่าปรากฏการณ์สึนามิได้เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนอื่นๆของโลกด้วยเช่นกัน และมีข้อมูลเก่าแก่มากมายหลายชิ้นที่พูดถึง "สึนามิ" ที่มีอำนาจทำลายล้างสูงนี้ ซึ่งเรียงตามลำดับการเกิดขึ้นก่อนหลังได้ดังต่อไปนี้[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] 6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช

สึนามิที่เกิดขึ้นในช่วง 6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นคลื่นสึนามิใต้น้ำที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ อันเป็นผลจากการเลื่อนตัวของชั้นหินที่เรียกว่า "Storegga Slide" ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินใต้น้ำครั้งใหญ่ติดต่อกันเป็นระลอก ๆ ยาวนานเป็นเวลาหลายหมื่นปี[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] เกาะซานโตรินี่

ในปี 1650 ก่อน ค.ศ. คลื่นสึนามิจากภูเขาไฟระเบิดในเกาะซานโตรินี่ (Santorini) ในช่วงระหว่างปี 1650 ก่อน ค.ศ. ถึง 1600 ก่อน ค.ศ. (เวลาที่แน่นอนยังถกเถียงกันอยู่) ภูเขาไฟในเกาะซานโตรินี่ของกรีซระเบิดขึ้น ทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ "สึนามิ" ที่มีความสูงตั้งแต่ 100 เมตรถึง 150 เมตร ซึ่งถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งทางด้านเหนือของเกาะครีต (Crete) [ต้องการอ้างอิง] ซึ่งอยู่ห่างออกไป 70 กิโลเมตร (45 ไมล์) พร้อมกวาดทำลายต้นไม้ทุกต้นที่ขึ้นอยู่ในแนวป่ามิโนอัน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเขียวชอุ่มรอบชายฝั่งทางเหนือของครีตจนหายวับไปหมดในชั่วพริบตา คาดกันว่าคลื่นใต้น้ำ "ซานโตรินี่" คือแหล่งข้อมูลที่ทำให้เพลโต (Plato) เกิดแรงบันดาลใจในการเขียนวรรณกรรมเป็นนวนิยายดังเรื่องแอตแลนติส (Atlantis) และนักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า คลื่นสึนามิ "ซานโตรินี่" ที่เกิดขึ้นครั้งนี้คือแหล่งที่มาสำคัญที่นำไปสู่การบันทึกถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก (Great Flood) ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทั้งของชาวยิว คริสเตียน และชาวอิสลาม[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส

คลื่นใต้น้ำที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวที่เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) ชาวโปรตุเกสจำนวนหลายหมื่นคนรอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ลิสบอนในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) แต่กลับต้องเสียชีวิตไปทันที ด้วยคลื่นสึนามิที่โถมเข้าทำลายหลังเกิดแผ่นดินไหวได้เพียงไม่กี่นาที เนื่องจากคนจำนวนมากหนีภัยแผ่นดินไหวออกไปยังแนวชายฝั่งทะเล ด้วยเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่มีความปลอดภัย พ้นอันตรายจากไฟไหม้ และการร่วงหล่นของเศษสิ่งของต่าง ๆ ได้ เมื่อเกิดอ๊าฟเตอร์ช็อก ก่อนหน้าที่กำแพงน้ำที่สูงใหญ่ จะถาโถมเข้าถล่มท่าเรือบนชายฝั่งนั้น น้ำทะเลได้เหือดแห้งลดระดับลงไปมากจนซากเรือสินค้าเก่า ๆ ที่ปรักหักพังและหลงลืมกันไปแล้ว โผล่ขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน[ต้องการอ้างอิง]

แผ่นดินไหว สึนามิ และไฟไหม้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้สังหารชาวเมืองลิสบอนไปมากกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนชาวเมืองทั้งหมดประมาณ 275,000 คน[ต้องการอ้างอิง] บันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสำรวจทางทะเลของ วาสโก ดา กามา และ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ที่เก็บไว้ก็สูญหายไป ตึกรามอาคารต่าง ๆ จำนวนนับไม่ถ้วนถูกทำลาย (รวมถึงตัวอย่างส่วนใหญ่ของสถาปัตยกรรมแบบ Manueline ของโปรตุเกส) การพังพินาศของลิสบอนยังส่งผลให้ความทะเยอทะยานด้านการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิโปรตุเกสสะดุดลงด้วย[ต้องการอ้างอิง] ชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 พยายามที่จะเข้าใจภัยพิบัติที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบของศาสนา และระบบความเชื่อในหลักแห่งเหตุผล นักปรัชญาในยุคส่องสว่าง (the Enlightenment) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วอลแตร์ ได้บันทึกเรื่องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แนวความคิดหลักปรัชญาของการทำให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ดังเช่นที่อธิบายโดยนักปรัชญา อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) ในหนังสือ The Observation on the Feeling of the Beautiful and Sublime นั้นก็ได้แรงบันดาลใจบางส่วนมาจากความพยายามที่จะเข้าใจถึงความร้ายกาจของเหตุการณ์แผ่นดินไหว และคลื่นใต้น้ำสึนามิ ที่ลิสบอนครั้งนี้[ต้องการอ้างอิง]

สัตว์จำนวนมากรู้โดยสัญชาตญาณถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น และได้หนีภัยขึ้นไปยังพื้นที่สูง ก่อนหน้าที่น้ำทะเลจะซัดเข้าฝั่ง แผ่นดินไหวที่ลิสบอนเป็นกรณีแรกที่มีการบันทึกไว้เป็นเอกสารหลักฐาน[ต้องการอ้างอิง] เกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวในทวีปยุโรป ปรากฏการณ์ในลักษณะนี้ ได้รับการบันทึกไว้เช่นกันในศรีลังกาในปี พ.ศ. 2547 เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย นักวิทยาศาสตร์บางรายสงสัยว่าสัตว์ต่าง ๆ อาจมีความสามารถในการรับสัญญาณคลื่นเรย์ลีความถี่ต่ำ (subsonic Rayleigh waves) ได้จากการไหวของแผ่นดินในช่วงเวลาไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมง ก่อนที่คลื่นใต้น้ำจะพัดกระหน่ำเข้าสู่ชายฝั่ง[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] เกาะกรากะตัว

ภูเขาไฟบนเกาะกรากะตัว ในประเทศอินโดนีเซีย เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) หินเหลวละลายใต้ปล่องภูเขาไฟถูกพ่นออกมาจำนวนมาก เกิดโพรงขนาดใหญ่ขึ้นใต้ดิน ทำให้พื้นแผ่นดินที่อยู่เบื้องบนและพื้นทะเลยุบตัวลง ส่งผลให้เกิดระลอกคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ขึ้น บางลูกมีความสูงกว่า 40 เมตรจากระดับน้ำทะเล ระลอกคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในอินโดนีเซียครั้งนี้เคลื่อนตัวถาโถมเข้าสู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแปซิฟิก, ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกา, อเมริกาใต้, และบริเวณที่ห่างไกลออกไปอีกในช่องแคบอังกฤษ[ต้องการอ้างอิง] ส่วนพื้นที่ชายฝั่งใกล้เคียงในเกาะชวาและสุมาตรา กระแสน้ำทะเลไหลบ่าท่วมทะลักเข้าไปถึงพื้นแผ่นดินภายในซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลเข้าไปเป็นระยะทางหลายไมล์ สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติครั้งนี้ และทำให้ไม่มีการเข้าไปตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวอีกเลย ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ได้กลายเป็นเขตป่าทึบมีชื่อว่า เขตอนุรักษ์ธรรมชาติอูจังกูลอน (Ujung Kulon nature reserve) [ต้องการอ้างอิง]

[แก้] สึนามิแปซิฟิก

พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - สึนามิแปซิฟิก (Pacific Tsunami) แผ่นดินไหวในหมู่เกาะอาลิวเชียน ในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าสู่ฮาวายและอะแลสกา ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 165 คน มหันตภัยสึนามิที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นส่งผลให้เกิดการก่อสร้างระบบเตือนภัยสึนามิสำหรับบรรดาประเทศที่ตั้งอยู่ตามบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกขึ้นในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) [ต้องการอ้างอิง]

[แก้] สึนามิชิลี

พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - สึนามิชิลี (Chilean tsunami) แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ชิลี (The Great Chilean Earthquake) มีระดับความรุนแรง 9.5 ริกเตอร์ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้[ต้องการอ้างอิง] เกิดขึ้นบริเวณนอกชายฝั่งตอนกลางทางใต้ของประเทศชิลี ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่สร้างความวิบัติหายนะอย่างรุนแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20[ต้องการอ้างอิง] คลื่นสึนามิเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด ขนาดคลื่นมีความสูงถึง 25 เมตร เมื่อคลื่นสึนามิเคลื่อนตัวเข้าถล่มโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น หลังจากเกิดแผ่นดินไหวนานเกือบ 22 ชั่วโมงนั้น ขนาดความสูงของคลื่นที่มีการบันทึกไว้ระบุว่าสูงถึง 10 ฟุตเหนือระดับกระแสน้ำ ประมาณการณ์ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นตามมามีจำนวนระหว่าง 490 - 2,290 ราย[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] สึนามิกู๊ดฟรายเดย์

พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - สึนามิกู๊ดฟรายเดย์ (Good Friday Tsunami) แผ่นดินไหวกู๊ดฟรายเดย์ขนาด 9.2 ริกเตอร์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ก่อให้เกิดคลื่นสินามิถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งอะลาสก้า, บริติช โคลัมเบีย, แคลิฟอร์เนียและชายฝั่งเมืองแปซิฟิกนอร์ธเวสต์ในสหรัฐอเมริกา ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 122 คน คลื่นสึนามิมีความสูงถึง 6 เมตร ในเมือง Crescent City ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปในแคลิฟอร์เนียมีผู้เสียชีวิต 11 คน[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] สึนามิจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย

ภาพแสดงสึนามิเมื่อปลายปี พ.ศ. 2547

พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - สึนามิจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย คลื่นสึนามิครั้งแรกในประเทศไทยเกิดจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ระลอกคลื่นยักษ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตล่าสุดจำนวนกว่า 165,000 ราย[ต้องการอ้างอิง] (มากกว่า 105,000 รายเสียชีวิตในอินโดนีเซีย[ต้องการอ้างอิง]) คลื่นสึนามิได้ถาโถมเข้าถล่มและคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณที่ใกล้กับจุดเกิดแผ่นดินไหว เช่น อินโดนีเซีย, ไทย, และพื้นที่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย ไปจนถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายพันกิโลเมตรในบังกลาเทศ, อินเดีย, ศรีลังกา, หมู่เกาะมัลดีลฟ์, และแม้กระทั่งโซมาเลีย, เคนยา, และแทนซาเนีย ซึ่งตั้งอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก[ต้องการอ้างอิง]

ประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดียเหล่านี้ ยังไม่มีระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิที่สมบูรณ์พอดังเช่นประเทศในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่มีภัยพิบัติที่เกิดจากคลื่นยักษ์ในภูมิภาคมานานแล้ว นับตั้งแต่เกิดคลื่นสึนามิจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 36,000 คน [ต้องการอ้างอิง] ภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียล่าสุดนี้ส่งผลให้ยูเนสโกและองค์การระหว่างประเทศหลายแห่งออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องให้มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิโลกขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • วันเวลา - สถานที่เกิด
  • 26 สิงหาคม พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) - ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิด
  • 16 สิงหาคม พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - รอบอ่าวโมโร (เมืองโคตาบาโต) ประเทศฟิลิปปินส์
  • 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
  • 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - หมู่เกาะเมินตาวัย ประเทศอินโดนีเซีย
  • 11 เมษายน พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - หมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ขนาดแรง 8.9 ริกเตอร์ อาฟเตอร์ช็อค 8.3 ริกเตอร์ ประเทศไทยสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ เกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็ก และไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

[แก้] สึนามิในเอเชียใต้

สึนามิในเอเชียใต้[5]

...

[แก้] สึนามิในอเมริกาและแคริบเบียน

[แก้] สึนามิอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

สึนามิที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมาของโลกยังมีอีกมากมาย ที่สำคัญๆ ประกอบด้วย

  • ครั้งที่ 1 20 มกราคม พ.ศ. 2150 (ค.ศ. 1607) : ประชาชนจำนวนหลายพันคนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งช่องแคบอังกฤษ (Bristol Channel) จมน้ำเสียชีวิต ขณะที่บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและหมู่บ้านหลายแห่งถูกน้ำพัดกวาดหายลงไปในทะเลจากกระแสน้ำที่เอ่อท่วมอย่าวรวดเร็วซึ่งอาจเป็นคลื่นสึนามิ สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในครั้งนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุ 2 ประการที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันโดยมิได้คาดหมายมาก่อน คือ สภาพดินฟ้าอากาศที่วิปริตอย่างรุนแรงและช่วงกระแสน้ำทะเลที่หนุนขึ้นสูงสุด [ต้องการอ้างอิง]
  • ครั้งที่ 2 มหันตภัยสึนามิครั้งเลวร้ายที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ถาโถมเข้าถล่มหมู่บ้านหลายหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งเกาะซานริกู (Sanriku) ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) คลื่นที่มีความสูงกว่าตึก 7 ชั้น (ประมาณ 20 เมตร) พร้อมกับกวาดกลืนชีวิตผู้คนจำนวน 26,000 คนลงสู่ท้องทะเล [ต้องการอ้างอิง]
  • ครังที่ 3 พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) : เกิดแผ่นดินเลื่อนตัวใต้ทะเลที่หมู่เกาะ Aleutian คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นถาโถมเข้าสู่เกาะฮาวายกลืนชีวิตผู้คนไป 159 ราย (ขณะที่อีก 5 ราย เสียชีวิตในอะลาสก้า) [ต้องการอ้างอิง]
  • ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) : สึนามิที่เกิดขึ้นในอ่าว Lituya Bay รัฐอะลาสก้า เป็นสึนามิขนาดมหึมาขนาดเมก้าสึนามิ เกิดจากน้ำแข็งถล่ม เป็นสึนามิเฉพาะท้องถิ่น เนื่องจากพื้นที่ได้รับผลกระทบจำกัดวงอยู่เฉพาะในอ่าว แต่ได้รับการบันทึกไว้ว่าเป็นคลื่นสึนามิที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีความสูงมากกว่า 500 เมตร ( 1,500 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล คลื่นที่เกิดไม่สามารถเคลื่อนตัวออกไปไกลจากแนวฟยอร์ด (fjord) ที่ล้อมรอบอยู่ได้ แต่ก็ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 รายจากเรือที่เข้าไปทำการประมงอยู่ในบริเวณนั้น และพลานุภาพของมันก็ทำให้พื้นดินบริเวณนั้นถูกกลืนหาย

ไปเกือบหมด และมีแผ่นดินบางส่วนจมลงไปใต้น้ำ [ต้องการอ้างอิง]

  • ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) : 16 สิงหาคม (เที่ยงคืน) เกิดคลื่นสึนามิเข้าถล่มภูมิภาครอบอ่าวโมโร (เมืองโคตาบาโต) ประเทศฟิลิปปินส์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,000 ราย [ต้องการอ้างอิง]
  • ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) : ประชาชนจำนวน 104 รายในภาคตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นเสียชีวิตจากคลื่นสึนามิที่โถมเข้าถล่มหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่ใกล้เคียง [ต้องการอ้างอิง]
  • ครั้งที่ 7 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) : สึนามิปาปัวนิวกินีคร่าชีวิตผู้ชนจำนวนประมาณ 2,200 ราย หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงระดับ 7.1 ริกเตอร์ในบริเวณ 15 กิโลเมตร นอกชายฝั่งปาปัวนิวกินี และจากห่างจากเวลานั้นเพียงแค่ 10 นาที คลื่นยักษ์สูง 12 เมตรก็เคลื่อนเข้าถล่มชายฝั่ง ในขณะที่ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวยังไม่สามารถที่จะก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ขนาดใหญ่ดังกล่าวได้โดยตรงแต่การที่เกิดคลื่นยักษ์ได้นั้น เชื่อกันว่า เนื่องจากแผ่นดินไหวส่งผลให้แผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเลื่อนตัว และเหตุการณ์หลังนี้ทำให้เกิดสึนามิขึ้น สองหมู่บ้านของปาปัวนิวกินีคือ อารอป และวาราปู ถูกทำลายเรียบเป็นหน้ากลอง [ต้องการอ้างอิง]

[แก้] การทำนายว่าจะเกิดเป็นคลื่นสึนามิ

มีความเป็นไปได้ว่าเป็นคลื่นสึนามิในบริเวณ [6]

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Barbara Ferreira (April 17, 2011). "When icebergs capsize, tsunamis may ensue". Nature. http://blogs.nature.com/barbaraferreira/2011/04/17/when-icebergs-capsize. เรียกข้อมูลเมื่อ 2011-04-27. 
  2. ^ Fradin, Judith Bloom and Dennis Brindell (2008). Witness to Disaster: Tsunamis. Witness to Disaster. Washington, D.C.: National Geographic Society. pp. 42, 43. http://shop.nationalgeographic.com/ngs/product/books/kids-books-and-atlases/animals-and-nature/witness-to-disaster%3A-tsunamis. 
  3. ^ Thucydides: “A History of the Peloponnesian War”, 3.89.1–4
  4. ^ Smid, T. C. (Apr., 1970). 'Tsunamis' in Greek Literature. 17 (2nd ed.). pp. 100–104. 
  5. ^ Amateur Seismic Center, India
  6. ^ NOAA National Weather Service Forecast Office

3.ดาณุภา ไชยพรธรรม, 2552. สึนามิ - แผ่นดินไหว มหันตภัยใกล้ตัว : Tsunami - Earthquake Nature's Time Bomb, พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มายิก.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Wikibooks
วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ:
คลื่นสึนามิ
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
หมวดหมู่:คลื่นสึนามิ
Commons

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น