สนุก! ค้นหาตรวจหวยข่าว อีเมล์ หาเพื่อนคิวคิว ฟังเพลง คลาสสิฟายด์ ริงโทน เล่นเกมส์ ดูทั้งหมด »
 
  เว็บไซต์     สารบัญเว็บไทย     หางาน    วิดีโอ     เพลง     ข่าว     ความรู้     ถามตอบ     ไฟล์ข้อมูล  
 
 
หาแบบละเอียด
ช่วยเหลือ


สนุก!ความรู้ > ห้องสมุดความรู้ > สารานุกรม > สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 1 > ดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์  
 

 
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 1
 
ดวงอาทิตย์ โดย ระวี ภาวิไล

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

หัวข้อ

"พื้นผิว" ดวงอาทิตย์ หมายความอย่างไร1
          ดังได้กล่าวแล้วว่า ดวงอาทิตย์เป็นก้อนก๊าซ ดังนั้น การกล่าวถึง "พื้นผิว" จึงดูไม่มีความหมายอย่างใด ตามสามัญสำนึก ถ้าเรามองดูขอบดวงอาทิตย์ ก็น่าจะได้เห็นขอบของมันเลือนลางไม่ชัดเจน  แต่ความจริงถ้าเราส่องดูดวงอาทิตย์โดยกล้องโทรทรรศน์  ซึ่งมีอุปกรณ์กรองแสงและความร้อนจัดเพื่อป้องกันอันตรายแก่ดวงตา  จะเห็นว่าขอบของดวงอาทิตย์นับว่าคมพอใช้  ข้อนี้อาจทำให้เกิดความสนเท่ห์ว่าเหตุใดก้อนก๊าซนี้จึงมีขอบคมชัดเจน อย่างไรก็ตามเมื่อนักดาราศาสตร์ได้นำหลักเกณฑ์ทางฟิสิกส์เกี่ยวกับการทับถมกันหนาแน่นของก๊าซ  และเกี่ยวกับการแผ่รังสีของก๊าซร้อนมาใช้คำนวณทดสอบดูแล้วก็พบว่าที่ขอบของก้อนก๊าซ (คือดวงอาทิตย์) นี้ ความเข้มของรังสีที่แผ่กระจายออกมาจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ในช่วงระยะทางสั้นๆ  ตามแนวเส้นรัศมีเข้าสู่ศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ระยะนี้สั้นมาก เมื่อเทียบกับรัศมีของดวงอาทิตย์เอง จนกระทั่งอุปกรณ์สามัญ ที่เราใช้สำรวจก็ส่องเห็นเป็นขอบสว่างซึ่งค่อนข้างคมได้
          เราอาจพิจารณาขอบของดวงอาทิตย์  ที่สำรวจได้ในแสงสว่างธรรมดานี้ให้ละเอียดถี่ถ้วนขึ้นอีกเล็กน้อย  ถ้าเรามองตามแนวที่ผ่านขอบดวงอาทิตย์เหนือขอบดวงเล็กน้อย เราอาจจะมองเห็นของที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ออกไปได้   เพราะว่าก๊าซของดวงอาทิตย์ยังไม่ทึบบังเสียหมด   ต่อเมื่อเราค่อยเลื่อนแนวเล็งนั้น  ใกล้ขอบดวงอาทิตย์มากเข้า   ก๊าซของดวงอาทิตย์จะบังแนวเล็งยิ่งขึ้น  ในที่สุดเมื่อเลื่อนเข้าชิดดวงอาทิตย์ถึงระดับหนึ่ง   แสงสว่างจากวัตถุที่อยู่ข้างหลังดวงอาทิตย์จะผ่านมาไม่ได้เลย เพราะก๊าซของดวงอาทิตย์ทึบบังหมดพอดี  ในกรณีนี้แสงสว่างที่มาเข้าตาหรืออุปกรณ์ของเรา มาจากก๊าซในบรรยากาศของดวงอาทิตย์ทั้งหมดที่ระดับนี้เอง เราเห็นขอบคมของดวงอาทิตย์
          นักดาราศาสตร์ได้กำหนดใช้ระดับนี้เป็นระดับ "พื้นผิว" ของดวงอาทิตย์ เพื่อความสะดวกในการกล่าวถึงสภาพของก๊าซ  ในระดับต่างๆ  ที่สูงขึ้นมา  หรือที่ลึกลงไปภายในดวงอาทิตย์
          แผนภาพในหน้านี้แสดงการเห็นขอบคมของดวงอาทิตย์ และระดับลึกลงไปในบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ซึ่งอาจมองเห็นลงไปได้ตามตำแหน่งต่างๆ    บนตัวดวง ตามหลักความสัมพันธ์ของความลึกและความทึบต่อรังสีของก๊าซในบรรยากาศของดวงอาทิตย์
          ในแผนภาพนี้ ชั้นก๊าซในบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ถูกขยายสัดส่วนให้หนาขึ้นเกินความจริง เมื่อเทียบกับส่วนในของดวงอาทิตย์ เพื่อแสดงหลักเกณฑ์ที่กล่าวถึงให้ชัดเจนขึ้น
             เป็นวัตถุสมมุติอยู่เบื้องหลังของดวงอาทิตย์  ไกลออกไปในแนวทางตรงข้ามกับผู้สังเกตการณ์ ถ้าลำแสงจาก     ซึ่งเดินทางมายังผู้สังเกตการณ์   เฉียดบรรยากาศของดวงอาทิตย์   และถูกดูดไว้โดยก๊าซในบรรยากาศของดวงอาทิตย์ไม่หมด เหลือมาถึงตาหรืออุปกรณ์ของผู้สังเกตการณ์ได้ก็นับว่าแนวทางเดินของลำแสงนั้นยังไม่ถึงขอบดวง แต่ถ้าเลื่อนแนวลำแสงนี้ใกล้ดวงอาทิตย์มากเข้าจนถึงระดับที่แสงสว่างถูกดูด  โดยก๊าซที่หุ้มห่อดวงอาทิตย์พอดี  ก็ถือว่าระดับนั้นเป็นขอบดวงอาทิตย์ เช่น ถ้าแสงจากจุด    เดินทางมาถึงผู้สังเกตการณ์ได้พอดี ก็นับว่าแนวเส้นทางเดินแสงนั้นเฉียดขอบดวงอาทิตย์พอดี
          เมื่อเราพิจารณาแสงสว่างที่มาจากภายในขอบดวงอาทิตย์   ยิ่งใกล้กลางดวงเข้าแสงยิ่งมาจากระดับลึกยิ่งขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้เป็นเพราะแสงมาจากระดับที่มีความทึบรวมเท่ากัน   แสงที่ใกล้ขอบดวงมาจากระดับที่สูงกว่าในบรรยากาศ จึงมีอุณหภูมิและความหนาแน่นต่ำกว่า แสงที่มาจากแถบกลางดวงมาจากระดับลึกลงไปภายในดวงมีอุณหภูมิสูงกว่า ดังนั้น ดวงอาทิตย์จึงปรากฏแสงสว่างมากที่กลางดวง และมืดคล้ำที่ใกล้ขอบดวง

[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
สภาพภายในดวงอาทิตย์1
          ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ดวงอาทิตย์เป็นก้อนสสารใหญ่ร้อนจัด และรวมตัวเป็นสัณฐานทรงกลมอยู่ได้  โดยแรงดึงดูดระหว่างอะตอมและโมเลกุล  แรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วง (gravitationalforce)  นี้  มีทิศทางเข้าหาจุดศูนย์กลาง   เนื้อสารของดวงอาทิตย์   ซึ่งอยู่ที่ระดับใดระดับหนึ่งภายในตัวดวง   จะถูกทับถมโดยเนื้อสารที่อยู่สูงขึ้นมา  จึงเป็นธรรมดา   ที่จะต้องมีความดันและความหนาแน่นมากกว่า    เนื้อสารในระดับสูงกว่า    ตามหลักเกณฑ์อันนี้กล่าวได้ว่าความดันและความหนาแน่นของเนื้อสารเพิ่มขึ้นในระดับลึกลงไปภายในดวงอาทิตย์ อนึ่ง ภายใต้ความกดดันสูงนั้นก๊าซหรือไอจะถูกบีบให้ปริมาตรลดลงเรื่อย    ถ้าอะตอมหรือโมเลกุลของก๊าซหรือไอนั้นไม่มีความเร็วในตัวพอที่จะผลักดันต่อสู้ไว้ ความเร็วที่กล่าวถึงนี้ได้จากการมีอุณหภูมิสูง ทั้งนี้เพราะอุณหภูมิของวัตถุก็คือพลังงานของการเคลื่อนที่    และการสั่นสะเทือนของโมเลกุลอะตอมในสสารนั้นๆโดยเหตุนี้เองเราถือได้ว่า เนื้อสารที่ระดับใดระดับหนึ่งภายในดวงอาทิตย์อยู่ในสภาพสมดุล เมื่อมีอุณหภูมิความกดดัน   และความหนาแน่นพอเหมาะแก่กัน       ซึ่งจะมีค่าสูงขึ้นเรื่อยสำหรับระดับที่ลึกลงไปภายในดวงอาทิตย์
          ในปัจจุบัน  ไม่มีอุปกรณ์สำรวจใดๆ  ที่อาจใช้ในการวัดสภาพทางฟิสิกส์ของภายในดวงอาทิตย์ที่ระดับลึกลงไปได้ ความรู้ที่เรามีในเรื่องนี้ จึงเป็นผลจากการคำนวณซึ่งอาศัยหลักเกณฑ์ทางวิชาฟิสิกส์ และปริมาณที่วัดได้จากภายนอก เช่น ขนาด มวล และอุณหภูมิของดวงอาทิตย์ในระดับที่ใช้กล้องโทรทรรศน์สำรวจดูได้
          (ดูรายการแสดงอุณหภูมิ ความหนาแน่นของก๊าซ และความกดดันคิดเทียบเป็นจำนวนเท่าของบรรยากาศที่พื้นผิวโลก ที่ระดับลึกต่างๆ ภายในดวงอาทิตย์ในหน้าต่อไป)
          ที่แก่นกลางของดวงอาทิตย์ในอาณาบริเวณรูปทรงกลมมีรัศมีประมาณ ๒ แสนกิโลเมตรซึ่งมีอุณหภูมิสูงเพียงพอนั้น มีปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์เกิดขึ้น และให้พลังงานในลักษณะของรังสีแกมมา ซึ่งมีขนาดคลื่นสั้น รังสีนี้แผ่กระจายโดยการถ่ายทอด ผ่านเนื้อสารของดวงอาทิตย์ออกมาจนถึงระดับลึกประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ กิโลเมตร จากพื้นผิวดวง การถ่ายเทพลังงานก็จะแปรวิธีการจากการแผ่รังสี (radiation) มาเป็นการนำความร้อน (convection) โดยก๊าซที่ร้อนจะลอยตัวขึ้นมาสู่ระดับสูง จนถึงระดับผิวดวงอาทิตย์ก็จะแผ่รังสีแสงสว่างและความร้อนออกสู่อวกาศ ครั้นแล้วเมื่ออุณหภูมิของมันลดลงก็จะกลับจมลง กรรมวิธีอันนี้คล้ายคลึงกับการเดือดของของเหลวเช่น น้ำหรือน้ำมันที่ใส่ภาชนะต้มบนเตาไฟให้ร้อนนั่นเอง

รายการแสดงสภาพทางฟิสิกส์ที่ระดับต่างๆ ภายในดวงอาทิตย์


ความลึกจากผิวดวง



อุณหภูมิคิดเป็น
หน่วย
ล้านองศาสัมบูรณ์



ความหนาแน่นของ
ก๊าซ กรัม/ลูกบาศก์
เซ็นติเมตร



ความกดดันคิดเป็น
จำนวนเท่าของความ
กดดันของบรรยากาศ
ที่พื้นผิวโลก

คิดเป็นอัตราส่วน
ของ
รัศมีดวงอาทิตย์


คิดเป็นกิโลเมตร

             ๐.๐๐๕
             ๐.๐๑
             ๐.๐๕
             ๐.๑
            ๓,๕๐๐
            ๗,๐๐๐
         ๓๕,๐๐๐
         ๗๐,๐๐๐
            ๐.๐๒๗
            ๐.๐๔๒
            ๐.๑๖
            ๐.๓๑
          ๐.๐๐๐ ๐๒
          ๐.๐๐๐ ๐๕
          ๐.๐๐๔ ๔
          ๐.๐๐๒
               ๖๓
            ๒๕๐
         ๗๙๕๐
          ๘ x ๑๐
             ๐.๒       ๑๔๐,๐๐๐             ๐.๖๘           ๐.๐๑๘       ๑.๖ x ๑๐
             ๐.๓
             ๐.๔
             ๐.๕
             ๐.๖
      ๒๑๐,๐๐๐
      ๒๘๐,๐๐๐
      ๓๕๐,๐๐๐
      ๔๒๐,๐๐๐
            ๑.๒
            ๑.๙
            ๒.๘
            ๔.๒
          ๐.๐๘
          ๐.๓๕
          ๑.๑
          ๔.๐
    ๑.๒๖ x ๑๐
      ๑.๐ x ๑๐
    ๓.๙๘ x ๑๐
      ๒.๕ x ๑๐
            ๐.๗
            ๐.๘
      ๔๙๐,๐๐๐
      ๕๖๐,๐๐๐
           ๖.๐
           ๘.๕
          ๑๔
         ๔๒
      ๑.๐ x ๑๐๑๐
     ๖.๓ x ๑๐๑๐
           ๐.๙
           ๐.๙๖
           ๑.๐๐
     ๖๓๐,๐๐๐
      ๖๗๒,๐๐๐
      ๗๐๐,๐๐๐
          ๑๑.๖
          ๑๓.๑
          ๑๓.๖
         ๗๘
         ๙๕
         ๙๘
     ๑.๒๖ x ๑๐๑๑
     ๑.๖ x ๑๐๑๑
     ๒.๐ x ๑๐๑๑

[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
แผนภาพแสดงภายในอาทิตย์

          แผนภาพแสดงภายในอาทิตย์ ตัดให้เห็นระดับต่างๆ (ก) เป็นทรงกลมอยู่ที่ใจกลางของดวงอาทิตย์ เป็นบริเวณที่มีปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์เกิดขึ้นพลังงานที่เกิดขึ้นในรูปรังสีแกมมาแผ่กระจายออกและถ่ายทอดผ่านบริเวณ(ข) ออกมา โดยวิธีการดูดและกลับแผ่รังสีต่อช่วงกัน ตั้งแต่ระดับลึก๕๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร ถึงระดับลึก ๑๔๐,๐๐๐ กิโลเมตร จากผิวดวงอาทิตย์ในการถ่ายเทพลังงาน โดยการแผ่รังสีเช่นนี้ พลังงานของรังสีแต่ละหน่วย จะลดลงเรื่อยและแปรสภาพจากรังสีแกมมาเป็นรังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลตแสงสว่างและคลื่นความร้อน

          เมื่อถึงระดับ (ค) ลักษณะของการถ่ายเทพลังงานเปลี่ยนเป็นการเดือด หรือการพาความร้อน โดยการเคลื่อนที่ของกลุ่มก้อนก๊าซร้อน กล่าวคือ กลุ่มก๊าซที่ร้อนในส่วนลึกของดวงอาทิตย์ จะพาตัวลอยขึ้นมาสู่ระดับพื้นผิว คายพลังงานโดยการแผ่รังสีออกมาในอวกาศ ตัวเองลดอุณหภูมิลง จึงหดตัวและมีความหนาแน่นสูงขึ้น กลับจมลงสู่ระดับลึกอีก ส่วนบนของระดับ (ค) เป็นโฟโตสเฟียร์ (พ) มีความลึกประมาณ ๒๕๐ กิโลเมตร ก๊าซที่อยู่ในชั้นนี้เท่านั้น ที่จะแผ่รังสีออกสู่อวกาศได้โดยตรง

          ระดับ (ง) ที่อยู่เหนือโฟโตสเฟียร์ขึ้นไป คือโครโมสเฟียร์ เป็นระดับที่เฉลี่ยแล้วมีความหนาเพียง ๕,๐๐๐ กิโลเมตร เหนือโครโมสเฟียร์ขึ้นไป คือระดับคอโรนา (ฉ) ซึ่งแผ่ไกลออกไปจากดวงอาทิตย์กว่าสิบล้านกิโลเมตร (จ) คือพวยก๊าซหรือโปรมิเนนซ์ (prominence) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารในคอโรนากลั่นตัวไหลกลับสู่โครโมสเฟียร์ตามเส้นสนามแม่เหล็ก ณ จุดต่างๆ


[กลับหัวข้อหลัก]

แผนภาพแสดงภายในอาทิตย์

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

บรรณานุกรม
• ระวี ภาวิไล

[กลับหัวข้อหลัก]
 
บทความอื่น ๆ ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ  
 
บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 1 สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มอื่น
เครื่องบิน
ประวัติการบินของไทย
ปรากฏการณ์ในโฟโตสเฟียร์
ปลา
ระบบกำหนดตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า
แรง
ลูกล้อ
ส่วนประกอบและการทำงานของอากาศยานประเภทเบากว่าอากาศ
หลักการแบ่งจำพวกของปลา
อุปราคา
สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 11
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 15
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 16
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 20
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 24
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 26
   
ผู้สนับสนุน
สนใจลงโฆษณา คลิก!

สนุก!ความรู้ > ห้องสมุดความรู้ > สารานุกรม > สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 1 > ดวงอาทิตย์