ดาวพลูโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาวพลูโต  Pluto symbol.svg
ภาพจากกล้องฮับเบิล: พลูโตและชารอน
ภาพดาวพลูโตถ่ายจากโลก เป็นภาพที่
สว่างที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีปัจจุบันทำได้
การค้นพบ
ค้นพบโดย: ไคลด์ ทอมบอก์
ค้นพบเมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473
ชนิดของดาวเคราะห์น้อย: ดาวเคราะห์แคระ
ลักษณะของวงโคจร
จุดเริ่มยุค J2000
ระยะจุด
ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด
:
7,375,927,931 กม.
(49.30503287 หน่วยดาราศาสตร์)
ระยะจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
4,436,824,613 กม.
(29.65834067 หน่วยดาราศาสตร์)
กึ่งแกนเอก: 5,906,376,272 กม.
(39.48168677 หน่วยดาราศาสตร์)
เส้นรอบวง
ของวงโคจร:
36.530 เทระเมตร
(244.186 หน่วยดาราศาสตร์)
ความเยื้องศูนย์กลาง: 0.24880766
คาบดาราคติ: 90,613.3058 วัน
(248.09 ปีจูเลียน)
คาบซินอดิก: 366.74 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
4.666 กม./วินาที
อัตราเร็วสูงสุด
ในวงโคจร:
6.112 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุด
ในวงโคจร:
3.676 กม./วินาที
ความเอียง: 17.14175°
(11.88° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
110.30347°
ระยะมุมจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
113.76329°
จำนวนดาวบริวาร: 4
ลักษณะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย: 2,390 กม.
(0.180×โลก)
พื้นที่ผิว: 1.795×107 กม.²
(0.033×โลก)
ปริมาตร: 7.15×109 กม.³
(0.0066×โลก)
มวล: 1.25×1022กก.
(0.0021×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย: 1.750 กรัม/ซม.³
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
0.58 เมตร/วินาที²
(0.059 จี)
ความเร็วหลุดพ้น: 1.2 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
6.387 วัน
(6 ชม. 9 นาที 17.6 วินาที)
ความเร็วการหมุน
รอบตัวเอง:
47.18 กม./ชม.
ความเอียงของแกน: 119.61°
ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ:
313.02°
(20 ชม. 52 นาที 5 วินาที)
เดคลิเนชัน
ของขั้วเหนือ:
9.09°
อัตราส่วนสะท้อน: 0.30
อุณหภูมิพื้นผิว:
   ยอดเมฆ
ต่ำสุด เฉลี่ย สูงสุด
33 K 44 K 55 K
ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว:
0.15-0.30 กิโลปาสกาล
องค์ประกอบ: ไนโตรเจน และ มีเทน

ดาวพลูโต (โมโนแกรม:สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวพลูโต ) เป็นดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ในบริเวณแถบไคเปอร์ มีขนาดเล็กกว่า ดวงจันทร์ 7 ดวงในระบบสุริยะ (ดวงจันทร์ของโลก ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต ไททัน และไทรตัน) ดาวพลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร มีดวงจันทร์บริวาร 5 ดวง ได้แก่ คารอน (มีขนาดประมาณ 1/5 ของพลูโต) นิกซ์ ไฮดรา (สองดวงนี้ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2548) S/2011 P 1 (P4, ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2554) และ S/2012 P 1[1] (P5, ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2555)

พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาลในเทพนิยายโรมัน หรือ เรียกว่า ฮาเดส ในเทพนิยายกรีก สันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งที่ตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า พลูโต ก็เพื่อให้มีตัวอักษร "P-L" ในชื่อ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ ในภาษาไทยอาจเรียกพลูโต ว่า ดาวยม หมายถึง ยมโลก หรือ นรก ซึ่งก็มีความหมายพ้องกับชื่อ พลูโต หรือ ฮาเดส ในตำนานกรีก

เนื้อหา

[แก้] การค้นพบพลูโต

ดาวพลูโตถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2473 โดยบังเอิญ มีการคำนวณหาตำแหน่งดาวเคราะห์ดวงใหม่ถัดจาก ดาวเนปจูนโดยใช้ฐานข้อมูลการเคลื่อนที่ของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งไคลด์ ทอมบอก์ (Clyde Tombaugh) แห่งหอดูดาว โลเวลล์ ในรัฐแอริโซนา ได้ทำการสำรวจท้องฟ้า และพบดาวพลูโตในที่สุด

ขณะนั้นถือว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ดวงเล็กที่สุด เป็นเวลา 76 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2473-2549

หลังจากที่ได้ค้นพบดาวพลูโตแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันว่า ขนาดของดาวพลูโต เล็กเกินกว่าที่จะรบกวน วงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นได้ จะต้องมีดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า จึงจะรบกวนดาวเนปจูนได้ ดังนั้นการค้นหาดาวเคราะห์ X จึงมีขึ้นต่อไป แต่ก็ไม่มีสิ่งใดถูกค้นพบเพิ่มเติม จนกระทั่ง ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้ข้อมูลด้านมวลสารของดาวเนปจูนเพิ่มเติม ข้อถกเถียงดังกล่าวจึงหมดไป โดยไม่จำเป็นต้องมีดาวเคราะห์ดวงที่ 10

อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษล่าสุดมีการค้นพบ วัตถุที่คล้ายดาวพลูโตมากมาย ในบริเวณเดียวกับดาวพลูโตที่เรียกว่า แถบไคเปอร์ และดาวพลูโตก็มีลักษณะไม่สอดคล้องกับกำเนิดของดาวเคราะห์อย่าง ดาวเคราะห์ก๊าซ หรือ ดาวเคราะห์หิน นำมาสู่หัวข้อในที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก

[แก้] เปลี่ยนสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระ

การโหวตสถานภาพของพลูโตในที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์คือวัตถุทรงกลมที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ และอยู่ห่างจากดาวรอบข้างในวงโคจรของตัวเอง

ส่งผลให้ดาวพลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ (และวัตถุในระบบสุริยะ (นอกจากดวงอาทิตย์) ได้ถูกจัดใหม่เป็น 3 ประเภท คือ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ และวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ)

การประชุมเพื่อถกเถียงเรื่องสถานภาพของดาวพลูโต ใช้เวลากว่า 1 สัปดาห์

ผลที่ได้จากการลงมติ ทำให้ดาวพลูโตหลุดออกจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะดวงที่ 9 หลังจากอยู่ในระบบสุริยะมานานถึง 76 ปี รวมไปถึง อีริส ดวงที่ 10 ที่นาซ่าเป็นผู้ค้นพบ กลายเป็นดาวเคราะห์แคระ

นักดาราศาสตร์หลายคนมีความเห็นคัดค้านในเรื่องนี้ แต่ก็จำเป็นต้องยอมรับกับการที่มนุษย์ได้มีความรู้ในระบบสุริยะมากขึ้น ได้เห็นหลายสิ่งเพิ่มขึ้นจากอดีต

ดาวพลูโตอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากและได้รับแสงน้อย จึงมีอุณหภูมิต่ำมาก นักดาราศาสตร์จะได้ศึกษาดาวพลูโต และวัตถุในแถบไคเปอร์อย่างละเอียดในปี พ.ศ. 2558 เมื่อยานนิวฮอไรซันส์ของนาซา ซึ่งถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 เดินทางไปถึงวงโคจรของดาวพลูโต ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งยานจำเป็นต้องไปให้ทันเวลา เพื่อให้ทันต่อการศึกษาวิจัยดาวพลูโต เพราะหากเมื่อดาวพลูโตมีวงโคจรห่างไกลจากดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตจะเข้าสู่ฤดูหนาวยาวนานถึง 62 ปี และจะทำให้บรรยากาศกลายเป็นน้ำแข็งและร่วงลงสู่ผิวดาว ทำให้ไม่สามารถวิจัยบรรยากาศของดาวที่แท้จริงได้ และจะทำให้เสียองค์ประกอบทางด้านเคมีที่สำคัญในการวิจัยไป รวมถึง อุณหภูมิ ลม และโครงสร้างบรรยากาศของดาวไปด้วย

[แก้] การจำแนกดาวพลูโตเป็นวัตถุกลุ่มพลูตอยด์

วันที่ 11 มิถุนายน 2551 ที่ประชุมกรรมการบริหารสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้กำหนดให้ดาวพลูโตเป็นวัตถุต้นแบบของกลุ่มวัตถุที่เรียกว่า "พลูตอยด์ (plutoid)" โดยถือได้ว่าเป็นกลุ่มย่อยของดาวเคราะห์แคระ ใช้เรียกดาวเคราะห์แคระที่อยู่ไกลกว่าวงโคจรของดาวเนปจูน[2]

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ข่าว

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ (อังกฤษ) Hubble Discovers a Fifth Moon Orbiting Pluto โดย HubbleSite News Release Archive, สืบค้นวันที่ 12 ก.ค. 2555
  2. ^ Plutoid chosen as name for Solar System objects like Pluto - IAU


เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น