พังพอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พังพอน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Herpestidae
สกุล: Herpestes
สปีชีส์: H. javanicus
Subspecies:
  • H. j. javanicus
  • H. j. auropunctatus
  • H. j. exilis
  • H. j. orientalis
  • H. j. pallipes
  • H. j. palustris
  • H. j. peninsulae
  • H. j. perakensis
  • H. j. rafflesii
  • H. j. rubifrons
  • H. j. siamensis
  • H. j. tjerapai
ชื่อวิทยาศาสตร์
Herpestes javanicus
(É. Geoffroy Saint-Hilaire, 1818)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

พังพอน (อังกฤษ: Small asian mongoose, Small indian mongoose) เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Herpestes javanicus ในวงศ์ Herpestidae มีขนาดเล็ก ขนบนหัวมีสีน้ำตาลแดงจนถึงน้ำตาลเข้ม ขามีสีเดียวกับลำตัวหรือเข้มกว่าเล็กน้อย หางยาวประมาณ 2 ใน 3 ของลำตัว เมื่อตกใจจะพองขนทำให้ดูตัวใหญ่กว่าปกติ เพศเมียจะมีเต้านมทั้งหมด 3 คู่

มีความยาวลำตัวและหัว 35-41 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 25-29 เซนติเมตร

พังพอนมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมากตั้งแต่อิหร่าน, ปากีสถาน, อินเดีย, พม่า, เนปาล, รัฐสิกขิม, บังกลาเทศ, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซียและเกาะชวา จึงทำให้มีชนิดย่อยมากถึง 12 ชนิด

มีพฤติกรรมชอบอาศัยตามป่าโปร่งหรือทุ่งหญ้ามากกว่าป่าดิบทึบ ดังนั้นจึงมักเห็นพังพอนอาศัยอยู่แม้แต่ในเขตเมือง มักอาศัยอยู่ตามลำพังในโพรงดินที่ขุดไว้ หรือโพรงไม้ ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่อาจอยู่เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อาหารได้แก่ สัตว์ทั่วไปขนาดเล็ก หรือบางครั้งอาจล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าลำตัว เช่น ไก่ป่ากินได้ ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน พังพอนจัดเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก อีกทั้งมีนิสัยที่ไม่กลัวใคร จึงเป็นที่ทราบกันดีว่าชอบที่จะสู้กับงูพิษ โดยเฉพาะงูเห่าเมื่อเผลอจะโดดกัดคองูจนตาย มีฤดูผสมพันธุ์ที่ไม่แน่นอน มักจะผสมกันในโพงดิน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน 6 สัปดาห์ สมัยก่อนในบางบ้านจะเลี้ยงพังพอนไว้สำหรับจับหนูหรือสัตว์ที่ทำรังควาญในบ้านชนิดอื่น ๆ แทนแมว ซึ่งได้ผลดีกว่าแมวเสียอีก พังพอนแม้เป็นสัตว์ดุ แต่หากเลี้ยงตั้งแต่เล็กก็จะเชื่องกับเจ้าของ ในสถานที้เลี้ยงพบว่ามีอายุยืนประมาณ 6 ปี

ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Mustelid Specialist Group (1996). Herpestes javanicus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 2007-01-17.
Commons

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น