นกกระจอกเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกกระจอกเทศ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Struthioniformes
วงศ์: Struthionidae
Vigors, 1825
สกุล: Struthio
Linnaeus, 1758
สปีชีส์: S. camelus
ชื่อวิทยาศาสตร์
Struthio camelus
Linnaeus, 1758
ชนิดย่อย[2]
  • S. c. australus Gurney, 1868
  • S. c. camelus Linnaeus, 1758
  • S. c. massaicus Neumann, 1898
  • S. c. syriacus Rothschild, 1919
  • S. c. molybdophanes Reichenow, 1883
การแพร่กระจายในปัจจุบันของนกกระจอกเทศ

นกกระจอกเทศ (อังกฤษ: Ostrich; ชื่อวิทยาศาสตร์: Struthio camelus) จัดอยู่ในประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ขนาดโตเต็มที่สูงประมาณ 2 – 2.5 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่จะหนักประมาณ 160 กิโลกรัม มีอายุยืนได้ถึง 65 – 75 ปี หัวเล็ก คอยาว ตาโต ขนตายาว มีขาใหญ่แข็งแรง บินไม่ได้แต่วิ่งได้เร็ว ลูกนกอายุเพียง 2-3 วันก็จะวิ่งได้แล้ว หากินในทุ่งกว้างเป็นฝูงใหญ่ อยู่ร่วมฝูงกับม้าลายและยีราฟ การต่อสู้ป้องกันตัวของนกชนิดนี้จะกระโดดเตะได้ ระวังตัวสูง จึงหลบหลีกสัตว์กินเนื้อได้ดี ไข่ของนกกระจอกเทศเป็นไข่นกที่ใหญ่ที่สุดในโลก นกชนิดนี้กินพืช เมล็ดพืช ผลไม้สุกและสัตว์ตัวเล็กๆโดยใช้ปากงับแล้วกระดกเข้าลำคอ จากนั้นยืดคอให้ตรง ให้อาหารไหลลงไปตามหลอดอาหารในลำคอ นอกจากนั้น นกชนิดนี้ยังชอบกินของแปลกปลอม โดยเฉพาะสิ่งที่สะท้อนแสงได้ เช่น นาฬิกา, ขวดพลาสติก

นกตัวผู้มีขนาดโตกว่าตัวเมีย ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยขนตามลำตัวจะเปลี่ยนไปเป็นสีดำ ส่วนขนปีกและขนหางจะเป็นสีขาวสวยงามมาก สำหรับตัวเมียจะมีขนตามตัวสีน้ำตาลเทาอ่อน ปากมีลักษณะแบนและกว้างมาก ดวงตากลมโต หัวเล็ก ศีรษะล้าน มีขนอ่อนบางสีเทา น้ำตาลอ่อนคล้ายสีครีมหรือผลมะอึก คอยาวและมีขนอ่อนเช่นเดียวกับหัว ปีกเล็กไม่สมตัว ขนที่ปีกยาวพอสมควรแต่ก็ไม่ใช่ขนสำหรับการบิน ซึ่งขนปีกมีไว้เพื่อความสวยงามเท่านั้น ขาและโคนขาเป็นขาเกลี้ยง ๆ ไม่มีขน นกตัวผู้มีลำคอหย่อนยานกว่าตัวเมีย จึงโป่งคอและทำเสียงร้องเลียนแบบสิงโตได้ นกตัวผู้ 1ตัวจะคุมนกตัวเมียหลายตัว

ลักษณะเท้าของนกกระจอกเทศจะพบว่ามีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้ว ใต้นิ้วเป็นเนื้ออ่อน ๆ ปลายนิ้วทู่ ๆ ใหญ่ ๆ นิ้วทั้งสองจัดเป็นนิ้วกลางและนิ้วนางเท่านั้น นิ้วที่ใหญ่มากคือนิ้วกลาง ซึ่งเป็นธรรมชาติของสัตว์โลกอย่างหนึ่งคือ สัตว์ที่ไม่ใช้ความเร็วของฝีเท้าจะมีนิ้วครบชุดมือ – เท้าข้างละ 5 นิ้ว หากสัตว์นั้นต้องการความเร็วของฝีเท้าเพื่อวิ่งหนีศัตรู ธรรมชาติก็จะวิวัฒนาการให้นิ้วหายไปทีละนิ้วสองนิ้วจนเหลือแต่เพียงนิ้วเดียว เช่นเท้าของม้า มีเพียงนิ้วเดียวที่เรียกว่ากีบเท้าม้า

ในประเทศ ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเหมือนในหลายประเทศ นกกระจอกเทศถูกนำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ในปลายสมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ตามบันทึกในพงศาวดารคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า ราชทูตชาวอังกฤษนำนกกระจอกเทศพร้อมสิงโตและม้าเทศจากแอฟริกาเข้ามาถวายเป็นบรรณาการ จึงโปรดฯให้เลี้ยงไว้ในพระราชวัง[3]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ จาก IUCN
  2. ^ Bertram, B.C.R. (1979). "Ostriches recognise their own eggs and discard others". Nature 279: 233–234.
  3. ^ หน้า 151, คำให้การชาวกรุงเก่า โดย สำนักพิมพ์จดหมายเหตุ (พ.ศ. 2544) ISBN 974-87895-7-8
  • ราชบัณฑิตยสถาน. อนุกรมวิธานสัตว์ อักษร ก ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2540.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
นกกระจอกเทศ

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น