หมาจิ้งจอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมาจิ้งจอก
หมาจิ้งจอกแดง (Vulpes vulpes) เป็นชนิดที่พบได้ในเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Canidae
เผ่า: Vulpini
สกุล

หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือ จิ้งจอก (อังกฤษ: Fox, Jackal) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง และตัวมีกลิ่นเหม็นมาก หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั้งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[1]

หมาจิ้งจอก มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความเจ้าเล่ห์ ในความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออก จิ้งจอกที่มีอายุมาก ๆ จะเป็นปีศาจสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของหมาจิ้งจอกนั้นไม่ทำร้ายคนอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ และในนิทานหลายเรื่อง เช่น นิทานอีสปก็จะมีอ้างอิงถึงหมาจิ้งจอกอยู่มากด้วยเช่นกัน เช่น องุ่นเปรี้ยว, หมาหางด้วน หรือ สิงโตกับหมาจิ้งจอก เป็นต้น[2]

[แก้] พฤติกรรม

ชอบออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันมักจะนอนในโพรงดิน หากมีหลายตัวอาจจะไล่จับกินสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น กวาง หรือสัตว์ขนาดเล็กเช่น กิ้งก่า จิ้งเหลน แย้ หรือซากสัตว์และผลไม้ โดยมากหากินตัวเดียวหรือเป็นคู่ คือประมาณ 2-4 ตัว ไม่ค่อยอยู่เป็นฝูง จะดุเมื่อจวนตัว[1]

ส่วนการผสมพันธุ์ หมาจิ้งจอกเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 2 เดือน ออกลูกครั้งละ 4-5 ตัว หมาจิ้งจอกมีอายุประมาณ 12 ปี สำหรับในประเทศไทยจะพบหมาจิ้งจอกได้เพียงชนิดเดียว คือ หมาจิ้งจอกทอง หรือ หมาจิ้งจอกเอเชีย[3]ซึ่งเชื่อว่า เป็นบรรพบุรุษต้นสายพันธุ์ของ สุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว ด้วย[4]

[แก้] ชนิดของหมาจิ้งจอก

Commons

[แก้] อ้างอิง

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น