Back to Home Page
Academic Resources Development Center : A R D C    Il  ออกจากบทเรียน  Il  
เศรษฐศาสตร์ และ
เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
การสุขศึกษาในชุมชน
การดูแลสุขภาพที่บ้าน
กลวิธีในการดูแลสุขภาพที่บ้าน :
การเยี่ยมบ้าน
อนามัยโรงเรียน
วัตถุประสงค์
ความสำคัญของงานอนามัย
โรงเรียน
กิจกรรมของงานอนามัยโรงเรียน
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
บทบาทของพยาบาลชุมชนกับงาน
อนามัยโรงเรียน
สรุปท้ายบท
บรรณานุกรมและเอกสารอ่าน
เพิ่มเติม
   
 

   

  ความสำคัญของงานอนามัยโรงเรียน

          งานอนามัยโรงเรียน หมายถึง การดำเนินงานเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านสุขภาพ ทั้งทางด้านความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเพื่อการดำรงรักษาไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีและการปรับปรุง ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน (วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์ และสุขุมาล ธนาเศรษฐอังกูล,2544)

          ด้วยความจำเป็นดังกล่าว โรงเรียนจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยเหตุผลดังนี้ (วชิรา กสิโกมลและสมบูรณ์ จัยวัฒน์ ,2545)

                    1) โรงเรียนเป็นสถานที่ที่นักเรียนมาอยู่รวมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ใกล้ชิดกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ดังนั้นหากมีนักเรียนที่เจ็บป่วยทั้งที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการจึงอาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญไปสู่นักเรียนคนอื่น รวมถึงแพร่สู่คนอื่นในครอบครัวและชุมชนเป็นวงกว้างขึ้น

                    2) เด็กในวัยเรียนเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจและอารมณ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีปัญหาในหลาย ๆด้านหากเด็กไม่ได้รับการดูแลหรือเอาใจใส่เท่าที่ควร

                    3) บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพแก่เด็กไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ครู รวมถึงองค์กรท้องถิ่น

                    4) เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเท่าเทียม

                    5) การส่งเสริมสุขภาพที่ดีแก่เด็กจะทำให้เด็กสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีต่อคนอื่นและคนในครอบครัว

                    6) เด็กที่สุขภาพดีมีผลต่อการเรียนรู้

          นอกจากนั้นวิลาวัณย์ ชมนิรัตน์ และสุขุมาล ธนาเศรษฐอังกูล (2544) ยังได้กล่าวถึงความจำเป็น และภารกิจของการอนามัยโรงเรียน ไว้ดังนี้

                    1) การป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อในโรงเรียน (Prevent Communicable Diseases)

                    2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพ (Health Behavioral Change) เนื่องจากเด็กอยู่ในวัยของการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านร่างกาย จิตใจและอารมณ์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม

                    3) การควบคุมโรคติดต่อโดยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน (Control of Communicable Diseases Immunization)

                    4) การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก (Facilities in the school) เพื่อก่อให้เกิดบรรยาการศของการเรียนรู้ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กนอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และถูกสุขลักษณะจะมีส่งผลให้เด็กมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม

                    5) การพัฒนาให้เด็กมีสุขภาพดี (Healthy children) การดูแลเด็กให้มีสุขภาพดีจำเป็นต้องมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพเด็ก

 

 

 
ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150
โทรศัพท์ 0-4375-4321-40 ต่อ 2060, โทรศัพท์/โทรสาร 0-4375-4318  E-mail : ardc@msu.ac.th